เซาท์ไชน่า มอร์นิ่งโพสต์- อุรุมชีและเจิ้งโจว ตัดสินใจชะลอการเปิดให้บริการ “เกาะปลอดสำหรับเด็ก” เพราะขาดแคลนบุคลากรและเครื่องอำนวยความสะดวก
สำนักประกันสังคมเพื่อเด็กแห่งอุรุมชี เมืองเอกของซินเจียง และเจิ้งโจว ในมณฑลเหอหนัน เลื่อนกำหนดการเปิด “เกาะปลอดภัยสำหรับเด็ก” ออกไป หลังจากที่เดิม มีกำหนดเปิดในเดือนหน้า (ก.ค.) สถานีวิทยุแห่งชาติจีน รายงาน
นางโหว เสี่ยวเสวีย ผู้อำนวยประจำศูนย์เจิ้งโจว ระบุว่า ทางศูนย์ไม่มีบุคลากรดูแลเด็กได้เพียงพอ แม้ว่าจะประกาศรับสมัครไปหลายเดือนแล้ว ก็ตาม เพราะฉะนั้นเจ้าหน้าที่ 1 คน จะต้องดูแลเด็กมากกว่า 10 คน ซึ่งเกินกว่าอัตราที่รัฐกำหนดไว้ว่า เจ้าหน้าที่ 1 คนควรจะได้ดูแลเด็กเพียง 1-2 คนเท่านั้น
การเลื่อนกำหนดการครั้งนี้ เป็นสัญญาปัญหาล่าสุดที่เกิดขึ้นกับนโยบายของรัฐบาล ในการเปิดศูนย์รับเลี้ยงเด็กทั่วประเทศจนกระทั่งถึงปลายปีหน้า (2558) โดยศูนย์ดังกล่าวจะรับดูแลเด็กอ่อนและเด็กเล็ก ที่พ่อแม่ไม่มีปัญญาเลี้ยง ทั้งจัดหาตู้อบ ผ้าห่ม แอร์คอนดิชั่น เพื่อดูแลเด็กเป็นอย่างดี จากนั้นก็จะหาบ้านหลังใหม่ให้กับพวกเขา ทั้งนี้พ่อแม่ เพียงแค่นำเด็กไปวางไว้ในที่ “เกาะปลอดภัยสำหรับเด็ก” จากนั้นกดกริ่งให้สัญญาณ เจ้าหน้าที่ก็จะมานำตัวเด็กไปดูแล โดยที่ไม่มีการบันทึกเกี่ยวกับผู้นำเด็กมาทิ้ง
ก่อนหน้านี้ นโยบายดังกล่าวประสบความสำเร็จอย่างมากในสือจยางจวง มณฑลเหอเป่ย ซึ่งเปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อปี 2555 ทำให้กระทรวงกิจการพลเรือนประกาศขยายโครงการจัดตั้ง “เกาะปลอดภัยสำหรับเด็ก” ไปทั่วประเทศ ในเดือนก.ค.ปีที่ผ่านมา(2556)
แน่นอนว่า การที่รัฐบาลประกาศขยายนโยบาย ได้รับเสียงชื่นชมอย่างท้วมท้นเพราะสามารถช่วยชีวิตเด็กได้อีกหลายร้อยคน แต่ทว่า ในอีกด้านหนึ่ง ก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนาหูว่า นโยบายดังกล่าว ยิ่งทำให้พ่อแม่ตัดใจทิ้งลูกกันง่ายขึ้น ทั้งนี้เพราะการทิ้งเด็ก โดยไม่ผ่านศูนย์รับเลี้ยง ถือเป็นเรื่องผิดกฎหมาย
ปัจจุบัน จีนเปิด “เกาะปลอดภัยสำหรับเด็ก” ตามโครงการดังกล่าว ไปแล้วถึง 25 แห่ง ใน 10 มณฑล ส่วนใหญ่ รับดูแลเด็กป่วยและพิการ
อย่างไรก็ตาม ศูนย์ฯ แต่ละแห่งก็ประสบกับปัญหาคล้ายคลึงกัน นั่นคือ การขาดแคลนบุคลากรและอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้สำหรับการดำเนินงานของทางศูนย์ เนื่องจากยอดเด็กที่ถูกนำมาทิ้งล้นทะลักในหลายแห่ง
เดือนที่แล้ว (เม.ย.) “เกาะปลอดภัยสำหรับเด็ก” ในก่วงโจว ต้องประกาศปิดชั่วคราว แม้จะเปิดให้บริการได้เพียงแค่ 2 วัน หลังผู้ปกครองแห่ทิ้งเด็กถึง 266 คนให้ทางศูนย์ฯ รับเลี้ยง ซึ่งเกินกำลังเจ้าหน้าที่จะรับไหว
ในขณะที่นายจัง ตงฟาง ผู้อำนวยการสำนักประกันสังคมเพื่อเด็กแห่งอุรุมชี เปิดเผยว่า พื้นที่ทางศูนย์กว้างขวางกว่า 86 ตารางฟุต ถือว่าเพียงพอต่อการสร้าง ”เกาะปลอดภัยสำหรับเด็ก” แต่ทางศูนย์ฯ ก็มีปัญหาอีกหลายด้านเช่นเดียวกับที่ศูนย์อื่นๆ ประสบ ดังนั้นจึงไม่สามารถเปิดให้บริการในเดือนมิ.ย. ตามกำหนดการได้
ด้านเจ้าหน้าที่ประจำ “เกาะปลอดภัยสำหรับเด็ก” ในหนันจิง เปิดเผยว่า เด็กจำนวนมากมาจากครอบครัวนอกพื้นที่ ทำให้เกิดปัญหาด้านเงินทุนสนับสนุนจากรัฐบาลท้องถิ่น เพราะคำนวณจากประชากรในพื้นที่เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม แม้นโยบายดังกล่าวจะมีปัญหาติดขัดหลายด้าน และเต็มไปด้วยเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในแง่ลบ แต่หลายคนก็ยังเชื่อว่า นโยบายดังกล่าวเป็นเรื่องที่ดี
“เราเปลี่ยนพฤติกรรมของพ่อแม่ที่ทิ้งเด็กๆ ไม่ได้ แต่เราสามารถเปลี่ยนผลจากการทิ้ง (เด็กๆ) ได้" ฮั่น จินฮง ผู้อำนวยการสำนักประกันสังคมเพื่อเด็กแห่งสือจยางจวง กล่าวกับสถานีวิทยุแห่งชาติจีน
สำนักประกันสังคมเพื่อเด็กแห่งอุรุมชี เมืองเอกของซินเจียง และเจิ้งโจว ในมณฑลเหอหนัน เลื่อนกำหนดการเปิด “เกาะปลอดภัยสำหรับเด็ก” ออกไป หลังจากที่เดิม มีกำหนดเปิดในเดือนหน้า (ก.ค.) สถานีวิทยุแห่งชาติจีน รายงาน
นางโหว เสี่ยวเสวีย ผู้อำนวยประจำศูนย์เจิ้งโจว ระบุว่า ทางศูนย์ไม่มีบุคลากรดูแลเด็กได้เพียงพอ แม้ว่าจะประกาศรับสมัครไปหลายเดือนแล้ว ก็ตาม เพราะฉะนั้นเจ้าหน้าที่ 1 คน จะต้องดูแลเด็กมากกว่า 10 คน ซึ่งเกินกว่าอัตราที่รัฐกำหนดไว้ว่า เจ้าหน้าที่ 1 คนควรจะได้ดูแลเด็กเพียง 1-2 คนเท่านั้น
การเลื่อนกำหนดการครั้งนี้ เป็นสัญญาปัญหาล่าสุดที่เกิดขึ้นกับนโยบายของรัฐบาล ในการเปิดศูนย์รับเลี้ยงเด็กทั่วประเทศจนกระทั่งถึงปลายปีหน้า (2558) โดยศูนย์ดังกล่าวจะรับดูแลเด็กอ่อนและเด็กเล็ก ที่พ่อแม่ไม่มีปัญญาเลี้ยง ทั้งจัดหาตู้อบ ผ้าห่ม แอร์คอนดิชั่น เพื่อดูแลเด็กเป็นอย่างดี จากนั้นก็จะหาบ้านหลังใหม่ให้กับพวกเขา ทั้งนี้พ่อแม่ เพียงแค่นำเด็กไปวางไว้ในที่ “เกาะปลอดภัยสำหรับเด็ก” จากนั้นกดกริ่งให้สัญญาณ เจ้าหน้าที่ก็จะมานำตัวเด็กไปดูแล โดยที่ไม่มีการบันทึกเกี่ยวกับผู้นำเด็กมาทิ้ง
ก่อนหน้านี้ นโยบายดังกล่าวประสบความสำเร็จอย่างมากในสือจยางจวง มณฑลเหอเป่ย ซึ่งเปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อปี 2555 ทำให้กระทรวงกิจการพลเรือนประกาศขยายโครงการจัดตั้ง “เกาะปลอดภัยสำหรับเด็ก” ไปทั่วประเทศ ในเดือนก.ค.ปีที่ผ่านมา(2556)
แน่นอนว่า การที่รัฐบาลประกาศขยายนโยบาย ได้รับเสียงชื่นชมอย่างท้วมท้นเพราะสามารถช่วยชีวิตเด็กได้อีกหลายร้อยคน แต่ทว่า ในอีกด้านหนึ่ง ก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนาหูว่า นโยบายดังกล่าว ยิ่งทำให้พ่อแม่ตัดใจทิ้งลูกกันง่ายขึ้น ทั้งนี้เพราะการทิ้งเด็ก โดยไม่ผ่านศูนย์รับเลี้ยง ถือเป็นเรื่องผิดกฎหมาย
ปัจจุบัน จีนเปิด “เกาะปลอดภัยสำหรับเด็ก” ตามโครงการดังกล่าว ไปแล้วถึง 25 แห่ง ใน 10 มณฑล ส่วนใหญ่ รับดูแลเด็กป่วยและพิการ
อย่างไรก็ตาม ศูนย์ฯ แต่ละแห่งก็ประสบกับปัญหาคล้ายคลึงกัน นั่นคือ การขาดแคลนบุคลากรและอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้สำหรับการดำเนินงานของทางศูนย์ เนื่องจากยอดเด็กที่ถูกนำมาทิ้งล้นทะลักในหลายแห่ง
เดือนที่แล้ว (เม.ย.) “เกาะปลอดภัยสำหรับเด็ก” ในก่วงโจว ต้องประกาศปิดชั่วคราว แม้จะเปิดให้บริการได้เพียงแค่ 2 วัน หลังผู้ปกครองแห่ทิ้งเด็กถึง 266 คนให้ทางศูนย์ฯ รับเลี้ยง ซึ่งเกินกำลังเจ้าหน้าที่จะรับไหว
ในขณะที่นายจัง ตงฟาง ผู้อำนวยการสำนักประกันสังคมเพื่อเด็กแห่งอุรุมชี เปิดเผยว่า พื้นที่ทางศูนย์กว้างขวางกว่า 86 ตารางฟุต ถือว่าเพียงพอต่อการสร้าง ”เกาะปลอดภัยสำหรับเด็ก” แต่ทางศูนย์ฯ ก็มีปัญหาอีกหลายด้านเช่นเดียวกับที่ศูนย์อื่นๆ ประสบ ดังนั้นจึงไม่สามารถเปิดให้บริการในเดือนมิ.ย. ตามกำหนดการได้
ด้านเจ้าหน้าที่ประจำ “เกาะปลอดภัยสำหรับเด็ก” ในหนันจิง เปิดเผยว่า เด็กจำนวนมากมาจากครอบครัวนอกพื้นที่ ทำให้เกิดปัญหาด้านเงินทุนสนับสนุนจากรัฐบาลท้องถิ่น เพราะคำนวณจากประชากรในพื้นที่เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม แม้นโยบายดังกล่าวจะมีปัญหาติดขัดหลายด้าน และเต็มไปด้วยเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในแง่ลบ แต่หลายคนก็ยังเชื่อว่า นโยบายดังกล่าวเป็นเรื่องที่ดี
“เราเปลี่ยนพฤติกรรมของพ่อแม่ที่ทิ้งเด็กๆ ไม่ได้ แต่เราสามารถเปลี่ยนผลจากการทิ้ง (เด็กๆ) ได้" ฮั่น จินฮง ผู้อำนวยการสำนักประกันสังคมเพื่อเด็กแห่งสือจยางจวง กล่าวกับสถานีวิทยุแห่งชาติจีน