โดยสุรัตน์ ปรีชาธรรม
ผู้เขียนลงจากรถไฟใต้ดิน ที่สถานี “เทียนอันเหมินซี” (Tiananmenxi) ก็ถามเจ้าหน้าที่ถึงประตูทางออก ที่จะไปชมศูนย์การแสดงศิลปวัฒนธรรมแห่งชาติหรือโรงละครแห่งชาติใหม่ ที่ผู้นำจีน ดูจะวางตัวให้เป็นเสาหลักในการสะท้อนวัฒนธรรม สนามกิจกรรมสันทนาการด้านวัฒนธรรมบันเทิงแก่แขกบ้านแขกเมืองช่วงงานโอลิมปิก และเป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างใหม่มหัศจรรย์ที่ประกาศอำนาจความรุ่งโรจน์ของประเทศจีน
“ไข่ยักษ์” เจ้าหน้าที่ถามซ้ำเสียงดัง พร้อมกับชี้ไปที่ประตู C
เมื่อผู้เขียนโผล่ขึ้นจากสถานีรถไฟใต้ดิน เดินออกมาไม่กี่ก้าว ก็ได้เห็น “ไข่ยักษ์” มหึมาตั้งโดดเด่น ประชิดติดกับจัตุรัสเทียนอันเหมิน รายล้อมด้วยสถานที่ประวัติศาสตร์อย่างมหาศาลาประชาชน พระราชวังต้องห้าม จัตุรัสเทียนอันเหมิน อนุสาวรีย์วีรบุรุษประชาชน
และผู้เขียนก็ได้เห็นชาวจีน แห่แหนกันมาถ่ายภาพเคียงคู่กับไข่ยักษ์ ผลงานออกแบบของ สถาปนิกชาวฝรั่งเศส Paul Andreu ผู้เผยความคิดในการเลือกแบบไข่นี้ว่า “ไข่” เป็นสัญลักษณ์ของการกลับมาเกิดใหม่
ตามจินตนาการของผู้ออกแบบพอล แอนดริว ตั้งใจให้โรงละครใหญ่นี้ เป็นสวนสีเขียวขนาดใหญ่ ที่มีโรงละครใหญ่รูปไข่สีเงินกลางน้ำสีคราม เปลือกไข่หรือผนังชั้นนอกสุดทำจากโลหะไททาเนียม 20,000 แผ่นและกระจกที่เมื่อผสานเข้ากับแสงกลางวันและแสงกลางคืน จะขับรัศมีเสริมความงามซึ่งกันและกัน นอกจากนี้ รอบโรงละครใหญ่ที่อยู่ภายในเปลือกไข่ ยังมีกำแพงกระจกเคลือบสีทองกึ่งโปร่งใส ที่เมื่อมองจากข้างนอกเข้าไป ก็จะเห็นเป็นสีทองเมลืองมลังอยู่ภายใน ส่วนผู้คนที่อยู่ภายในโรงละคร ก็จะเห็นท้องฟ้าผ่านโดมของอาคาร บ้างเรียกโรงละครใหญ่นี้อย่างหรูหรา ว่า “หยอดคริสตัลกลางน้ำ” สำหรับชาวจีนทั่วไปเรียก “ไข่ยักษ์” เป็นชื่อเล่นโรงละครแห่งใหม่ของพวกเขา
โรงละครนี้จะเป็นศูนย์แสดงศิลปะการแสดงและวังแห่งศิลปะชั้นนำ ที่สำคัญที่สุดคือมันจะสะท้อนนครหลวงปักกิ่งเป็นนครที่รุ่มรวยด้วยศิลปะวัฒนธรรม เริ่มสร้างมาตั้งแต่ปี ๒๐๐๑ แล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม ปี 2007 และเปิดการแสดงรอบประเดิมในเดือนกันยายน 2007
อาณาบริเวณของโรงละคร มีพื้นที่ทั้งหมด ๑๑๘,๙๐๐ ตารางเมตร ติดตั้งโครงสร้างพื้นฐานได้แก่เวทีสำหรับการแสดงโอเปร่า ดนตรี ละคร ห้องโถงจัดแสดงงานศิลปะซึ่งจะเป็นศูนย์แลกเปลี่ยนศิลปะ ตลอดจนร้านขายแผ่นวีซีดี,วีดีวีเพลงและการแสดงต่างๆ ภายในอาคารแบ่งเป็นโรงจัดการแสดงหลัก ๓ แห่ง ได้แก่ โรงจัดการแสดงโอเปร่า (โอเปร่า ฮอลล์) ขนาด ๒,๔๑๖ ที่นั่ง จะเป็นเวทีหลักของการแสดงโอเปร่า การเต้นระบำ และบัลเล่ต์, โรงจัดการแสดงดนตรี (มิวสิค ฮอลล์) ขนาด ๒,๐๑๗ ที่นั่ง จะเป็นเวทีหลักในการจัดแสดงออร์เคสตรา และดนตรีพื้นบ้าน, และโรงจัดการแสดงละคร (ดราม่า ฮอลล์) ขนาด ๑,๐๔๐ ที่นั่ง จะเป็นเวทีสำหรับการแสดงละคร หรืออุปรากรท้องถิ่น รวมทั้งอุปรากรปักกิ่ง
ด้านเหนือของโรงละคร ยังมีอาคารจอดรถใต้ดิน สามารถรองรับรถยนต์ประมาณ ๑,๐๐๐ คัน และจักรยานมากกว่า ๑,๔๐๐ คัน ซึ่งเป็นสถานที่ใช้สอยสาธารณะสำหรับทั้งของผู้ที่มาร่วมกิจกรรมที่โรงละคร และจัตุรัสเทียนอันเหมินด้วย
นอกจากนี้ การออกแบบยังมุ่งสร้างทัศนียภาพยามค่ำคืน โดยผู้ที่เดินผ่านไปมา สามารถมองเห็นการแสดงบนเวทีของโรงละครแห่งหนึ่ง ผ่านเปลือกไข่กึ่งโปร่งใส และยังเป็นจุดที่เน้นสะท้อนความเป็นสาธารณะของอาคาร
ที่ถนนด้านหนึ่งของโรงละครใหม่นี้ ยังมีย่านบ้านเรือนเก่าแบบ“ซื่อเหอย่วน” แห่งตรอกซอย ที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ แทนที่หูถ่งเก่าที่ถูกรื้อทิ้งไป ย่านหูถ่งใหม่นี้ ดูจะสร้างความสมบูรณ์ให้แก่ทัศนียภาพใหม่ของย่านประวัติศาสตร์แห่งนี้ ที่ประกอบด้วยพระราชวังต้องห้ามจากสมัยจักรพรรดิกษัตริย์ ที่ทำการรัฐสภาและรัฐบาล มหาศาลาประชาชน พิพิธภัณฑ์แห่งชาติจากยุคปฏิวัติคอมมิวนิสต์ และบ้านเรือนเก่าที่ตกทอดมาจากยุคโบราณ มาถึงสิ่งก่อสร้างใหม่มหัศจรรย์อย่างโรงละครไข่ยักษ์ รับปีโอลิมปิก ปักกิ่ง 2008 ที่มีรูปลักษณ์ล้ำสมัย อย่างไรก็ตาม ก็มีกระแสที่มองภาพสิ่งแวดล้อมทั้งหมดนี้ เป็นความขัดแย้ง หรือ“ทัศนะอุจาด” ในทางสถาปัตยกรรม และก็ได้ก่อกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในหมู่ชาวปักกิ่ง
ผู้เขียนเดินข้ามถนนไปแวะเยี่ยมเยือนจัตุรัสเทียนอันเหมิน ก็เห็นมีจุดตรวจของเจ้าหน้าที่พิทักษ์สันติราษฎร์ หรือที่จีนเรียกสั้นว่า “กงอัน” (แปลว่ารักษาความสงบสาธารณะ) ตั้งด่านตรวจเป็นระยะๆตามเส้นทางเข้าสู่จัตุรัสเทียนอันเหมิน ตรงหัวบันไดทางเท้าใต้ดินที่เชื่อมระหว่างจุดต่างๆในย่านประวัติศาสตร์ที่สำคัญที่สุดของนครปักกิ่งนี้ เมื่อผู้เขียนเดินลงไปตามทางเท้าใต้ดินเพื่อไปยังจัตุรัสเทียนอันเหมิน และทางเท้าที่ทอดไปยังหน้าพระราชวังต้องห้าม ก็พบคนงานกำลังเร่งปรับปรุงโฉมใหม่มือเป็นระวิง ผู้เขียนเพ่งมองไปที่ผนังที่มีพลาสติกคลุมไว้ ก็เห็นราวๆว่าเป็นลายแกะสลักเป็นลวดลายแบบจีน หรือภาพแกะสลักประวัติศาสตร์การต่อสู้ของประชาชนอะไรเทือกนั้น
เมื่อมาถึงลานจัตุรัสเทียนอันเหมิน ผู้เขียนก็เดินเข้าไปสมทบกับชาวจีนที่มาเที่ยวถ่ายภาพป้ายนับถอยหลัง โอลิมปิก เกมส์ ที่ติดเด่นแดงหราอยู่หน้าอาคารพิพิธภัณฑ์ที่กำลังอยู่ระหว่างการปรับปรุงใหม่ ในวันนั้น ป้ายนับถอยหลังระบุวันเวลาห่างจากพิธีเปิดม่านโอลิมปิก เกมส์ ในวันที่ ๘ เดือน ๘ ปี ๒๐๐๘ เท่ากับ ๖๘ วัน ๖ ชั่วโมง ๔๕ นาที ๒๕ วินาที ขณะที่คนงาน เครื่องจักรปั่นจั่น กำลังเร่งทำงานซ่อมแซมปรับโฉมใหม่ให้แก่อาคารพิพิธภัณฑ์
ธงชาติดาวแดง ปลิวสะบัด ต่อหน้าภาพท่านประธานเหมา เจ๋อตงที่ติดอยู่บนกำแพงใหญ่พระราชวังต้องห้าม วิญญาณท่านคงได้ทอดสายตามองจัตุรัสเทียนอันเหมิน ที่ซึ่งประชาชนหมื่นแสนได้มายืนฟังท่านประกาศก้อง “ชาวจีนยืนขึ้นได้แล้ว” และประกาศสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี ๑๙๔๙, มองดูถนนหนทางจากยุคที่กองทัพจักรยานครองถนน คลาคล่ำไปด้วยผู้คนในชุดเสื้อกางเกงสีเทาหรือสีน้ำเงินทึมๆสัญจรไปมา ถึงยุคที่กองทัพรถยนต์สี่ล้อกำลังครองถนน ผู้คนแต่งชุดเสื้อผ้าหลากหลายแบบสีสันทั้งชุดเสื้อยืดกางเกงยีนส์ เสื้อยืดสายเดี่ยว ถึงชุดกระโปรงสั้นแบบฉีเผา (กี่เพ้า)ที่แต่งเป็นแฟชั่นมากกว่า, มองดูการพัฒนา รื้อถอน ซ่อมแซม ปรับปรุงโฉมใหม่ของบ้านเมือง และท่านก็คงได้ร่วมนับถอยหลังสู่โอลิมปิก เกมส์
ในความคิดของผู้เขียนแล้ว ดูเหมือนผู้นำจีนจะจงใจกำหนดแนวคิดการออกแบบสิ่งแวดล้อมในบริเวณนี้ โดยวาง “ไข่ยักษ์” สัญลักษณ์แห่งความทันสมัยสากลไว้กลางย่านประวัติศาสตร์นี้ ให้ผู้คนได้เห็นถึงประวัติศาสตร์การสร้างบ้านแปลงเมืองของจีนใหม่ จากยุคจักรพรรดิ กษัตริย์เจ้าศักดินา ที่มีหูถ่งเป็นกระดูกสันหลังของเมือง มาถึงวันประกาศสาธารณรัฐประชาชนจีน ผ่านยุคปฏิรูปเปิดประเทศของผู้นำเติ้ง เสี่ยวผิงในปี ๑๙๘๗ ที่ดันการเติบโตเศรษฐกิจพุ่งทะยานอย่างมหัศจรรย์ ถึงยุคเจ้าภาพโอลิมปิก ที่เสมือนศุภฤกษ์ ที่จีนจะได้ประกาศ อำนาจศักดา ว่า จีนได้ลุกขึ้นยืน และกำลังเรืองอำนาจ เทียมบ่าเทียมไหล่ชาติอำนาจอื่น สู่ความเป็นสากล.
เยี่ยมยลนครปักกิ่งก่อนเปิดม่านโอลิมปิก ตอนที่ 1: เทอร์มินอล 3 “ป้ายประกาศยุคจีนโฉมใหม่” หน้าประตูบ้านพญามังกร
เยี่ยมยลนครปักกิ่งก่อนเปิดม่านโอลิมปิก ตอนที่ 2 “รังนก” “ลูกบาศก์น้ำ” สองขุนพลใหญ่รับศึกแข่งขันโอลิมปิก
ชมชุดภาพบรรยากาศรอบโรงละครแห่งชาติ "ไข่ยักษ์"
ผู้เขียนลงจากรถไฟใต้ดิน ที่สถานี “เทียนอันเหมินซี” (Tiananmenxi) ก็ถามเจ้าหน้าที่ถึงประตูทางออก ที่จะไปชมศูนย์การแสดงศิลปวัฒนธรรมแห่งชาติหรือโรงละครแห่งชาติใหม่ ที่ผู้นำจีน ดูจะวางตัวให้เป็นเสาหลักในการสะท้อนวัฒนธรรม สนามกิจกรรมสันทนาการด้านวัฒนธรรมบันเทิงแก่แขกบ้านแขกเมืองช่วงงานโอลิมปิก และเป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างใหม่มหัศจรรย์ที่ประกาศอำนาจความรุ่งโรจน์ของประเทศจีน
“ไข่ยักษ์” เจ้าหน้าที่ถามซ้ำเสียงดัง พร้อมกับชี้ไปที่ประตู C
เมื่อผู้เขียนโผล่ขึ้นจากสถานีรถไฟใต้ดิน เดินออกมาไม่กี่ก้าว ก็ได้เห็น “ไข่ยักษ์” มหึมาตั้งโดดเด่น ประชิดติดกับจัตุรัสเทียนอันเหมิน รายล้อมด้วยสถานที่ประวัติศาสตร์อย่างมหาศาลาประชาชน พระราชวังต้องห้าม จัตุรัสเทียนอันเหมิน อนุสาวรีย์วีรบุรุษประชาชน
และผู้เขียนก็ได้เห็นชาวจีน แห่แหนกันมาถ่ายภาพเคียงคู่กับไข่ยักษ์ ผลงานออกแบบของ สถาปนิกชาวฝรั่งเศส Paul Andreu ผู้เผยความคิดในการเลือกแบบไข่นี้ว่า “ไข่” เป็นสัญลักษณ์ของการกลับมาเกิดใหม่
ตามจินตนาการของผู้ออกแบบพอล แอนดริว ตั้งใจให้โรงละครใหญ่นี้ เป็นสวนสีเขียวขนาดใหญ่ ที่มีโรงละครใหญ่รูปไข่สีเงินกลางน้ำสีคราม เปลือกไข่หรือผนังชั้นนอกสุดทำจากโลหะไททาเนียม 20,000 แผ่นและกระจกที่เมื่อผสานเข้ากับแสงกลางวันและแสงกลางคืน จะขับรัศมีเสริมความงามซึ่งกันและกัน นอกจากนี้ รอบโรงละครใหญ่ที่อยู่ภายในเปลือกไข่ ยังมีกำแพงกระจกเคลือบสีทองกึ่งโปร่งใส ที่เมื่อมองจากข้างนอกเข้าไป ก็จะเห็นเป็นสีทองเมลืองมลังอยู่ภายใน ส่วนผู้คนที่อยู่ภายในโรงละคร ก็จะเห็นท้องฟ้าผ่านโดมของอาคาร บ้างเรียกโรงละครใหญ่นี้อย่างหรูหรา ว่า “หยอดคริสตัลกลางน้ำ” สำหรับชาวจีนทั่วไปเรียก “ไข่ยักษ์” เป็นชื่อเล่นโรงละครแห่งใหม่ของพวกเขา
โรงละครนี้จะเป็นศูนย์แสดงศิลปะการแสดงและวังแห่งศิลปะชั้นนำ ที่สำคัญที่สุดคือมันจะสะท้อนนครหลวงปักกิ่งเป็นนครที่รุ่มรวยด้วยศิลปะวัฒนธรรม เริ่มสร้างมาตั้งแต่ปี ๒๐๐๑ แล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม ปี 2007 และเปิดการแสดงรอบประเดิมในเดือนกันยายน 2007
อาณาบริเวณของโรงละคร มีพื้นที่ทั้งหมด ๑๑๘,๙๐๐ ตารางเมตร ติดตั้งโครงสร้างพื้นฐานได้แก่เวทีสำหรับการแสดงโอเปร่า ดนตรี ละคร ห้องโถงจัดแสดงงานศิลปะซึ่งจะเป็นศูนย์แลกเปลี่ยนศิลปะ ตลอดจนร้านขายแผ่นวีซีดี,วีดีวีเพลงและการแสดงต่างๆ ภายในอาคารแบ่งเป็นโรงจัดการแสดงหลัก ๓ แห่ง ได้แก่ โรงจัดการแสดงโอเปร่า (โอเปร่า ฮอลล์) ขนาด ๒,๔๑๖ ที่นั่ง จะเป็นเวทีหลักของการแสดงโอเปร่า การเต้นระบำ และบัลเล่ต์, โรงจัดการแสดงดนตรี (มิวสิค ฮอลล์) ขนาด ๒,๐๑๗ ที่นั่ง จะเป็นเวทีหลักในการจัดแสดงออร์เคสตรา และดนตรีพื้นบ้าน, และโรงจัดการแสดงละคร (ดราม่า ฮอลล์) ขนาด ๑,๐๔๐ ที่นั่ง จะเป็นเวทีสำหรับการแสดงละคร หรืออุปรากรท้องถิ่น รวมทั้งอุปรากรปักกิ่ง
ด้านเหนือของโรงละคร ยังมีอาคารจอดรถใต้ดิน สามารถรองรับรถยนต์ประมาณ ๑,๐๐๐ คัน และจักรยานมากกว่า ๑,๔๐๐ คัน ซึ่งเป็นสถานที่ใช้สอยสาธารณะสำหรับทั้งของผู้ที่มาร่วมกิจกรรมที่โรงละคร และจัตุรัสเทียนอันเหมินด้วย
นอกจากนี้ การออกแบบยังมุ่งสร้างทัศนียภาพยามค่ำคืน โดยผู้ที่เดินผ่านไปมา สามารถมองเห็นการแสดงบนเวทีของโรงละครแห่งหนึ่ง ผ่านเปลือกไข่กึ่งโปร่งใส และยังเป็นจุดที่เน้นสะท้อนความเป็นสาธารณะของอาคาร
ที่ถนนด้านหนึ่งของโรงละครใหม่นี้ ยังมีย่านบ้านเรือนเก่าแบบ“ซื่อเหอย่วน” แห่งตรอกซอย ที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ แทนที่หูถ่งเก่าที่ถูกรื้อทิ้งไป ย่านหูถ่งใหม่นี้ ดูจะสร้างความสมบูรณ์ให้แก่ทัศนียภาพใหม่ของย่านประวัติศาสตร์แห่งนี้ ที่ประกอบด้วยพระราชวังต้องห้ามจากสมัยจักรพรรดิกษัตริย์ ที่ทำการรัฐสภาและรัฐบาล มหาศาลาประชาชน พิพิธภัณฑ์แห่งชาติจากยุคปฏิวัติคอมมิวนิสต์ และบ้านเรือนเก่าที่ตกทอดมาจากยุคโบราณ มาถึงสิ่งก่อสร้างใหม่มหัศจรรย์อย่างโรงละครไข่ยักษ์ รับปีโอลิมปิก ปักกิ่ง 2008 ที่มีรูปลักษณ์ล้ำสมัย อย่างไรก็ตาม ก็มีกระแสที่มองภาพสิ่งแวดล้อมทั้งหมดนี้ เป็นความขัดแย้ง หรือ“ทัศนะอุจาด” ในทางสถาปัตยกรรม และก็ได้ก่อกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในหมู่ชาวปักกิ่ง
ผู้เขียนเดินข้ามถนนไปแวะเยี่ยมเยือนจัตุรัสเทียนอันเหมิน ก็เห็นมีจุดตรวจของเจ้าหน้าที่พิทักษ์สันติราษฎร์ หรือที่จีนเรียกสั้นว่า “กงอัน” (แปลว่ารักษาความสงบสาธารณะ) ตั้งด่านตรวจเป็นระยะๆตามเส้นทางเข้าสู่จัตุรัสเทียนอันเหมิน ตรงหัวบันไดทางเท้าใต้ดินที่เชื่อมระหว่างจุดต่างๆในย่านประวัติศาสตร์ที่สำคัญที่สุดของนครปักกิ่งนี้ เมื่อผู้เขียนเดินลงไปตามทางเท้าใต้ดินเพื่อไปยังจัตุรัสเทียนอันเหมิน และทางเท้าที่ทอดไปยังหน้าพระราชวังต้องห้าม ก็พบคนงานกำลังเร่งปรับปรุงโฉมใหม่มือเป็นระวิง ผู้เขียนเพ่งมองไปที่ผนังที่มีพลาสติกคลุมไว้ ก็เห็นราวๆว่าเป็นลายแกะสลักเป็นลวดลายแบบจีน หรือภาพแกะสลักประวัติศาสตร์การต่อสู้ของประชาชนอะไรเทือกนั้น
เมื่อมาถึงลานจัตุรัสเทียนอันเหมิน ผู้เขียนก็เดินเข้าไปสมทบกับชาวจีนที่มาเที่ยวถ่ายภาพป้ายนับถอยหลัง โอลิมปิก เกมส์ ที่ติดเด่นแดงหราอยู่หน้าอาคารพิพิธภัณฑ์ที่กำลังอยู่ระหว่างการปรับปรุงใหม่ ในวันนั้น ป้ายนับถอยหลังระบุวันเวลาห่างจากพิธีเปิดม่านโอลิมปิก เกมส์ ในวันที่ ๘ เดือน ๘ ปี ๒๐๐๘ เท่ากับ ๖๘ วัน ๖ ชั่วโมง ๔๕ นาที ๒๕ วินาที ขณะที่คนงาน เครื่องจักรปั่นจั่น กำลังเร่งทำงานซ่อมแซมปรับโฉมใหม่ให้แก่อาคารพิพิธภัณฑ์
ธงชาติดาวแดง ปลิวสะบัด ต่อหน้าภาพท่านประธานเหมา เจ๋อตงที่ติดอยู่บนกำแพงใหญ่พระราชวังต้องห้าม วิญญาณท่านคงได้ทอดสายตามองจัตุรัสเทียนอันเหมิน ที่ซึ่งประชาชนหมื่นแสนได้มายืนฟังท่านประกาศก้อง “ชาวจีนยืนขึ้นได้แล้ว” และประกาศสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี ๑๙๔๙, มองดูถนนหนทางจากยุคที่กองทัพจักรยานครองถนน คลาคล่ำไปด้วยผู้คนในชุดเสื้อกางเกงสีเทาหรือสีน้ำเงินทึมๆสัญจรไปมา ถึงยุคที่กองทัพรถยนต์สี่ล้อกำลังครองถนน ผู้คนแต่งชุดเสื้อผ้าหลากหลายแบบสีสันทั้งชุดเสื้อยืดกางเกงยีนส์ เสื้อยืดสายเดี่ยว ถึงชุดกระโปรงสั้นแบบฉีเผา (กี่เพ้า)ที่แต่งเป็นแฟชั่นมากกว่า, มองดูการพัฒนา รื้อถอน ซ่อมแซม ปรับปรุงโฉมใหม่ของบ้านเมือง และท่านก็คงได้ร่วมนับถอยหลังสู่โอลิมปิก เกมส์
ในความคิดของผู้เขียนแล้ว ดูเหมือนผู้นำจีนจะจงใจกำหนดแนวคิดการออกแบบสิ่งแวดล้อมในบริเวณนี้ โดยวาง “ไข่ยักษ์” สัญลักษณ์แห่งความทันสมัยสากลไว้กลางย่านประวัติศาสตร์นี้ ให้ผู้คนได้เห็นถึงประวัติศาสตร์การสร้างบ้านแปลงเมืองของจีนใหม่ จากยุคจักรพรรดิ กษัตริย์เจ้าศักดินา ที่มีหูถ่งเป็นกระดูกสันหลังของเมือง มาถึงวันประกาศสาธารณรัฐประชาชนจีน ผ่านยุคปฏิรูปเปิดประเทศของผู้นำเติ้ง เสี่ยวผิงในปี ๑๙๘๗ ที่ดันการเติบโตเศรษฐกิจพุ่งทะยานอย่างมหัศจรรย์ ถึงยุคเจ้าภาพโอลิมปิก ที่เสมือนศุภฤกษ์ ที่จีนจะได้ประกาศ อำนาจศักดา ว่า จีนได้ลุกขึ้นยืน และกำลังเรืองอำนาจ เทียมบ่าเทียมไหล่ชาติอำนาจอื่น สู่ความเป็นสากล.
เยี่ยมยลนครปักกิ่งก่อนเปิดม่านโอลิมปิก ตอนที่ 1: เทอร์มินอล 3 “ป้ายประกาศยุคจีนโฉมใหม่” หน้าประตูบ้านพญามังกร
เยี่ยมยลนครปักกิ่งก่อนเปิดม่านโอลิมปิก ตอนที่ 2 “รังนก” “ลูกบาศก์น้ำ” สองขุนพลใหญ่รับศึกแข่งขันโอลิมปิก
ชมชุดภาพบรรยากาศรอบโรงละครแห่งชาติ "ไข่ยักษ์"