เซาท์ไชน่า มอร์นิ่งโพสต์- ด้วยกระแสไหลบ่าของกลุ่มมหาเศรษฐีจีน ทำให้ยอดผู้อพยพย้ายถิ่นในประเทศนิวซีแลนด์ สูงเป็นประวัติการณ์ในรอบ 10 กว่าปี
ผู้อพยพย้ายถิ่นในนิวซีแลนด์ สูงเป็นประวัติการณ์ในรอบ 11 ปี เท่ากับ 31,900 ในปีนี้(2557) ถึงเดือนมี.ค. โดยชาวจีนเป็นกลุ่มชาติที่เข้ามาอาศัยระยะยาวมากที่สุด เท่ากับ 6,200 คน ในขณะที่อินเดียตามมาเป็นอันดับสอง 6,100 คน และอังกฤษเป็นอันดับสาม 5,800 คน ในช่วงเวลาเดียวกัน
“ผู้อพยพชาวจีนครึ่งหนึ่งเข้ามาตามแผนงานการลงทุน ส่วนที่เหลือเป็นผู้ปกครองที่ย้ายตามบุตรหลานซึ่งเข้ามาศึกษาต่อที่นี่” นายหมิง เถียง ผู้จัดการบริษัทฉีวี่ ในโอ๊คแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์ ซึ่งให้บริการดูแลเรื่องอพยพย้ายถิ่น กล่าว “สิ่งที่ดึงดูดครอบครัวชาวจีนมากที่สุดก็คือ สิ่งแวดล้อมที่สวยงาม สภาพอากาศที่ดี และการดำเนินชีวิตที่ได้มาตรฐาน”
นิวซีแลนด์ เริ่มออกนโยบายดึงดูดเศรษฐีจีน หลังจากที่แคนาดา ซึ่งก่อนนั้น มีชาวจีนนิยมอพยพไปตั้งถิ่นฐานมากที่สุด ออกกฎเข้มงวดเรื่องวีซ่าผู้อพยพเข้าประเทศหลังจากเผชิญภาวะคนจีนพยายามขอสิทธิพลเมืองจนล้นอัตรา
เมื่อเร็วๆนี้นายจอห์น คีย์ นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ กล่าวว่า เขาต้องการให้นักลงทุนจีนและฮ่องกง นำเงินมาลงทุนในสินทรัพย์ถาวร อุตสาหกรรมการผลิต และอสังหาริมทรัพย์ อาทิ โรงแรม มากกว่าการลงทุนในที่ดิน
นโยบาย “เพิ่มนักลงทุน” ของนิวซีแลนด์ ยินยอมให้ผู้ที่ลงทุนราว 42.5 ล้านหยวน เป็นเวลามากกว่า 3 ปี มีสิทธิพำนักอยู่ในประเทศได้ โดยที่นักลงทุนผู้เข้าร่วมโครงการดังกล่าว ไม่จำเป็นต้องมีทักษะภาษาอังกฤษ หรือมีประสบการณ์ในการทำธุรกิจมาก่อน
ส่วนอีกตัวเลือกหนึ่งที่มีราคาต่ำกว่าก็คือ การเป็นนักลงทุนที่พร้อมลงทุนราว 6.5 ล้านหยวน เป็นเวลานาน 4 ปี ก็มีสิทธิพำนักอยู่ในประเทศนี้ได้ แต่เงื่อนไขนี้ นักลงทุนต้องสื่อสารภาษาอังกฤษได้
ในขณะที่ล็อบบี้ยิสต์ ที่ต้องการนโยบายที่ผ่อนปรนนี้ ชี้ว่านิวซีแลนด์กำลังพลาดกลุ่มนักลงทุนจำนวนมาก ที่มีเงินลงทุนอยู่ระหว่าง 6.5 ล้านหยวน ถึง 42.5 ล้านหยวน แต่ไม่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ “นโยบายดึงดูดนักลงทุนของนิวซีแลนด์ถือว่าค่อนข้างยากเพราะวางเงื่อนไขไว้สูง” นายวิคเตอร์ ลัม รองผู้อำนวยการบริษัทเวลล์ เทรนด์ ยูไนเตด ในปักกิ่ง ผู้ให้คำปรึกษาด้านการอพยพโยกย้ายถิ่น ให้ความเห็น
อุปสรรคใหญ่ที่สุดข้อหนึ่งสำหรับนักลงทุนจีนก็คือ การนำเงินออกนอกประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ ซึ่งมีข้อบังคับเข้มงวดเรื่องการเคลื่อนย้ายเงินทุน นายลัม ระบุ “ก่อนหน้านี้ ผู้สมัครร่วมโครงการจะติดต่อเพื่อนและญาติ เพื่อให้ช่วยเหลือในเรื่องดังกล่าว”
ผู้อพยพย้ายถิ่นในนิวซีแลนด์ สูงเป็นประวัติการณ์ในรอบ 11 ปี เท่ากับ 31,900 ในปีนี้(2557) ถึงเดือนมี.ค. โดยชาวจีนเป็นกลุ่มชาติที่เข้ามาอาศัยระยะยาวมากที่สุด เท่ากับ 6,200 คน ในขณะที่อินเดียตามมาเป็นอันดับสอง 6,100 คน และอังกฤษเป็นอันดับสาม 5,800 คน ในช่วงเวลาเดียวกัน
“ผู้อพยพชาวจีนครึ่งหนึ่งเข้ามาตามแผนงานการลงทุน ส่วนที่เหลือเป็นผู้ปกครองที่ย้ายตามบุตรหลานซึ่งเข้ามาศึกษาต่อที่นี่” นายหมิง เถียง ผู้จัดการบริษัทฉีวี่ ในโอ๊คแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์ ซึ่งให้บริการดูแลเรื่องอพยพย้ายถิ่น กล่าว “สิ่งที่ดึงดูดครอบครัวชาวจีนมากที่สุดก็คือ สิ่งแวดล้อมที่สวยงาม สภาพอากาศที่ดี และการดำเนินชีวิตที่ได้มาตรฐาน”
นิวซีแลนด์ เริ่มออกนโยบายดึงดูดเศรษฐีจีน หลังจากที่แคนาดา ซึ่งก่อนนั้น มีชาวจีนนิยมอพยพไปตั้งถิ่นฐานมากที่สุด ออกกฎเข้มงวดเรื่องวีซ่าผู้อพยพเข้าประเทศหลังจากเผชิญภาวะคนจีนพยายามขอสิทธิพลเมืองจนล้นอัตรา
เมื่อเร็วๆนี้นายจอห์น คีย์ นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ กล่าวว่า เขาต้องการให้นักลงทุนจีนและฮ่องกง นำเงินมาลงทุนในสินทรัพย์ถาวร อุตสาหกรรมการผลิต และอสังหาริมทรัพย์ อาทิ โรงแรม มากกว่าการลงทุนในที่ดิน
นโยบาย “เพิ่มนักลงทุน” ของนิวซีแลนด์ ยินยอมให้ผู้ที่ลงทุนราว 42.5 ล้านหยวน เป็นเวลามากกว่า 3 ปี มีสิทธิพำนักอยู่ในประเทศได้ โดยที่นักลงทุนผู้เข้าร่วมโครงการดังกล่าว ไม่จำเป็นต้องมีทักษะภาษาอังกฤษ หรือมีประสบการณ์ในการทำธุรกิจมาก่อน
ส่วนอีกตัวเลือกหนึ่งที่มีราคาต่ำกว่าก็คือ การเป็นนักลงทุนที่พร้อมลงทุนราว 6.5 ล้านหยวน เป็นเวลานาน 4 ปี ก็มีสิทธิพำนักอยู่ในประเทศนี้ได้ แต่เงื่อนไขนี้ นักลงทุนต้องสื่อสารภาษาอังกฤษได้
ในขณะที่ล็อบบี้ยิสต์ ที่ต้องการนโยบายที่ผ่อนปรนนี้ ชี้ว่านิวซีแลนด์กำลังพลาดกลุ่มนักลงทุนจำนวนมาก ที่มีเงินลงทุนอยู่ระหว่าง 6.5 ล้านหยวน ถึง 42.5 ล้านหยวน แต่ไม่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ “นโยบายดึงดูดนักลงทุนของนิวซีแลนด์ถือว่าค่อนข้างยากเพราะวางเงื่อนไขไว้สูง” นายวิคเตอร์ ลัม รองผู้อำนวยการบริษัทเวลล์ เทรนด์ ยูไนเตด ในปักกิ่ง ผู้ให้คำปรึกษาด้านการอพยพโยกย้ายถิ่น ให้ความเห็น
อุปสรรคใหญ่ที่สุดข้อหนึ่งสำหรับนักลงทุนจีนก็คือ การนำเงินออกนอกประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ ซึ่งมีข้อบังคับเข้มงวดเรื่องการเคลื่อนย้ายเงินทุน นายลัม ระบุ “ก่อนหน้านี้ ผู้สมัครร่วมโครงการจะติดต่อเพื่อนและญาติ เพื่อให้ช่วยเหลือในเรื่องดังกล่าว”