xs
xsm
sm
md
lg

จีนทำแผนที่พันธุกรรม ไขรหัสหมีแพนด้าขี้อาย

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ความเย็นชาราวกับฤาษีของหมีแพนด้า ซึ่งเป็นเรื่องกระฉ่อนไปทั่วนั้น ทำให้เจ้าหน้าที่ของศูนย์ต้องงัดกลวิธีต่าง ๆ มาใช้ เช่น ฉายวิดีโอการผสมพันธุ์ของหมีแพนด้าคู่อื่น ให้พวกมันดู หรือให้หมีแพนด้าเพศผู้ฝึกความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อขาและกระดูกเชิงกราน เพื่อประสิทธิภาพในการผสมพันธุ์
ไชน่าเดลี่ – นักวิทยาศาสตร์ในจีนตัดสินใจทำแผนที่พันธุกรรม หรือจีโนมของหมีแพนด้า หลังจากข้องใจมานานว่าเหตุใดเจ้าหมี ซึ่งใกล้สูญพันธุ์นี้ จึงแสนขี้อาย จนไม่กล้าผสมพันธุ์กัน

“ เราหวังนะครับว่า แผนที่พันธุกรรมจะช่วยอธิบายในเชิงพันธุศาสตร์ให้เข้าใจได้ว่า ทำไมหมีแพนด้าจึงมีความเฉื่อยชาทางเพศนัก ? นักวิทยาศาสตร์จะได้ช่วยให้พวกมันมีลูกมากขึ้น” หวัง จวิน นักวิทยาศาสตร์ของสถาบันปักกิ่ง จีโนมิกส์ กล่าว

ผู้เชี่ยวชาญของจีนระบุว่า ปัจจุบัน เหลือหมีแพนด้าอยู่ในจีนประมาณ 1,600 ตัวเท่านั้น โดยส่วนใหญ่อาศัยในแถบภาคตะวันตกเฉียงใต้ และอีกราว 200 ตัวเลี้ยงอยู่ที่ศูนย์ผสมพันธุ์หลายแห่งในประเทศ

ความเย็นชาราวกับฤาษีของหมีแพนด้า ซึ่งเป็นเรื่องกระฉ่อนไปทั่วนั้น ทำให้เจ้าหน้าที่ของศูนย์ต้องงัดกลวิธีต่าง ๆ มาใช้ เช่น ฉายวิดีโอการผสมพันธุ์ของหมีแพนด้าคู่อื่น ให้พวกมันดู หรือให้หมีแพนด้าเพศผู้ฝึกความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อขาและกระดูกเชิงกราน เพื่อประสิทธิภาพในการผสมพันธุ์

ความพยายามทำแผนที่พันธุกรรมหมีแพนด้าของนักวิทยาศาสตร์จีน ยังมีนักวิทยาศาสตร์ชาติอื่น ๆ เข้าร่วมด้วย จากสหรัฐฯ, อังกฤษ, เดนมาร์ก และแคนาดา

นักวิทยาศาสตร์ทำแผนที่พันธุกรรมของจิง จิง แพนด้าเพศเมีย อายุ 3 ปีเสร็จแล้ว ซึ่งผลที่ได้ ยืนยันว่า หมีแพนด้าเป็นสายพันธุ์ย่อยของสัตว์ตระกูลหมีอย่างที่เชื่อกันทั่วไป โดยในอดีต เคยเข้าใจกันว่า หมีแพนด้ามีความเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับแร็กคูน หรือสัตว์ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับหมีแพนด้าชนิดอื่น ๆ มากกว่า

คาดว่าแผนที่พันธุกรรม ซึ่งให้รายละเอียดมากขึ้น อาจทำเสร็จสิ้นภายในสิ้นปีนี้

นักวิทยาศาสตร์ยังหวังด้วยว่า ในที่สุดแล้ว ปริศนารหัสพันธุกรรมจะถูกเปิดเผยให้กระจ่างว่า ทำไมหมีแพนด้าจึงดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการกินไผ่เกือบอย่างเดียว ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อความสามารถในการปรับตัวของหมีแพนด้าเอง

กำลังโหลดความคิดเห็น