บลูมเบิร์ก – วิกฤตเศรษฐกิจโลกชะลอตัวพ่นพิษใส่โรงถลุงตะกั่วในจีนอย่างจัง โดยยอดคำสั่งซื้อตะกั่วจากบรรดาบริษัทผู้ผลิตแบตเตอรี่ดิ่งเหว กระเทือนโรงถลุงส่วนใหญ่ต้องลดการผลิต หรือปิดกิจการไปเลย
นายเหอ หย่งกัง ผู้จัดการบริษัทซินหลิง รีไฟนิ่ง ( Xinling Refining Co.) ซึ่งตั้งอยู่ในมณฑลเหอหนันระบุว่า โรงถลุงของบริษัทต้องลดกำลังการผลิตจากที่มีอยู่ทั้งหมด100,000 เมตริกตันไปแล้วถึงร้อยละ60
“ไม่มีใครบอกได้หรอกว่าตลาดจะฟื้นตัวเมื่อใด” นายเหอกล่าว
แม้โรงถลุงตะกั่วในจีนเป็นผู้ผลิตตะกั่วป้อนสู่ตลาดเป็นปริมาณมากถึงราว 1 ใน 3 ของความต้องการใโลก แต่เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวขณะนี้ได้ส่งผลให้ความต้องการซื้อรถยนต์, ของเล่น และโทรศัพท์ตกลง จึงส่งแรงกระเพื่อมต่อไปถึงความต้องการใช้แบตเตอรี่ เพื่อจ่ายพลังงานสำหรับเครื่องยนต์และอุปกรณ์เหล่านั้น ให้พลอยหดหายไปด้วย
นอกจากปัญหาความต้องการใช้แบตเตอรี่ลดลงแล้ว ผู้ผลิตแบตเตอรี่ในจีนยังกำลังเผชิญแรงกดดันจากปัญหาตะกั่วในสต็อกที่เก็บไว้มีราคาถูกลงอีกด้วย นักวิเคราะห์ของบริษัทซิติก ซีเคียวริตี้ส์ (Citic Securities Co.) ระบุ
ทั้งนี้ ตลาดค้าตะกั่วล่วงหน้าร่วงลงถึงร้อยละ 52 ในปีนี้ เนื่องจากตลาดมีปริมาณผลผลิตล้นเกินเป็นครั้งแรกในรอบ 6 ปี จากข้อมูลของกลุ่มศึกษาด้านตะกั่วและสังกะสีระหว่างประเทศ
นอกจากนั้น การค้าตะกั่วล่วงหน้าในตลาดแลกเปลี่ยนโลหะของลอนดอนยังปรับตัวลงร้อยละ 5.4 มาอยู่ที่ 1,230 ดอลลาร์ต่อเมตริกตันเมื่อปิดตลาดวานนี้ (19 พ.ย.2551)
เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา สมาคมผู้ผลิตรถยนต์ของจีนออกมาระบุว่า ยอดขายรถยนต์ตลอดทั้งปีในจีนอาจไม่ตรงตามเป้าหมายที่คาดไว้จำนวน 10 ล้านคัน โดยเศรษฐกิจจีนในไตรมาส 3 ของปีนี้ชะลอการเติบโตลงมากที่สุดในรอบ 5 ปี นอกจากนั้น ตัวเลขการค้าและการผลิตอุตสาหกรรมประจำเดือนตุลาคม คาดว่าจะเนือยลงไปอีก
ภาวะดังกล่าวทำให้รัฐบาลจีนต้องประกาศแผนกระตุ้นการใช้จ่ายภาครัฐจำนวน 4 ล้านล้านหยวน (586,000 ล้านดอลลาร์) เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ
ทั้งนี้ ผู้ผลิตแบตเตอรี่ของจีนเป็นผู้ใช้ตะกั่วมากที่สุดในประเทศ ถึงประมาณร้อยละ 76 ซึ่งในจำนวนนี้รวมทั้งบริษัทเฟิงฟั่น (Fengfan Co Ltd)
สำหรับทิศทางของบริษัทซินหลิงนั้น อาจต้องลดการผลิตลงอีก โดยขณะนี้บริษัทกำลังประสบการขาดทุนจากการถลุงตะกั่ว ซึ่งนำเข้าจากต่างประเทศ 5,000 หยวนต่อตัน
ด้านยัวซ่า แบตเตอรี่ (เทียนจิน) บริษัทผู้ผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ก็ได้ลดการผลิตลงถึงครึ่งหนึ่งแล้วตามคำสั่งซื้อที่ตกลงจากต่างแดน ประกอบกับผู้ผลิตรถจักรยานยนต์ในประเทศเองก็ลดความต้องการลงเช่นเดียวกัน
นายเหอ หย่งกัง ผู้จัดการบริษัทซินหลิง รีไฟนิ่ง ( Xinling Refining Co.) ซึ่งตั้งอยู่ในมณฑลเหอหนันระบุว่า โรงถลุงของบริษัทต้องลดกำลังการผลิตจากที่มีอยู่ทั้งหมด100,000 เมตริกตันไปแล้วถึงร้อยละ60
“ไม่มีใครบอกได้หรอกว่าตลาดจะฟื้นตัวเมื่อใด” นายเหอกล่าว
แม้โรงถลุงตะกั่วในจีนเป็นผู้ผลิตตะกั่วป้อนสู่ตลาดเป็นปริมาณมากถึงราว 1 ใน 3 ของความต้องการใโลก แต่เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวขณะนี้ได้ส่งผลให้ความต้องการซื้อรถยนต์, ของเล่น และโทรศัพท์ตกลง จึงส่งแรงกระเพื่อมต่อไปถึงความต้องการใช้แบตเตอรี่ เพื่อจ่ายพลังงานสำหรับเครื่องยนต์และอุปกรณ์เหล่านั้น ให้พลอยหดหายไปด้วย
นอกจากปัญหาความต้องการใช้แบตเตอรี่ลดลงแล้ว ผู้ผลิตแบตเตอรี่ในจีนยังกำลังเผชิญแรงกดดันจากปัญหาตะกั่วในสต็อกที่เก็บไว้มีราคาถูกลงอีกด้วย นักวิเคราะห์ของบริษัทซิติก ซีเคียวริตี้ส์ (Citic Securities Co.) ระบุ
ทั้งนี้ ตลาดค้าตะกั่วล่วงหน้าร่วงลงถึงร้อยละ 52 ในปีนี้ เนื่องจากตลาดมีปริมาณผลผลิตล้นเกินเป็นครั้งแรกในรอบ 6 ปี จากข้อมูลของกลุ่มศึกษาด้านตะกั่วและสังกะสีระหว่างประเทศ
นอกจากนั้น การค้าตะกั่วล่วงหน้าในตลาดแลกเปลี่ยนโลหะของลอนดอนยังปรับตัวลงร้อยละ 5.4 มาอยู่ที่ 1,230 ดอลลาร์ต่อเมตริกตันเมื่อปิดตลาดวานนี้ (19 พ.ย.2551)
เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา สมาคมผู้ผลิตรถยนต์ของจีนออกมาระบุว่า ยอดขายรถยนต์ตลอดทั้งปีในจีนอาจไม่ตรงตามเป้าหมายที่คาดไว้จำนวน 10 ล้านคัน โดยเศรษฐกิจจีนในไตรมาส 3 ของปีนี้ชะลอการเติบโตลงมากที่สุดในรอบ 5 ปี นอกจากนั้น ตัวเลขการค้าและการผลิตอุตสาหกรรมประจำเดือนตุลาคม คาดว่าจะเนือยลงไปอีก
ภาวะดังกล่าวทำให้รัฐบาลจีนต้องประกาศแผนกระตุ้นการใช้จ่ายภาครัฐจำนวน 4 ล้านล้านหยวน (586,000 ล้านดอลลาร์) เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ
ทั้งนี้ ผู้ผลิตแบตเตอรี่ของจีนเป็นผู้ใช้ตะกั่วมากที่สุดในประเทศ ถึงประมาณร้อยละ 76 ซึ่งในจำนวนนี้รวมทั้งบริษัทเฟิงฟั่น (Fengfan Co Ltd)
สำหรับทิศทางของบริษัทซินหลิงนั้น อาจต้องลดการผลิตลงอีก โดยขณะนี้บริษัทกำลังประสบการขาดทุนจากการถลุงตะกั่ว ซึ่งนำเข้าจากต่างประเทศ 5,000 หยวนต่อตัน
ด้านยัวซ่า แบตเตอรี่ (เทียนจิน) บริษัทผู้ผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ก็ได้ลดการผลิตลงถึงครึ่งหนึ่งแล้วตามคำสั่งซื้อที่ตกลงจากต่างแดน ประกอบกับผู้ผลิตรถจักรยานยนต์ในประเทศเองก็ลดความต้องการลงเช่นเดียวกัน