เรื่องราวของเด็กสาวผู้ไม่ย่อท้อต่อชะตากรรม ทำงานพิเศษตั้งแต่อายุได้ 5 ขวบเพื่อหาเงินเลี้ยงพ่อพิการ แม่สติฟั่นเฟือน และน้องที่เป็นโรคหัวใจ เธอทำหน้าที่เป็นหัวหน้าครอบครัวที่เข้มแข็ง ฝ่าฟันจนน้องชายได้รับการผ่าตัดรักษา และแม้ในยามยากจนที่สุด เธอยังสละเงินเก็บกว่าครึ่งบริจาคให้กับผู้ที่เดือดร้อนกว่า เมื่อเรื่องราวของเธอเผยแพร่ออกไป ทำให้ผู้คนต่างยอมรับนับถือในพลังชีวิตที่แข็งแกร่งเกินวัยของเธอ
เหอผิง กำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 2 ภาควิชาภาษาต่างประเทศแห่งมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหูหนาน เธอหัวเราะเก่ง ชอบเล่นกีฬา รักการร้องเพลง เป็นทั้งเด็กเรียนและเด็กกิจกรรมแถวหน้าของทางมหาวิทยาลัย ความสดใสมีชีวิตชีวาของเธอคงจะไม่แตกต่างจากหนุ่มสาววัยเดียวกัน ถ้าเพียงแต่ว่าเหอผิงจะไม่ได้อยู่ในครอบครัวที่มีพ่อผู้พิการจากอุบัติเหตุ แม่ซึ่งเป็นโรคระบบประสาทบกพร่อง และน้องชายที่เป็นโรคหัวใจตั้งแต่กำเนิด
เหอผิง เกิดเมื่อปี 1991 เป็นชาวตำบลเฉิงถานเจียง เมืองหลิวหยัง มณฑลหูหนาน ครอบครัวของเธอเป็นครอบครัวยากจนเพียงไม่กี่ครอบครัวในเมืองที่ร่ำรวยจากการเป็นแหล่งผลิตพลุและประทัดส่งออกที่ขึ้นชื่อของประเทศจีน เหอหรงบิดาผู้เป็นหัวหน้าครอบครัวประสบอุบัติเหตุจนไม่สามารถทำงานหนักจึงต้องไปเป็นคนงานในโรงงานทำพลุ มารดาป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับระบบประสาท
ชีวิตไม่สิ้นก็ต้องดิ้นกันไป
เนื่องจากบิดามารดาร่างกายไม่แข็งแรง ต้องหมดเงินไปกับการรักษาพยาบาล ขณะที่รายได้ของครอบครัวไม่เพียงพอกับรายจ่าย เหอผิงที่เพิ่งจะรู้เดียงสาจึงหาทางหารายได้พิเศษด้วยการไปรับจ้างม้วนกระดาษห่อประทัดในโรงงานตั้งแต่อายุได้ 5 ขวบ เกี่ยวกับเรื่องนี้ เหอ อิ่งชุน ผู้อำนวยการโรงเรียนประถมศึกษาอู๋เถียนที่เหอผิงเคยเรียน เล่าให้ฟังว่ายังจำได้ดีถึงเวลาเปิดภาคเรียนใหม่ทุกเทอม เด็กหญิงเหอผิงจะกำเงินยับย่นยู่ยี่เลอะสีแดงที่มาจากน้ำพักน้ำแรงในโรงงานประทัดมาจ่ายค่าเทอมเสมอๆ ส่วนผลการเรียนของเหอผิงอยู่ในเกณฑ์ดีมาก โดยเหอผิงเล่าว่าความรักเรียนและความกระหายในวิชาความรู้ของเธอมาจากความกลัวที่ว่า อาจมีวันใดวันหนึ่งที่เธอจะ "ไม่มีโอกาสได้เรียนอีกต่อไป"
เมื่ออายุได้ 12 ปี เหอจวิน น้องชายผู้เป็นโรคหัวใจก็ถือกำเนิดขึ้นมาในครอบครัว ทว่าความยากลำบากในชีวิตของเหอผิง ดูเหมือนว่าเพิ่งเริ่มต้นขึ้นเท่านั้น เดือนมีนาคม ปี 2008 เหอหรงผู้พ่อเกิดมีเลือดออกในสมอง ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล 2 ครั้ง ใช้ค่าใช้จ่ายนับหมื่นหยวน เหอผิงจึงต้องลาหยุดเรียนชั่วคราวเพื่อไปเที่ยวขอรับบริจาคเงินค่ารักษาพ่อ จากบ้านญาติ โรงงานพลุ และองค์กรการกุศลของรัฐในท้องถิ่น จนกระทั่งได้เงินมารักษาพ่อสำเร็จ แต่อาการเลือดออกในสมองทำลายขาสองข้างของเหอหรงจนไม่สามารถเดินได้ปกติอีกต่อไป เหอหรงเล่าว่าวันที่ต้องออกจากโรงพยาบาล เขากลายเป็นคนทุพลภาพไม่สามารถทำงานหาเลี้ยงครอบครัวได้ จึงได้แต่ร้องไห้และจับมือบุตรสาวเอาไว้ แต่กลับเป็นเหอผิงบุตรสาวที่เข้มแข็งกว่า กล่าวปลอบใจพ่อว่า "เมื่อยังมีชีวิตก็ยังมีความหวัง ขอเพียงพ่อยังอยู่กับหนู เราจะข้ามผ่านมันไปด้วยกัน"
เหอผิงเล่าว่า ครั้งที่ 2 ที่บิดาต้องนอนโรงพยาบาล พ่อได้เรียกเธอมาข้างเตียงและกล่าวเชิงสั่งเสียว่า "ถ้าหนูเป็นลูกพ่อจริง ต้องหาทางรักษาโรคหัวใจให้น้อง" คำๆ นี้ราวกับสลักเอาไว้ในใจของเธอ โชคเข้าข้าง เมื่อวันหนึ่ง มีข่าวว่าองค์กรการกุศลระดับมณฑลร่วมมือกับโรงพยาบาลเซียงหย่าจัดโครงการผ่าตัดโรคหัวใจแต่กำเนิดฟรี 100 คน เหอผิงจึงพยายามทุกวิถีทาง เดินทางออกจากหมู่บ้านเพียงลำพังครั้งแล้วครั้งเล่าเพื่อขอให้น้องชายเข้าร่วมโครงการดังกล่าว สุดท้ายความพยายามของเธอก็ส่งผล น้องของเธอได้เข้าร่วมโครงการรับการผ่าตัดในที่สุดและการผ่าตัดก็ประสบผลสำเร็จอย่างดี
ปี 2009 เหอผิงสอบติดภาควิชาภาษาต่างประเทศแห่งมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหูหนาน เมื่อต้องไปศึกษาต่อ สิ่งที่เธอกังวลใจมากที่สุดยามห่างจากบ้านคือน้องชาย กลัวว่าน้องจะป่วย กลัวน้องเกิดอุบัติเหตุ กล้วน้องทานอาหารไม่ได้ กลัวน้องไม่โต ครั้งหนึ่งเหอผิงเล่าว่า เมื่อเธอกลับมาเยี่ยมบ้าน พบว่าน้องชายใบหน้าซีดเหลืองผิดปกติ เหอผิงจึงพาน้องชายไปหาหมอที่โรงพยาบาล ผลการตรวจพบว่าปริมาณสารตะกั่วในเลือดของน้องมากเกินไป ต่อมาค่อยทราบว่าช่วงที่เธอไม่อยู่จึงไม่มีคนไปตักน้ำสะอาดในบ่อที่อยู่ไกลออกไป 300 เมตรมาไว้ใช้ในบ้าน มารดาของเธอใช้น้ำในบึงข้างบ้านมาทำอาหาร ซึ่งอาจปนเปื้อนสารตะกั่วจากโรงงานพลุและประทัด ทำให้สารพิษสะสมในร่างกาย นอกจากนี้อาการป่วยของบิดามารดาก็ส่งผลกระทบต่อจิตใจเด็กน้อยที่ต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมเช่นนี้จนกลายเป็นเด็กซึมเศร้า
พี่สาวคนนี้จะดูแลน้องเอง!
เมื่อความคิดนี้ผ่านเข้ามา เด็กสาวที่กล้าคิดกล้าทำอย่างเหอผิงตัดสินใจทันที เธอไปขอร้องผู้อำนวยการโรงเรียนประถมในสังกัดมหาวิทยาลัยที่เธอเรียนอยู่ให้รับน้องเธอเข้าเรียน และพาน้องชายมาอาศัยอยู่ในห้องเช่าเล็กๆ ข้างโรงเรียนด้วยกัน 2 คนพี่น้อง ซึ่งเจ้าของห้องเช่าเมตตาคิดค่าเช่าเพียงครึ่งหนึ่ง จากนั้นเธอจึงดูแลเรื่องสุขภาพของน้องอย่างใกล้ชิด เธอมักจะอดเพื่อให้น้องอิ่มเสมอ เพราะเธอตั้งปนิธานเอาไว้ว่าต้องให้น้องได้กินปลาทุกวัน และได้กินผลไม้กับนมอย่างน้อยวันเว้นวัน เพื่อให้เด็กน้อยเติบโตอย่างแข็งแรง
ปัจจุบันเหอผิงทำงานพิเศษรวม 7 ที่ ทั้งงานสอนพิเศษเด็กตามบ้าน รับจ้างทำความสะอาดตึกเรียนตอนพักกลางวัน และเป็นเด็กเสิร์ฟ ตารางชีวิตประจำวันของเธอถูกจัดไว้อย่างแน่นเอี้ยด ตั้งแต่หกโมงเช้าถึงตีหนึ่ง ซึ่งความทุ่มเทของเหอผิงก็ไม่เสียเปล่า เพราะน้องชายของเธอค่อยๆ แข็งแรงขึ้น ร่าเริงขึ้น และเรียนดีขึ้นอย่างผิดหูผิดตา แม้ว่าสองพี่น้องจะไม่ค่อยได้กลับไปเยี่ยมบ้านเพราะเหอผิงต้องทำงานพิเศษรวมทั้งเสียดายค่าเดินทาง แต่เธอก็ส่งเงินไปให้ทางบ้านทุกเดือนเพื่อให้พ่อแม่ได้ในชีวิตประจำวันและใช้ไปหาหมอ เมื่อถึงเทศกาลพิเศษเช่น ตรุษจีน เธอก็ไม่ลืมที่จะซื้อเสื้อผ้าใหม่ๆ ให้พ่อ แม่ และน้องเสมอๆ ส่วนของตัวเธอเองนั้น เท่าที่จำความได้ไม่เคยมีเสื้อผ้าใหม่ เพราะทั้งหมดเป็นของเก่าที่ได้รับบริจาคมา
คนจนผู้ยิ่งใหญ่
กรกฎาคม ปี 2008 เหอผิงบังเอิญเจอข่าวเล็กๆ ในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น เกี่ยวกับเด็กนักเรียนมัธยมฐานะยากจนที่ขอรับบริจาคเงินกว่าแสนหยวนเพื่อให้มารดาของเขาได้เข้ารับการผ่าตัด เหอผิงอยากช่วย เพราะเธอรู้รสชาติของความลำบากนั้นดีเพราะบิดาของเธอก็ได้รับการผ่าตัดเพราะเงินบริจาค เธอจึงตัดสินใจบริจาคเงิน 1600 หยวน จากเงินเก็บราว 3000 หยวนที่เธอทำงานมาทั้งชีวิต ให้เด็กชายคนนั้น เมื่อเด็กชายทราบว่าพี่สาวผู้ใจดีที่บริจาคเงินให้เขาในครั้งนี้อาจจะเป็นคนที่มีฐานะยากจนกว่าเขาเสียด้วยซ้ำ จึงตื้นตันในมากและขอบคุณเหอผิงผ่านทางหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นฉบับนั้น
เมื่อย้อนรำลึกถึงเหตุการณ์ดงกล่าว เหอผิง บอกว่าแม้ว่าเธอจะจนเงินทอง แต่ไม่ได้จนสติปัญญา ในยามที่เธอลำบากก็เคยได้รับความช่วยเหลือจากผู้อื่นเช่นกัน "ฉันต้องการที่จะตอบแทน ขณะเดียวกันก็เป็นการให้กำลังใจตัวเองด้วยว่า ฉันไม่ใช่คนที่เอาแต่ยื่นมือรับเงินของคนอื่น ขอเพียงทุกคนมีความรักและเมตตา สังคมก็จะสวยงามกว่านี้อีกมาก"
เป็นดั่งทานตะวันกลางแสงอาทิตย์
เหอผิง เป็นเด็กร่าเริง ยิ้มเก่ง จนคนภายนอกนึกภาพไม่ออกว่าเธอเป็นคนเดียวกับเด็กสาวที่แบกภาระของครอบครัวเอาไว้มากมาย ในด้านการเรียน เหอผิงอยู่ในระดับแนวหน้า เคยได้รับรางวัลชนะเลิศการพูดทั้งภาษาจีนและภาษาอังกฤษของมหาวิทยาลัย นอกจากนี้เธอยังเป็นนักร้อง นักโต้วาที และพิธีกร ของมหาวิทยาลัย ในห้องเช่าเล็กๆ ของเธอจึงประดับไปด้วยประกาศนีบัตรใบแล้วใบเล่า และด้วยความสามารถที่โดดเด่นรอบด้านทำให้เธอเพิ่งได้เป็นตัวแทนจำหน่ายบัตรเงินสดสำหรับใช้จ่ายในมหาวิทยาลัยให้นักศึกษา ซึ่งค่าตอบแทนมากกว่าการเป็นครูสอนพิเศษตามบ้านหลายช่วงตัว
"วันเวลาที่ยากลำบากที่สุดของฉันผ่านไปแล้ว ฉันมั่นใจว่าทุกอย่างจะค่อยๆ ดีขึ้น" เหอผิงกล่าวด้วยความมั่นใจเต็มเปี่ยมตามนิสัยของเธอ
สำหรับหลายคนอุปสรรคอาจทำให้ท้อแท้ แต่สำหรับบางคนขวางหนามกลับเป็นแรงผลักดันให้ฮึดสู้ต่อไป ที่หัวนอนในห้องเช่าเล็กๆ ของเหอผิงแปะรูปดอกทานตะวันเอาไว้ เพราะเธอชอบดอกทานตะวัน แม้ว่าจะเป็นดอกไม้พื้นๆ ที่ขึ้นตามท้องทุ่ง แต่ทานตะวันหันหน้าเข้าหาแสงสว่างจากดวงอาทิตย์เสมอ เช่นเดียวกับ เหอผิง เด็กสาวที่เต็มเปี่ยมด้วยพลังชีวิต ไม่เคยย่อท้อต่อชะตากรรมที่โถมซัดเข้ามา แต่กลับเปลี่ยนทุกบาดแผลมาเป็นพลัง ให้หัวใจดวงน้อยแกร่งพอที่จะนำพานาวาชีวิตฝ่าคลื่นลมไปถึงฝั่งฝันจนได้ในสักวัน
ชมคลิปเรื่องราวชีวิตของ เหอผิง จากเว็บไซต์ youku
เหอผิง กำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 2 ภาควิชาภาษาต่างประเทศแห่งมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหูหนาน เธอหัวเราะเก่ง ชอบเล่นกีฬา รักการร้องเพลง เป็นทั้งเด็กเรียนและเด็กกิจกรรมแถวหน้าของทางมหาวิทยาลัย ความสดใสมีชีวิตชีวาของเธอคงจะไม่แตกต่างจากหนุ่มสาววัยเดียวกัน ถ้าเพียงแต่ว่าเหอผิงจะไม่ได้อยู่ในครอบครัวที่มีพ่อผู้พิการจากอุบัติเหตุ แม่ซึ่งเป็นโรคระบบประสาทบกพร่อง และน้องชายที่เป็นโรคหัวใจตั้งแต่กำเนิด
เหอผิง เกิดเมื่อปี 1991 เป็นชาวตำบลเฉิงถานเจียง เมืองหลิวหยัง มณฑลหูหนาน ครอบครัวของเธอเป็นครอบครัวยากจนเพียงไม่กี่ครอบครัวในเมืองที่ร่ำรวยจากการเป็นแหล่งผลิตพลุและประทัดส่งออกที่ขึ้นชื่อของประเทศจีน เหอหรงบิดาผู้เป็นหัวหน้าครอบครัวประสบอุบัติเหตุจนไม่สามารถทำงานหนักจึงต้องไปเป็นคนงานในโรงงานทำพลุ มารดาป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับระบบประสาท
ชีวิตไม่สิ้นก็ต้องดิ้นกันไป
เนื่องจากบิดามารดาร่างกายไม่แข็งแรง ต้องหมดเงินไปกับการรักษาพยาบาล ขณะที่รายได้ของครอบครัวไม่เพียงพอกับรายจ่าย เหอผิงที่เพิ่งจะรู้เดียงสาจึงหาทางหารายได้พิเศษด้วยการไปรับจ้างม้วนกระดาษห่อประทัดในโรงงานตั้งแต่อายุได้ 5 ขวบ เกี่ยวกับเรื่องนี้ เหอ อิ่งชุน ผู้อำนวยการโรงเรียนประถมศึกษาอู๋เถียนที่เหอผิงเคยเรียน เล่าให้ฟังว่ายังจำได้ดีถึงเวลาเปิดภาคเรียนใหม่ทุกเทอม เด็กหญิงเหอผิงจะกำเงินยับย่นยู่ยี่เลอะสีแดงที่มาจากน้ำพักน้ำแรงในโรงงานประทัดมาจ่ายค่าเทอมเสมอๆ ส่วนผลการเรียนของเหอผิงอยู่ในเกณฑ์ดีมาก โดยเหอผิงเล่าว่าความรักเรียนและความกระหายในวิชาความรู้ของเธอมาจากความกลัวที่ว่า อาจมีวันใดวันหนึ่งที่เธอจะ "ไม่มีโอกาสได้เรียนอีกต่อไป"
เมื่ออายุได้ 12 ปี เหอจวิน น้องชายผู้เป็นโรคหัวใจก็ถือกำเนิดขึ้นมาในครอบครัว ทว่าความยากลำบากในชีวิตของเหอผิง ดูเหมือนว่าเพิ่งเริ่มต้นขึ้นเท่านั้น เดือนมีนาคม ปี 2008 เหอหรงผู้พ่อเกิดมีเลือดออกในสมอง ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล 2 ครั้ง ใช้ค่าใช้จ่ายนับหมื่นหยวน เหอผิงจึงต้องลาหยุดเรียนชั่วคราวเพื่อไปเที่ยวขอรับบริจาคเงินค่ารักษาพ่อ จากบ้านญาติ โรงงานพลุ และองค์กรการกุศลของรัฐในท้องถิ่น จนกระทั่งได้เงินมารักษาพ่อสำเร็จ แต่อาการเลือดออกในสมองทำลายขาสองข้างของเหอหรงจนไม่สามารถเดินได้ปกติอีกต่อไป เหอหรงเล่าว่าวันที่ต้องออกจากโรงพยาบาล เขากลายเป็นคนทุพลภาพไม่สามารถทำงานหาเลี้ยงครอบครัวได้ จึงได้แต่ร้องไห้และจับมือบุตรสาวเอาไว้ แต่กลับเป็นเหอผิงบุตรสาวที่เข้มแข็งกว่า กล่าวปลอบใจพ่อว่า "เมื่อยังมีชีวิตก็ยังมีความหวัง ขอเพียงพ่อยังอยู่กับหนู เราจะข้ามผ่านมันไปด้วยกัน"
เหอผิงเล่าว่า ครั้งที่ 2 ที่บิดาต้องนอนโรงพยาบาล พ่อได้เรียกเธอมาข้างเตียงและกล่าวเชิงสั่งเสียว่า "ถ้าหนูเป็นลูกพ่อจริง ต้องหาทางรักษาโรคหัวใจให้น้อง" คำๆ นี้ราวกับสลักเอาไว้ในใจของเธอ โชคเข้าข้าง เมื่อวันหนึ่ง มีข่าวว่าองค์กรการกุศลระดับมณฑลร่วมมือกับโรงพยาบาลเซียงหย่าจัดโครงการผ่าตัดโรคหัวใจแต่กำเนิดฟรี 100 คน เหอผิงจึงพยายามทุกวิถีทาง เดินทางออกจากหมู่บ้านเพียงลำพังครั้งแล้วครั้งเล่าเพื่อขอให้น้องชายเข้าร่วมโครงการดังกล่าว สุดท้ายความพยายามของเธอก็ส่งผล น้องของเธอได้เข้าร่วมโครงการรับการผ่าตัดในที่สุดและการผ่าตัดก็ประสบผลสำเร็จอย่างดี
ปี 2009 เหอผิงสอบติดภาควิชาภาษาต่างประเทศแห่งมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหูหนาน เมื่อต้องไปศึกษาต่อ สิ่งที่เธอกังวลใจมากที่สุดยามห่างจากบ้านคือน้องชาย กลัวว่าน้องจะป่วย กลัวน้องเกิดอุบัติเหตุ กล้วน้องทานอาหารไม่ได้ กลัวน้องไม่โต ครั้งหนึ่งเหอผิงเล่าว่า เมื่อเธอกลับมาเยี่ยมบ้าน พบว่าน้องชายใบหน้าซีดเหลืองผิดปกติ เหอผิงจึงพาน้องชายไปหาหมอที่โรงพยาบาล ผลการตรวจพบว่าปริมาณสารตะกั่วในเลือดของน้องมากเกินไป ต่อมาค่อยทราบว่าช่วงที่เธอไม่อยู่จึงไม่มีคนไปตักน้ำสะอาดในบ่อที่อยู่ไกลออกไป 300 เมตรมาไว้ใช้ในบ้าน มารดาของเธอใช้น้ำในบึงข้างบ้านมาทำอาหาร ซึ่งอาจปนเปื้อนสารตะกั่วจากโรงงานพลุและประทัด ทำให้สารพิษสะสมในร่างกาย นอกจากนี้อาการป่วยของบิดามารดาก็ส่งผลกระทบต่อจิตใจเด็กน้อยที่ต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมเช่นนี้จนกลายเป็นเด็กซึมเศร้า
พี่สาวคนนี้จะดูแลน้องเอง!
เมื่อความคิดนี้ผ่านเข้ามา เด็กสาวที่กล้าคิดกล้าทำอย่างเหอผิงตัดสินใจทันที เธอไปขอร้องผู้อำนวยการโรงเรียนประถมในสังกัดมหาวิทยาลัยที่เธอเรียนอยู่ให้รับน้องเธอเข้าเรียน และพาน้องชายมาอาศัยอยู่ในห้องเช่าเล็กๆ ข้างโรงเรียนด้วยกัน 2 คนพี่น้อง ซึ่งเจ้าของห้องเช่าเมตตาคิดค่าเช่าเพียงครึ่งหนึ่ง จากนั้นเธอจึงดูแลเรื่องสุขภาพของน้องอย่างใกล้ชิด เธอมักจะอดเพื่อให้น้องอิ่มเสมอ เพราะเธอตั้งปนิธานเอาไว้ว่าต้องให้น้องได้กินปลาทุกวัน และได้กินผลไม้กับนมอย่างน้อยวันเว้นวัน เพื่อให้เด็กน้อยเติบโตอย่างแข็งแรง
ปัจจุบันเหอผิงทำงานพิเศษรวม 7 ที่ ทั้งงานสอนพิเศษเด็กตามบ้าน รับจ้างทำความสะอาดตึกเรียนตอนพักกลางวัน และเป็นเด็กเสิร์ฟ ตารางชีวิตประจำวันของเธอถูกจัดไว้อย่างแน่นเอี้ยด ตั้งแต่หกโมงเช้าถึงตีหนึ่ง ซึ่งความทุ่มเทของเหอผิงก็ไม่เสียเปล่า เพราะน้องชายของเธอค่อยๆ แข็งแรงขึ้น ร่าเริงขึ้น และเรียนดีขึ้นอย่างผิดหูผิดตา แม้ว่าสองพี่น้องจะไม่ค่อยได้กลับไปเยี่ยมบ้านเพราะเหอผิงต้องทำงานพิเศษรวมทั้งเสียดายค่าเดินทาง แต่เธอก็ส่งเงินไปให้ทางบ้านทุกเดือนเพื่อให้พ่อแม่ได้ในชีวิตประจำวันและใช้ไปหาหมอ เมื่อถึงเทศกาลพิเศษเช่น ตรุษจีน เธอก็ไม่ลืมที่จะซื้อเสื้อผ้าใหม่ๆ ให้พ่อ แม่ และน้องเสมอๆ ส่วนของตัวเธอเองนั้น เท่าที่จำความได้ไม่เคยมีเสื้อผ้าใหม่ เพราะทั้งหมดเป็นของเก่าที่ได้รับบริจาคมา
คนจนผู้ยิ่งใหญ่
กรกฎาคม ปี 2008 เหอผิงบังเอิญเจอข่าวเล็กๆ ในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น เกี่ยวกับเด็กนักเรียนมัธยมฐานะยากจนที่ขอรับบริจาคเงินกว่าแสนหยวนเพื่อให้มารดาของเขาได้เข้ารับการผ่าตัด เหอผิงอยากช่วย เพราะเธอรู้รสชาติของความลำบากนั้นดีเพราะบิดาของเธอก็ได้รับการผ่าตัดเพราะเงินบริจาค เธอจึงตัดสินใจบริจาคเงิน 1600 หยวน จากเงินเก็บราว 3000 หยวนที่เธอทำงานมาทั้งชีวิต ให้เด็กชายคนนั้น เมื่อเด็กชายทราบว่าพี่สาวผู้ใจดีที่บริจาคเงินให้เขาในครั้งนี้อาจจะเป็นคนที่มีฐานะยากจนกว่าเขาเสียด้วยซ้ำ จึงตื้นตันในมากและขอบคุณเหอผิงผ่านทางหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นฉบับนั้น
เมื่อย้อนรำลึกถึงเหตุการณ์ดงกล่าว เหอผิง บอกว่าแม้ว่าเธอจะจนเงินทอง แต่ไม่ได้จนสติปัญญา ในยามที่เธอลำบากก็เคยได้รับความช่วยเหลือจากผู้อื่นเช่นกัน "ฉันต้องการที่จะตอบแทน ขณะเดียวกันก็เป็นการให้กำลังใจตัวเองด้วยว่า ฉันไม่ใช่คนที่เอาแต่ยื่นมือรับเงินของคนอื่น ขอเพียงทุกคนมีความรักและเมตตา สังคมก็จะสวยงามกว่านี้อีกมาก"
เป็นดั่งทานตะวันกลางแสงอาทิตย์
เหอผิง เป็นเด็กร่าเริง ยิ้มเก่ง จนคนภายนอกนึกภาพไม่ออกว่าเธอเป็นคนเดียวกับเด็กสาวที่แบกภาระของครอบครัวเอาไว้มากมาย ในด้านการเรียน เหอผิงอยู่ในระดับแนวหน้า เคยได้รับรางวัลชนะเลิศการพูดทั้งภาษาจีนและภาษาอังกฤษของมหาวิทยาลัย นอกจากนี้เธอยังเป็นนักร้อง นักโต้วาที และพิธีกร ของมหาวิทยาลัย ในห้องเช่าเล็กๆ ของเธอจึงประดับไปด้วยประกาศนีบัตรใบแล้วใบเล่า และด้วยความสามารถที่โดดเด่นรอบด้านทำให้เธอเพิ่งได้เป็นตัวแทนจำหน่ายบัตรเงินสดสำหรับใช้จ่ายในมหาวิทยาลัยให้นักศึกษา ซึ่งค่าตอบแทนมากกว่าการเป็นครูสอนพิเศษตามบ้านหลายช่วงตัว
"วันเวลาที่ยากลำบากที่สุดของฉันผ่านไปแล้ว ฉันมั่นใจว่าทุกอย่างจะค่อยๆ ดีขึ้น" เหอผิงกล่าวด้วยความมั่นใจเต็มเปี่ยมตามนิสัยของเธอ
สำหรับหลายคนอุปสรรคอาจทำให้ท้อแท้ แต่สำหรับบางคนขวางหนามกลับเป็นแรงผลักดันให้ฮึดสู้ต่อไป ที่หัวนอนในห้องเช่าเล็กๆ ของเหอผิงแปะรูปดอกทานตะวันเอาไว้ เพราะเธอชอบดอกทานตะวัน แม้ว่าจะเป็นดอกไม้พื้นๆ ที่ขึ้นตามท้องทุ่ง แต่ทานตะวันหันหน้าเข้าหาแสงสว่างจากดวงอาทิตย์เสมอ เช่นเดียวกับ เหอผิง เด็กสาวที่เต็มเปี่ยมด้วยพลังชีวิต ไม่เคยย่อท้อต่อชะตากรรมที่โถมซัดเข้ามา แต่กลับเปลี่ยนทุกบาดแผลมาเป็นพลัง ให้หัวใจดวงน้อยแกร่งพอที่จะนำพานาวาชีวิตฝ่าคลื่นลมไปถึงฝั่งฝันจนได้ในสักวัน
ชมคลิปเรื่องราวชีวิตของ เหอผิง จากเว็บไซต์ youku