xs
xsm
sm
md
lg

ฮ่องกงเล็งคุมเข้มกฎหมายสกัดทัวร์ตรวจเพศทารกฯในต่างแดน ไทย สหรัฐฯ ฯลฯ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

จากสถิติตัวเลขกลุ่มการแพทย์เพื่อการเจริญพันธุ์ (Reproductive Partners Medical Group) ในนครเซี่ยงไฮ้ ระบุอัตราความต้องการลูกเพศชาย-หญิง ในกลุ่มคู่สามี-ภรรยาจากกรุงปักกิ่ง และเซี่ยงไฮ้ เท่ากับ 62/38 ขณะที่เมืองใหญ่ระดับรองๆลงไป อย่าง ก่วงตง (กวางตุ้ง) ต้องการลูกชาย เท่ากับ 79/21 (ภาพ เอเจนซี)
เซาท์ ไชน่า มอร์นิ่ง โพสต์—สาธารณสุขฮ่องกงเตรียมห้ามโฆษณาแพคเกจท่องเที่ยวควบกับการบริการด้านสุขภาพ สืบเนื่องจากกระแสคู่สามี-ภรรยาต้องการเลือกเพศลูก ขยายตัวมากขึ้น

ทั้งนี้ การเลือกเพศลูก เป็นสิ่งผิดกฎหมายในฮ่องกง แต่ความต้องการเลือกเพศลูกมีแต่ขยายตัวขึ้น จนธุรกิจจัดบริการตรวจเพศทารกในครรภ์ ผุดขึ้นมากมาย โดยธุรกิจเหล่านี้จะอาศัยพื้นที่สีเทาทางกฎหมาย จัดบริการนำเที่ยวไปยังคลินิกต่างๆในประเทศไทย และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น ที่ไม่มีกฎหมายห้ามการตรวจเพศทารกในครรภ์

ผู้สื่อข่าว สื่อฮ่องกง Sunday Morning Post ได้ติดตามเจาะข่าวฯนี้ พบว่ามีกลุ่มครอบครัวที่มั่งคั่งในฮ่องกง และแผ่นดินใหญ่จำนวนมากขึ้นๆ พร้อมที่จะจ่ายเพื่อเลือกเพศลูก ทำให้กลุ่มบริษัทธุรกิจทุ่มการโฆษณาจัดบริการสนองความต้องการของพ่อแม่เหล่านี้ได้แก่ แพคเกจท่องเที่ยวตรวจเพศทารกในต่างแดน สนนราคาสูงถึง 2.3 ล้านเหรียญฮ่องกงหรือ ประมาณ 9.2 ล้านบาท

โฆษกสำนักงานสุขภาพและอาหาร กล่าวว่าในช่วงไม่กี่ปีมานี้ โฆษณานำเที่ยวควบกับการบริการสุขภาพ(medical tourism) ขยายตัวมากขึ้น และทางหน่วยงานฯก็กำลังออกกฎหมายมาสกัด โดยจะห้ามการโฆษณาในท้องถิ่นหรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเลือกเพศลูก ได้แก่ เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ เป็นต้น ไม่ว่าจะดำเนินการที่ใดก็ตาม

กลุ่มคู่สมรสจากฮ่องกงและจีน จำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ได้เดินทางไปยังไทย สหรัฐฯ แอฟริกาใต้ และตะวันออกกลาง เป็นต้น ที่กฎหมายมิได้ห้ามการตรวจเพศทารก

นาย Alfred Siu Wing-fung ฝ่ายจัดบริการแพคเกจนำเที่ยวควบบริการด้านสุขภาพของโรงพยาบาลดีเดน ( Eden Hospitality) ในฮ่องกง เผยว่ามีลูกค้าจองแพคเกจฯของเขา 300 คู่ โดยเพิ่มจากปีที่แล้ว 200 คู่

Siu กล่าวว่า เขาไม่ได้ทำผิดกฎหมาย มันก็เหมือนกับการพนัน ซึ่งกฎหมายฮ่องกงห้ามการพนัน แต่ผมก็สามารถหาช่องทางให้คุณ และจัดบริการนำเที่ยวไปยังมาเก๊า ในฮ่องกงก็มิได้ห้ามการโฆษณานำเที่ยวบ่อนคาสิโน ซึ่งก็เหมือนกัน”

สำหรับวิธีการตรวจสอบ เพียงการตรวจเชื้อโรคทางพันธุกรรมของตัวอ่อนที่เพิ่งปฏิสนธิ ก็สามารถระบุเพศของเด็กได้แล้ว วิธีการดังกล่าวมีมาตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 1990 แต่ด้วยกระแสวิตกกังวลเกี่ยวกับความเกี่ยวพันกับการปรับปรุงลักษณะทางพันธุกรรมของมนุษย์ (eugenic implications) ทำให้แทบทุกประเทศออกกฎควบคุมอย่างเข้มงวด

กฎหมายว่าด้วยเทคโนโลยีการเจริญพันธุ์ในมนุษย์ (Human Reproductive Technology Ordinance) ปี 2550 ของฮ่องกง ห้ามการใช้เทคโนโลยีการเจริญพันธุ์ เพื่อเลือกเพศของทารก ยกเว้นกรณีโรคทางกรรมพันธุ์ที่เชื่อมโยงกับเพศ บทลงโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืน ได้แก่ โทษปรับ ถึง 25,000 เหรียญฮ่องกง (ราว 100,000 บาท) และอาจถูกจำคุก 6 เดือน

แต่ Puja Kapai ผู้อำนวยการศูนย์การเปรียบเทียบและกฎหมายมหาชน (Centre for Comparative and Public Law)แห่งมหาวิทยาลัยฮ่องกง “นอกเหนือจากการพิจารณา ที่มักมีการชี้ถึงบริบททางวัฒนธรรมจีน ที่ลำเอียงชอบเด็กชาย แต่พวกเขาก็ยังละเมิดสนธิสัญญาสหประชาชาติ ที่ครอบคลุมการเลือกปฏิบัติต่อเพศหญิง”

จากสถิติตัวเลขกลุ่มการแพทย์เพื่อการเจริญพันธุ์ (Reproductive Partners Medical Group) ในนครเซี่ยงไฮ้ ระบุอัตราความต้องการลูกเพศชาย-หญิง ในกลุ่มคู่สามี-ภรรยาจากกรุงปักกิ่ง และเซี่ยงไฮ้ เท่ากับ 62/38 ขณะที่เมืองใหญ่ระดับรองๆลงไป อย่าง ก่วงตง (กวางตุ้ง) ต้องการลูกชาย เท่ากับ 79/21

ในกลุ่มคลินิกในเมืองไทย เผยว่าพ่อแม่ชาวฮ่องกงอยากได้ลูกผู้หญิงมากกว่า Emily Soo ผู้จัดการฝ่ายการตลาดของโรงพยาบาลบีเอ็นเอช (BNH Hospital) ในกรุงเทพฯ กล่าว

กลุ่มบริษัทที่จัดบริการเหล่านี้ในฮ่องกง ได้แก่ a Fertility-Plus Consultancy และ Premier Health Services โดยตั้งราคาจาก 250,000 เหรียญฮ่องกง ไปถึง 2.3 ล้านเหรียญฮ่องกง ขึ้นอยู่กับประเทศเป้าหมายปลายทาง

จากปี 2521 เป็นต้นมา มีทารกที่เกิดจากเทคโนโลยีการเจริญพันธุ์ช่วย ประมาณ 5 ล้านคน ทั้งนี้ เป็นสถิติตัวเลขของคณะกรรมการระหว่างประเทศว่าด้วยการติดตามเทคโนโลยีการเจริญพันธุ์ .
กำลังโหลดความคิดเห็น