เซาท์ไชน่ามอร์นิ่งโพสต์-แหล่งข่าวใกล้ชิดและสื่อรายงานว่าผู้ช่วยบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ในเครือ “โรงเรียนศูนย์กลางพรรคฯ” ถูกให้พักงาน เนื่องจากเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาผู้ช่วยบรรณาธิการท่านนี้ได้เขียนบทความลงสื่อชั้นนำของอังกฤษ เดอะ ไฟแนนเชียล ไทม์ส (Financial Times) เรียกร้องให้ประเทศจีนถอยห่างออกจากเกาหลีเหนือ
เติ้ง ยู่เหวินเหวิน ผู้ช่วยบรรณาธิการหนังสือพิมพ์เวลาแห่งการศึกษา กล่าวกับ South Korea's Chosun Ilbo ว่า เขาถูกพักงานอย่างไม่มีกำหนดเพราะเขียนบทความที่มีประเด็น “อ่อนไหว” กระนั้นเขายังรับเงินเดือนจากสำนักพิมพ์อยู่ เขากล่าวเพิ่มเติมว่า “ผมถูกถอดออกจากตำแหน่ง โดยยังไม่รู้ว่าจะถูกย้ายไปกินตำแหน่งใด”
เนื้อหาบทความของเติ้ง ยู่เหวิน แสดงทัศนะถึงประเด็นที่เกาหลีเหนือดำเนินการทดสอบนิวเคลียร์ครั้งที่ 3 จะเป็นโอกาสอันดีที่จีนควรใช้ในการถอยห่างจาก “ราชวงศ์ คิม” และประเมินสถานะพันธมิตรเสียใหม่ ทั้งนี้ เขาชี้ให้เห็นถึงเหตุผลสนับสนุนหลายประการที่รัฐบาลปักกิ่งควร “ทิ้ง” รัฐบาลเปียงยางและควรสร้างเอกภาพให้เกิดขึ้นบนคาบสมุทรเกาหลี
“ทั้งจีนและเกาหลีเหนือเป็นประเทศสังคมนิยมที่ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐวางอยู่บนพื้นฐานของอุดมการณ์ทางการเมือง ซึ่งจะเป็นอันตรายมากกว่าท่าทีของจีนที่ไม่เห็นคล้อยตามตะวันตก และการที่จีนเป็นพันธมิตรทางภูมิศาสตร์การเมืองกับเกาหลีเหนือจะดึงจีนเข้าสู่สงคราม”
เติ้ง ยู่เหวิน อ้างว่าบทความนี้ทำให้กระทรวงการต่างประเทศจีน “หงุดหงิด” และเรียก “โรงเรียนศูนย์กลางพรรคฯ” ไปตำหนิ อย่างไรก็ดี ภายหลัง เติ้ง ยู่เหวิน เสนอประเด็นนี้ออกมาก็ได้รับการโต้แย้งจากปัญญาชนหลายฝ่าย
จาง ยุ่นหลิง นักวิชาการสังคมศาสตร์ด้านกิจการเอเชียแปซิฟิก ให้ความเห็นว่า “นโยบายของปักกิ่งต่อประเด็นเกาหลีเหนือกำลังประสบปัญหา และการที่จีนให้ความร่วมมือตามกรอบของสหประชาชาติในการแก้ไขปัญหาคาบสมุทรเกาหลี แสดงให้เห็นว่าในระยะยาวจีนอาจปรับเปลี่ยนบทบาท”
ทั้งนี้ จาง ยุ่นหลิง ตั้งข้อสงสัยต่อประเด็นเรียกร้องให้ปรับนโยบายต่างประเทศเพื่อถอยห่างจากเกาหลีเหนือว่า จีนจะพร้อมหรือไม่ หากเกิดสงครามในภูมิภาคแล้วไม่มีเกาหลีเหนือเป็นพันธมิตร
เติ้ง ยู่เหวินเหวิน ผู้ช่วยบรรณาธิการหนังสือพิมพ์เวลาแห่งการศึกษา กล่าวกับ South Korea's Chosun Ilbo ว่า เขาถูกพักงานอย่างไม่มีกำหนดเพราะเขียนบทความที่มีประเด็น “อ่อนไหว” กระนั้นเขายังรับเงินเดือนจากสำนักพิมพ์อยู่ เขากล่าวเพิ่มเติมว่า “ผมถูกถอดออกจากตำแหน่ง โดยยังไม่รู้ว่าจะถูกย้ายไปกินตำแหน่งใด”
เนื้อหาบทความของเติ้ง ยู่เหวิน แสดงทัศนะถึงประเด็นที่เกาหลีเหนือดำเนินการทดสอบนิวเคลียร์ครั้งที่ 3 จะเป็นโอกาสอันดีที่จีนควรใช้ในการถอยห่างจาก “ราชวงศ์ คิม” และประเมินสถานะพันธมิตรเสียใหม่ ทั้งนี้ เขาชี้ให้เห็นถึงเหตุผลสนับสนุนหลายประการที่รัฐบาลปักกิ่งควร “ทิ้ง” รัฐบาลเปียงยางและควรสร้างเอกภาพให้เกิดขึ้นบนคาบสมุทรเกาหลี
“ทั้งจีนและเกาหลีเหนือเป็นประเทศสังคมนิยมที่ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐวางอยู่บนพื้นฐานของอุดมการณ์ทางการเมือง ซึ่งจะเป็นอันตรายมากกว่าท่าทีของจีนที่ไม่เห็นคล้อยตามตะวันตก และการที่จีนเป็นพันธมิตรทางภูมิศาสตร์การเมืองกับเกาหลีเหนือจะดึงจีนเข้าสู่สงคราม”
เติ้ง ยู่เหวิน อ้างว่าบทความนี้ทำให้กระทรวงการต่างประเทศจีน “หงุดหงิด” และเรียก “โรงเรียนศูนย์กลางพรรคฯ” ไปตำหนิ อย่างไรก็ดี ภายหลัง เติ้ง ยู่เหวิน เสนอประเด็นนี้ออกมาก็ได้รับการโต้แย้งจากปัญญาชนหลายฝ่าย
จาง ยุ่นหลิง นักวิชาการสังคมศาสตร์ด้านกิจการเอเชียแปซิฟิก ให้ความเห็นว่า “นโยบายของปักกิ่งต่อประเด็นเกาหลีเหนือกำลังประสบปัญหา และการที่จีนให้ความร่วมมือตามกรอบของสหประชาชาติในการแก้ไขปัญหาคาบสมุทรเกาหลี แสดงให้เห็นว่าในระยะยาวจีนอาจปรับเปลี่ยนบทบาท”
ทั้งนี้ จาง ยุ่นหลิง ตั้งข้อสงสัยต่อประเด็นเรียกร้องให้ปรับนโยบายต่างประเทศเพื่อถอยห่างจากเกาหลีเหนือว่า จีนจะพร้อมหรือไม่ หากเกิดสงครามในภูมิภาคแล้วไม่มีเกาหลีเหนือเป็นพันธมิตร