xs
xsm
sm
md
lg

ชี้ “มลภาวะทางแสง” ในฮ่องกง เลวร้ายสุดในโลก

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

เซาท์ไชน่ามอร์นิ่งโพสต์- ผลการสำรวจจากนักวิจัย คณะฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยฮ่องกงชี้ฮ่องกงเป็นเมืองที่มี “มลภาวะแสง” มากที่สุดในโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในย่านที่มีชื่อเสียงอย่าง Tsim Sha Tsui ถึงพื้นที่ชานเมือง Sai Kung ซึ่งปริมาณค่าความสว่างรุนแรงระดับสูงเช่นนี้ ส่งผลกระทบต่อนาฬิกาชีวภาพในร่างกาย การทำงานของสมอง และฮอร์โมนอย่างมีนัยสำคัญ

เชื่อกันว่าเกาะฮ่องกงเป็นเมืองที่มี “มลภาวะแสง” มากที่สุดในโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน ย่าน Tsim Sha Tsui นั้น มีปริมาณการส่องสว่างของแสงมากกว่าท้องฟ้าในยามค่ำคืนปรกติถึง 1,200 เท่า ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ชี้ว่าอาจส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิต
การศึกษาของมหาวิทยาลัยแห่งฮ่องกงระบุว่าฮ่องกงเป็นหนึ่งในเขตที่ประสบมลภาวะแสงอย่างเลวร้ายที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยท้องฟ้าเหนือใจกลางเมืองในยามค่ำคืน มีความสว่างมากกว่าระดับมาตรฐานท้องฟ้ายามราตรี ที่นานาชาติกำหนด ระหว่าง 100 ถึงมากกว่า1,000 เท่า ในภาพ: ประชาชนกำลังพักผ่อนบริเวณอ่าววิกตอเรีย ฮ่องกง (ภาพ รอยเตอร์)
การค้นพบที่น่าตกใจนี้สำรวจโดย ดร. Jason Pun Chun-shing คณะฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยฮ่องกง เขากล่าวว่า “ไม่มีพื้นที่ใดบนโลกประสบภาวะเลวร้ายในระดับนี้”

ฮ่องกงไม่มีกฎหมายควบคุมจัดการในเรื่องปริมาณการส่องสว่างของแสงภายนอก เช่นมหานครอย่างลอนดอน แฟรงค์เฟิร์ส ซิดนีส์ และซ่างไห่ (เซี่ยงไฮ้) กระนั้น Wong Kam-sing เลขาธิการด้านสิ่งแวดล้อม คาดหวังว่าในกลางปีนี้รัฐบาลฮ่องกงจะดำเนินการเสนอเรื่องการควบคุมจัดการ “การใช้แสง” ให้สาธารณชนพิจารณา

ในการศึกษาด้านมลภาวะทางแสง ตลอดระยะเวลามากกว่าสามปีนักวิทยาศาสตร์ต่างเก็บตัวอย่างการศึกษาจากสถานีติดตามผล โดยใช้เครื่องมือ อาทิ มิเตอร์วัดคุณภาพท้องฟ้าที่ติดตั้งบนหลังคา พบว่าพิพิธภัณฑ์เดอะเสปซ ใน Tsim Sha Tsui เป็นพื้นที่ที่มีค่าวัดคุณภาพท้องฟ้าต่ำที่สุด โดยเฉพาะช่วงเวลา เวลา 2 ทุ่มครึ่งถึง 5ทุ่ม เกินกว่าค่ามาตรฐานของสมาพันธ์ดาราศาสตร์ระหว่างประเทศ ถึง 1,200 เท่า ซึ่งแสงสว่างจะค่อยๆลดลงหลัง 5 ทุ่มเป็นต้นไป
พิพิธพัณฑ์เดอะเสปซเป็นพื้นที่ที่มีค่าวัดคุณภาพท้องฟ้าต่ำที่สุด (ภาพโดย SCMRP)
แม้แต่บริเวณชมดาวสวนแอสโทร ใกล้เกาะสูงรีเซอวัว พบค่าแสงสว่างที่เกินมาตรฐาน 20 เท่า ในขณะที่ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพชี้ว่ามลภาวะทางแสงจะกระทบนาฬิกาชีวภาพในร่างกาย การทำงานของสมอง และฮอร์โมน

Dr. Pun อ้างถึงเมืองในทวีปยุโรป เช่น มาดริด และ ฟลอเรนซ์ ที่มีค่าแสงสว่างปรกติและค่ามาตรฐานแสงสว่างต่ำกว่าถึง 100 เท่า ในฮ่องกงแสงไฟจากป้ายโฆษณาและแสงไฟส่องสว่างเป็นปัญหาหลัก “แสงไฟควรจะใช้เพื่อความปลอดภัย ประโยชน์ในชีวิตประจำวันของประชาชน เพื่อมนุษย์ไม่ใช่สำหรับท้องฟ้า แต่เราพบเห็นแสงจำนวนมากถูกส่องไปที่ท้องฟ้า”

Yiu Vor ประธานสมาคมกีฎวิทยา ฮ่องกง เกรงว่าแสงสว่างที่เกินมาตรฐานจะกระทบการขยายพันธุ์ของหิ่งห้อย ที่อาศัยแสงเป็นสัญญาณในการหาคู่และดำรงชีวิต

Dr .Pun ชี้ว่าเมืองฮ่องกงต้องการมาตรการ “เข้มงวด” เพื่อจัดการปัญหานี้แทนการขอความร่วมมือ เช่นเมืองซิดนีส์ ซึ่งการใช้ป้ายโฆษณาที่ใช้แสงไฟส่องสว่างของเอกชนต้องได้รับการพิจารณาเห็นชอบจากสภาเมือง ขณะที่ผู้สร้างมลภาวะเหล่านี้ในเมืองลอนดอนอาจรับโทษปรับหรือจำคุก

อนึ่ง จากข้อมูลของนิตยสารข่าวสารอากาศและเสียง เดือน มกราคม - มีนาคม พ.ศ. 2555 กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระบุว่า “มลพิษทางแสง” คือ สภาวะที่เกิดจากการใช้แสงมากเกินไปของเมืองหรือชุมชน ซึ่งมลพิษทางแสงสามารถจัดประเภทได้ดังนี้

1. Light trespass หมายถึง แสงที่ส่องผ่านเข้าไปในห้องหรืออาคารของบุคคลอื่นซึ่งก่อให้เกิดการ รบกวนกับการใช้ชีวิตของผู้อยู่อาศัยในอาคารดังกล่าว
2. Over - illumination หมายถึง การใช้แสงมากเกินความพอดี ส่งผลให้สิ้นเปลืองพลังงาน
3. Glare หมายถึง แสงจ้าที่ส่องเข้าตาซึ่งรบกวนความสามารถในการมองเห็น
4. Light cluster หมายถึง กลุ่มของแสงที่ก่อให้เกิดความสับสนและเป็นอุปสรรคในการมองเห็นมักหมายถึงกลุ่มของแสงที่ก่อให้เกิดความสับสนในการขับขี่รถยนต์และการลงจอดของเครื่องบิน
5. Sky glow หมายถึง แสงที่ส่องสว่างขึ้นไปบนท้องฟ้าขัดขวางการมองเห็นท้องฟ้ายามค่ำคืนและการศึกษาด้านดาราศาสตร์
กำลังโหลดความคิดเห็น