เซาท์ไชน่า มอร์นิ่งโพสต์- จีนไต่ดัชนีอนามัยโลก ด้านมารดาและทารก อยู่อันดับ 61 จาก 178 ประเทศ ผู้เชี่ยวชาญชี้ เป็นผลมาจากความหนักแน่นของฝ่ายการเมือง ที่ลงทุนดูแลเรื่องสุขภาพของเด็ก
อันดับของจีนใน “ดัชนีมารดา” ล่าสุด (2014) ชี้ให้เห็นว่า จีนมีพัฒนาการขึ้นมาถึง 7 อันดับ
“ตัวเลขดัชนีของจีนขึ้นอย่างต่อเนื่อง และการตายของมารดาและเด็กก็ลดลงอย่างมาก” เพีย แมคเร ผู้อำนวยการมูลนิธิส่งเสริมเด็กและเยาวชน (Save the Children) ประจำประเทศจีน กล่าว “มันเป็นผลของเจตนารมณ์ทางการเมืองที่เข้มแข็ง และการเต็มใจลงทุน ดูแลเรื่องสุขภาพของเด็กๆ ซึ่งเป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่อย่างยิ่งของประเทศที่มีประชากรมากขนาดนี้”
ทั้งนี้ รัฐบาลกลางของจีน พยายามลดอัตราการตายของมารดา มาตั้งแต่ปี 2545 ตามแผนการพัฒนาแห่งสหัสววรษของสหประชาชาติ (the United Nation Millennium Development Goals) ที่ตั้งเป้าไว้ในปี 2558
ดัชนีดังกล่าว ได้รับการเผยแพร่ออกมาเมื่อสัปดาห์ก่อน ในช่วงวันแม่ของประเทศอังกฤษ โดยเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลร่วมกันขององค์กรระดับโลก อาทิ องค์กรอนามัยโลก (WHO) ยูนิเซฟ (Unicef) และ ธนาคารโลก (World Bank)
การจัดทำดัชนี ด้านมารดาและทารกนี้ ใช้ตัวชี้วัดทั้งหมด 5 ด้าน ได้แก่ อันดับความเสี่ยงในการเสียชีวิตของมารดา อัตราตายในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ระยะเวลาของการศึกษาในระบบ ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GNP) และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของผู้หญิง
ในปีที่ผ่านมา จีน มีผู้หญิงเสียชีวิต 1 คนในทุก 1,700 คน ด้วยสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ ในขณะที่มีอัตราตายในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี 14 คน จากเด็กแรกเกิด 1,000 คน ด้านญี่ปุ่น มีตัวเลขชุดเดียวกันนี้ ตามลำดับ คือ 13,000 และ 3, ขณะที่เกาหลีใต้ เท่ากับ 4,800 และ 3.8 โดยรวมแล้ว ญี่ปุ่นอยู่อันดับ 32 และเกาหลีใต้ อยู่ในอันดับที่ 30
ในขณะที่ด้านการเมือง ถือว่าค่อนข้างเด่นชัด ผู้หญิงจีนครองตำแหน่งในสภาถึง 23 เปอร์เซ็นต์ ส่วนญี่ปุ่น อยู่ที่ 11 เปอร์เซ็นต์ และเกาหลีใต้ มีอยู่ประมาณ 16 เปอร์เซ็นต์
ด้านอินเดีย แม้จะมีตัวเลขดัชนี การมีส่วนร่วมทางการเมืองใกล้เคียงญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ นั่นคือ 11 เปอร์เซ็นต์ แต่ทว่า สถานการณ์ด้านสุขภาพของผู้หญิงอินเดีย อยู่ในระดับน่าหวั่นวิตก
อินเดีย มีอัตราผู้หญิงเสียชีวิตด้วยเหตุดังกล่าว 1 คนในทุก 170 คน ส่วนอัตราการตายของเด็กต่ำกว่า 5 ปี อยู่ที่ 56.3 คนต่อเด็กแรกเกิด 1,000 คน ตัวเลขดังกล่าวจึงฉุดอินเดีย ลงไปอยู่อันดับ 137 ของโลก
“สถานการณ์ของอินเดีย สะท้อนให้เห็นการขาดแคลนความเอาใจใส่ทางการเมือง และการเต็มใจลงทุนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของมารดาและเด็ก” นายเฉียน เสี่ยวเฟิง สื่อมวลชนประจำมูลนิธิส่งเสริมเด็กและเยาวชน (Save the Children) ประเทศจีน กล่าว
ส่วน อเมริกาถือว่าถอยหลังไปบ้าง ในแง่การดูแลมารดา อเมริกาอยู่ในกลุ่มประเทศที่ก้าวหน้าน้อย ในเรื่องการรอดชีวิตของมารดาและเด็ก ตั้งแต่ปี 2545 แม้ว่าจะมีอันดับรวมอยู่ที่ 31
อนึ่ง อันดับ 1 ถึง 5 ของโลก เป็นบรรดาประเทศในยุโรปเหนือ ซึ่งมีสวัสดิการทางสังคมเป็นอย่างดี ได้แก่ ประเทศ ฟินแลนด์ นอร์เวย์ สวีเดน ไอซ์แลนด์ และเนเธอแลนด์ ตามลำดับ
อันดับของจีนใน “ดัชนีมารดา” ล่าสุด (2014) ชี้ให้เห็นว่า จีนมีพัฒนาการขึ้นมาถึง 7 อันดับ
“ตัวเลขดัชนีของจีนขึ้นอย่างต่อเนื่อง และการตายของมารดาและเด็กก็ลดลงอย่างมาก” เพีย แมคเร ผู้อำนวยการมูลนิธิส่งเสริมเด็กและเยาวชน (Save the Children) ประจำประเทศจีน กล่าว “มันเป็นผลของเจตนารมณ์ทางการเมืองที่เข้มแข็ง และการเต็มใจลงทุน ดูแลเรื่องสุขภาพของเด็กๆ ซึ่งเป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่อย่างยิ่งของประเทศที่มีประชากรมากขนาดนี้”
ทั้งนี้ รัฐบาลกลางของจีน พยายามลดอัตราการตายของมารดา มาตั้งแต่ปี 2545 ตามแผนการพัฒนาแห่งสหัสววรษของสหประชาชาติ (the United Nation Millennium Development Goals) ที่ตั้งเป้าไว้ในปี 2558
ดัชนีดังกล่าว ได้รับการเผยแพร่ออกมาเมื่อสัปดาห์ก่อน ในช่วงวันแม่ของประเทศอังกฤษ โดยเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลร่วมกันขององค์กรระดับโลก อาทิ องค์กรอนามัยโลก (WHO) ยูนิเซฟ (Unicef) และ ธนาคารโลก (World Bank)
การจัดทำดัชนี ด้านมารดาและทารกนี้ ใช้ตัวชี้วัดทั้งหมด 5 ด้าน ได้แก่ อันดับความเสี่ยงในการเสียชีวิตของมารดา อัตราตายในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ระยะเวลาของการศึกษาในระบบ ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GNP) และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของผู้หญิง
ในปีที่ผ่านมา จีน มีผู้หญิงเสียชีวิต 1 คนในทุก 1,700 คน ด้วยสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ ในขณะที่มีอัตราตายในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี 14 คน จากเด็กแรกเกิด 1,000 คน ด้านญี่ปุ่น มีตัวเลขชุดเดียวกันนี้ ตามลำดับ คือ 13,000 และ 3, ขณะที่เกาหลีใต้ เท่ากับ 4,800 และ 3.8 โดยรวมแล้ว ญี่ปุ่นอยู่อันดับ 32 และเกาหลีใต้ อยู่ในอันดับที่ 30
ในขณะที่ด้านการเมือง ถือว่าค่อนข้างเด่นชัด ผู้หญิงจีนครองตำแหน่งในสภาถึง 23 เปอร์เซ็นต์ ส่วนญี่ปุ่น อยู่ที่ 11 เปอร์เซ็นต์ และเกาหลีใต้ มีอยู่ประมาณ 16 เปอร์เซ็นต์
ด้านอินเดีย แม้จะมีตัวเลขดัชนี การมีส่วนร่วมทางการเมืองใกล้เคียงญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ นั่นคือ 11 เปอร์เซ็นต์ แต่ทว่า สถานการณ์ด้านสุขภาพของผู้หญิงอินเดีย อยู่ในระดับน่าหวั่นวิตก
อินเดีย มีอัตราผู้หญิงเสียชีวิตด้วยเหตุดังกล่าว 1 คนในทุก 170 คน ส่วนอัตราการตายของเด็กต่ำกว่า 5 ปี อยู่ที่ 56.3 คนต่อเด็กแรกเกิด 1,000 คน ตัวเลขดังกล่าวจึงฉุดอินเดีย ลงไปอยู่อันดับ 137 ของโลก
“สถานการณ์ของอินเดีย สะท้อนให้เห็นการขาดแคลนความเอาใจใส่ทางการเมือง และการเต็มใจลงทุนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของมารดาและเด็ก” นายเฉียน เสี่ยวเฟิง สื่อมวลชนประจำมูลนิธิส่งเสริมเด็กและเยาวชน (Save the Children) ประเทศจีน กล่าว
ส่วน อเมริกาถือว่าถอยหลังไปบ้าง ในแง่การดูแลมารดา อเมริกาอยู่ในกลุ่มประเทศที่ก้าวหน้าน้อย ในเรื่องการรอดชีวิตของมารดาและเด็ก ตั้งแต่ปี 2545 แม้ว่าจะมีอันดับรวมอยู่ที่ 31
อนึ่ง อันดับ 1 ถึง 5 ของโลก เป็นบรรดาประเทศในยุโรปเหนือ ซึ่งมีสวัสดิการทางสังคมเป็นอย่างดี ได้แก่ ประเทศ ฟินแลนด์ นอร์เวย์ สวีเดน ไอซ์แลนด์ และเนเธอแลนด์ ตามลำดับ