หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ - กรมทรัพย์สินทางปัญญาฯ แฉ 4 ปัญหาใหญ่ กรณีถูกโกงสิทธิทางปัญญาสินค้าไทยในจีน ระบุอุปสรรคสำคัญอยู่ที่ผู้ประกอบการไทยเอง ที่ให้ความสนใจจดทะเบียนน้อยมาก ขณะที่เหล่านัก Copy จีนเกลื่อนเมือง ชี้ข้อดี-ข้อเสียระบบคุ้มครองจีน พร้อมแนะผู้ประกอบการไทยรวมพลังแจ้งตรวจจับลดค่าใช้จ่าย
ช่วง 2-3 ปีหลังมานี้ ในแวดวงการสัมมนาเรื่องเกี่ยวกับการค้าการลงทุนจีน ปัญหาหนึ่งของผู้ประกอบธุรกิจไทยไปจีนแล้วไม่ประสบความสำเร็จ คือการถูกละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ไม่ว่าจะเป็นสิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า และ ลิขสิทธิ์ ปัญหานี้นับวันยิ่งรุนแรง ส่วนใหญ่กลับพบว่าตัวผู้ประกอบการไทยเองที่เป็นจุดอ่อน!
4 ปัญหาถูกโกงทรัพย์สินทางปัญญา
ดร.ขจิต สุขุม ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและพัฒนาทรัพย์สินทางปัญญา และฝ่ายต่างประเทศ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า สินค้าไทยที่ไปจีน ปัญหาหลักของการถูกละเมิดอยู่ที่ “เครื่องหมายการค้า” ส่วนเรื่องสิทธิบัตร ได้แก่ สิ่งประดิษฐ์ต่างๆ หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์มีการถูกละเมิดน้อยกว่า แต่ก็มีปัญหาเกิดขึ้นเช่นกัน
โดย ปัญหาที่ผู้ประกอบการไทยประสบในเรื่องถูกละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาที่จีนนั้น แบ่งเป็น 4 กรณี คือ 1.การไม่สนใจของผู้ประกอบการไทย 2.มีการปลอมสินค้า และเครื่องหมายการค้าเพื่อขายในตลาดจีน 3.มีการปลอมสินค้าและเครื่องหมายการค้าเพื่อขายไปประเทศที่ 3 และ 4.การแย่งจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
กรณีที่ 1,2,3 นั้นคือปัญหาที่เกิดต่อเนื่องกัน เริ่มจากจุดอ่อนสำคัญที่สุดของผู้ประกอบการไทยที่ผ่านมาคือ ไม่สนใจ ไม่ให้ความสำคัญกับการจดทะเบียนสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้า โดยสินค้าไทยมีคุณภาพที่ดี เมื่อส่งไปขายในจีนก็ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคทั้งจีนและเวียดนาม ทำให้ คนจีนบางคน เมื่อเห็นว่าสินค้าอะไรก็ตามที่ได้รับความนิยมสูง จะมีการเริ่ม copy หรือลอกเลียนแบบสินค้าทันที
“เขา copy ได้ทุกอย่าง ไม่ว่าเป็นสินค้าบริโภค เช่น อาหาร หรือ สินค้าอุปโภคทั้ง เสื้อผ้า ของใช้ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ซึ่งทำได้หมด แม้คุณภาพจะสู้ไทยไม่ได้ แต่ราคาถูกกว่ามาก เมื่อมีคนเอาเครื่องหมายการค้าเราไปจดก่อน เราก็ขายของเข้าตลาดนั้นไม่ได้ จากยอดขายดีๆก็กลายเป็นศูนย์ นอกจากเปลี่ยนยี่ห้อ เสียค่าใช้จ่ายทำการตลาดใหม่”
ขณะที่ผู้ส่งออก และผู้ประกอบการไทย นั้นไม่ให้ความสำคัญกับการจดทะเบียนเครื่องหมายทางปัญญา ฉะนั้นปัญหาการลอกเลียนแบบสินค้าไทยจึงเกิดขึ้นมากมายในจีน โดยฝ่ายไทยหาทางแก้ไขไม่ได้มากนัก เพราะไม่มีการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาก่อน จึงทำให้เกิดการลอกเลียนแบบสินค้าอีก 2 ประการต่อมา คือ ลอกเลียนแบบสินค้าไทยเพื่อขายในตลาดจีน และลอกเลียนแบบสินค้าไทยเพื่อส่งไปขายในตลาดประเทศที่ 3 ตามมา
ปลอมขายในจีน-ส่งออกประเทศ 3อื้อ
ปัญหาปลอมสินค้าเพื่อขายในตลาดจีนถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ที่พบเจอมากที่สุด และเป็นปัญหาโลกแตก แก้ไขได้ยากที่สุด เพราะสินค้าหากเป็นสินค้าที่ไม่เป็นโทษกับผู้บริโภคจะปราบยาก ทางแก้ไขมีทางเดียวคือต้องประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระดับมณฑล
ส่วนปัญหาที่พบว่าเกิดมากรองลงมาคือการลอกเลียนแบบสินค้าไทย มีการผลิตในจีน และนำไปขายในประเทศที่ 3 ด้วย ซึ่ง ชาวจีนบางรายเป็นผู้ปลอมสินค้าไทยและส่งออกไปขายทั่วโลก ทั้งในสหรัฐอเมริกา ยุโรป รวมทั้งพบว่ามีกองทัพมดขนสินค้าปลอมเหล่านี้จากจีนไปเวียดนามจำนวนมากในแต่ละปี
ดังนั้นผู้ประกอบการที่เจอปัญหาดังกล่าวจำเป็นต้องจดทะเบียนทั้งประเทศที่ผลิตสินค้าและจดทะเบียนในประเทศนำเข้าสินค้า หากมีการจดทะเบียนทั้ง 2 ฟากให้ถูกต้อง ภาครัฐจะสามารถเข้ามาช่วยได้มาก หากไม่มีทะเบียนก็จะไม่สามารถช่วยอะไรได้
ข้อดี-เสียระบบคุ้มครองจีน
ดังนั้นหากผู้ประกอบการไทยที่ต้องการขายสินค้าในจีน สิ่งที่ต้องทำเป็นอย่างแรกคือจำเป็นต้องจดทะเบียนเครื่องหมายทางการค้าของตนเองให้เรียบร้อย และหากสินค้าที่มีไฮเทคโนโลยี หรือนวัตกรรมใหม่ๆ ก็จำเป็นต้องจดทะเบียนสิทธิบัตรให้เรียบร้อยตามเงื่อนไขของกฎหมายจีน วิธีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ดีที่สุดคือ ควรจ้างทนายตัวแทนในเมืองไทยให้เป็นผู้ดำเนินการแทน
การจดทะเบียนการค้านั้นหากพบว่าชื่อเครื่องหมายทางการค้ามีการคล้ายเหมือนกับของผู้อื่น ควรคิดถึงเครื่องหมายใหม่ แบรนด์(ยี่ห้อ)ใหม่ เพราะคนที่จดทะเบียนไปก่อนหน้าอาจไม่มีเจตนาทำร้ายเรา ฉะนั้นต้องเตรียมชื่อสำรองไปก่อนจดด้วย ซึ่งชื่อไทยก็เช่นเดียวกัน อาจมีคนไทยที่อยู่ในจีนได้จดทะเบียนในชื่อนั้นแล้ว โดยเฉพาะธุรกิจเกี่ยวกับสปา และร้านอาหารไทยในจีน ซึ่งบริษัททนายตัวแทนจะทำหน้าที่ตรวจสอบให้
โดยหน่วยงานที่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและสิทธิบัตรนั้น ผู้ประกอบการสามารถไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่สำนักงานเครื่องหมายการค้าจีน หรือ CIMO (China Trademark Office) ภายใต้กระทรวง SAIC (State Administration For Industry and Commerce) ส่วนสิทธิบัตรสามารถไปจดได้ที่ SIPO หรือที่สำนักงานภูมิภาคในเมืองใหญ่ๆ (Regional Office) ข้อดีคือจดครั้งเดียวคุ้มครองได้ทั่วประเทศ
สำหรับเรื่องยากคือเมื่อถูกละเมิดแล้ว มีการละเมิดครอบคลุมทุกมณฑล และต้องมีการตรวจจับ ผู้ประกอบการจะต้องไปร้องเรียนเพื่อบังคับใช้สิทธิที่ได้จดทะเบียนทุกสำนักงานมณฑลที่จะเป็นผู้ดูแลในเรื่องการใช้สิทธิ
“จีนเป็นประเทศใหญ่มาก จึงมอบหมายให้สำนักงานมณฑลเป็นผู้ดูแลการใช้สิทธิ แต่เป็นเรื่องยุ่งยากสำหรับผู้ประกอบการไทยที่ถูกละเมิดมาก เพราะต้องเดินทางไปร้องเรียนทุกมณฑล เสียเวลา และค่าใช้จ่ายไม่น้อย”
ทางแก้ที่ดีที่สุดที่อยากแนะนำคือผู้ประกอบการไทยรายต่างๆ ที่ถูกละเมิด จำเป็นต้องมีการรวมกลุ่มผู้ประสบปัญหาเดียวกัน หรือรวมตัวกันในสมาคมการค้าไทย-จีนต่างๆ ค่อยไปร้องเรียนตามสำนักงานมณฑล เพราะจะมีพลัง และคุ้มกว่าที่ผู้ประกอบการรายเดียวจะไปร้องเรียน ซึ่งประเทศใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกาก็ยังเลือกใช้วิธีนี้ แต่ไทยยังไม่มี
“ตรงนี้ต้องให้ภาคธุรกิจเอกชนมาช่วย เพราะภาครัฐไม่สามารถไปร้องเรียนแทนเอกชนแต่ละรายได้ เพราะถ้าทำให้รายนี้ ก็ต้องทำให้ทุกรายกว่า 2 แสนราย ซึ่งเป็นไปไม่ได้”
แย่งจดทะเบียนยี่ห้อขายต่อภายหลัง
ปัญหาสุดท้ายที่พบ แม้วันนี้จะยังมีไม่มากนัก แต่เป็นปัญหาที่ต้องระวังที่สุด คือการถูกแย่งจดทะเบียนสินค้าเพื่อนำเครื่องหมายการค้าของผู้ประกอบการมาขายให้ผู้ประกอบการภายหลัง
“เราส่งสินค้าไปขายในจีน คนที่ทำงานที่ปลายทางเขาเห็นทุกวันว่าสินค้าเราส่งมาขายเท่าไร ล็อตแรกเราอาจส่งไปมูลค่า 1 ล้านบาท ภายในไม่กี่เดือนเราส่งไป 2 ล้านและเพิ่มขึ้นตลอด ก็มีการเช็คว่ามีการจดทะเบียนหรือยัง ถ้ายังจะมีการถ่ายรูปเครื่องหมายการค้าของเราไปขอจดทะเบียนในจีนซึ่งจะใช้ระยะเวลา 8 เดือน ถึงมีการออกทะเบียน เวลานั้นสินค้าเราอาจจะส่งไปขาย 10 ล้านบาท”
เมื่อผู้ที่แอบไปจดทะเบียนตราสินค้าของไทย ได้ทะเบียนมา ก็จะมีการถ่ายสำเนาทะเบียน ส่งไปให้นายด่านที่ตรวจสินค้า บอกว่า “ขณะนี้ผมเป็นเจ้าของเครื่องหมายทำการค้านี้ ฉะนั้นห้ามมีการส่งสินค้านี้มาขายในพื้นที่นี้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผม” ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ จากสินค้าที่กำลังขายดีอยู่ในจีน ผู้ประกอบการรายนั้นจะไม่สามารถส่งสินค้าเข้าจีนได้ในวันถัดไป จากนั้นผู้โกงจะติดต่อมายังบริษัทไทย เพื่อต่อรองขายตราสินค้านั้นกลับคืนให้ผู้ประกอบการไทย ในราคาสูงมาก ซึ่งหากผู้ประกอบการไทยตกลงซื้อจึงจะมีการโอนตราสินค้านั้นให้ผู้ประกอบการและสามารถขายสินค้าในตลาดจีนได้ต่อไป
แต่หากไม่ยอมจะสู้ตามกระบวนการยุติธรรม ก็เป็นเรื่องยาก เพราะผู้ประกอบการไม่ได้ไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเสียก่อน จึงต้องหาหลักฐานมาพิสูจน์ว่าถูกฉ้อโกง หรือไม่ก็ต้องรอให้ครบ 3 ปี ครบกำหนดว่าหากบริษัทใดจดทะเบียนแล้วไม่มีการทำการค้าจริงต้องถูกเพิกถอน ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้น สินค้าของเราจะถูกแย่งตลาดไปหมดแล้ว
กรมฯขอความร่วมมือรัฐ-รัฐ
อย่างไรก็ดีในเรื่องบทบาทของกรมทรัพย์สินทางปัญญา ที่จะช่วยผู้ประกอบการไทยนั้นคือการเจรจาขอความร่วมมือในด้านต่างๆ ระหว่างรัฐต่อรัฐ ในรูปแบบต่างๆ เช่นที่ผ่านมามีความร่วมมือในลักษณะการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างกัน แต่ไม่ค่อยมีผู้ประกอบการไทยให้ความสนใจมากนัก เนื่องจากเห็นว่าไม่สำคัญ แต่จริงๆ แล้วเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะเจ้าหน้าที่จากรัฐบาลจีนจะมาบอกว่าผู้ประกอบการไทยควรทำอย่างไรเมื่อคิดไปประกอบธุรกิจในจีน เป็นการรู้เขารู้เราที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้มากขึ้น
นอกจากนี้กรมทรัพย์สินทางปัญญาไทยก็จะขอความร่วมมือจากกรมทรัพย์สินทางปัญญาจีนเพื่อให้ขอความร่วมมือหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วยเช่น ตำรวจ นอกจากนี้กรมฯจะช่วยได้ในการขอความร่วมมือในการแก้ปัญหาลดอุปสรรคในการเข้าถึงระบบคุ้มครอง เช่น จดช้า จดยาก ไม่รู้เรื่อง จดแล้วมีปัญหา จดแล้วถูกคนอื่นแย่งชิงอย่างไม่เป็นธรรม ขอให้รัฐบาลจีนช่วยดูแล แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นผู้ประกอบการไทยก็ต้องทำให้ถูกต้องก่อน และสามารถขอความช่วยเหลือจากกรมฯได้ตลอดเวลาทั้งขอความรู้ ขอคำแนะนำ และขอให้เจรจาระหว่างรัฐต่อรัฐ แต่ขอร้องว่าต้องคำนึงถึงการเข้าไปจดทะเบียนตราสินค้าและสิทธิบัตรเป็นลำดับแรกในการเข้าไปทำการค้าในจีน
ช่วง 2-3 ปีหลังมานี้ ในแวดวงการสัมมนาเรื่องเกี่ยวกับการค้าการลงทุนจีน ปัญหาหนึ่งของผู้ประกอบธุรกิจไทยไปจีนแล้วไม่ประสบความสำเร็จ คือการถูกละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ไม่ว่าจะเป็นสิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า และ ลิขสิทธิ์ ปัญหานี้นับวันยิ่งรุนแรง ส่วนใหญ่กลับพบว่าตัวผู้ประกอบการไทยเองที่เป็นจุดอ่อน!
4 ปัญหาถูกโกงทรัพย์สินทางปัญญา
ดร.ขจิต สุขุม ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและพัฒนาทรัพย์สินทางปัญญา และฝ่ายต่างประเทศ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า สินค้าไทยที่ไปจีน ปัญหาหลักของการถูกละเมิดอยู่ที่ “เครื่องหมายการค้า” ส่วนเรื่องสิทธิบัตร ได้แก่ สิ่งประดิษฐ์ต่างๆ หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์มีการถูกละเมิดน้อยกว่า แต่ก็มีปัญหาเกิดขึ้นเช่นกัน
โดย ปัญหาที่ผู้ประกอบการไทยประสบในเรื่องถูกละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาที่จีนนั้น แบ่งเป็น 4 กรณี คือ 1.การไม่สนใจของผู้ประกอบการไทย 2.มีการปลอมสินค้า และเครื่องหมายการค้าเพื่อขายในตลาดจีน 3.มีการปลอมสินค้าและเครื่องหมายการค้าเพื่อขายไปประเทศที่ 3 และ 4.การแย่งจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
กรณีที่ 1,2,3 นั้นคือปัญหาที่เกิดต่อเนื่องกัน เริ่มจากจุดอ่อนสำคัญที่สุดของผู้ประกอบการไทยที่ผ่านมาคือ ไม่สนใจ ไม่ให้ความสำคัญกับการจดทะเบียนสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้า โดยสินค้าไทยมีคุณภาพที่ดี เมื่อส่งไปขายในจีนก็ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคทั้งจีนและเวียดนาม ทำให้ คนจีนบางคน เมื่อเห็นว่าสินค้าอะไรก็ตามที่ได้รับความนิยมสูง จะมีการเริ่ม copy หรือลอกเลียนแบบสินค้าทันที
“เขา copy ได้ทุกอย่าง ไม่ว่าเป็นสินค้าบริโภค เช่น อาหาร หรือ สินค้าอุปโภคทั้ง เสื้อผ้า ของใช้ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ซึ่งทำได้หมด แม้คุณภาพจะสู้ไทยไม่ได้ แต่ราคาถูกกว่ามาก เมื่อมีคนเอาเครื่องหมายการค้าเราไปจดก่อน เราก็ขายของเข้าตลาดนั้นไม่ได้ จากยอดขายดีๆก็กลายเป็นศูนย์ นอกจากเปลี่ยนยี่ห้อ เสียค่าใช้จ่ายทำการตลาดใหม่”
ขณะที่ผู้ส่งออก และผู้ประกอบการไทย นั้นไม่ให้ความสำคัญกับการจดทะเบียนเครื่องหมายทางปัญญา ฉะนั้นปัญหาการลอกเลียนแบบสินค้าไทยจึงเกิดขึ้นมากมายในจีน โดยฝ่ายไทยหาทางแก้ไขไม่ได้มากนัก เพราะไม่มีการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาก่อน จึงทำให้เกิดการลอกเลียนแบบสินค้าอีก 2 ประการต่อมา คือ ลอกเลียนแบบสินค้าไทยเพื่อขายในตลาดจีน และลอกเลียนแบบสินค้าไทยเพื่อส่งไปขายในตลาดประเทศที่ 3 ตามมา
ปลอมขายในจีน-ส่งออกประเทศ 3อื้อ
ปัญหาปลอมสินค้าเพื่อขายในตลาดจีนถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ที่พบเจอมากที่สุด และเป็นปัญหาโลกแตก แก้ไขได้ยากที่สุด เพราะสินค้าหากเป็นสินค้าที่ไม่เป็นโทษกับผู้บริโภคจะปราบยาก ทางแก้ไขมีทางเดียวคือต้องประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระดับมณฑล
ส่วนปัญหาที่พบว่าเกิดมากรองลงมาคือการลอกเลียนแบบสินค้าไทย มีการผลิตในจีน และนำไปขายในประเทศที่ 3 ด้วย ซึ่ง ชาวจีนบางรายเป็นผู้ปลอมสินค้าไทยและส่งออกไปขายทั่วโลก ทั้งในสหรัฐอเมริกา ยุโรป รวมทั้งพบว่ามีกองทัพมดขนสินค้าปลอมเหล่านี้จากจีนไปเวียดนามจำนวนมากในแต่ละปี
ดังนั้นผู้ประกอบการที่เจอปัญหาดังกล่าวจำเป็นต้องจดทะเบียนทั้งประเทศที่ผลิตสินค้าและจดทะเบียนในประเทศนำเข้าสินค้า หากมีการจดทะเบียนทั้ง 2 ฟากให้ถูกต้อง ภาครัฐจะสามารถเข้ามาช่วยได้มาก หากไม่มีทะเบียนก็จะไม่สามารถช่วยอะไรได้
ข้อดี-เสียระบบคุ้มครองจีน
ดังนั้นหากผู้ประกอบการไทยที่ต้องการขายสินค้าในจีน สิ่งที่ต้องทำเป็นอย่างแรกคือจำเป็นต้องจดทะเบียนเครื่องหมายทางการค้าของตนเองให้เรียบร้อย และหากสินค้าที่มีไฮเทคโนโลยี หรือนวัตกรรมใหม่ๆ ก็จำเป็นต้องจดทะเบียนสิทธิบัตรให้เรียบร้อยตามเงื่อนไขของกฎหมายจีน วิธีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ดีที่สุดคือ ควรจ้างทนายตัวแทนในเมืองไทยให้เป็นผู้ดำเนินการแทน
การจดทะเบียนการค้านั้นหากพบว่าชื่อเครื่องหมายทางการค้ามีการคล้ายเหมือนกับของผู้อื่น ควรคิดถึงเครื่องหมายใหม่ แบรนด์(ยี่ห้อ)ใหม่ เพราะคนที่จดทะเบียนไปก่อนหน้าอาจไม่มีเจตนาทำร้ายเรา ฉะนั้นต้องเตรียมชื่อสำรองไปก่อนจดด้วย ซึ่งชื่อไทยก็เช่นเดียวกัน อาจมีคนไทยที่อยู่ในจีนได้จดทะเบียนในชื่อนั้นแล้ว โดยเฉพาะธุรกิจเกี่ยวกับสปา และร้านอาหารไทยในจีน ซึ่งบริษัททนายตัวแทนจะทำหน้าที่ตรวจสอบให้
โดยหน่วยงานที่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและสิทธิบัตรนั้น ผู้ประกอบการสามารถไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่สำนักงานเครื่องหมายการค้าจีน หรือ CIMO (China Trademark Office) ภายใต้กระทรวง SAIC (State Administration For Industry and Commerce) ส่วนสิทธิบัตรสามารถไปจดได้ที่ SIPO หรือที่สำนักงานภูมิภาคในเมืองใหญ่ๆ (Regional Office) ข้อดีคือจดครั้งเดียวคุ้มครองได้ทั่วประเทศ
สำหรับเรื่องยากคือเมื่อถูกละเมิดแล้ว มีการละเมิดครอบคลุมทุกมณฑล และต้องมีการตรวจจับ ผู้ประกอบการจะต้องไปร้องเรียนเพื่อบังคับใช้สิทธิที่ได้จดทะเบียนทุกสำนักงานมณฑลที่จะเป็นผู้ดูแลในเรื่องการใช้สิทธิ
“จีนเป็นประเทศใหญ่มาก จึงมอบหมายให้สำนักงานมณฑลเป็นผู้ดูแลการใช้สิทธิ แต่เป็นเรื่องยุ่งยากสำหรับผู้ประกอบการไทยที่ถูกละเมิดมาก เพราะต้องเดินทางไปร้องเรียนทุกมณฑล เสียเวลา และค่าใช้จ่ายไม่น้อย”
ทางแก้ที่ดีที่สุดที่อยากแนะนำคือผู้ประกอบการไทยรายต่างๆ ที่ถูกละเมิด จำเป็นต้องมีการรวมกลุ่มผู้ประสบปัญหาเดียวกัน หรือรวมตัวกันในสมาคมการค้าไทย-จีนต่างๆ ค่อยไปร้องเรียนตามสำนักงานมณฑล เพราะจะมีพลัง และคุ้มกว่าที่ผู้ประกอบการรายเดียวจะไปร้องเรียน ซึ่งประเทศใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกาก็ยังเลือกใช้วิธีนี้ แต่ไทยยังไม่มี
“ตรงนี้ต้องให้ภาคธุรกิจเอกชนมาช่วย เพราะภาครัฐไม่สามารถไปร้องเรียนแทนเอกชนแต่ละรายได้ เพราะถ้าทำให้รายนี้ ก็ต้องทำให้ทุกรายกว่า 2 แสนราย ซึ่งเป็นไปไม่ได้”
แย่งจดทะเบียนยี่ห้อขายต่อภายหลัง
ปัญหาสุดท้ายที่พบ แม้วันนี้จะยังมีไม่มากนัก แต่เป็นปัญหาที่ต้องระวังที่สุด คือการถูกแย่งจดทะเบียนสินค้าเพื่อนำเครื่องหมายการค้าของผู้ประกอบการมาขายให้ผู้ประกอบการภายหลัง
“เราส่งสินค้าไปขายในจีน คนที่ทำงานที่ปลายทางเขาเห็นทุกวันว่าสินค้าเราส่งมาขายเท่าไร ล็อตแรกเราอาจส่งไปมูลค่า 1 ล้านบาท ภายในไม่กี่เดือนเราส่งไป 2 ล้านและเพิ่มขึ้นตลอด ก็มีการเช็คว่ามีการจดทะเบียนหรือยัง ถ้ายังจะมีการถ่ายรูปเครื่องหมายการค้าของเราไปขอจดทะเบียนในจีนซึ่งจะใช้ระยะเวลา 8 เดือน ถึงมีการออกทะเบียน เวลานั้นสินค้าเราอาจจะส่งไปขาย 10 ล้านบาท”
เมื่อผู้ที่แอบไปจดทะเบียนตราสินค้าของไทย ได้ทะเบียนมา ก็จะมีการถ่ายสำเนาทะเบียน ส่งไปให้นายด่านที่ตรวจสินค้า บอกว่า “ขณะนี้ผมเป็นเจ้าของเครื่องหมายทำการค้านี้ ฉะนั้นห้ามมีการส่งสินค้านี้มาขายในพื้นที่นี้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผม” ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ จากสินค้าที่กำลังขายดีอยู่ในจีน ผู้ประกอบการรายนั้นจะไม่สามารถส่งสินค้าเข้าจีนได้ในวันถัดไป จากนั้นผู้โกงจะติดต่อมายังบริษัทไทย เพื่อต่อรองขายตราสินค้านั้นกลับคืนให้ผู้ประกอบการไทย ในราคาสูงมาก ซึ่งหากผู้ประกอบการไทยตกลงซื้อจึงจะมีการโอนตราสินค้านั้นให้ผู้ประกอบการและสามารถขายสินค้าในตลาดจีนได้ต่อไป
แต่หากไม่ยอมจะสู้ตามกระบวนการยุติธรรม ก็เป็นเรื่องยาก เพราะผู้ประกอบการไม่ได้ไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเสียก่อน จึงต้องหาหลักฐานมาพิสูจน์ว่าถูกฉ้อโกง หรือไม่ก็ต้องรอให้ครบ 3 ปี ครบกำหนดว่าหากบริษัทใดจดทะเบียนแล้วไม่มีการทำการค้าจริงต้องถูกเพิกถอน ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้น สินค้าของเราจะถูกแย่งตลาดไปหมดแล้ว
กรมฯขอความร่วมมือรัฐ-รัฐ
อย่างไรก็ดีในเรื่องบทบาทของกรมทรัพย์สินทางปัญญา ที่จะช่วยผู้ประกอบการไทยนั้นคือการเจรจาขอความร่วมมือในด้านต่างๆ ระหว่างรัฐต่อรัฐ ในรูปแบบต่างๆ เช่นที่ผ่านมามีความร่วมมือในลักษณะการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างกัน แต่ไม่ค่อยมีผู้ประกอบการไทยให้ความสนใจมากนัก เนื่องจากเห็นว่าไม่สำคัญ แต่จริงๆ แล้วเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะเจ้าหน้าที่จากรัฐบาลจีนจะมาบอกว่าผู้ประกอบการไทยควรทำอย่างไรเมื่อคิดไปประกอบธุรกิจในจีน เป็นการรู้เขารู้เราที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้มากขึ้น
นอกจากนี้กรมทรัพย์สินทางปัญญาไทยก็จะขอความร่วมมือจากกรมทรัพย์สินทางปัญญาจีนเพื่อให้ขอความร่วมมือหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วยเช่น ตำรวจ นอกจากนี้กรมฯจะช่วยได้ในการขอความร่วมมือในการแก้ปัญหาลดอุปสรรคในการเข้าถึงระบบคุ้มครอง เช่น จดช้า จดยาก ไม่รู้เรื่อง จดแล้วมีปัญหา จดแล้วถูกคนอื่นแย่งชิงอย่างไม่เป็นธรรม ขอให้รัฐบาลจีนช่วยดูแล แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นผู้ประกอบการไทยก็ต้องทำให้ถูกต้องก่อน และสามารถขอความช่วยเหลือจากกรมฯได้ตลอดเวลาทั้งขอความรู้ ขอคำแนะนำ และขอให้เจรจาระหว่างรัฐต่อรัฐ แต่ขอร้องว่าต้องคำนึงถึงการเข้าไปจดทะเบียนตราสินค้าและสิทธิบัตรเป็นลำดับแรกในการเข้าไปทำการค้าในจีน