ไชน่าเดลี่ – นักวิทยาศาสตร์จำนวนหนึ่งชี้ว่า ก่อนเกิดเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ขนาด 8.0 ที่ประเทศจีนเมื่อวันที่ 12 พ.ค. ที่ผ่านมาเงียบสงัดผิดปกติ เพราะไร้ปรากฏการณ์เตือนล่วงหน้าและไม่มีการไหวก่อนที่จะเกิดการไหวสะเทือนครั้งใหญ่ แต่บางคนเชื่อว่ามีลางบอกเหตุล่วงหน้า
ซิวจี้กัง รองผู้อำนวยการสำนักงานเกี่ยวกับแผ่นดินไหวแห่งประเทศจีน (ซีเอสบี) ชี้ว่า “ไม่มีสัญญาณเตือนหรือไม่มีการไหวระดับต่ำ (Foreshock) ในบริเวณรอบๆ ศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหว ล่วงหน้าเป็นเวลานาน ก่อนที่จะเกิดการไหวสะเทือนครั้งใหญ่” แม้ในช่วงสั้นๆ ก่อนการไหวครั้งใหญ่ ก็ไม่มีความผิดปกติของสัตว์ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำใต้ดิน และปรากฏการณ์ล่วงหน้าอื่นๆ ที่จะบ่งบอกถึงการไหวครั้งใหญ่ได้เลย
อย่างไรก็ตาม ชาวเน็ตมังกรอ้างถึงลางบอกเหตุว่า ก่อนวันที่ 12 พ.ค.มีคางคกนับหมื่นตัวอพยพในเมืองเหมียนหยัง ใกล้กับเมืองเวิ่นชวน ในมณฑลเสฉวน ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหว นอกจากนี้ ยังเกิดปรากฏการณ์เมฆแผ่นดินไหวเหนือมณฑลซันตงทางตะวันออกของจีน แต่นักวิชาการเห็นว่าเหตุการณ์เหล่านี้อาจไม่เกี่ยวกับแผ่นดินไหว
จางกั๋วหมิน นักวิจัยจากซีเอสบีกล่าวว่า “ความผิดปกติของสัตว์และระดับน้ำใต้ดินมีเหตุผลที่ซับซ้อน และการเกิดแผ่นดินไหวเป็นสาเหตุหนึ่งเท่านั้น นอกจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ”
เหอหย่งเหนียน นักวิจัยอีกคนของซีเอสบีกล่าวถึงการก่อตัวเป็นรูปแบบแปลกๆ ของเมฆ หรือที่เรียกว่าเมฆแผ่นดินไหวว่าเป็นวิธีที่นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นมักใช้ทำนายการเกิดแผ่นดินไหว แต่เช่นเดียวกับวิธีทำนายอื่นๆ ที่ยังไม่สมบูรณ์พอ
นอกจากนี้ ดาวเทียมของไต้หวันยังตรวจวัดค่าความหนาแน่นของอนุภาคประจุในชั้นไอโอโนสเฟียร์ที่ลดลงอย่างทันทีเหนือเมืองเวิ่นชวนก่อนแผ่นดินไหว โดยก่อนหน้า 6-15 วันค่าดังกล่าวอยู่ที่ 12 ล้าน แต่ในวันที่ 11 พ.ค.ลดลงมาเหลือ 600,000 วัน ซึ่งแกรี่ กิลสัน จากศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวมหาวิทยาลัยโมนาสในออสเตรเลีย เชื่อว่าเป็นปรากฏการณ์บอกเหตุอย่างหนึ่ง
สำหรับโปรแกรมทำนายการเกิดแผ่นดินไหวของจีน ค้นพบโดยซีเอสบี เมื่อปี 1971 ซึ่งได้พิสูจน์ความแม่นยำโดยการทำนายการเกิดแผ่นดินไหวครั้งสำคัญได้อย่างน้อย 2 ครั้ง ครั้งหนึ่งคือการทำนายล่วงหน้าระยะสั้นเพียง 13 ชั่วโมงก่อนการไหวครั้งใหญ่ระดับ 7.3 ที่ถล่มเมืองไห่เฉิง ในมณฑลเฮยหลงเจียง เมื่อวันที่ 4 ก.พ. 1975 โดยก่อนการไหวครั้งใหญ่มีการไหวเตือนล่วงหน้าหลายครั้ง และมีความผิดปกติของสัตว์ ซึ่งชี้ชัดว่าจะเกิดการไหวครั้งใหญ่
และในปี 1995 นักวิทยาศาสตร์ได้ใช้ปรากฏการณ์ล่วงหน้าหลายอย่าง รวมทั้งการไหวเตือน และการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำใต้ดิน และอุณหภูมิ เพื่อเตือนภัยล่วงหน้า 1 วันก่อนการไหวครั้งใหญ่ที่เมืองเมิ่งเหลียน มณฑลหยุนหนัน
อย่างไรก็ตาม ปรากฏการณ์ล่วงหน้าเหล่านี้ยังคงยากที่จะเข้าใจ เช่น ไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้าก่อนเกิดแผ่นดินไหวระดับ 7.8 ที่เมืองถังซัน ในปี 1976 ดังนั้น ประสิทธิภาพการทำนายจึงจำกัดเฉพาะกรณีมีการไหวเตือนล่วงหน้าหลายครั้ง จางเสี่ยวตง รองผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายแผ่นดินไหวจีนกล่าวว่า “การพยากรณ์แผ่นดินไหวยังคงเป็นปริศนาของโลก”
นักวิทยาศาสตร์จีนจำนวนหนึ่งเห็นว่า จีนสามารถทำนายการเกิดแผ่นดินไหวในระยะยาวและกลางได้ดีกว่าระยะสั้น ซึ่งหมายถึงการเตือนถึง “เวลา สถานที่และระดับของการไหว” เป็นระยะเวลาสั้นๆ ก่อนที่มันจะเกิดขึ้นซึ่งเป็นเรื่องที่ซับซ้อนมาก
ด้านชิวเจ๋อหัว นักวิจัยหลายจากซีเอสบีเชื่อว่าจีนสามารถก้าวหน้าในการทำนายระยะสั้นได้ หากมีการตั้งสถานีเฝ้าระวังในพื้นที่ที่มีแนวโน้มเกิดแผ่นดินไหว เพราะเขาเชื่อว่ามีสัญญาณเตือนล่วงหน้าแน่นอนเพียงแต่เกิดบริเวณศูนย์กลางการไหวเท่านั้น แต่ปัญหาคือสถานีตรวจจับที่มีอยู่กระจัดกระจายเกินไป
ทั้งนี้ จีนเป็นประเทศที่ประสบภัยแผ่นดินไหวมากถึง 33% ของโลกในช่วงศตวรรษที่ 20 ซึ่งนักวิจัยของจีนกำลังไล่ตามการศึกษาเกี่ยวกับแผ่นดินไหวของนานาประเทศ เช่นการวัดระดับความรุนแรง หลังการไหวเมื่อวันที่ 12 พ.ค. รายงานแรกที่ออกโดยซีเอสบีระบุความรุนแรงที่ 7.6 และขยับเป็น 7.8 ในเวลาไม่นาน โดยอ้างอิงข้อมูลจากสถานีเฝ้าระวังหลายแห่งทั่วประเทศ แต่ภายหลังเมื่อวันอาทิตย์ที่ 18 ซีเอสบีได้ทบทวนใหม่เป็น 8.0 ซึ่งอ้างอิงตามผู้สังเกตการณ์ต่างชาติที่ใช้การวัดตามหลักปฏิบัติสากล
ซิวจี้กัง รองผู้อำนวยการสำนักงานเกี่ยวกับแผ่นดินไหวแห่งประเทศจีน (ซีเอสบี) ชี้ว่า “ไม่มีสัญญาณเตือนหรือไม่มีการไหวระดับต่ำ (Foreshock) ในบริเวณรอบๆ ศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหว ล่วงหน้าเป็นเวลานาน ก่อนที่จะเกิดการไหวสะเทือนครั้งใหญ่” แม้ในช่วงสั้นๆ ก่อนการไหวครั้งใหญ่ ก็ไม่มีความผิดปกติของสัตว์ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำใต้ดิน และปรากฏการณ์ล่วงหน้าอื่นๆ ที่จะบ่งบอกถึงการไหวครั้งใหญ่ได้เลย
อย่างไรก็ตาม ชาวเน็ตมังกรอ้างถึงลางบอกเหตุว่า ก่อนวันที่ 12 พ.ค.มีคางคกนับหมื่นตัวอพยพในเมืองเหมียนหยัง ใกล้กับเมืองเวิ่นชวน ในมณฑลเสฉวน ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหว นอกจากนี้ ยังเกิดปรากฏการณ์เมฆแผ่นดินไหวเหนือมณฑลซันตงทางตะวันออกของจีน แต่นักวิชาการเห็นว่าเหตุการณ์เหล่านี้อาจไม่เกี่ยวกับแผ่นดินไหว
จางกั๋วหมิน นักวิจัยจากซีเอสบีกล่าวว่า “ความผิดปกติของสัตว์และระดับน้ำใต้ดินมีเหตุผลที่ซับซ้อน และการเกิดแผ่นดินไหวเป็นสาเหตุหนึ่งเท่านั้น นอกจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ”
เหอหย่งเหนียน นักวิจัยอีกคนของซีเอสบีกล่าวถึงการก่อตัวเป็นรูปแบบแปลกๆ ของเมฆ หรือที่เรียกว่าเมฆแผ่นดินไหวว่าเป็นวิธีที่นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นมักใช้ทำนายการเกิดแผ่นดินไหว แต่เช่นเดียวกับวิธีทำนายอื่นๆ ที่ยังไม่สมบูรณ์พอ
นอกจากนี้ ดาวเทียมของไต้หวันยังตรวจวัดค่าความหนาแน่นของอนุภาคประจุในชั้นไอโอโนสเฟียร์ที่ลดลงอย่างทันทีเหนือเมืองเวิ่นชวนก่อนแผ่นดินไหว โดยก่อนหน้า 6-15 วันค่าดังกล่าวอยู่ที่ 12 ล้าน แต่ในวันที่ 11 พ.ค.ลดลงมาเหลือ 600,000 วัน ซึ่งแกรี่ กิลสัน จากศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวมหาวิทยาลัยโมนาสในออสเตรเลีย เชื่อว่าเป็นปรากฏการณ์บอกเหตุอย่างหนึ่ง
สำหรับโปรแกรมทำนายการเกิดแผ่นดินไหวของจีน ค้นพบโดยซีเอสบี เมื่อปี 1971 ซึ่งได้พิสูจน์ความแม่นยำโดยการทำนายการเกิดแผ่นดินไหวครั้งสำคัญได้อย่างน้อย 2 ครั้ง ครั้งหนึ่งคือการทำนายล่วงหน้าระยะสั้นเพียง 13 ชั่วโมงก่อนการไหวครั้งใหญ่ระดับ 7.3 ที่ถล่มเมืองไห่เฉิง ในมณฑลเฮยหลงเจียง เมื่อวันที่ 4 ก.พ. 1975 โดยก่อนการไหวครั้งใหญ่มีการไหวเตือนล่วงหน้าหลายครั้ง และมีความผิดปกติของสัตว์ ซึ่งชี้ชัดว่าจะเกิดการไหวครั้งใหญ่
และในปี 1995 นักวิทยาศาสตร์ได้ใช้ปรากฏการณ์ล่วงหน้าหลายอย่าง รวมทั้งการไหวเตือน และการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำใต้ดิน และอุณหภูมิ เพื่อเตือนภัยล่วงหน้า 1 วันก่อนการไหวครั้งใหญ่ที่เมืองเมิ่งเหลียน มณฑลหยุนหนัน
อย่างไรก็ตาม ปรากฏการณ์ล่วงหน้าเหล่านี้ยังคงยากที่จะเข้าใจ เช่น ไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้าก่อนเกิดแผ่นดินไหวระดับ 7.8 ที่เมืองถังซัน ในปี 1976 ดังนั้น ประสิทธิภาพการทำนายจึงจำกัดเฉพาะกรณีมีการไหวเตือนล่วงหน้าหลายครั้ง จางเสี่ยวตง รองผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายแผ่นดินไหวจีนกล่าวว่า “การพยากรณ์แผ่นดินไหวยังคงเป็นปริศนาของโลก”
นักวิทยาศาสตร์จีนจำนวนหนึ่งเห็นว่า จีนสามารถทำนายการเกิดแผ่นดินไหวในระยะยาวและกลางได้ดีกว่าระยะสั้น ซึ่งหมายถึงการเตือนถึง “เวลา สถานที่และระดับของการไหว” เป็นระยะเวลาสั้นๆ ก่อนที่มันจะเกิดขึ้นซึ่งเป็นเรื่องที่ซับซ้อนมาก
ด้านชิวเจ๋อหัว นักวิจัยหลายจากซีเอสบีเชื่อว่าจีนสามารถก้าวหน้าในการทำนายระยะสั้นได้ หากมีการตั้งสถานีเฝ้าระวังในพื้นที่ที่มีแนวโน้มเกิดแผ่นดินไหว เพราะเขาเชื่อว่ามีสัญญาณเตือนล่วงหน้าแน่นอนเพียงแต่เกิดบริเวณศูนย์กลางการไหวเท่านั้น แต่ปัญหาคือสถานีตรวจจับที่มีอยู่กระจัดกระจายเกินไป
ทั้งนี้ จีนเป็นประเทศที่ประสบภัยแผ่นดินไหวมากถึง 33% ของโลกในช่วงศตวรรษที่ 20 ซึ่งนักวิจัยของจีนกำลังไล่ตามการศึกษาเกี่ยวกับแผ่นดินไหวของนานาประเทศ เช่นการวัดระดับความรุนแรง หลังการไหวเมื่อวันที่ 12 พ.ค. รายงานแรกที่ออกโดยซีเอสบีระบุความรุนแรงที่ 7.6 และขยับเป็น 7.8 ในเวลาไม่นาน โดยอ้างอิงข้อมูลจากสถานีเฝ้าระวังหลายแห่งทั่วประเทศ แต่ภายหลังเมื่อวันอาทิตย์ที่ 18 ซีเอสบีได้ทบทวนใหม่เป็น 8.0 ซึ่งอ้างอิงตามผู้สังเกตการณ์ต่างชาติที่ใช้การวัดตามหลักปฏิบัติสากล