เอเอสทีวีผู้จัดการออนไลน์/เอเยนซีจีน - กรณีอื้อฉาวรังนกเลือดปลอมจากมาเลเซีย กำลังเป็นที่โจษจันในโลกไซเบอร์แดนมังกร บรรดาพ่อค้าที่ขายรังนกบนแผ่นดินใหญ่กุมขมับไม่รู้จะแก้ปัญหาอย่างไร หลังจีนตรวจพบรังนกเลือดเป็นของปลอม เหล่าพ่อค้าจึงได้จัดงานแถลงข่าวร่วมกับเจ้าหน้าที่จากมาเลเซียเพื่อกู้สถานการณ์ แต่ที่ไหนได้ งานแถลงข่าวก็ยังปลอมอีก เจ้าหน้าที่มาเลเซียที่มานั่งพูดก็ล้วนแต่ตัวปลอม
รัฐบาลท้องถิ่นมณฑลเจ้อเจียงระบุว่า “งานแถลงข่าวกู้หน้าฯ จัดขึ้นในโรงแรมเมืองหังโจว เมื่อวันที่ 26 ก.ค.ที่ผ่านมา มีชายชาวต่างชาติสวมเสื้อเชิ้ตสีสันสดใสทำท่าทำทางเป็นเจ้าหน้าที่จากมาเลเซีย อ้างว่ามาจากกรมการนำเข้าส่งออกผลิตภัณฑ์หายากของมาเลเซีย กรมตรวจสอบสินค้าส่งออก และกรมการการสกัดสินค้าส่งออกมาเลเซีย”
ในงานแถลงข่าวฯ มีการแจกเอกสารให้แก่นักข่าวด้วย หลังจากนั้นสำนักข่าวซินหวาก็นำรายชื่อจากเอกสารไปตรวจสอบ ปรากฏว่า รายชื่อที่ระบุว่าเป็นเจ้าหน้าที่มาเลเซียนั้น หลังตรวจสอบแล้ว ไม่มีชื่อดังกล่าวในตำแหน่งนั้นๆ อยู่จริง แสดงให้เห็นว่า “งานแถลงข่าวก็ปลอมอีก”
พบสารก่อมะเร็งในรังนกเลือดเกินมาตรฐาน 350 เท่า
ก่อนหน้านั้นเจ้าหน้าที่รัฐบาลท้องถิ่นมณฑลเจ้อเจียงได้ออกตรวจยึดรังนกเลือดปลอมด้อยมาตรฐานอย่างหนัก โดยกรมอุตสาหกรรมและการค้าประจำมณฑลเจ้อเจียงเผย (15 ส.ค.) ว่า ได้ทำการสุ่มตรวจรังนกเลือด 200 กก.จากรังนกทั้งหมด 303 ชุด พบว่าทั้งหมดด้อยคุณภาพ มีสารไนไตรท์เจือปนเกินมาตรฐานที่ได้รับอนุญาตจากสาธารณสุขถึง 350 เท่า
เจ้าหน้าที่เชื่อว่า ยังมีรังนกที่ไม่ได้ตรวจสอบอีกเป็นจำนวนมาก โดยรังนกส่วนใหญ่นำเข้ามาจากมาเลเซีย โดยมีบริษัทจัดจำหน่ายของจีน ทั้งจากซย่าเหมิน ก่วงตง ฝัวซานฯ เป็นผู้นำเข้าและจัดขาย
สาธารณสุขของมาเลเซียระบุว่า รังนก 1 กก. ไม่ควรมีไนไตรท์เกิน 70 มก. ขณะที่ผู้ผลิตหัวใสทำรังนกเลือดออกมาแล้วมีไนไตรท์เจือปนถึง 2,220 มก.
เจ้ากรมอุตสาหกรรมและการค้าประจำมณฑลเจ้อเจียง เผยว่า “ตลาดจีนเป็นตลาดนำเข้ารังนกมาเลเซียจำนวนมาก ถ้าหากเกิดปัญหาขึ้น กลุ่มผลประโยชน์ที่พัวพันจะเดือดร้อน และในครั้งนี้ การที่พวกเขายิ่งแก้ตัว (จัดแถลงข่าว) ยิ่งทำให้เสียหน้ามากขึ้น”
ในงานแถลงข่าวกู้หน้าฯ เจ้าหน้าที่ตัวปลอมอ้างว่า “ไนไตรท์ที่เจือปนในรังนกนั้น เมื่อนำไปแช่น้ำ ก็จะสามารถบริโภคได้” ขณะที่เจ้ากรมอุตฯ แห่งเจ้อเจียงชี้ว่า “เหลวไหลทั้งเพ เพราะแช่น้ำแล้วไนไตรท์ก็ยังคงอยู่ที่ 330 มก. ต่อ กก. สูงกว่ามาตรฐานถึง260 มก.”
เจ้ากรมอุตฯ เสริมว่า “ไม่ว่ารังนกจะสำคัญต่อเศรษฐกิจมาเลเซียสักปานใดก็ตาม หากจะนำมาขายที่จีนก็ต้องผ่านมาตรฐานของจีน และในขณะนี้มณฑลเจ้อเจียงกำลังกวาดล้างรังนกปลอมอย่างหนัก”
กรมอุตสาหกรรมแฉต่อว่า มีพ่อค้ารังนกบางคนยอมรับว่า พวกเขาย้อมสีรังนกเพื่อทำให้ดูคล้ายรังนกเลือด แต่กระบวนการดังกล่าวยิ่งทำให้เกิดการเพิ่มสารไนไตรท์
ไนไตรท์ เกิดจากการเปลี่ยนรูปทางเคมีของสารประกอบไนโตรเจน หากรับเข้าสู่ร่างกายเกินกว่ามาตรฐานจะเป็นสารก่อมะเร็ง
รังนกเลือด “เหลวไหลทั้งเพ”
ราคาขายรังนกธรรมดาในจีนโดยทั่วไป กรัมละ 10 หยวนขึ้นไป หากเป็นรังนกเลือดจะแพงกว่านั้นตกกรัมละ 100 กว่าหยวน นายหม่า ซิงซง ประธานสหพันธ์รังนกมาเลเซีย เผยกับ ยูไนเต็ด มอร์นิ่งโพสต์ว่า “ผู้ประกอบการหัวใสใช้อุจจาระของนกนางแอ่นมาผสมบ่มเพาะให้เป็นสีแดง ย้อมสีคล้ายรังนกเลือดแล้วนำออกวางขายในราคาที่แพงกว่า”
รัฐมนตรีช่วยกระทรวงเกษตรฯ มาเลเซีย ออกมาชี้แจงกับสื่อมวลชนอีกว่า ในตลาดรังนกขณะนี้ ไม่มีรังนกเลือดที่เป็นของจริง ที่ขายอยู่เป็นของปลอมทั้งนั้น
ซู จื้อฉวง นายกสมาคมรังนกท้องถิ่นรัฐเปรัคของมาเลเซีย ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวว่า “สิ่งที่ผู้ประกอบการบอกว่า นกนางแอ่นใช้เลือดตัวเองออกมาทำรังแล้วได้รังนกเลือดนั้น ถือว่า โกหกทั้งเพ ดังนั้นรังนกเลือดที่วางขายกันอยู่ในท้องตลาดปัจจุบัน ปลอม 100 เปอร์เซ็นต์”
ทางการจีนยอมให้เพียงสองประเทศคือ มาเลเซียและสิงคโปร์เท่านั้น ที่สามารถส่งรังนกเข้ามาขายยังตลาดแดนมังกรได้ โดยรังนกส่วนใหญ่มาจากมาเลเซีย
หลายปีที่ผ่านมา ความนิยมบริโภครังนกในจีนขยายตัวเร็วมาก ส่งผลให้อุตสาหกรรมการผลิตในมาเลเซียเติบโตอย่างรวดเร็ว มีการทำห้องให้นกทำรังกว่า 50,000 ห้อง และแต่ละปีมาเลเซียจะสามารถผลิตรังนกออกมาได้ถึง 600 ตัน โดยกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ส่งขายให้จีน
อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่จีนเผยว่า ไม่น่าจะสามารถลงโทษผู้จัดงานแถลงข่าวปลอมได้ เพราะผู้ที่รับผิดชอบควรจะเป็นผู้ทำสินค้าปลอมมากกว่า
ในเมืองหังโจวมีร้านขายยาแผนจีนเก่าแก่ 130 ปีร้านหนึ่งให้สัมภาษณ์ว่า เลิกจำหน่ายรังนกเลือดมาตั้งแต่ปี 2551 แล้ว เนื่องจากพบว่า รังนกเลือดไม่ได้มาตรฐานการจัดซื้อ
ความเชื่อเรื่องสรรพคุณของ “รังนกเลือด”
โดยทั่วไปนกนางแอ่นซึ่งมีถิ่นที่อยู่แถบทะเลจีนใต้และแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะใช้น้ำลายและขนอ่อนมาทำรัง โดยรังจะมี 3 แบบด้วยกัน คือ รังนกขาว (ซึ่งอดีตใช้เป็นบรรณาการให้กับกษัตริย์) รังนกติดขนสีขุ่น และรังนกเลือด
รังนกเลือดจะมีโปรตีนสูงกว่า คือราว 50 เปอร์เซ็นต์ น้ำตาล 30 เปอร์เซ็นต์ และมีพวกแร่ธาตุอื่นๆ แต่ปริมาณโปรตีนนั้นก็ยังเทียบไม่ได้การกินเต้าหู้หรือหนังหมู นักโภชนาการมักแนะนำว่า บริโภคอาหารธรรมดา จำพวก เนื้อ นม ไข่ ได้โปรตีนดีที่สุด
หลายคนเชื่อว่า สรรพคุณของรังนกนั้น สามารถเร่งการสร้างเซลล์ใหม่ช่วยให้ร่างกายฟื้นฟูสมรรถภาพได้ ช่วยรักษาอาการไอ เสมหะ ห้องเสีย หลอดลมอักเสบ เสริมภูมิคุ้มกัน ชะลอความแก่ อายุยืน ฯลฯ
คนจีนบริโภครังนกมาเป็นพันปี โดยส่วนใหญ่สตรีจีนเชื่อว่า ในรังนกมีส่วนผสมคอลลาเจน ช่วยทำให้ผิวพรรณเต่งตึง ไม่มีริ้วรอย กระตุ้นการสร้างเซลล์ใหม่ ทำให้ผิวพรรณเรียบเนียน ฝั่งวิทยาการตะวันตกก็ยังนำรังนกไปสกัดเป็นผลิตภัณฑ์บำรุงผิว
มารดาที่ตั้งครรภ์บางคนก็เชื่อด้วยว่า รังนกช่วยให้ลูกในครรภ์แข็งแรง
ในตำนานของจีนเล่าว่า คนที่กินรังนกคนแรกก็คือ เจิ้งเหอ (ไทยเรียกซำปอกง) ผู้บัญชาการทหารเรือจีนในยุคราชวงศ์หมิง ที่ล่องเรือมายังดินแดนทะเลจีนใต้ เขาพักจอดเรือที่หมู่เกาะแถบมาเลเซีย เห็นรังนกอยู่บริเวณหน้าผา ประกอบกับตอนนั้นขาดเสบียง จึงสั่งให้ทหารนำมาทำความสะอาดและตุ๋นรับประทาน ปรากฏว่าเวลาผ่านไปหลายวัน ผิวพรรณหน้าตาของทุกคนก็เปล่งปลั่ง เจิ้งเหอจึงสั่งนำรังนกเหล่านี้กลับมาถวายองค์จักรพรรดิ
รัฐบาลท้องถิ่นมณฑลเจ้อเจียงระบุว่า “งานแถลงข่าวกู้หน้าฯ จัดขึ้นในโรงแรมเมืองหังโจว เมื่อวันที่ 26 ก.ค.ที่ผ่านมา มีชายชาวต่างชาติสวมเสื้อเชิ้ตสีสันสดใสทำท่าทำทางเป็นเจ้าหน้าที่จากมาเลเซีย อ้างว่ามาจากกรมการนำเข้าส่งออกผลิตภัณฑ์หายากของมาเลเซีย กรมตรวจสอบสินค้าส่งออก และกรมการการสกัดสินค้าส่งออกมาเลเซีย”
ในงานแถลงข่าวฯ มีการแจกเอกสารให้แก่นักข่าวด้วย หลังจากนั้นสำนักข่าวซินหวาก็นำรายชื่อจากเอกสารไปตรวจสอบ ปรากฏว่า รายชื่อที่ระบุว่าเป็นเจ้าหน้าที่มาเลเซียนั้น หลังตรวจสอบแล้ว ไม่มีชื่อดังกล่าวในตำแหน่งนั้นๆ อยู่จริง แสดงให้เห็นว่า “งานแถลงข่าวก็ปลอมอีก”
พบสารก่อมะเร็งในรังนกเลือดเกินมาตรฐาน 350 เท่า
ก่อนหน้านั้นเจ้าหน้าที่รัฐบาลท้องถิ่นมณฑลเจ้อเจียงได้ออกตรวจยึดรังนกเลือดปลอมด้อยมาตรฐานอย่างหนัก โดยกรมอุตสาหกรรมและการค้าประจำมณฑลเจ้อเจียงเผย (15 ส.ค.) ว่า ได้ทำการสุ่มตรวจรังนกเลือด 200 กก.จากรังนกทั้งหมด 303 ชุด พบว่าทั้งหมดด้อยคุณภาพ มีสารไนไตรท์เจือปนเกินมาตรฐานที่ได้รับอนุญาตจากสาธารณสุขถึง 350 เท่า
เจ้าหน้าที่เชื่อว่า ยังมีรังนกที่ไม่ได้ตรวจสอบอีกเป็นจำนวนมาก โดยรังนกส่วนใหญ่นำเข้ามาจากมาเลเซีย โดยมีบริษัทจัดจำหน่ายของจีน ทั้งจากซย่าเหมิน ก่วงตง ฝัวซานฯ เป็นผู้นำเข้าและจัดขาย
สาธารณสุขของมาเลเซียระบุว่า รังนก 1 กก. ไม่ควรมีไนไตรท์เกิน 70 มก. ขณะที่ผู้ผลิตหัวใสทำรังนกเลือดออกมาแล้วมีไนไตรท์เจือปนถึง 2,220 มก.
เจ้ากรมอุตสาหกรรมและการค้าประจำมณฑลเจ้อเจียง เผยว่า “ตลาดจีนเป็นตลาดนำเข้ารังนกมาเลเซียจำนวนมาก ถ้าหากเกิดปัญหาขึ้น กลุ่มผลประโยชน์ที่พัวพันจะเดือดร้อน และในครั้งนี้ การที่พวกเขายิ่งแก้ตัว (จัดแถลงข่าว) ยิ่งทำให้เสียหน้ามากขึ้น”
ในงานแถลงข่าวกู้หน้าฯ เจ้าหน้าที่ตัวปลอมอ้างว่า “ไนไตรท์ที่เจือปนในรังนกนั้น เมื่อนำไปแช่น้ำ ก็จะสามารถบริโภคได้” ขณะที่เจ้ากรมอุตฯ แห่งเจ้อเจียงชี้ว่า “เหลวไหลทั้งเพ เพราะแช่น้ำแล้วไนไตรท์ก็ยังคงอยู่ที่ 330 มก. ต่อ กก. สูงกว่ามาตรฐานถึง260 มก.”
เจ้ากรมอุตฯ เสริมว่า “ไม่ว่ารังนกจะสำคัญต่อเศรษฐกิจมาเลเซียสักปานใดก็ตาม หากจะนำมาขายที่จีนก็ต้องผ่านมาตรฐานของจีน และในขณะนี้มณฑลเจ้อเจียงกำลังกวาดล้างรังนกปลอมอย่างหนัก”
กรมอุตสาหกรรมแฉต่อว่า มีพ่อค้ารังนกบางคนยอมรับว่า พวกเขาย้อมสีรังนกเพื่อทำให้ดูคล้ายรังนกเลือด แต่กระบวนการดังกล่าวยิ่งทำให้เกิดการเพิ่มสารไนไตรท์
ไนไตรท์ เกิดจากการเปลี่ยนรูปทางเคมีของสารประกอบไนโตรเจน หากรับเข้าสู่ร่างกายเกินกว่ามาตรฐานจะเป็นสารก่อมะเร็ง
รังนกเลือด “เหลวไหลทั้งเพ”
ราคาขายรังนกธรรมดาในจีนโดยทั่วไป กรัมละ 10 หยวนขึ้นไป หากเป็นรังนกเลือดจะแพงกว่านั้นตกกรัมละ 100 กว่าหยวน นายหม่า ซิงซง ประธานสหพันธ์รังนกมาเลเซีย เผยกับ ยูไนเต็ด มอร์นิ่งโพสต์ว่า “ผู้ประกอบการหัวใสใช้อุจจาระของนกนางแอ่นมาผสมบ่มเพาะให้เป็นสีแดง ย้อมสีคล้ายรังนกเลือดแล้วนำออกวางขายในราคาที่แพงกว่า”
รัฐมนตรีช่วยกระทรวงเกษตรฯ มาเลเซีย ออกมาชี้แจงกับสื่อมวลชนอีกว่า ในตลาดรังนกขณะนี้ ไม่มีรังนกเลือดที่เป็นของจริง ที่ขายอยู่เป็นของปลอมทั้งนั้น
ซู จื้อฉวง นายกสมาคมรังนกท้องถิ่นรัฐเปรัคของมาเลเซีย ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวว่า “สิ่งที่ผู้ประกอบการบอกว่า นกนางแอ่นใช้เลือดตัวเองออกมาทำรังแล้วได้รังนกเลือดนั้น ถือว่า โกหกทั้งเพ ดังนั้นรังนกเลือดที่วางขายกันอยู่ในท้องตลาดปัจจุบัน ปลอม 100 เปอร์เซ็นต์”
ทางการจีนยอมให้เพียงสองประเทศคือ มาเลเซียและสิงคโปร์เท่านั้น ที่สามารถส่งรังนกเข้ามาขายยังตลาดแดนมังกรได้ โดยรังนกส่วนใหญ่มาจากมาเลเซีย
หลายปีที่ผ่านมา ความนิยมบริโภครังนกในจีนขยายตัวเร็วมาก ส่งผลให้อุตสาหกรรมการผลิตในมาเลเซียเติบโตอย่างรวดเร็ว มีการทำห้องให้นกทำรังกว่า 50,000 ห้อง และแต่ละปีมาเลเซียจะสามารถผลิตรังนกออกมาได้ถึง 600 ตัน โดยกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ส่งขายให้จีน
อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่จีนเผยว่า ไม่น่าจะสามารถลงโทษผู้จัดงานแถลงข่าวปลอมได้ เพราะผู้ที่รับผิดชอบควรจะเป็นผู้ทำสินค้าปลอมมากกว่า
ในเมืองหังโจวมีร้านขายยาแผนจีนเก่าแก่ 130 ปีร้านหนึ่งให้สัมภาษณ์ว่า เลิกจำหน่ายรังนกเลือดมาตั้งแต่ปี 2551 แล้ว เนื่องจากพบว่า รังนกเลือดไม่ได้มาตรฐานการจัดซื้อ
ความเชื่อเรื่องสรรพคุณของ “รังนกเลือด”
โดยทั่วไปนกนางแอ่นซึ่งมีถิ่นที่อยู่แถบทะเลจีนใต้และแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะใช้น้ำลายและขนอ่อนมาทำรัง โดยรังจะมี 3 แบบด้วยกัน คือ รังนกขาว (ซึ่งอดีตใช้เป็นบรรณาการให้กับกษัตริย์) รังนกติดขนสีขุ่น และรังนกเลือด
รังนกเลือดจะมีโปรตีนสูงกว่า คือราว 50 เปอร์เซ็นต์ น้ำตาล 30 เปอร์เซ็นต์ และมีพวกแร่ธาตุอื่นๆ แต่ปริมาณโปรตีนนั้นก็ยังเทียบไม่ได้การกินเต้าหู้หรือหนังหมู นักโภชนาการมักแนะนำว่า บริโภคอาหารธรรมดา จำพวก เนื้อ นม ไข่ ได้โปรตีนดีที่สุด
หลายคนเชื่อว่า สรรพคุณของรังนกนั้น สามารถเร่งการสร้างเซลล์ใหม่ช่วยให้ร่างกายฟื้นฟูสมรรถภาพได้ ช่วยรักษาอาการไอ เสมหะ ห้องเสีย หลอดลมอักเสบ เสริมภูมิคุ้มกัน ชะลอความแก่ อายุยืน ฯลฯ
คนจีนบริโภครังนกมาเป็นพันปี โดยส่วนใหญ่สตรีจีนเชื่อว่า ในรังนกมีส่วนผสมคอลลาเจน ช่วยทำให้ผิวพรรณเต่งตึง ไม่มีริ้วรอย กระตุ้นการสร้างเซลล์ใหม่ ทำให้ผิวพรรณเรียบเนียน ฝั่งวิทยาการตะวันตกก็ยังนำรังนกไปสกัดเป็นผลิตภัณฑ์บำรุงผิว
มารดาที่ตั้งครรภ์บางคนก็เชื่อด้วยว่า รังนกช่วยให้ลูกในครรภ์แข็งแรง
ในตำนานของจีนเล่าว่า คนที่กินรังนกคนแรกก็คือ เจิ้งเหอ (ไทยเรียกซำปอกง) ผู้บัญชาการทหารเรือจีนในยุคราชวงศ์หมิง ที่ล่องเรือมายังดินแดนทะเลจีนใต้ เขาพักจอดเรือที่หมู่เกาะแถบมาเลเซีย เห็นรังนกอยู่บริเวณหน้าผา ประกอบกับตอนนั้นขาดเสบียง จึงสั่งให้ทหารนำมาทำความสะอาดและตุ๋นรับประทาน ปรากฏว่าเวลาผ่านไปหลายวัน ผิวพรรณหน้าตาของทุกคนก็เปล่งปลั่ง เจิ้งเหอจึงสั่งนำรังนกเหล่านี้กลับมาถวายองค์จักรพรรดิ