เอเจนซี – บริษัทเวชภัณฑ์ Roche เผยกำลังเร่งสต็อก “โป๊ยกั๊ก” สมุนไพรจีนที่ปลูกมากในกว่างซี เพื่อนำมาผลิต “ทามิฟลู” ยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ 2009 สนองตอบความต้องการของทั่วโลก อย่างไรก็ตาม การที่อุปสงค์โป๊ยกั๊กเพิ่มสูงขึ้น ก็ส่งผลให้ราคาในตลาดจีนพุ่งสูงกว่าเท่าตัว
เฉา หย่ง โฆษกบริษัท Roche เวชภัณฑ์ยักษ์ใหญ่สาขาเมืองเซี่ยงไฮ้ ซึ่งเป็นผู้ผลิตยาทามิฟลู อาวุธสำคัญต่อกรกับเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เม็กซิโก H1N1 เปิดเผยว่า บริษัทกำลังเร่งเครื่องผลิตตัวยาดังกล่าว ซึ่งมีส่วนผสมหลักมาจากประเทศจีน
“เราได้ส่งยาทามิฟลู 5 ล้านโดสในสต็อกฉุกเฉินไปให้แก่องค์การอนามัยโลก (WHO) แล้ว โดยรัฐบาลของประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้สั่งซื้อยาทามิฟลูรวมแล้วประมาณ 220 ล้านโดสเลยทีเดียว” เฉา หย่งกล่าว
โอเซลทามิเวียร์ (Oseltamivir) หรือที่ Roche จำหน่ายในชื่อทางการค้าว่า “ทามิฟลู” นั้น เป็นยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ซึ่งผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ส่วนใหญ่ลงความเห็นว่าเป็นตัวยาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการทำลายเชื้อไข้หวัดใหญ่ อาทิ H5N1 (ไข้หวัดนก) และ H1N1 ที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ในขณะนี้
เฉาเผยว่า บริษัทของเขากำลังเร่งเครื่องผลิตยาตัวดังกล่าวเพื่อรองรับกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
บริษัท Roche ซึ่งมีฐานอยู่ในเมืองบาเซล ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ สามารถผลิตยาทามิฟลูได้มากถึง 400 ล้านโดสต่อปี แต่การจะเพิ่มการผลิตให้มีศักยภาพเต็มลูกสูบนั้นเฉากล่าวว่า "ต้องใช้เวลาสักหน่อย"
นอกจากนี้ เฉายังเล่าว่า ทางบริษัทจำเป็นต้องเพิ่มสต็อกวัตถุดิบที่ใช้ผลิตทามิฟลู ซึ่งรวมไปถึงเครื่องเทศจีน “โป๊ยกั๊ก” ที่ปกตินำมาใช้เป็นส่วนผสมในต้มไข่พะโล้และอาหารต่างๆ เพราะว่าโป๊ยกั๊กนั้นมีสรรพคุณทางยา และน้ำมันสามารถนำมาผลิตกรดชิคิมิก (shikimic acid) ซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการผลิตยาทามิฟลูได้
โป๊ยกั๊ก ถือเป็นส่วนผสมในอาหารจีนมาแต่ดั้งเดิม เก็บเกี่ยวได้ผลผลิตมากในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม โป๊ยกั๊กกว่า 80% ของทั่วโลกนั้นส่งออกมาจากประเทศจีน โดยมีเขตปกครองตนเองชนชาติจ้วง กว่างซี เป็นแหล่งผลิตใหญ่ที่สุด
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขของจีน นายเฉิน จู ได้กล่าวในระหว่างแถลงข่าวว่า ชาวบ้านได้มีการเติมโป๊ยกั๊กลงไปในอาหารที่มีหมูเป็นส่วนประกอบมากขึ้น เนื่องจากเชื่อว่ามันจะช่วยรักษาอาการไข้หวัดได้เป็นอย่างดี
ด้วยสรรพคุณของโป๊ยกั๊กนี่เอง ทำให้ราคาขายในตลาดมังกรปรับตัวสูงขึ้น โดยราคาค้าปลีกเพิ่มขึ้นจาก 9 หยวน (45 บาท) ต่อกิโลกรัม เป็น 14 หยวน (70 บาท) ต่อกิโลกรัมในบางพื้นที่ เช่น เซี่ยงไฮ้
“ในกว่างซี ราคาขายส่งของโป๊ยกั๊กเพิ่มขึ้น 30% จาก 7 หยวน (35 บาท) เป็น 10 หยวน (50 บาท) ต่อกิโลกรัม” หลี่ อี้ เลขาธิการสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องปรุงรสอาหารแห่งกว่างซีกล่าว
เช่นเดียวกับโจว เกินตี๋ ผู้ค้าปลีกเครื่องเทศ ที่ระบุว่า “ราคาของโป๊ยกั๊กในสัปดาห์นี้ถีบตัวสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ชาวบ้านแห่กันมาซื้อ เพราะเชื่อว่าโป๊ยกั๊กสามารถช่วยรักษาไข้หวัดใหญ่ได้”
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีการนำกรดชิคิมิก ซึ่งอยู่ในน้ำมันของโป๊ยกั้ก ไปสกัดเป็นสารตั้งต้นผลิตยาทามิฟลู แต่กรดตัวนี้ยังไม่สามารถฆ่าเชื้อไข้หวัดคนและไข้หวัดนกได้ จนกว่าจะนำไปผ่านกระบวนการหมัก สกัดทำให้บริสุทธิ์ และเข้าสู่กระบวนการเปลี่ยนโครงสร้างทางเคมี 10 ขั้นตอน ใช้เวลานานถึง 12 เดือน เพื่อให้ได้สารโอเซลทามิเวีย (Oseltamivia) มาเสียก่อน
เฉา หย่ง โฆษกบริษัท Roche เวชภัณฑ์ยักษ์ใหญ่สาขาเมืองเซี่ยงไฮ้ ซึ่งเป็นผู้ผลิตยาทามิฟลู อาวุธสำคัญต่อกรกับเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เม็กซิโก H1N1 เปิดเผยว่า บริษัทกำลังเร่งเครื่องผลิตตัวยาดังกล่าว ซึ่งมีส่วนผสมหลักมาจากประเทศจีน
“เราได้ส่งยาทามิฟลู 5 ล้านโดสในสต็อกฉุกเฉินไปให้แก่องค์การอนามัยโลก (WHO) แล้ว โดยรัฐบาลของประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้สั่งซื้อยาทามิฟลูรวมแล้วประมาณ 220 ล้านโดสเลยทีเดียว” เฉา หย่งกล่าว
โอเซลทามิเวียร์ (Oseltamivir) หรือที่ Roche จำหน่ายในชื่อทางการค้าว่า “ทามิฟลู” นั้น เป็นยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ซึ่งผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ส่วนใหญ่ลงความเห็นว่าเป็นตัวยาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการทำลายเชื้อไข้หวัดใหญ่ อาทิ H5N1 (ไข้หวัดนก) และ H1N1 ที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ในขณะนี้
เฉาเผยว่า บริษัทของเขากำลังเร่งเครื่องผลิตยาตัวดังกล่าวเพื่อรองรับกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
บริษัท Roche ซึ่งมีฐานอยู่ในเมืองบาเซล ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ สามารถผลิตยาทามิฟลูได้มากถึง 400 ล้านโดสต่อปี แต่การจะเพิ่มการผลิตให้มีศักยภาพเต็มลูกสูบนั้นเฉากล่าวว่า "ต้องใช้เวลาสักหน่อย"
นอกจากนี้ เฉายังเล่าว่า ทางบริษัทจำเป็นต้องเพิ่มสต็อกวัตถุดิบที่ใช้ผลิตทามิฟลู ซึ่งรวมไปถึงเครื่องเทศจีน “โป๊ยกั๊ก” ที่ปกตินำมาใช้เป็นส่วนผสมในต้มไข่พะโล้และอาหารต่างๆ เพราะว่าโป๊ยกั๊กนั้นมีสรรพคุณทางยา และน้ำมันสามารถนำมาผลิตกรดชิคิมิก (shikimic acid) ซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการผลิตยาทามิฟลูได้
โป๊ยกั๊ก ถือเป็นส่วนผสมในอาหารจีนมาแต่ดั้งเดิม เก็บเกี่ยวได้ผลผลิตมากในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม โป๊ยกั๊กกว่า 80% ของทั่วโลกนั้นส่งออกมาจากประเทศจีน โดยมีเขตปกครองตนเองชนชาติจ้วง กว่างซี เป็นแหล่งผลิตใหญ่ที่สุด
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขของจีน นายเฉิน จู ได้กล่าวในระหว่างแถลงข่าวว่า ชาวบ้านได้มีการเติมโป๊ยกั๊กลงไปในอาหารที่มีหมูเป็นส่วนประกอบมากขึ้น เนื่องจากเชื่อว่ามันจะช่วยรักษาอาการไข้หวัดได้เป็นอย่างดี
ด้วยสรรพคุณของโป๊ยกั๊กนี่เอง ทำให้ราคาขายในตลาดมังกรปรับตัวสูงขึ้น โดยราคาค้าปลีกเพิ่มขึ้นจาก 9 หยวน (45 บาท) ต่อกิโลกรัม เป็น 14 หยวน (70 บาท) ต่อกิโลกรัมในบางพื้นที่ เช่น เซี่ยงไฮ้
“ในกว่างซี ราคาขายส่งของโป๊ยกั๊กเพิ่มขึ้น 30% จาก 7 หยวน (35 บาท) เป็น 10 หยวน (50 บาท) ต่อกิโลกรัม” หลี่ อี้ เลขาธิการสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องปรุงรสอาหารแห่งกว่างซีกล่าว
เช่นเดียวกับโจว เกินตี๋ ผู้ค้าปลีกเครื่องเทศ ที่ระบุว่า “ราคาของโป๊ยกั๊กในสัปดาห์นี้ถีบตัวสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ชาวบ้านแห่กันมาซื้อ เพราะเชื่อว่าโป๊ยกั๊กสามารถช่วยรักษาไข้หวัดใหญ่ได้”
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีการนำกรดชิคิมิก ซึ่งอยู่ในน้ำมันของโป๊ยกั้ก ไปสกัดเป็นสารตั้งต้นผลิตยาทามิฟลู แต่กรดตัวนี้ยังไม่สามารถฆ่าเชื้อไข้หวัดคนและไข้หวัดนกได้ จนกว่าจะนำไปผ่านกระบวนการหมัก สกัดทำให้บริสุทธิ์ และเข้าสู่กระบวนการเปลี่ยนโครงสร้างทางเคมี 10 ขั้นตอน ใช้เวลานานถึง 12 เดือน เพื่อให้ได้สารโอเซลทามิเวีย (Oseltamivia) มาเสียก่อน