xs
xsm
sm
md
lg

อัตราคลอดบุตรก่อนกำหนดพุ่งสูงในจีน แพทย์ชี้ปัญหามากมายตามมา

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


เซาท์ไชน่า มอร์นิ่งโพสต์ - จำนวนการคลอดบุตรก่อนกำหนดในจีนสูงถึงราวร้อย 10 ของการคลอดบุตรทั้งหมดบนแดนมังกร กุมารแพทย์ชั้นนำชี้สาเหตุมาจาก"ความก้าวหน้าของสังคม"

คุณหมอชุ่ย ฉีเหลียง ผู้อำนวยการฝ่ายกุมารเวชศาสตร์โรงพยาบาลของมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ก่วงโจวระบุว่า มีปัจจัยที่เป็นไปได้หลายประการ เช่น มารดาที่คลอดบุตรคนแรกมักคลอดก่อนกำหนด และพบว่าหญิงตั้งครรภ์หลายราย ที่คลอดก่อนกำหนด มีอายุมากกว่า 35 ปี นอกจากนั้น หญิงหลายรายได้รับการช่วยเหลือทางการแพทย์ เพื่อให้มีบุตร เช่นการผสมเทียมในหลอดแก้ว หรือการรับประทานยา เพื่อกระตุ้นรังไข่ทำงาน และหญิงบางรายก็มีอาการเครียด

ปัจจุบันมีการประเมินว่า จำนวนเด็กที่คลอดก่อนกำหนดบนแผ่นดินใหญ่มีสูงถึง 2 ล้านคนจากทั้งหมด 20 ล้านคนในแต่ละปี จากการระบุของคุณหมอเฉิน เฉา ผู้อำนวยการฝ่ายทารกแรกเกิดของโรงพยาบาลเด็กแห่งมหาวิทยาลัยฟู่ตัน

ขณะที่รายงานทางการแพทย์จากการสำรวจทั่วประเทศระบุว่า อัตราการเกิดก่อนกำหนดมีร้อยละ 7.5 ในปี 2545 และเพิ่มเป็นร้อยละ 8.3 ในปี2548

“หลังจากปี2548 มา ยังไม่มีการสำรวจเรื่องนี้ในวงกว้าง แต่แพทย์เราส่วนใหญ่คิดว่า อัตราการคลอดก่อนกำหนดอาจสูงถึงราวร้อยละ 10 บนแผ่นดินใหญ่” คุณหมอเฉินกล่าว

นอกจากนั้น ขนาดร่างกายของเด็ก ที่คลอดก่อนกำหนดยังทำให้คุณหมอเฉินตกใจอีกด้วย โดยพบว่า นับตั้งแต่2543 เป็นต้นมา ทารกบางคนที่เกิดก่อน 32 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์นั้น มีน้ำหนักตัวไม่ถึง 1.5 กิโลกรัม

“ทารกที่ตัวเล็กอย่างที่สุดเหล่านี้ และแทบไม่เคยห็นมาเลยในช่วง 10 ปีที่แล้ว เวลานี้มีจำนวนถึงราวร้อยละ 20 ของทารกที่เกิดก่อนกำหนดทั้งหมด” คุณหมอเฉินระบุ

เมื่อก่อนนั้น พ่อแม่ที่มีลูกตัวเล็กแบบนี้จะแก้ปัญหาด้วยการทิ้งลูก เพราะไม่เห็นโอกาส ที่เด็กจะรอดชีวิต อย่างไรก็ตาม ความก้าวหน้าทางการแพทย์ทำให้สถานการณเปลี่ยนไป โดยแพทย์สามารถช่วยชีวิตทารก ซึ่งมีน้ำหนักไม่ถึง 1 กิโลกรัมได้ราวร้อยละ 60 อย่างไรก็ตาม จำนวน 1 ใน 3 ของทารกเหล่านี้มีความพิการอย่างใดอย่างหนึ่ง อาจพิการด้านสมองและการเคลื่อนไหว, ปัญญาอ่อน, พิการด้านสายตา หรือหู

ด้านคุณหมอชุ่ยระบุว่า ทารกแรกเกิด 1,200 คน ซึ่งคลอดที่โรงพยาบาลของเขาในแต่ละปีนั้น มีที่คลอดก่อนกำหนดประมาณร้อยละ 40 โดยรายหนึ่งมีอายุแค่ 25 สัปดาห์เท่านั้น น้ำหนักเพียง 500 กรัม และเสียชีวิตในที่สุด

แม้ยังไม่มีตัวเลขชัดเจน แต่คุณหมอเฉินประเมินว่า ทารก ที่น้ำหนักไม่ถึง 1.5 กิโลกรัม และรอดชีวิตมาได้นั้น ประมาณร้อยละ 10 มีปัญหาด้านสายตาและการฟัง ขณะที่ร้อยละ 8 มีปัญหาทางจิต

ปัญหาสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือจีนยังขาดบุคลากรทางการแพทย์ ที่ได้รับการฝึกฝนมาโดยเฉพาะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงพยาบาลระดับรากหญ้า

“ในประเทศที่เขาเจริญกว่า อย่างแคนาดา เขาจะมอบหมายพยาบาลอย่างน้อย 3 คน คอยดูแลทารกแรกเกิด 1 คน” คุณหมอเฉินระบุ

“ที่นี่ โดยเฉลี่ยแล้ว พยาบาล 1 คนต้องดูแลทารก 2 คน หรือมากกว่านั้น”

การเลี้ยงทารกแรกเกิดยังต้องใช้เวลาและเสียค่าใช้จ่ายมาก ซึ่งพ่อแม่หลายคนไม่มีจะให้ ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อทารกโตได้ราว 2 ขวบ พ่อแม่บางรายก็เริ่มปล่อยปละละเลยด้วยเข้าใจผิดว่า ปัญหาต่างๆ ในตัวเด็กจะหายไปเอง

“พ่อแม่เหล่านั้นคิดว่าลูกไม่มีปัญหาอีกแล้ว” คุณหมอชุ่ยเล่า

“ผมพบอยู่รายหนึ่ง เป็นเด็กผู้ชาย ซึ่งเกิดหลังจากแม่ตั้งครรภ์ได้ 28 สัปดาห์ น้ำหนักตัวแกแค่ 1 กิโลกรัม พอหลังจากครบวันเกิด 1 ปี หมอวินิจฉัยว่า แกสมองพิการ โดยที่ก่อนหน้านั้น พ่อแม่ไม่เคยพาลูกมาหาหมอเลย”
กำลังโหลดความคิดเห็น