三生有幸
三生 (sān shēng)อ่านว่า ซานเซิง แปลว่า สามชาติ (หมายถึงความเชื่อเรื่องชาติก่อน ชาตินี้ และชาติหน้า ทางพระพุทธศาสนา)
有 (yǒu) อ่านว่า โหย่ว แปลว่า มี
幸 (xìng) อ่านว่า ซิ่ง แปลว่า โชคดี
ตำนานเล่าขานกันมาว่า ในสมัยราชวงศ์ถัง ยังมีนักบวชรูปหนึ่ง ฉายา หยวนเจ๋อ ได้บวชเรียนศึกษาพระธรรมจนเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ถึงขอบเขตขั้นสูง
นักบวชหยวนเจ๋อมีสหายสนิทนามว่า หลี่หยวนซ่าน วันหนึ่งทั้งสองออกเดินทางท่องเที่ยวไปด้วยกัน เมื่อผ่านไปยังสถานที่แห่งหนึ่ง พบหญิงสาวกำลังตักน้ำอยู่ริมลำธาร หญิงผู้นั้นท้องใหญ่โต เห็นได้ชัดว่ากำลังตั้งครรภ์
นักบวชหยวนเจ๋อชี้มือไปยังหญิงตั้งครรภ์ พร้อมทั้งกล่าวกับหลี่หยวนซ่านผู้เป็นสหายสนิทว่า “หญิงผู้นั้นตั้งครรภ์มานานกว่า 3 ปีแล้วเพราะรอให้ข้าไปจุติในท้องของนาง เนื่องจากตามชะตา ในชาติหน้าข้าต้องเกิดเป็นลูกของนาง แต่ข้าพยายามบ่ายเบี่ยงมาตลอด แต่บัดนี้เมื่อได้พบหน้ากันแล้ว จึงทราบว่าไม่อาจยื้อเวลาได้อีกต่อไป
“จากนี้อีก 3 วัน หลังจากที่หญิงผู้นี้คลอดบุตร ท่านจงเดินทางไปยังบ้านของนางเพื่อเยี่ยมทารก หากทารกยิ้มให้ท่าน นั่นแสดงว่าเป็นตัวข้าพเจ้า จงให้รอยยิ้มเป็นเสมือนคำสัญญา และจากนั้นอีก 13 ปี ในคืนวันไหว้พระจันทร์ ข้าจะรอท่าน ณ วัดอินเดียในเมืองหางโจว วันนั้นเราจะได้พบกันอีกครั้ง” กล่าวจบทั้งสองจึงร่ำลาและแยกย้ายกันไป
ในคืนนั้นเอง นักบวชหยวนเจ๋อก็ถึงแก่กรรม เป็นเวลาเดียวกันกับที่หญิงท้องแก่ให้กำเนิดบุตรชาย หลังจากนั้นอีก 3 วัน เมื่อหลี่หยวนซ่านเดินทางไปเยี่ยมทารก ทารกนั้นยิ้มให้เขาจริงๆ จากนั้น 13 ปีให้หลัง เมื่อถึงวันไหว้พระจันทร์ หลี่หยวนซ่านเดินทางไปยังวัดอินเดีย ณ เมืองหางโจวตามสัญญา เมื่อถึงประตูวัด เขาพบเด็กเลี้ยงวัวผู้หนึ่ง นั่งอยู่บนหลังวัวพลางร้องเพลง
“วิญญาณทั้ง 3 ชาติสลักแน่นบนศิลา
ผ่านพบสิ่งใดมามิต้องเอ่ย
อาจมากมายจนละอายเมื่อถามไถ่
แม้รูปกายเปลี่ยนไป แต่จิตใจยังเป็นเช่นเดิม”
เมื่อได้ฟังเพลงดังกล่าว หลี่หยวนซ่านก็รู้ชัดว่า ในที่สุดเขาได้มาพบสหายที่พลัดพรากกันไปอีกครั้ง
สำนวนดังกล่าว มักใช้เปรียบเปรยกับพรหมลิขิตบันดาลชักพา หรือใช้ในกรณีที่มิตรสหายมาพบกันโดยบังเอิญ หรือคนที่ได้รู้จักกันในสถานการณ์พิเศษแล้วกลายมาเป็นผู้รู้ใจ
สำนวนนี้ใช้ในตำแหน่งภาคแสดง มักใช้เพื่อขอบคุณ หรือแสดงไมตรี
ตัวอย่างประโยค
久闻大名, 今天相见 , 真是三生有幸 !
ได้ยินชื่อเสียงมานาน วันนี้ได้พานพบ นับว่า ~ จริงๆ
三生 (sān shēng)อ่านว่า ซานเซิง แปลว่า สามชาติ (หมายถึงความเชื่อเรื่องชาติก่อน ชาตินี้ และชาติหน้า ทางพระพุทธศาสนา)
有 (yǒu) อ่านว่า โหย่ว แปลว่า มี
幸 (xìng) อ่านว่า ซิ่ง แปลว่า โชคดี
ตำนานเล่าขานกันมาว่า ในสมัยราชวงศ์ถัง ยังมีนักบวชรูปหนึ่ง ฉายา หยวนเจ๋อ ได้บวชเรียนศึกษาพระธรรมจนเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ถึงขอบเขตขั้นสูง
นักบวชหยวนเจ๋อมีสหายสนิทนามว่า หลี่หยวนซ่าน วันหนึ่งทั้งสองออกเดินทางท่องเที่ยวไปด้วยกัน เมื่อผ่านไปยังสถานที่แห่งหนึ่ง พบหญิงสาวกำลังตักน้ำอยู่ริมลำธาร หญิงผู้นั้นท้องใหญ่โต เห็นได้ชัดว่ากำลังตั้งครรภ์
นักบวชหยวนเจ๋อชี้มือไปยังหญิงตั้งครรภ์ พร้อมทั้งกล่าวกับหลี่หยวนซ่านผู้เป็นสหายสนิทว่า “หญิงผู้นั้นตั้งครรภ์มานานกว่า 3 ปีแล้วเพราะรอให้ข้าไปจุติในท้องของนาง เนื่องจากตามชะตา ในชาติหน้าข้าต้องเกิดเป็นลูกของนาง แต่ข้าพยายามบ่ายเบี่ยงมาตลอด แต่บัดนี้เมื่อได้พบหน้ากันแล้ว จึงทราบว่าไม่อาจยื้อเวลาได้อีกต่อไป
“จากนี้อีก 3 วัน หลังจากที่หญิงผู้นี้คลอดบุตร ท่านจงเดินทางไปยังบ้านของนางเพื่อเยี่ยมทารก หากทารกยิ้มให้ท่าน นั่นแสดงว่าเป็นตัวข้าพเจ้า จงให้รอยยิ้มเป็นเสมือนคำสัญญา และจากนั้นอีก 13 ปี ในคืนวันไหว้พระจันทร์ ข้าจะรอท่าน ณ วัดอินเดียในเมืองหางโจว วันนั้นเราจะได้พบกันอีกครั้ง” กล่าวจบทั้งสองจึงร่ำลาและแยกย้ายกันไป
ในคืนนั้นเอง นักบวชหยวนเจ๋อก็ถึงแก่กรรม เป็นเวลาเดียวกันกับที่หญิงท้องแก่ให้กำเนิดบุตรชาย หลังจากนั้นอีก 3 วัน เมื่อหลี่หยวนซ่านเดินทางไปเยี่ยมทารก ทารกนั้นยิ้มให้เขาจริงๆ จากนั้น 13 ปีให้หลัง เมื่อถึงวันไหว้พระจันทร์ หลี่หยวนซ่านเดินทางไปยังวัดอินเดีย ณ เมืองหางโจวตามสัญญา เมื่อถึงประตูวัด เขาพบเด็กเลี้ยงวัวผู้หนึ่ง นั่งอยู่บนหลังวัวพลางร้องเพลง
“วิญญาณทั้ง 3 ชาติสลักแน่นบนศิลา
ผ่านพบสิ่งใดมามิต้องเอ่ย
อาจมากมายจนละอายเมื่อถามไถ่
แม้รูปกายเปลี่ยนไป แต่จิตใจยังเป็นเช่นเดิม”
เมื่อได้ฟังเพลงดังกล่าว หลี่หยวนซ่านก็รู้ชัดว่า ในที่สุดเขาได้มาพบสหายที่พลัดพรากกันไปอีกครั้ง
สำนวนดังกล่าว มักใช้เปรียบเปรยกับพรหมลิขิตบันดาลชักพา หรือใช้ในกรณีที่มิตรสหายมาพบกันโดยบังเอิญ หรือคนที่ได้รู้จักกันในสถานการณ์พิเศษแล้วกลายมาเป็นผู้รู้ใจ
สำนวนนี้ใช้ในตำแหน่งภาคแสดง มักใช้เพื่อขอบคุณ หรือแสดงไมตรี
ตัวอย่างประโยค
久闻大名, 今天相见 , 真是三生有幸 !
ได้ยินชื่อเสียงมานาน วันนี้ได้พานพบ นับว่า ~ จริงๆ