กาญจนบุรี - NGO.กาญจนบุรี ยื่นหนังสือให้ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรีเร่งติดตั้งสัญญาณเตือนภัยเขื่อนใหญ่แตก หลังเกิดแผ่นดินไหวในจีน ขณะเดียวกันจี้ กฟผ.ควรมีสำนึกหนุนงบประมาณสร้างความมั่นใจให้กับประชาชน
วันนี้ (14 พ.ค.51) เวลา 16.00 น. นางภินันท์ โชติรสเศรณี ประธานกลุ่มสตรีกาญจนบุรีและประธานกลุ่มอนุรักษ์กาญจน์ ได้ส่งตัวแทนเข้ายื่นหนังสือต่อนายอำนาจ ผการัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี เพื่อขอให้ดำเนินการให้ความรู้ความเข้าใจระบบเตือนภัยล่วงหน้ากับประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยหากเกิดภัยพิบัติอันเกดจากเขื่อนศรีนครินทร์และเขื่อนวชิราลงกรณ์
โดยนางภินันท์ เปิดเผยว่า จากภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในประเทศพม่าและประเทศจีนที่ต่างมีความรุนแรงและทำให้สูญเสียชีวิตผู้คนจำนวนมากนับเป็นเรื่องที่น่าสลดหดหู่ ในส่วนของจังหวัดกาญจนบุรีนั้นถือว่าเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยเพราะมีอ่างเก็บน้ำทั้งสองเขื่อนตั้งอยู่บนแนวรอยเลื่อนแผ่นดินไหว โดยเขื่อนศรีนครินทร์อยู่บนรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ เขื่อนวชิราลงกรณ์อยู่บนรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ ซึ่งนักวิชาการต่างออกมาให้ความเห็นว่ามีโอกาสที่จะเกิดภัยพิบัติได้หากมีการสั่นไหวที่ไม่สามารถใช้การคำนวณทางวิชาการได้
ดังนั้น เนื่องจากอ่างเก็บน้ำทั้งสองต่างบรรจุปริมาณน้ำไว้จำนวนมหาศาล ดังนั้นความเสี่ยงภัยจึงมากขึ้นทวีคูณ และจากสถิติที่ผ่ามา เมื่อปี 2526 ที่ผ่านมา รอยเลื่อนแผ่นดินศรีสวัสดิ์เคลื่อนเกิดแผ่นดินไหว โดยสามารถวัดแรงสั่นสะเทือนได้ 5.8 ริกเตอร์ แต่โชคดีที่เกดลึกในแผ่นดินห่างจากผิวโลก 55 กิโลเมตร จึงทำให้ไม่เกิดความสูญเสีย และที่ผ่านมาหากเกิดการสั่นไหวของแผ่นดินในพื้นที่เพื่อนบ้านใกล้เคียงมักส่งผลให้ประเทศไทยสามารถรับรู้ความสั่นสะเทือนได้ ดังนั้น โอกาสที่จะเกิดความสั่นไหวที่ส่งผลกระทบกับรอยเลื่อนแผ่นดินทั้งสองแนวก็น่าจะปฏิเสธมิได้ว่าจะไม่มีสิทธิ์เกิดขึ้นได้อย่าง100%”
นางภินันท์ กล่าวต่อว่า ดังนั้นเพื่อความไม่ประมาท ชาวกาญจนบุรีก็อยู่ในสภาพที่ตื่นตระหนกเหมือนกับรอคอยความหวังจากผู้บริหารบ้านเมืองเพื่อให้ช่วยสร้างขวัญกำลังใจในการที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย โดยคาดหมายว่าจะได้รับการดูแลจากส่วนราชการที่รับผิดชอบในการสร้างความคุ้นเคยหรือให้ความรู้แก่ประชาชนให้รู้ว่าหากเกิดภัยพิบัติจะต้องทำตัวอย่างไร และทำอย่างไรประชาชนจะได้รับทราบเกี่ยวกับการติดตั้งระบบการแจ้งเตือนภัยก่อนที่เหตุการณ์ร้ายจะมาถึงตัว ตรงนี้เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ประชาชนสามารถที่จะรับทราบข้อมูลได้ รวมถึงการติดตั้งป้านเตือนภัยต่างๆเพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีโอกาสช่วยเหลือตนเองในเบื้องต้น
ประธานกลุ่มอนุรักษ์กาญจน์ กล่าวต่อว่า การที่เขื่อนทั้งสองเขื่อนเป็นของการไฟฟ้าฝ่านผลิตที่สร้างรายได้จากการขายไฟฟ้าให้กับประชาชนและมีจำนวนเงินจากกำไรในขายไฟฟ้าอย่างมหาศาล ในฐานะชาวกาญจนบุรีที่เสี่ยงภัยอยากเรียกร้องให้ กฟผ.ให้มีสำนึกในการตอบแทนผู้เสี่ยงภัยโดยเสียสละงบประมาณสนับสนุนการติดตั้งสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้า เพราะหากเกิดภาวะคับขันน้ำท่วมฉับพลันจะได้จะได้ไม่เกิดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน หรือหากไม่มีการดำเนินการอย่างใด ตนอยากให้ผวจ.กาญจนบุรีให้พิจารณาสั่งการให้กฟผ.ลดปริมาณเก็บกักน้ำลงครึ่งหนึ่ง เพื่อเป็นลดความเสี่ยงและเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนและเป็นการลดความสูญเสียในกรณีหากเกิดเหตุภัยพิบัติ
นางภินันท์ กล่าวอีกว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดคือจังหวัดกาญจนบุรีเป็นเมืองท่องเที่ยว ดังนั้นความมั่นใจในความปลอดภัยในการเดินทางมาท่องเที่ยวในพื้นที่จึงถือเป็นเรื่องสำคัญที่สุด เพราะหากมีข่าวออกไปตลอดเวลาว่า เขื่อนทั้งสองตกอยู่ในภาวะเสี่ยภัยจากแผ่นดินไหวตลอดเวลา ก็จะส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนัท่องเที่ยว แต่หากมีการดำเนินการและระบบป้องกันภัยที่สามรถแจ้งเตือนให้แก่ทุกคนทราบล่วงหน้าก็จะสร้างความมั่นใจแก่ทุก ดังนั้น จึงน่าจะเกิดประโยชน์ต่อจังหวัดกาญจนบุรีและประเทศไทยโดยรวมอีกด้วย และขอวิงวอนมายังผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรีว่าการเตรียมความพร้อมต่างๆเป็นเรื่องที่เราไม่ควรประมาท แต่หากเกิดเหตุภัยพิบัติจริงในวันนั้นคงได้แค่เสียใจที่เราไม่ควรประมาท ซึ่งจะสร้างความสูญเสียอย่างไม่สามรถประเมินได้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชาวเมืองกาญจนบุรีต่างๆ วิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับเรื่องแผ่นดินไหวที่เกี่ยวกับเขื่อนตลอดเวลา ซึ่งทุกคนต่างไม่มีความมั่นใจในความปลอดภัยและต่างมีความหวาดผวาต่อข่าวลือเกี่ยวกับเขื่อนแตกตลอดเวลาทั้งวัน โดยต่างมีความเห็นว่า หากทางราชการติดตั้งสัญญาณเตือนภัยตามทางแยกในพื้นที่ชุมชนเพื่อเตือนภัยแก่ชุมชนต่างๆก็น่าจะทำให้ประชาชนเบาใจลง เพราะหากเกิดคับขันประชาชนยังมีโอกาสที่จะสามารถดิ้นรนหนีภัยช่วยตนเองได้
วันนี้ (14 พ.ค.51) เวลา 16.00 น. นางภินันท์ โชติรสเศรณี ประธานกลุ่มสตรีกาญจนบุรีและประธานกลุ่มอนุรักษ์กาญจน์ ได้ส่งตัวแทนเข้ายื่นหนังสือต่อนายอำนาจ ผการัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี เพื่อขอให้ดำเนินการให้ความรู้ความเข้าใจระบบเตือนภัยล่วงหน้ากับประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยหากเกิดภัยพิบัติอันเกดจากเขื่อนศรีนครินทร์และเขื่อนวชิราลงกรณ์
โดยนางภินันท์ เปิดเผยว่า จากภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในประเทศพม่าและประเทศจีนที่ต่างมีความรุนแรงและทำให้สูญเสียชีวิตผู้คนจำนวนมากนับเป็นเรื่องที่น่าสลดหดหู่ ในส่วนของจังหวัดกาญจนบุรีนั้นถือว่าเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยเพราะมีอ่างเก็บน้ำทั้งสองเขื่อนตั้งอยู่บนแนวรอยเลื่อนแผ่นดินไหว โดยเขื่อนศรีนครินทร์อยู่บนรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ เขื่อนวชิราลงกรณ์อยู่บนรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ ซึ่งนักวิชาการต่างออกมาให้ความเห็นว่ามีโอกาสที่จะเกิดภัยพิบัติได้หากมีการสั่นไหวที่ไม่สามารถใช้การคำนวณทางวิชาการได้
ดังนั้น เนื่องจากอ่างเก็บน้ำทั้งสองต่างบรรจุปริมาณน้ำไว้จำนวนมหาศาล ดังนั้นความเสี่ยงภัยจึงมากขึ้นทวีคูณ และจากสถิติที่ผ่ามา เมื่อปี 2526 ที่ผ่านมา รอยเลื่อนแผ่นดินศรีสวัสดิ์เคลื่อนเกิดแผ่นดินไหว โดยสามารถวัดแรงสั่นสะเทือนได้ 5.8 ริกเตอร์ แต่โชคดีที่เกดลึกในแผ่นดินห่างจากผิวโลก 55 กิโลเมตร จึงทำให้ไม่เกิดความสูญเสีย และที่ผ่านมาหากเกิดการสั่นไหวของแผ่นดินในพื้นที่เพื่อนบ้านใกล้เคียงมักส่งผลให้ประเทศไทยสามารถรับรู้ความสั่นสะเทือนได้ ดังนั้น โอกาสที่จะเกิดความสั่นไหวที่ส่งผลกระทบกับรอยเลื่อนแผ่นดินทั้งสองแนวก็น่าจะปฏิเสธมิได้ว่าจะไม่มีสิทธิ์เกิดขึ้นได้อย่าง100%”
นางภินันท์ กล่าวต่อว่า ดังนั้นเพื่อความไม่ประมาท ชาวกาญจนบุรีก็อยู่ในสภาพที่ตื่นตระหนกเหมือนกับรอคอยความหวังจากผู้บริหารบ้านเมืองเพื่อให้ช่วยสร้างขวัญกำลังใจในการที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย โดยคาดหมายว่าจะได้รับการดูแลจากส่วนราชการที่รับผิดชอบในการสร้างความคุ้นเคยหรือให้ความรู้แก่ประชาชนให้รู้ว่าหากเกิดภัยพิบัติจะต้องทำตัวอย่างไร และทำอย่างไรประชาชนจะได้รับทราบเกี่ยวกับการติดตั้งระบบการแจ้งเตือนภัยก่อนที่เหตุการณ์ร้ายจะมาถึงตัว ตรงนี้เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ประชาชนสามารถที่จะรับทราบข้อมูลได้ รวมถึงการติดตั้งป้านเตือนภัยต่างๆเพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีโอกาสช่วยเหลือตนเองในเบื้องต้น
ประธานกลุ่มอนุรักษ์กาญจน์ กล่าวต่อว่า การที่เขื่อนทั้งสองเขื่อนเป็นของการไฟฟ้าฝ่านผลิตที่สร้างรายได้จากการขายไฟฟ้าให้กับประชาชนและมีจำนวนเงินจากกำไรในขายไฟฟ้าอย่างมหาศาล ในฐานะชาวกาญจนบุรีที่เสี่ยงภัยอยากเรียกร้องให้ กฟผ.ให้มีสำนึกในการตอบแทนผู้เสี่ยงภัยโดยเสียสละงบประมาณสนับสนุนการติดตั้งสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้า เพราะหากเกิดภาวะคับขันน้ำท่วมฉับพลันจะได้จะได้ไม่เกิดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน หรือหากไม่มีการดำเนินการอย่างใด ตนอยากให้ผวจ.กาญจนบุรีให้พิจารณาสั่งการให้กฟผ.ลดปริมาณเก็บกักน้ำลงครึ่งหนึ่ง เพื่อเป็นลดความเสี่ยงและเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนและเป็นการลดความสูญเสียในกรณีหากเกิดเหตุภัยพิบัติ
นางภินันท์ กล่าวอีกว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดคือจังหวัดกาญจนบุรีเป็นเมืองท่องเที่ยว ดังนั้นความมั่นใจในความปลอดภัยในการเดินทางมาท่องเที่ยวในพื้นที่จึงถือเป็นเรื่องสำคัญที่สุด เพราะหากมีข่าวออกไปตลอดเวลาว่า เขื่อนทั้งสองตกอยู่ในภาวะเสี่ยภัยจากแผ่นดินไหวตลอดเวลา ก็จะส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนัท่องเที่ยว แต่หากมีการดำเนินการและระบบป้องกันภัยที่สามรถแจ้งเตือนให้แก่ทุกคนทราบล่วงหน้าก็จะสร้างความมั่นใจแก่ทุก ดังนั้น จึงน่าจะเกิดประโยชน์ต่อจังหวัดกาญจนบุรีและประเทศไทยโดยรวมอีกด้วย และขอวิงวอนมายังผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรีว่าการเตรียมความพร้อมต่างๆเป็นเรื่องที่เราไม่ควรประมาท แต่หากเกิดเหตุภัยพิบัติจริงในวันนั้นคงได้แค่เสียใจที่เราไม่ควรประมาท ซึ่งจะสร้างความสูญเสียอย่างไม่สามรถประเมินได้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชาวเมืองกาญจนบุรีต่างๆ วิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับเรื่องแผ่นดินไหวที่เกี่ยวกับเขื่อนตลอดเวลา ซึ่งทุกคนต่างไม่มีความมั่นใจในความปลอดภัยและต่างมีความหวาดผวาต่อข่าวลือเกี่ยวกับเขื่อนแตกตลอดเวลาทั้งวัน โดยต่างมีความเห็นว่า หากทางราชการติดตั้งสัญญาณเตือนภัยตามทางแยกในพื้นที่ชุมชนเพื่อเตือนภัยแก่ชุมชนต่างๆก็น่าจะทำให้ประชาชนเบาใจลง เพราะหากเกิดคับขันประชาชนยังมีโอกาสที่จะสามารถดิ้นรนหนีภัยช่วยตนเองได้