เดอะ วอลสตรีท – ทางการไต้หวันเผยจะเริ่มอนุมัติให้บริษัทจากแผ่นดินใหญ่ข้ามถิ่นมาลงทุนในบริษัทไต้หวันช่วงต้นเดือนกรกฎาคมนี้ พร้อมวางแผนไฟเขียวจีนลงทุนใน 101 ธุรกิจจากภาคการผลิต บริการ และโครงการก่อสร้างสาธารณูปโภค
เจ้าหน้าที่ทางการไต้หวันรายหนึ่งเปิดเผยว่า ภาคธุรกิจที่จะเปิดให้ลงทุนภายใต้แผนข้างต้นนั้น รวมไปถึง ธุรกิจสิ่งทอ, โทรศัพท์มือถือ การผลิตรถยนต์ ค้าปลีก ค้าส่ง ธุรกิจโรงแรม สนามบิน ท่าเรือ รวมทั้งธุรกิจให้บริการโทรคมนาคม ที่เป็นเจ้าของโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ ธุรกิจให้บริการอินเตอร์เน็ต ซึ่งทางการไต้หวันระบุว่า การลงทุนในธุรกิจเหล่านี้จะช่วยผลักดันเศรษฐกิจของไต้หวัน
ส่วนกรณีที่บริษัท "ไชน่า โมบาย" ของรัฐบาลจีนเสนอซื้อหุ้น 12% ของบริษัทโทรคมนาคมไต้หวัน "ฟาร์อีสโทน เทเลคอมมิวนิเคชั่น" นั้น ทางการย้ำว่า ข้อเสนอดังกล่าวจะไม่ได้รับการอนุมัติในเฟสแรกของการเปิดไฟเขียวให้บริษัทแผ่นดินใหญ่เข้ามาลงทุน
“ถึงแม้ว่าพวกเขาจะยื่นเอกสารมา พวกเราก็จะไม่อนุมัติให้ในตอนนี้” ทางการระบุ
อนึ่ง เมื่อปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา ไชน่า โมบายตกลงที่จะจ่ายเงิน 17,800 ล้านเหรียญไต้หวัน (545 ล้านเหรียญสหรัฐ) เพื่อซื้อหุ้นของบริษัท ฟาร์อีสโทน ซึ่งเป็นบริษัทโทรศัพท์รายใหญ่อันดับ 3 ของไต้หวันในแง่รายได้
โดยทางการไต้หวันอธิบายว่า บริษัทโทรคมนาคม ซึ่งเป็นเจ้าของโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ บริษัท จงหวา เทเลคอม, ฟาร์ อีสโทน, ไต้หวัน โมบาย, วีโบ เทเลคอม และ เอเชีย แปซิฟิก เทเลคอม กรุ๊ป จะไม่อนุญาตให้บริษัทจีนลงทุนในเฟสแรกของแผนการลงทุน เนื่องจากประเด็นความมั่นคงของประเทศ
ทั้งนี้ความสัมพันธ์ระหว่างไต้หวันและจีนพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว นับตั้งแต่ หม่า อิงจิ่ว จากพรรคก๊กมินตั๋งขึ้นนั่งเก้าอี้ประธานาธิบดีเมื่อเดือนพฤษภาคมปี 2551 และให้คำมั่นว่าจะแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างดินแดนสองฝั่งช่องแคบ พร้อมทั้งกระตุ้นการติดต่อและแลกเปลี่ยนระหว่างกัน
เจ้าหน้าที่ทางการไต้หวันรายหนึ่งเปิดเผยว่า ภาคธุรกิจที่จะเปิดให้ลงทุนภายใต้แผนข้างต้นนั้น รวมไปถึง ธุรกิจสิ่งทอ, โทรศัพท์มือถือ การผลิตรถยนต์ ค้าปลีก ค้าส่ง ธุรกิจโรงแรม สนามบิน ท่าเรือ รวมทั้งธุรกิจให้บริการโทรคมนาคม ที่เป็นเจ้าของโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ ธุรกิจให้บริการอินเตอร์เน็ต ซึ่งทางการไต้หวันระบุว่า การลงทุนในธุรกิจเหล่านี้จะช่วยผลักดันเศรษฐกิจของไต้หวัน
ส่วนกรณีที่บริษัท "ไชน่า โมบาย" ของรัฐบาลจีนเสนอซื้อหุ้น 12% ของบริษัทโทรคมนาคมไต้หวัน "ฟาร์อีสโทน เทเลคอมมิวนิเคชั่น" นั้น ทางการย้ำว่า ข้อเสนอดังกล่าวจะไม่ได้รับการอนุมัติในเฟสแรกของการเปิดไฟเขียวให้บริษัทแผ่นดินใหญ่เข้ามาลงทุน
“ถึงแม้ว่าพวกเขาจะยื่นเอกสารมา พวกเราก็จะไม่อนุมัติให้ในตอนนี้” ทางการระบุ
อนึ่ง เมื่อปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา ไชน่า โมบายตกลงที่จะจ่ายเงิน 17,800 ล้านเหรียญไต้หวัน (545 ล้านเหรียญสหรัฐ) เพื่อซื้อหุ้นของบริษัท ฟาร์อีสโทน ซึ่งเป็นบริษัทโทรศัพท์รายใหญ่อันดับ 3 ของไต้หวันในแง่รายได้
โดยทางการไต้หวันอธิบายว่า บริษัทโทรคมนาคม ซึ่งเป็นเจ้าของโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ บริษัท จงหวา เทเลคอม, ฟาร์ อีสโทน, ไต้หวัน โมบาย, วีโบ เทเลคอม และ เอเชีย แปซิฟิก เทเลคอม กรุ๊ป จะไม่อนุญาตให้บริษัทจีนลงทุนในเฟสแรกของแผนการลงทุน เนื่องจากประเด็นความมั่นคงของประเทศ
ทั้งนี้ความสัมพันธ์ระหว่างไต้หวันและจีนพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว นับตั้งแต่ หม่า อิงจิ่ว จากพรรคก๊กมินตั๋งขึ้นนั่งเก้าอี้ประธานาธิบดีเมื่อเดือนพฤษภาคมปี 2551 และให้คำมั่นว่าจะแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างดินแดนสองฝั่งช่องแคบ พร้อมทั้งกระตุ้นการติดต่อและแลกเปลี่ยนระหว่างกัน