ฮ่องกง – การผงาดขึ้นเป็นมหาอำนาจเศรษฐกิจของจีน ทำให้กระแสนิยมเรื่องอ่านเล่นเกี่ยวกับแดนมังกร ซึ่งเขียนเป็นภาษาอังกฤษกำลังมาแรง และหนุนส่งให้นักเขียนถนัด 2 ภาษาหลายคนแจ้งเกิด
ทว่าเมื่อความฮือฮาของนิยายสร่างซาไป มีนักประพันธ์เพียงไม่กี่คนเท่านั้น ที่จะอยู่ในความทรงจำ นี่คือความเห็นของนักเขียนหลายคน ที่เข้าร่วมวงเสวนาในงานวรรณกรรมระหว่างประเทศ “ Man Hong kong International Literary Festival” ซึ่งจัดขึ้นที่ฮ่องกงเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2551 โดยกลุ่มบริษัทที่อยู่เบื้องหลังรางวัล“แมน บุ๊กเกอร์ ไพร์ซ” ของอังกฤษ (Man Booker Prize) เป็นสปอนเซ่อร์
“จีนมีบทบาทสำคัญในโลกทั้งด้านเศรษฐกิจ,ตลาด และการเมือง จึงยากที่จะละเลยมิติทางวรรณกรรมของประเทศนี้” นักเขียนนามว่าเหยียน เกอหลิงกล่าว
“หากคุณมองดูในด้านธุรกิจสิ่งพิมพ์ ยกตัวอย่างในอเมริกา จะเห็นว่า มีความสนใจเรื่องจีนม้ากมาก รวมทั้งทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับจีน” หลี่ อี้หยุน เพื่อนนักเขียนอีกคนเล่า
เหยียนและหลี่จัดอยู่ในกลุ่มชาวจีนแผ่นดินใหญ่กลุ่มใหม่ ที่กำลังเพลิดเพลินกับความสำเร็จในการใช้ภาษาอังกฤษเขียนวรรณกรรม ซึ่งบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับบ้านเกิด หลังจากย้ายไปตั้งรกรากในอเมริกา
อย่างไรก็ตาม หลี่เจ้าของรวมชุดเรื่องสั้น ซึ่งได้รับรางวัล“A Thousand Years of Good Prayers” ระบุว่า นักเขียนที่ประสบความสำเร็จอย่างแท้จริงนั้น ผู้คนจะจดจำ ในยามที่มนต์เสน่ห์ของจีนลดน้อยลง
“ถ้าคุณมองดูงานวรรณกรรม จะเห็นว่ามันมีลักษณะเหมือนพีรามิดเสมอ ย่อมจะมีผลงานชิ้นยอดเยี่ยมที่สุด ซึ่งจะมีคนอ่านในหนึ่งร้อยปี”
การแพร่หลายของหนังสือเกี่ยวกับประเทศจีนในภาคภาษาอังกฤษได้ตีแผ่เรื่องราวให้ชาวตะวันตกได้รับรู้เป็นอย่างดี
“เมื่อชาวตะวันตกเข้าใจว่าจีนเป็นดินแดนประหลาด สุดแสนจะลึกลับ วรรณกรรมที่แท้จริงจึงเกิดขึ้น”หลี่ให้ความเห็น
ก่อนหน้านี้ เหยียนเคยเป็นนักเขียนภาษาจีนที่มีผลงานคนหนึ่ง ต่อมา จึงได้เริ่มเขียนนิยายภาษาอังกฤษเป็นเรื่องแรก ชื่อว่า “The Banquet Bug” และถึงแม้ประสบความสำเร็จในงานเขียนภาษาอังกฤษ แต่เธอก็มีความสุขกับการเขียนงานภาษาจีน และจะทำต่อไป
“ภาษาจีนเป็นภาษาโบราณ น่าพิศวง เป็นอักษรภาพ ซึ่งดิฉันจะทิ้งไปไม่ได้”
เหยียนเคยใช้ชีวิตอยู่ในอเมริกา แต่ปัจจุบันอาศัยในไต้หวัน เธอเล่าว่า เวลาเขียนงานด้วยภาษาจีนและภาษาอังกฤษนั้น น้ำเสียงของเธอจะมีความแตกต่างกัน
“ลักษณะงานในภาษาอังกฤษของดิฉันจะห้าวหาญ, อ่อนเยาว์ และโผงผางตรงไปตรงมามากกว่า ขณะที่งานในภาษาจีนออกจะมีชั้นเชิง คือเป็นผู้ใหญ่ขึ้นและซับซ้อน” เธออธิบาย
แต่สำหรับหลี่นั้น เธอบอกว่าจะไม่พยายามพิมพ์งานในภาษาจีนออกมาอีก
“ดิฉันรู้สึกอย่างแท้จริงว่า ตัวเองได้กลายเป็นนักเขียนภาษาอังกฤษไปแล้ว และภาษาอังกฤษกลายเป็นภาษาแรกในการเขียนหนังสือ การนึกย้อนกลับเป็นภาษาจีนเป็นเรื่องยากมากสำหรับดิฉัน”
ก่อนเบนเข็มมาเขียนหนังสือนั้น หลี่ศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ เธอเติบโตในกรุงปักกิ่ง ทุกวันนี้ใช้ชีวิตอยู่ที่เมืองโอ๊คแลนด์, รัฐแคลิฟอร์เนีย หลี่บอกว่าเธอชอบอยู่ในอเมริกา เพราะว่า
“ความห่างระหว่างจีนกับที่ใดก็ตามที่ดิฉันอยู่มีความสำคัญกับงานเขียนของดิฉันอย่างมาก”
ทว่าเมื่อความฮือฮาของนิยายสร่างซาไป มีนักประพันธ์เพียงไม่กี่คนเท่านั้น ที่จะอยู่ในความทรงจำ นี่คือความเห็นของนักเขียนหลายคน ที่เข้าร่วมวงเสวนาในงานวรรณกรรมระหว่างประเทศ “ Man Hong kong International Literary Festival” ซึ่งจัดขึ้นที่ฮ่องกงเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2551 โดยกลุ่มบริษัทที่อยู่เบื้องหลังรางวัล“แมน บุ๊กเกอร์ ไพร์ซ” ของอังกฤษ (Man Booker Prize) เป็นสปอนเซ่อร์
“จีนมีบทบาทสำคัญในโลกทั้งด้านเศรษฐกิจ,ตลาด และการเมือง จึงยากที่จะละเลยมิติทางวรรณกรรมของประเทศนี้” นักเขียนนามว่าเหยียน เกอหลิงกล่าว
“หากคุณมองดูในด้านธุรกิจสิ่งพิมพ์ ยกตัวอย่างในอเมริกา จะเห็นว่า มีความสนใจเรื่องจีนม้ากมาก รวมทั้งทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับจีน” หลี่ อี้หยุน เพื่อนนักเขียนอีกคนเล่า
เหยียนและหลี่จัดอยู่ในกลุ่มชาวจีนแผ่นดินใหญ่กลุ่มใหม่ ที่กำลังเพลิดเพลินกับความสำเร็จในการใช้ภาษาอังกฤษเขียนวรรณกรรม ซึ่งบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับบ้านเกิด หลังจากย้ายไปตั้งรกรากในอเมริกา
อย่างไรก็ตาม หลี่เจ้าของรวมชุดเรื่องสั้น ซึ่งได้รับรางวัล“A Thousand Years of Good Prayers” ระบุว่า นักเขียนที่ประสบความสำเร็จอย่างแท้จริงนั้น ผู้คนจะจดจำ ในยามที่มนต์เสน่ห์ของจีนลดน้อยลง
“ถ้าคุณมองดูงานวรรณกรรม จะเห็นว่ามันมีลักษณะเหมือนพีรามิดเสมอ ย่อมจะมีผลงานชิ้นยอดเยี่ยมที่สุด ซึ่งจะมีคนอ่านในหนึ่งร้อยปี”
การแพร่หลายของหนังสือเกี่ยวกับประเทศจีนในภาคภาษาอังกฤษได้ตีแผ่เรื่องราวให้ชาวตะวันตกได้รับรู้เป็นอย่างดี
“เมื่อชาวตะวันตกเข้าใจว่าจีนเป็นดินแดนประหลาด สุดแสนจะลึกลับ วรรณกรรมที่แท้จริงจึงเกิดขึ้น”หลี่ให้ความเห็น
ก่อนหน้านี้ เหยียนเคยเป็นนักเขียนภาษาจีนที่มีผลงานคนหนึ่ง ต่อมา จึงได้เริ่มเขียนนิยายภาษาอังกฤษเป็นเรื่องแรก ชื่อว่า “The Banquet Bug” และถึงแม้ประสบความสำเร็จในงานเขียนภาษาอังกฤษ แต่เธอก็มีความสุขกับการเขียนงานภาษาจีน และจะทำต่อไป
“ภาษาจีนเป็นภาษาโบราณ น่าพิศวง เป็นอักษรภาพ ซึ่งดิฉันจะทิ้งไปไม่ได้”
เหยียนเคยใช้ชีวิตอยู่ในอเมริกา แต่ปัจจุบันอาศัยในไต้หวัน เธอเล่าว่า เวลาเขียนงานด้วยภาษาจีนและภาษาอังกฤษนั้น น้ำเสียงของเธอจะมีความแตกต่างกัน
“ลักษณะงานในภาษาอังกฤษของดิฉันจะห้าวหาญ, อ่อนเยาว์ และโผงผางตรงไปตรงมามากกว่า ขณะที่งานในภาษาจีนออกจะมีชั้นเชิง คือเป็นผู้ใหญ่ขึ้นและซับซ้อน” เธออธิบาย
แต่สำหรับหลี่นั้น เธอบอกว่าจะไม่พยายามพิมพ์งานในภาษาจีนออกมาอีก
“ดิฉันรู้สึกอย่างแท้จริงว่า ตัวเองได้กลายเป็นนักเขียนภาษาอังกฤษไปแล้ว และภาษาอังกฤษกลายเป็นภาษาแรกในการเขียนหนังสือ การนึกย้อนกลับเป็นภาษาจีนเป็นเรื่องยากมากสำหรับดิฉัน”
ก่อนเบนเข็มมาเขียนหนังสือนั้น หลี่ศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ เธอเติบโตในกรุงปักกิ่ง ทุกวันนี้ใช้ชีวิตอยู่ที่เมืองโอ๊คแลนด์, รัฐแคลิฟอร์เนีย หลี่บอกว่าเธอชอบอยู่ในอเมริกา เพราะว่า
“ความห่างระหว่างจีนกับที่ใดก็ตามที่ดิฉันอยู่มีความสำคัญกับงานเขียนของดิฉันอย่างมาก”