เอเอฟพี – หลังจากผ่านการค้นคว้า บ่มเพาะ และพัฒนามาร่วมครึ่งศตวรรษ ในที่สุดในวันพฤหัสบดีนี้ (25 ก.ย.) จีนจะสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ให้แก่วงการอวกาศของประเทศด้วยการส่งมนุษย์อวกาศขึ้นไปเดินอวกาศ (space walk) เป็นครั้งแรก โดยนักบินจะขึ้นไปพร้อมกับยานเสินโจว7 ซึ่งเป็นยานอวกาศพร้อมนักบินลำที่ 3 ของจีน
โครงการอวกาศที่ผ่านมาตลอด 52 ปีของจีน
ค.ศ.1956 – สถาบันวิจัยจรวดและขีปนาวุธแห่งแรกของแดนมังกรก็ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการ
ค.ศ.1957 - รัฐบาลมังกรเริ่มโครงการดาวเทียมเป็นครั้งแรก ภายใต้ชื่อ "ปฏิบัติการ 581"
ค.ศ.1960 - จีนคิดค้นจรวดลำแรก ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของจรวดตระกูล CZ ที่ย่อมาจากฉางเจิง (Changzheng) หรือ Long Marchโดยได้รับความช่วยเหลือจากนักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซีย
ค.ศ.1964 – ตัวอย่างด้านชีววิทยาบรรจุในหลอดทดลอง 12 หลอด รวมทั้งหนูเผือก หนูสีขาวอย่างละ 4 ตัว ถูกนำขึ้นจรวด T-7A-S ซึ่งพุ่งขึ้นสู่ห้วงอวกาศที่ความสูง 70 กิโลเมตรเหนือระดับท้องทะเล
ค.ศ.1968 - สถาบันด้านวิศวกรรมอวกาศและการแพทย์ ซึ่งมีหน้าที่วิจัยเกี่ยวกับยานอวกาศพร้อมนักบินได้เปิดขึ้นครั้งแรก
ค.ศ.1970 - วันที่ 24 เมษายน จีนเป็นประเทศที่ 5 ของโลกที่ประสบความสำเร็จในการส่งดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศ คือ ตงฟางหง -1 (DFH-1) โดยใช้จรวดขนส่งฉางเจิง (Long March)
ค.ศ.1980 - หนังสือพิมพ์ของทางการหลายฉบับได้เผยแพร่บทความและรูปภาพเกี่ยวกับการเตรียมการของโครงการยานอวกาศพร้อมนักบิน แต่โครงการดังกล่าวในขณะนั้นไม่ปรากฎเป็นรูปธรรม เนื่องจากข้อจำกัดด้านงบประมาณ
ค.ศ.1992 -ขณะที่จีนตั้งให้โครงการยานอวกาศพร้อมนักบินเป็นเป้าหมายในระยะกลางและยาว คณะรัฐมนตรีก็ได้อนุมัติ 'โครงการ 921' ซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักกันในชื่อ 'เสินโจว' หรือ ‘เรือเทวดา'
ค.ศ.1993 - เจ้าหน้าที่จีนไปเยี่ยมชมโครงการอวกาศของรัสเซีย
ค.ศ.1994 - จรวด CZ-2D ภายในบรรทุกสัตว์เล็กๆหลากหลายชนิด ถูกยิงสู่ห้วงอวกาศ
ค.ศ.1995 -โครงการอวกาศจีนพบกับเหตุการณ์เศร้าสลด เมื่อ CZ-2E ระเบิดระหว่างขึ้นจากสถานียิงดาวเทียมซีชัง มณฑลเสฉวน เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 6 ราย
ค.ศ.1996 - จีนลงนามในข้อตกลงรับเทคโนโลยีด้านอวกาศของรัสเซีย
ค.ศ.1997 - อู๋เจี๋ยและหลี่จิ้นหลง สำเร็จหลักสูตรการฝึกอบรมระยะเวลา 1 ปี จากสตาร์ ซิติ้ สถาบันฝึกอบรมด้านอวกาศในกรุงมอสโคว์ ของรัสเซียและได้รับการรับรองคุณสมบัติผู้ฝึกอบรมด้านอวกาศจากสถาบันดังกล่าว
ค.ศ.1999 - ยานเสินโจว ขึ้นสู่ห้วงอวกาศพร้อมตัวอย่างด้านชีววิทยา ด้วยจรวด CZ-2F ในวันที่ 20 พฤศจิกายนและกลับสู่พื้นโลกหลังจากโคจรรอบโลก 14 รอบ
ค.ศ.2000 - ในฮ่องกง ยานเสินโจว ถูกนำมาจัดแสดงครั้งแรก
ค.ศ.2001 - ยานเสินโจว 2 ทะยานขึ้นสู่อวกาศในวันที่ 9 มกราคมและกลับสู่พื้นโลกที่เขตปกครองตนเอง มองโกเลียใน
ค.ศ.2002 - ยานเสินโจว 3 ทะยานขึ้นสู่อวกาศในวันที่ 25 มีนาคม ในสมัยของประธานาธิบดีเจียงเจ๋อหมิน และได้กลับสู่พื้นโลกในวันที่ 1 เมษายน หลังจากโคจรรอบโลก 108 รอบ และต่อมาไม่นาน จีนประกาศที่จะสร้างสถานีอวกาศ
วันที่ 29 ธันวาคม ปีเดียวกัน ยานเสินโจว 4 ถูกส่งขึ้นวงโคจรโลกและกลับมายังพื้นโลกในวันที่ 4 มกราคม 2003 ต่อมาในเดือนเดียวกัน จีนประกาศว่ากำลังวางแผนที่จะส่งยานพร้อมมนุษย์ขึ้นสู่อวกาศ
ค.ศ.2003 - วันที่ 15 ตุลาคม เสินโจว 5 ยานอวกาศพร้อมมนุษย์ลำแรกของจีนได้ขึ้นสู่ห้วงอวกาศ "หยางลี่เหว่ย" มนุษย์อวกาศคนแรกของจีนกลับสู่โลก หลังจากท่องอยู่ในอวกาศนาน 21 ชั่วโมงและโคจรรอบโลก 14 รอบ ส่งให้จีนกลายเป็นชาติที่ 3 ที่สามารถส่งมนุษย์ขึ้นไปตะลุยอวกาศ หลังจากสหรัฐฯ และรัสเซีย
ค.ศ.2004 – จีนส่งดาวเทียม 10 ดวง ด้วยการยิงจรวด 8 ครั้ง นับเป็นการส่งดาวเทียมที่มากครั้งที่สุดที่เคยมีมาในรอบ 1 ปี ขณะเดียวกัน หวังหย่งจื้อ หัวหน้านักออกแบบในโครงการอวกาศจีนเปิดเผยแผนสร้างสถานีอวกาศภายใน 15 ปี
ค.ศ.2005 – ‘เสินโจว6’ ประสบความสำเร็จในการพานักบินอวกาศ 2 นายตะลุยอวกาศ โคจรรอบโลก 76 รอบ คิดเป็นระยะทาง 3.25 ล้านกิโลเมตรภายในระยะเวลา 115 ชั่วโมง 32 นาที ด้วยความเร็ว 7.9 กิโลเมตรต่อวินาที
ค.ศ.2007 - วันที่ 24 ตุลาคม จีนเตรียมตัวปล่อย “ฉางเอ๋อ1” ยานสำรวจดวงจันทร์ดวงแรกของประเทศ
ค.ศ.2008 – เดือนกันยายน เสินโจว7 ทะยานออกจากฐานยิงจรวดจิ่วเฉวียน พร้อมด้วยนักบินอวกาศ 3 คน ในจำนวนนี้ พันเอกไจ๋ จื้อกัง (翟志刚) กัปตันเครื่องบินขับไล่ สังกัดกองทัพปลดแอกประชาชน (PLA) วัย 42 ปี จะเป็นชาวจีนคนแรกที่ขึ้นไปปฏิบัติภารกิจเดินอวกาศ (space walk) และประเดิมใส่ชุดอวกาศที่ผลิตในจีนด้วย
อ่าน โครงการอวกาศ
โครงการอวกาศที่ผ่านมาตลอด 52 ปีของจีน
ค.ศ.1956 – สถาบันวิจัยจรวดและขีปนาวุธแห่งแรกของแดนมังกรก็ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการ
ค.ศ.1957 - รัฐบาลมังกรเริ่มโครงการดาวเทียมเป็นครั้งแรก ภายใต้ชื่อ "ปฏิบัติการ 581"
ค.ศ.1960 - จีนคิดค้นจรวดลำแรก ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของจรวดตระกูล CZ ที่ย่อมาจากฉางเจิง (Changzheng) หรือ Long Marchโดยได้รับความช่วยเหลือจากนักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซีย
ค.ศ.1964 – ตัวอย่างด้านชีววิทยาบรรจุในหลอดทดลอง 12 หลอด รวมทั้งหนูเผือก หนูสีขาวอย่างละ 4 ตัว ถูกนำขึ้นจรวด T-7A-S ซึ่งพุ่งขึ้นสู่ห้วงอวกาศที่ความสูง 70 กิโลเมตรเหนือระดับท้องทะเล
ค.ศ.1968 - สถาบันด้านวิศวกรรมอวกาศและการแพทย์ ซึ่งมีหน้าที่วิจัยเกี่ยวกับยานอวกาศพร้อมนักบินได้เปิดขึ้นครั้งแรก
ค.ศ.1970 - วันที่ 24 เมษายน จีนเป็นประเทศที่ 5 ของโลกที่ประสบความสำเร็จในการส่งดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศ คือ ตงฟางหง -1 (DFH-1) โดยใช้จรวดขนส่งฉางเจิง (Long March)
ค.ศ.1980 - หนังสือพิมพ์ของทางการหลายฉบับได้เผยแพร่บทความและรูปภาพเกี่ยวกับการเตรียมการของโครงการยานอวกาศพร้อมนักบิน แต่โครงการดังกล่าวในขณะนั้นไม่ปรากฎเป็นรูปธรรม เนื่องจากข้อจำกัดด้านงบประมาณ
ค.ศ.1992 -ขณะที่จีนตั้งให้โครงการยานอวกาศพร้อมนักบินเป็นเป้าหมายในระยะกลางและยาว คณะรัฐมนตรีก็ได้อนุมัติ 'โครงการ 921' ซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักกันในชื่อ 'เสินโจว' หรือ ‘เรือเทวดา'
ค.ศ.1993 - เจ้าหน้าที่จีนไปเยี่ยมชมโครงการอวกาศของรัสเซีย
ค.ศ.1994 - จรวด CZ-2D ภายในบรรทุกสัตว์เล็กๆหลากหลายชนิด ถูกยิงสู่ห้วงอวกาศ
ค.ศ.1995 -โครงการอวกาศจีนพบกับเหตุการณ์เศร้าสลด เมื่อ CZ-2E ระเบิดระหว่างขึ้นจากสถานียิงดาวเทียมซีชัง มณฑลเสฉวน เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 6 ราย
ค.ศ.1996 - จีนลงนามในข้อตกลงรับเทคโนโลยีด้านอวกาศของรัสเซีย
ค.ศ.1997 - อู๋เจี๋ยและหลี่จิ้นหลง สำเร็จหลักสูตรการฝึกอบรมระยะเวลา 1 ปี จากสตาร์ ซิติ้ สถาบันฝึกอบรมด้านอวกาศในกรุงมอสโคว์ ของรัสเซียและได้รับการรับรองคุณสมบัติผู้ฝึกอบรมด้านอวกาศจากสถาบันดังกล่าว
ค.ศ.1999 - ยานเสินโจว ขึ้นสู่ห้วงอวกาศพร้อมตัวอย่างด้านชีววิทยา ด้วยจรวด CZ-2F ในวันที่ 20 พฤศจิกายนและกลับสู่พื้นโลกหลังจากโคจรรอบโลก 14 รอบ
ค.ศ.2000 - ในฮ่องกง ยานเสินโจว ถูกนำมาจัดแสดงครั้งแรก
ค.ศ.2001 - ยานเสินโจว 2 ทะยานขึ้นสู่อวกาศในวันที่ 9 มกราคมและกลับสู่พื้นโลกที่เขตปกครองตนเอง มองโกเลียใน
ค.ศ.2002 - ยานเสินโจว 3 ทะยานขึ้นสู่อวกาศในวันที่ 25 มีนาคม ในสมัยของประธานาธิบดีเจียงเจ๋อหมิน และได้กลับสู่พื้นโลกในวันที่ 1 เมษายน หลังจากโคจรรอบโลก 108 รอบ และต่อมาไม่นาน จีนประกาศที่จะสร้างสถานีอวกาศ
วันที่ 29 ธันวาคม ปีเดียวกัน ยานเสินโจว 4 ถูกส่งขึ้นวงโคจรโลกและกลับมายังพื้นโลกในวันที่ 4 มกราคม 2003 ต่อมาในเดือนเดียวกัน จีนประกาศว่ากำลังวางแผนที่จะส่งยานพร้อมมนุษย์ขึ้นสู่อวกาศ
ค.ศ.2003 - วันที่ 15 ตุลาคม เสินโจว 5 ยานอวกาศพร้อมมนุษย์ลำแรกของจีนได้ขึ้นสู่ห้วงอวกาศ "หยางลี่เหว่ย" มนุษย์อวกาศคนแรกของจีนกลับสู่โลก หลังจากท่องอยู่ในอวกาศนาน 21 ชั่วโมงและโคจรรอบโลก 14 รอบ ส่งให้จีนกลายเป็นชาติที่ 3 ที่สามารถส่งมนุษย์ขึ้นไปตะลุยอวกาศ หลังจากสหรัฐฯ และรัสเซีย
ค.ศ.2004 – จีนส่งดาวเทียม 10 ดวง ด้วยการยิงจรวด 8 ครั้ง นับเป็นการส่งดาวเทียมที่มากครั้งที่สุดที่เคยมีมาในรอบ 1 ปี ขณะเดียวกัน หวังหย่งจื้อ หัวหน้านักออกแบบในโครงการอวกาศจีนเปิดเผยแผนสร้างสถานีอวกาศภายใน 15 ปี
ค.ศ.2005 – ‘เสินโจว6’ ประสบความสำเร็จในการพานักบินอวกาศ 2 นายตะลุยอวกาศ โคจรรอบโลก 76 รอบ คิดเป็นระยะทาง 3.25 ล้านกิโลเมตรภายในระยะเวลา 115 ชั่วโมง 32 นาที ด้วยความเร็ว 7.9 กิโลเมตรต่อวินาที
ค.ศ.2007 - วันที่ 24 ตุลาคม จีนเตรียมตัวปล่อย “ฉางเอ๋อ1” ยานสำรวจดวงจันทร์ดวงแรกของประเทศ
ค.ศ.2008 – เดือนกันยายน เสินโจว7 ทะยานออกจากฐานยิงจรวดจิ่วเฉวียน พร้อมด้วยนักบินอวกาศ 3 คน ในจำนวนนี้ พันเอกไจ๋ จื้อกัง (翟志刚) กัปตันเครื่องบินขับไล่ สังกัดกองทัพปลดแอกประชาชน (PLA) วัย 42 ปี จะเป็นชาวจีนคนแรกที่ขึ้นไปปฏิบัติภารกิจเดินอวกาศ (space walk) และประเดิมใส่ชุดอวกาศที่ผลิตในจีนด้วย
อ่าน โครงการอวกาศ