xs
xsm
sm
md
lg

จีนตั้งสำนักกิจการเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ดูแลข้อพิพาทเศรษฐกิจการเมือง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

นายจังจวิน ผู้อำนวยการคนแรกของกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ หน่วยงานใหม่ภายใต้สังกัดกระทรวงการต่างประเทศจีน (ภาพ-เอเยนซี่)
นายหยาง เจี๋ยฉือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจีน (ภาพ-เอเยนซี่)
เอเยนซี่--กระทรวงการต่างประเทศจีนได้จัดตั้งหน่วยงานใหม่ “สำนักงานกิจการเศรษฐกิจระหว่างประเทศ” ขึ้น สำหรับรองรับการทูตเศรษฐกิจ ซึ่งทวีความสำคัญยิ่งขึ้นในภารกิจการทูต และเพื่อปกป้องความมั่นคงทางเศรษฐกิจของชาติ
 
ความเคลื่อนไหวดังกล่าวแสดงว่า จีนได้ยอมรับอำนาจด้านเศรษฐกิจของตน นอกจากนี้ ในปัจจุบัน ข้อพิพาทธุรกิจระหว่างประเทศที่เชื่อมโยงกับปัจจัยการเมือง ก็มีมากขึ้น

เวปไซต์กระทรวงต่างประเทศจีนแถลงเมื่อวันที่ 9 ต.ค.กระทรวงการต่างประเทศได้จัดให้มีการประชุมเรื่องการจัดตั้งสำนักงานกิจการเศรษฐกิจระหว่างประเทศ โดยมีนายไต้ ปิ่งกั๋ว มุขมนตรี และนายหยาง เจี๋ยฉือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจีนเข้าร่วมประชุม

โดยในที่ประชุม นายหยาง เจี๋ยฉือกล่าวว่า การจัดตั้งกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ มีจุดประสงค์เพื่อเสริมสร้างการทูตเศรษฐกิจภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ของโลก โดยได้แต่งตั้งนายจัง จวิน อดีตเอกอัครราชทูตประจำประเทศฮอลแลนด์ เป็นผู้อำนวยการคนแรกของสำนักงานฯ

นายหงเหล่ยโฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงว่า สำนักงานกิจการเศรษฐกิจระหว่างประเทศมีบทความความรับผิดชอบ ได้แก่ กิจการเศรษฐกิจระหว่างประเทศ การส่งเจ้าหน้าที่เข้าร่วมประชุมระหว่างประเทศ อาทิ การประชุมกลุ่ม G20 กลุ่มประเทศ BRIC กลุ่ม APEC ตลอดจนส่งเสริมกลไกความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

รวมทั้งการร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับประเทศต่างๆภายใต้กรอบความร่วมมือของสหประชาชาติและกรอบการร่วมมือระดับภูมิภาค ตลอดจนการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับระบบการกำกับดูแลเศรษฐกิจโลก กฎระเบียบและปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาค

“ประเด็นเศรษฐกิจที่เกี่ยวพันกับการเมืองอย่างใกล้ชิด มีมากขึ้น และเป็นวาระใหญ่ที่ครอบงำการถกเถียงในเวทีประชุม จี 20” จู ไช่หวา รองอธิการบดี โรงเรียนเศรษฐกิจระหว่างประเทศ แห่ง มหาวิมยาลัยกิจการระหว่างประเทศแสดงความคิดเห็น
 
“เศรษฐกิจจีน เข้มแข็งมากขึ้น จนสามารถช่วยเหลือกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา และสหภาพยุโรป ที่กำลังเผชิญวิกฤตหนี้สิน ความเคลื่อนไหวนี้ยังช่วยให้จีนมีเสียงดังมากขึ้น และยืดหยุ่นมากขึ้นในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ”
 
เมื่อต้นปี เวิน จยาเป่า กล่าวว่า จีนกำลังพิจารณาที่จะเข้าไปมีบทบาทเกี่ยวข้องอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้นในการแก้ไขวิกฤตหนี้ยุโรป
 
นอกจากนี้ กรณีที่องค์กรใหม่นี้ จะมีบทบาทสำคัญในการดูแล ก็คือ กรณีการคว่ำบาตรสินค้าญี่ปุ่นของชาวจีน สืบเนื่องจากศึกพิพาทกรรมกสิทธิเหนือหมู่เกาะเตี้ยวอี๋ว์เมื่อเดือนก.ย.ที่ผ่านมา.
กำลังโหลดความคิดเห็น