เอเอฟพี/เดอะ วอลล์ สตรีต เจอร์นัล – ธนาคารของจีนทยอยออกมาเปิดเผยมูลค่าความเสี่ยง หลังจากการล้มครืนของเลห์แมน บราเทอร์ส วาณิชธนกิจยักษ์ใหญ่มะกัน โดยต่างยืนยันไม่เจ็บตัวกันเท่าไร
แบงก์ ออฟ ไชน่าแถลงเมื่อคืนวันพุธ (17 ก.ย. 2551) เผยมูลค่าความเสี่ยงจากการลงทุนร่วมกับเลห์แมน บราเทอร์สจำนวน 128 ล้าน 8 แสนดอลลาร์
ธนาคาร ซึ่งเป็นผู้ปล่อยกู้ในการซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศรายใหญ่ที่สุดของจีนระบุว่า ธนาคารได้ลงทุนในตราสารหนี้ของเลห์แมนจำนวน 75 ล้าน 6 แสนดอลลาร์
นอกจากนั้น สาขาของธนาคารในนิวยอร์กยังได้ขยายวงเงินกู้จำนวน 53 ล้าน 2 แสนดอลลาร์ให้แก่เลห์แมน และหน่วยธุรกิจของลห์แมนอีกด้วย
ความเสี่ยงเหล่านี้คิดเป็นอัตราส่วนร้อยละ 0.01 ของสินทรัพย์ทั้งหมดของธนาคารเมื่อสิ้นเดือนมิถุนายน
“เราจะจับตามองพัฒนาการล่าสุดอย่างใกล้ชิด” แถลงการณ์ระบุ
แบงก์ ออฟ ไชน่ายืนยันว่า ธนาคารจะลงบันทึกการขาดทุนในบัญชีของธนาคาร และคาดว่าความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจะไม่ส่งผลเสียหายร้ายแรงต่อฐานะการเงินของธนาคาร
ด้านธนาคารปล่อยกู้รายอื่น ๆ ของจีนต่างออกมาเปิดเผยตัวเลขการลงทุนร่วมกับเลห์แมน หลังจากอดีตวาณิชธนกิจรายใหญ่อันดับ 4 ของสหรัฐฯ ได้ยื่นข้อความคุ้มครองตามกฎหมายล้มละลายที่นิวยอร์กเมื่อวันจันทร์ (15 ก.ย. 2551)
อินดัสเทรียล แอนด์ คอมเมอร์เชียล แบงก์ ออฟ ไชน่า หรือ ICBC ธนาคารปล่อยกู้รายใหญ่ที่สุดของจีน มีความเสี่ยงที่ทำกับเลห์แมนจำนวน 151 ล้าน 8 แสนดอลลาร์ ซึ่งรวมทั้งตราสารหนี้ ที่ออกโดยเลห์แมน หรือที่เลห์แมนเกี่ยวข้องด้วย โดยธนาคารได้รับผลกระทบน้อยมาก กล่าวคือเพียงร้อยละ 0.01 ของสินทรัพย์ของ ICBC ทั้งหมด
ด้านอินดัสเทรียล แบงก์ ซึ่งเป็นธนาคารขนาดกลางระบุว่า มีความเสี่ยงจากการลงทุนและทำธุรกรรมร่วมกับเลห์แมนราว 33 ล้าน 6 แสนดอลลาร์
ส่วนไชน่า เมอร์แชนต์ส แบงก์ ธนาคารปล่อยสินเชื่อแห่งแรกของจีนแผ่นดินใหญ่ เปิดเผยว่า ธนาคารถือตราสารหนี้ของเลห์แมนมูลค่า 70 ล้านดอลลาร์ โดยธนาคารรายใหญ่อันดับ 6 ของจีนระบุว่า ธนาคารถือหนี้บุริมสิทธิ์จำนวน 60 ล้านดอลลาร์ และหุ้นกู้ซึ่งมีสิทธิ์ได้รับการชำระหนี้ก่อนจำนวน 10 ล้านดอลลาร์ ที่ออกโดยเลห์แมน
นักวิเคราะห์ของบริษัทจัดอันดับ ฟิตช์ เรตติ้งส์ ชี้ว่า ความเสี่ยงของธนาคารจีนเหล่านี้ “เล็กน้อยมาก” เมื่อเทียบกับระดับสินทรัพย์ที่ธนาคารมี ดังนั้น จึงแทบไม่มีสาเหตุให้ต้องวิตกเกี่ยวกับคุณภาพของสินทรัพย์และผลกำไรสุทธิของธนาคารแต่อย่างใด
บริษัทประกันภัยของจีนรอดปลอดภัย
หนังสือพิมพ์เซี่ยงไฮ้ เซ็กเคียวริตี้ส์ นิวส์ ของทางการจีน รายงานเมื่อวันพฤหัสฯ ( 18 ก.ย.2551) ว่า บริษัทประกันภัยรายใหญ่ 5 อันดับของจีน มิได้ซื้อตราสารหนี้ ที่เกี่ยวข้องกับเลห์แมนกันเลย
โดยบริษัทประกันภัย ไชน่าไลฟ์, ผิง อัน และไชน่า แปซิฟิก อินชัวรันส์ กรุ๊ป ซึ่งต่างจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์บนแผ่นดินใหญ่ ยังไม่ได้ลงทุนในตราสารหนี้ ที่เกี่ยวข้องกับอเมริกัน อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป อิงก์ หรือ เอไอจี บริษัทยักษ์ใหญ่ประกันภัย ซึ่งธนาคารกลางสหรัฐฯ เพิ่งอัดฉีดเงินกู้โอบอุ้มอีกด้วย
ส่วนพีไอซีซี และไชน่า อินชัวรันส์ อินเตอร์เนชั่นแนล โฮลดิ้งส์ บริษัทประกันภัยรายใหญ่อีก 2 ราย ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง ยืนยันว่าไม่ได้ลงทุนในตราสารหนี้ของเลห์แมนเช่นกัน
ธนาคารซิติกปิดปากเงียบเรื่องเจรจากับมอร์แกน สแตนลีย์
เจ้าหน้าที่ของธนาคารซิติก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของซิติก กรุ๊ป ของจีน ได้ปฏิเสธให้ความเห็นกรณีแหล่งข่าวของสหรัฐฯ และจีนรายงานเมื่อวันพุธ (17 ก.ย.2551) ว่า ซิติกกำลังอยู่ระหว่างการเจรจากับมอร์แกน สแตนลีย์ เพื่อเข้าซื้อกิจการของวาณิชธนกิจสหรัฐฯ รายนี้
ซิติกเป็นรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเริ่มกิจการ เพื่อดึงเงินทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนบนแดนมังกร ต่อมาได้พัฒนาเป็นกลุ่มบริษัทการเงิน ซึ่งเน้นธุรกิจด้านธนาคารและบริษัทโบรกเกอร์ โดยเมื่อต้นปี ซิติก เซ็กเคียวริตี้ส์ ซึ่งเป็นบริษัทนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ของซิติก กรุ๊ป ได้ล้มเลิกแผนการเข้าซื้อกิจการของแบร์ สเติร์นส์ วาณิชธนกิจของสหรัฐฯ
ทั้งนี้ ท่ามกลางวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้น ซีเอ็นบีซี บิสซิเนส เน็ตเวิร์ก รายงานว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังคงเชิญชวนให้สถาบันการเงินของจีนเข้าลงทุนในสถาบันการเงินของสหรัฐฯ ต่อไป
แบงก์ ออฟ ไชน่าแถลงเมื่อคืนวันพุธ (17 ก.ย. 2551) เผยมูลค่าความเสี่ยงจากการลงทุนร่วมกับเลห์แมน บราเทอร์สจำนวน 128 ล้าน 8 แสนดอลลาร์
ธนาคาร ซึ่งเป็นผู้ปล่อยกู้ในการซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศรายใหญ่ที่สุดของจีนระบุว่า ธนาคารได้ลงทุนในตราสารหนี้ของเลห์แมนจำนวน 75 ล้าน 6 แสนดอลลาร์
นอกจากนั้น สาขาของธนาคารในนิวยอร์กยังได้ขยายวงเงินกู้จำนวน 53 ล้าน 2 แสนดอลลาร์ให้แก่เลห์แมน และหน่วยธุรกิจของลห์แมนอีกด้วย
ความเสี่ยงเหล่านี้คิดเป็นอัตราส่วนร้อยละ 0.01 ของสินทรัพย์ทั้งหมดของธนาคารเมื่อสิ้นเดือนมิถุนายน
“เราจะจับตามองพัฒนาการล่าสุดอย่างใกล้ชิด” แถลงการณ์ระบุ
แบงก์ ออฟ ไชน่ายืนยันว่า ธนาคารจะลงบันทึกการขาดทุนในบัญชีของธนาคาร และคาดว่าความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจะไม่ส่งผลเสียหายร้ายแรงต่อฐานะการเงินของธนาคาร
ด้านธนาคารปล่อยกู้รายอื่น ๆ ของจีนต่างออกมาเปิดเผยตัวเลขการลงทุนร่วมกับเลห์แมน หลังจากอดีตวาณิชธนกิจรายใหญ่อันดับ 4 ของสหรัฐฯ ได้ยื่นข้อความคุ้มครองตามกฎหมายล้มละลายที่นิวยอร์กเมื่อวันจันทร์ (15 ก.ย. 2551)
อินดัสเทรียล แอนด์ คอมเมอร์เชียล แบงก์ ออฟ ไชน่า หรือ ICBC ธนาคารปล่อยกู้รายใหญ่ที่สุดของจีน มีความเสี่ยงที่ทำกับเลห์แมนจำนวน 151 ล้าน 8 แสนดอลลาร์ ซึ่งรวมทั้งตราสารหนี้ ที่ออกโดยเลห์แมน หรือที่เลห์แมนเกี่ยวข้องด้วย โดยธนาคารได้รับผลกระทบน้อยมาก กล่าวคือเพียงร้อยละ 0.01 ของสินทรัพย์ของ ICBC ทั้งหมด
ด้านอินดัสเทรียล แบงก์ ซึ่งเป็นธนาคารขนาดกลางระบุว่า มีความเสี่ยงจากการลงทุนและทำธุรกรรมร่วมกับเลห์แมนราว 33 ล้าน 6 แสนดอลลาร์
ส่วนไชน่า เมอร์แชนต์ส แบงก์ ธนาคารปล่อยสินเชื่อแห่งแรกของจีนแผ่นดินใหญ่ เปิดเผยว่า ธนาคารถือตราสารหนี้ของเลห์แมนมูลค่า 70 ล้านดอลลาร์ โดยธนาคารรายใหญ่อันดับ 6 ของจีนระบุว่า ธนาคารถือหนี้บุริมสิทธิ์จำนวน 60 ล้านดอลลาร์ และหุ้นกู้ซึ่งมีสิทธิ์ได้รับการชำระหนี้ก่อนจำนวน 10 ล้านดอลลาร์ ที่ออกโดยเลห์แมน
นักวิเคราะห์ของบริษัทจัดอันดับ ฟิตช์ เรตติ้งส์ ชี้ว่า ความเสี่ยงของธนาคารจีนเหล่านี้ “เล็กน้อยมาก” เมื่อเทียบกับระดับสินทรัพย์ที่ธนาคารมี ดังนั้น จึงแทบไม่มีสาเหตุให้ต้องวิตกเกี่ยวกับคุณภาพของสินทรัพย์และผลกำไรสุทธิของธนาคารแต่อย่างใด
บริษัทประกันภัยของจีนรอดปลอดภัย
หนังสือพิมพ์เซี่ยงไฮ้ เซ็กเคียวริตี้ส์ นิวส์ ของทางการจีน รายงานเมื่อวันพฤหัสฯ ( 18 ก.ย.2551) ว่า บริษัทประกันภัยรายใหญ่ 5 อันดับของจีน มิได้ซื้อตราสารหนี้ ที่เกี่ยวข้องกับเลห์แมนกันเลย
โดยบริษัทประกันภัย ไชน่าไลฟ์, ผิง อัน และไชน่า แปซิฟิก อินชัวรันส์ กรุ๊ป ซึ่งต่างจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์บนแผ่นดินใหญ่ ยังไม่ได้ลงทุนในตราสารหนี้ ที่เกี่ยวข้องกับอเมริกัน อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป อิงก์ หรือ เอไอจี บริษัทยักษ์ใหญ่ประกันภัย ซึ่งธนาคารกลางสหรัฐฯ เพิ่งอัดฉีดเงินกู้โอบอุ้มอีกด้วย
ส่วนพีไอซีซี และไชน่า อินชัวรันส์ อินเตอร์เนชั่นแนล โฮลดิ้งส์ บริษัทประกันภัยรายใหญ่อีก 2 ราย ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง ยืนยันว่าไม่ได้ลงทุนในตราสารหนี้ของเลห์แมนเช่นกัน
ธนาคารซิติกปิดปากเงียบเรื่องเจรจากับมอร์แกน สแตนลีย์
เจ้าหน้าที่ของธนาคารซิติก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของซิติก กรุ๊ป ของจีน ได้ปฏิเสธให้ความเห็นกรณีแหล่งข่าวของสหรัฐฯ และจีนรายงานเมื่อวันพุธ (17 ก.ย.2551) ว่า ซิติกกำลังอยู่ระหว่างการเจรจากับมอร์แกน สแตนลีย์ เพื่อเข้าซื้อกิจการของวาณิชธนกิจสหรัฐฯ รายนี้
ซิติกเป็นรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเริ่มกิจการ เพื่อดึงเงินทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนบนแดนมังกร ต่อมาได้พัฒนาเป็นกลุ่มบริษัทการเงิน ซึ่งเน้นธุรกิจด้านธนาคารและบริษัทโบรกเกอร์ โดยเมื่อต้นปี ซิติก เซ็กเคียวริตี้ส์ ซึ่งเป็นบริษัทนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ของซิติก กรุ๊ป ได้ล้มเลิกแผนการเข้าซื้อกิจการของแบร์ สเติร์นส์ วาณิชธนกิจของสหรัฐฯ
ทั้งนี้ ท่ามกลางวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้น ซีเอ็นบีซี บิสซิเนส เน็ตเวิร์ก รายงานว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังคงเชิญชวนให้สถาบันการเงินของจีนเข้าลงทุนในสถาบันการเงินของสหรัฐฯ ต่อไป