รอยเตอร์ – มณฑลเสฉวนซึ่งได้รับความเสียหายหนักสุดจากแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 12 พ.ค.อาจต้องเผชิญกับอาฟเตอร์ช็อกต่อไปอีกเป็นสัปดาห์ เดือน หรืออาจเป็นปี แต่ความรุนแรงของอาฟเตอร์ช็อกจะค่อยๆ อ่อนกำลังลงไป
หลังจากแผ่นดินไหวครั้งใหญ่เมื่อวันที่ 12 พ.ค.ที่ผ่านมา ได้เกิดแผ่นดินไหวต่อเนื่องที่เรียกว่าอาฟเตอร์ช็อกครั้งรุนแรงตามแนวรอยเลื่อนของเปลือกโลกยาว 250 กิโลเมตร บริเวณนอกเฉิงตู เมืองเอกมณฑลเสฉวน นักวิทยาศาสตร์ด้านแผ่นดินไหวบันทึกอาฟเตอร์ช็อกได้ถึง 150 ครั้งที่มีความรุนแรงมากกว่า 4 ริกเตอร์และสูงสุดถึง 6 ริกเตอร์ พร้อมยังเตือนว่าอาจจะเกิดอาฟเตอร์ช็อกรุนแรงที่สุดถึง 6.9 ริกเตอร์
แกรี่ กิบสัน ประธานศูนย์แผ่นดินไหวระหว่างประเทศในลอนดอน กล่าวว่า “ผมคิดว่าเราโชคดีมากอย่างไม่น่าเชื่อว่าแผ่นดินไหวรุนแรงระดับ 7.9 ริกเตอร์ไม่ได้ก่อให้เกิดอาฟเตอร์ช็อกที่รุนแรงกว่า 6 ริกเตอร์ ความเป็นไปได้ยังมีอยู่ แต่ความรุนแรงจะลดลงไปเรื่อยๆ”
นักวิทยาศาสตร์ด้านแผ่นดินไหวระบุว่า ระยะเวลาและความรุนแรงของอาฟเตอร์ช็อกจะขึ้นอยู่กับขนาดของการไหวครั้งใหญ่และความลึก การไหวครั้งใหญ่ยิ่งแผ่วงกว้างและยิ่งตื้น กำลังของอาฟเตอร์ช็อกจะยิ่งมากและกินระยะเวลายิ่งนาน
ด้านอดัม ปาสคาล จากศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวในออสเตรเลียแสดงความเห็นว่า เราไม่สามารถทำนายได้ว่าจะเกิดอาฟเตอร์ช็อกไปนานแค่ไหน อาจเป็นเวลาหลายปี ทั้งนี้ แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 12 พ.ค.มีความรุนแรงถึง 7.9 ริกเตอร์ ซึ่งเกือบจะรุนแรงที่สุดสำหรับแผ่นดินไหวบนพื้นทวีปและมีความตื้นสุด 10 กิโลเมตร
กิบสันกล่าวว่า ความลึกของแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงเป็นสาเหตุให้ความเสียหายกระจายออกไปในวงกว้าง “สิ่งสำคัญที่สุดเกี่ยวกับระยะเวลาและความรุนแรงของอาฟเตอร์ช็อก คือระดับความรุนแรงของการไหวครั้งใหญ่ โดยทั่วไปอาฟเตอร์ช็อกที่รุนแรงที่สุดจะน้อยกว่าระดับของการไหวครั้งใหญ่ ดังนั้นเราจึงคาดว่าน่าอยู่ที่ราว 6.9” และแผ่นดินไหวระดับตื้นๆ มักจะมีอาฟเตอร์ช็อกตามมาหลายครั้ง
ข้อมูลจากยูเอสจีเอส หรือกรมสำรวจธรณีวิทยา กระทรวงมหาดไทยของสหรัฐอเมริการะบุว่า แผ่นดินไหวที่เสฉวนเป็นการไหวบนพื้นทวีปตามแนวรอยเลื่อนหลงเหมินซัน ซึ่งเป็นผลจากแรงเค้นเนื่องจากการเคลื่อนที่เข้าชนกันของเปลือกโลกบริเวณที่ราบสูงทิเบต และแผ่นเปลือกโลกที่วางตัวรองรับแอ่งเสฉวนและจีนตะวันออกเฉียงใต้
ในระดับภาคพื้นทวีป การไหวสะเทือนในเขตทวีปเอเชียกลางและตะวันออกนั้นส่วนใหญ่เป็นผลจากการเคลื่อนที่ขึ้นทางเหนือของแผ่นเปลือกโลกอินเดียเข้าชนกับแผ่นเปลือกโลกยูเรเชีย ด้วยอัตราเร็วประมาณ 50 มิลลิเมตรต่อปี
ผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหวระบุว่า ความอ่อนแรงของการไหวตามแนวรอยเลื่อนในเสฉวนจะเป็นตัวตัดสินความถี่ของอาฟเตอร์ช็อกด้วย ซึ่งปาสคาลกล่าวว่า อาฟเตอร์ช็อกจะเกิดตามแนวรอยเลื่อน และกรอบเวลาอาจนานเป็นเวลาหลายปี อาฟเตอร์ช็อกยังเกิดต่อเนื่องจนกว่ารูปแบบใหม่ของเปลือกโลกที่เกิดขึ้นจะมีความเสถียรภาพ
จากรายงานของทางการจีนล่าสุดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 29 พ.ค. เวลา 16.00 น. ระบุว่ายอดผู้เสียชีวิตจากแผ่นดินไหวเพิ่มเป็น 68,516 คน สูญหาย 19,350 คน ส่วนซีซีทีวีสถานีโทรทัศน์ของจีนรายงานว่าได้เกิดอาฟเตอร์ช็อกแล้วรวม 9,136 ครั้ง
อีกด้านหนึ่ง สำนักข่าวเกียวโดของญี่ปุ่นรายงานเมื่อวันพุธที่ผ่านมาว่า ญี่ปุ่นมีแผนจะใช้เครื่องบินของกองกำลังป้องกันตนเอง (เอสดีเอฟ) ลำเลียงเต็นท์ ผ้าห่ม และสิ่งของบรรเทาทุกข์อื่น ๆ ชุดใหม่ไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวในจีนตามคำร้องขอของรัฐบาลจีนที่ผ่านไปทางสถานทูตญี่ปุ่นในจีน โดยคาดว่าจะสามารถส่งสิ่งของบรรเทาทุกข์ชุดแรกไปให้จีนได้ภายในสัปดาห์นี้
รายงานระบุว่าการลำเลียงสิ่งของบรรเทาทุกข์ของญี่ปุ่นไปให้จีนสะท้อนถึงความร่วมมือทางยุทธศาสตร์ระดับทวิภาคี ตามที่ทั้ง 2 ประเทศบรรลุความตกลงระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำญี่ปุ่นและจีนที่กรุงโตเกียวเมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ทั้งนี้ หลังจากแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 12 พ.ค. ไม่นาน ญี่ปุ่นได้ส่งทีมกู้ภัยและทีมแพทย์เข้ามาช่วยเหลือในพื้นที่ประสบภัยแล้ว
หลังจากแผ่นดินไหวครั้งใหญ่เมื่อวันที่ 12 พ.ค.ที่ผ่านมา ได้เกิดแผ่นดินไหวต่อเนื่องที่เรียกว่าอาฟเตอร์ช็อกครั้งรุนแรงตามแนวรอยเลื่อนของเปลือกโลกยาว 250 กิโลเมตร บริเวณนอกเฉิงตู เมืองเอกมณฑลเสฉวน นักวิทยาศาสตร์ด้านแผ่นดินไหวบันทึกอาฟเตอร์ช็อกได้ถึง 150 ครั้งที่มีความรุนแรงมากกว่า 4 ริกเตอร์และสูงสุดถึง 6 ริกเตอร์ พร้อมยังเตือนว่าอาจจะเกิดอาฟเตอร์ช็อกรุนแรงที่สุดถึง 6.9 ริกเตอร์
แกรี่ กิบสัน ประธานศูนย์แผ่นดินไหวระหว่างประเทศในลอนดอน กล่าวว่า “ผมคิดว่าเราโชคดีมากอย่างไม่น่าเชื่อว่าแผ่นดินไหวรุนแรงระดับ 7.9 ริกเตอร์ไม่ได้ก่อให้เกิดอาฟเตอร์ช็อกที่รุนแรงกว่า 6 ริกเตอร์ ความเป็นไปได้ยังมีอยู่ แต่ความรุนแรงจะลดลงไปเรื่อยๆ”
นักวิทยาศาสตร์ด้านแผ่นดินไหวระบุว่า ระยะเวลาและความรุนแรงของอาฟเตอร์ช็อกจะขึ้นอยู่กับขนาดของการไหวครั้งใหญ่และความลึก การไหวครั้งใหญ่ยิ่งแผ่วงกว้างและยิ่งตื้น กำลังของอาฟเตอร์ช็อกจะยิ่งมากและกินระยะเวลายิ่งนาน
ด้านอดัม ปาสคาล จากศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวในออสเตรเลียแสดงความเห็นว่า เราไม่สามารถทำนายได้ว่าจะเกิดอาฟเตอร์ช็อกไปนานแค่ไหน อาจเป็นเวลาหลายปี ทั้งนี้ แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 12 พ.ค.มีความรุนแรงถึง 7.9 ริกเตอร์ ซึ่งเกือบจะรุนแรงที่สุดสำหรับแผ่นดินไหวบนพื้นทวีปและมีความตื้นสุด 10 กิโลเมตร
กิบสันกล่าวว่า ความลึกของแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงเป็นสาเหตุให้ความเสียหายกระจายออกไปในวงกว้าง “สิ่งสำคัญที่สุดเกี่ยวกับระยะเวลาและความรุนแรงของอาฟเตอร์ช็อก คือระดับความรุนแรงของการไหวครั้งใหญ่ โดยทั่วไปอาฟเตอร์ช็อกที่รุนแรงที่สุดจะน้อยกว่าระดับของการไหวครั้งใหญ่ ดังนั้นเราจึงคาดว่าน่าอยู่ที่ราว 6.9” และแผ่นดินไหวระดับตื้นๆ มักจะมีอาฟเตอร์ช็อกตามมาหลายครั้ง
ข้อมูลจากยูเอสจีเอส หรือกรมสำรวจธรณีวิทยา กระทรวงมหาดไทยของสหรัฐอเมริการะบุว่า แผ่นดินไหวที่เสฉวนเป็นการไหวบนพื้นทวีปตามแนวรอยเลื่อนหลงเหมินซัน ซึ่งเป็นผลจากแรงเค้นเนื่องจากการเคลื่อนที่เข้าชนกันของเปลือกโลกบริเวณที่ราบสูงทิเบต และแผ่นเปลือกโลกที่วางตัวรองรับแอ่งเสฉวนและจีนตะวันออกเฉียงใต้
ในระดับภาคพื้นทวีป การไหวสะเทือนในเขตทวีปเอเชียกลางและตะวันออกนั้นส่วนใหญ่เป็นผลจากการเคลื่อนที่ขึ้นทางเหนือของแผ่นเปลือกโลกอินเดียเข้าชนกับแผ่นเปลือกโลกยูเรเชีย ด้วยอัตราเร็วประมาณ 50 มิลลิเมตรต่อปี
ผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหวระบุว่า ความอ่อนแรงของการไหวตามแนวรอยเลื่อนในเสฉวนจะเป็นตัวตัดสินความถี่ของอาฟเตอร์ช็อกด้วย ซึ่งปาสคาลกล่าวว่า อาฟเตอร์ช็อกจะเกิดตามแนวรอยเลื่อน และกรอบเวลาอาจนานเป็นเวลาหลายปี อาฟเตอร์ช็อกยังเกิดต่อเนื่องจนกว่ารูปแบบใหม่ของเปลือกโลกที่เกิดขึ้นจะมีความเสถียรภาพ
จากรายงานของทางการจีนล่าสุดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 29 พ.ค. เวลา 16.00 น. ระบุว่ายอดผู้เสียชีวิตจากแผ่นดินไหวเพิ่มเป็น 68,516 คน สูญหาย 19,350 คน ส่วนซีซีทีวีสถานีโทรทัศน์ของจีนรายงานว่าได้เกิดอาฟเตอร์ช็อกแล้วรวม 9,136 ครั้ง
อีกด้านหนึ่ง สำนักข่าวเกียวโดของญี่ปุ่นรายงานเมื่อวันพุธที่ผ่านมาว่า ญี่ปุ่นมีแผนจะใช้เครื่องบินของกองกำลังป้องกันตนเอง (เอสดีเอฟ) ลำเลียงเต็นท์ ผ้าห่ม และสิ่งของบรรเทาทุกข์อื่น ๆ ชุดใหม่ไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวในจีนตามคำร้องขอของรัฐบาลจีนที่ผ่านไปทางสถานทูตญี่ปุ่นในจีน โดยคาดว่าจะสามารถส่งสิ่งของบรรเทาทุกข์ชุดแรกไปให้จีนได้ภายในสัปดาห์นี้
รายงานระบุว่าการลำเลียงสิ่งของบรรเทาทุกข์ของญี่ปุ่นไปให้จีนสะท้อนถึงความร่วมมือทางยุทธศาสตร์ระดับทวิภาคี ตามที่ทั้ง 2 ประเทศบรรลุความตกลงระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำญี่ปุ่นและจีนที่กรุงโตเกียวเมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ทั้งนี้ หลังจากแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 12 พ.ค. ไม่นาน ญี่ปุ่นได้ส่งทีมกู้ภัยและทีมแพทย์เข้ามาช่วยเหลือในพื้นที่ประสบภัยแล้ว