xs
xsm
sm
md
lg

ภาค&​ผลิตจีนชะลอตัว สะท้อนปัจจัยพื้นฐาน&​ ศก. ยัง&​ไม่&​&​แกร่ง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

รถยนต์ส่งออกจอดที่ท่าเรือเหลียงอวิ๋นกัง มณฑลเจียงซู วันที่ 31 มี.ค. 2556 – รอยเตอร์
เอเจนซี -จีนเผยภาคการผลิตเดือน เม.ย.ชะลอตัว สะท้อนให้เห็นว่า การฟื้นตัวในระดับปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของจีนยังไม่แข็งแกร่งเพียงพอ

สื่อจีนรายงาน (1 พ.ค.) สหพันธ์พลาธิการและการจัดซื้อของจีน เผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเดือน เม.ย.อยู่ที่ระดับ 50.6 ลดจากเดือนมีนาคม ที่ระดับ 50.9

รายงานข่าวกล่าวว่า แม้ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ จะสูงกว่า 50 ซึ่งบ่งชี้ว่า กิจกรรมในภาคการผลิตขยายตัว และยังเป็นการเคลื่อนไหวเหนือระดับ 50 มาเป็นเวลาติดต่อกัน 7 เดือนแล้ว แต่การชะลอตัวก็สามารถสะท้อนให้เห็นว่า จีนจำเป็นต้องใช้มาตรการเพิ่มเติมเพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ

นายจาง หลี่คุน นักวิเคราะห์จากศูนย์วิจัยด้านการพัฒนาของจีน กล่าวว่า ดัชนี PMI เดือน เม.ย.สะท้อนให้เห็นว่า การฟื้นตัวในระดับปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของจีนยังไม่แข็งแกร่งเพียงพอ นอกจากนี้ รายงานของสหพันธ์ฯ ระบุว่า ภาคการผลิตของจีน ในเดือน เม.ย.มียอดสั่งซื้อสินค้าใหม่ ลดลงร้อยละ 0.6 อยู่ที่ระดับ 51.7 ขณะที่ดัชนีสต็อกสินค้าปรับตัวลดลงร้อยละ 2.5 อยู่ที่ระดับ 47.7 สะท้อนให้เห็นถึงภาวะการขาดความเชื่อมั่นของภาคเอกชน นายจาง กล่าวย้ำว่า รัฐบาลจีนต้องพยายามรักษาเสถียรภาพของอุปสงค์ในประเทศ และปรับปรุงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของจีนอย่างยั่งยืนต่อไป

เอชเอสบีซีแถลงเมื่อวันอังคาร (23 เม.ย.) ว่า ดัชนี PMI ประจำเดือน เม.ย.ของจีนลดลงแตะ 50.5 จาก 51.6 ในเดือน มี.ค.แต่ยังคงแข็งแกร่งกว่าในเดือน ก.พ.ซึ่งอยู่ที่ 50.4

ก่อนหน้านี้ เอชเอสบีซี ได้เผยคาดการณ์ ดัชนี PMI ประจำเดือน เม.ย ว่าปรับตัวลง เนื่องจากคำสั่งซื้อสินค้าส่งออกงวดใหม่ลดลงมาอยู่ที่ 48.6 จาก 50.5 ในเดือน มี.ค.สะท้อนถึงความต้องการของตลาดโลก ที่อ่อนแอกว่าเดิมท่ามกลางสภาพการณ์ที่เศรษฐกิจสหรัฐฯยังคงฟื้นตัวอย่างแผ่วเบา ขณะที่เศรษฐกิจกลุ่มชาติยูโรโซนติดอยู่ในภาวะถดถอย โดยคำสั่งซื้อสินค้าส่งออกไปยังไต้หวัน ซึ่งเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์เทคโนโลยีรายใหญ่ที่สุดรายหนึ่งในภูมิภาค ได้ลดลงเหนือการคาดหมาย อันเป็นการส่อเค้าว่า เศรษฐกิจของชาติในเอเชีย ซึ่งพึ่งพาการค้าอาจกำลังสูญเสียแรงขับเคลื่อนต่อไป

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลจีน ได้พยายามมากขึ้นในการกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ รักษาเสถียรภาพราคาสินค้า และส่งเสริมการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อรักษาความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่มั่นคง ขณะที่ ในไตรมาสแรกของปีนี้ การเจริญเติบโต ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศจีน ชะลอตัวลงอย่างไม่คาดคิดที่ร้อยละ 7.7 โดยลดลงจากร้อยละ 7.9 ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีที่แล้ว
กำลังโหลดความคิดเห็น