บางครั้ง นอกเหนือจากหนังสือเกี่ยวกับจีนเล่มใหม่ๆ แล้ว บนหิ้งหนังสือของมุมจีน ผู้จัดการออนไลน์เราก็อยากที่จะหยิบเอาหนังสือเกี่ยวกับจีนเล่มเก่าๆ มานำเสนอให้กับท่านผู้อ่านหลายๆ ท่านได้ทบทวนความทรงจำ หรือ หลายท่านที่ไม่เคยผ่านตาหนังสือเหล่านี้มาก่อน
ด้วยเหตุที่หนังสือเกี่ยวกับจีนหลายๆ เล่มเป็นหนังสือเก่าที่มิได้มีการพิมพ์ออกมาจำหน่ายอีกแล้ว หรือ เป็นหนังสือที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่เห็นช่องทางในการทำการตลาดอีกต่อไป ดังนั้นหนังสือทรงคุณค่าเหล่านี้หลายๆ เล่มจึงกลายเป็นหนังสือที่ถูกซุกซ่อนอยู่ในหอสมุด-ห้องสมุดของสถาบันการศึกษา อยู่ ณ หลืบหนึ่งของตู้หนังสือผู้อาวุโส หรือซอกหนึ่งในร้านหนังสือเก่า เพื่อรอวันผู้ที่เห็นคุณค่าหยิบมันออกไปอ่าน
สัปดาห์นี้ทางมุมจีนขอหยิบเอาหนังสือเก่าเล่มหนึ่งมาแนะนำให้ท่านผู้อ่านได้ทบทวนความทรงจำหรือทำความรู้จัก หนังสือเล่มนี้มีชื่อว่า “ฮวนนั้ง”
“ฮวนนั้ง” เป็นนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ที่ผู้แต่งคือ ‘หม่อมคึกฤทธิ์’ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช แต่งเอาไว้ตั้งแต่ในช่วงก่อนปี พ.ศ.2500 โดยเวลาต่อมาได้มีการพิมพ์ซ้ำอีกหลายครั้ง
ฮวนนั้ง เป็นภาษาแต้จิ๋วโดยคำว่า “ฮวน” นั้นน่าจะมาจากคำว่า Hun ในภาษาอังกฤษ หรือ ในภาษาจีนนั้นคือชนเผ่าหนึ่งที่รู้จักโดยทั่วกันในชื่อ ซงหนู (匈奴) ขณะที่คำว่า “นั้ง” นั้นเป็นภาษาแต้จิ๋วแปลได้ว่า คน, ชาว (人) กระนั้นโดยความเข้าใจของคนไทยแล้วคำว่า “ฮวนนั้ง” นั้นมีความหมายครอบคลุมโดยกว้างมากกว่าคำว่าชาวซงหนู หรือ ชนเผ่าซงหนู แต่หมายความถึง คนป่าเถื่อน ชนเผ่าป่าเถื่อน กลุ่มคนที่ไร้วัฒนธรรมในสายตาของชาวจีนซึ่งมีระบบการปกครองในระบอบกษัตริย์หรือระบอบจักรพรรดิและมีความก้าวหน้าทางวัฒนธรรมและเทคโนโลยีมากกว่า
สำหรับฮวนนั้งของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ นั้นเป็นเรื่องราวที่กล่าวถึงชีวประวัติของกษัตริย์ของชาวฮวนผู้มีนามว่า อัตติลา (ในภาษาอังกฤษคือ Attila the Hun ส่วนในภาษาจีนคือ匈奴王阿提拉) อย่างไรก็ตามด้วยรูปแบบการเขียนของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ที่เมื่อคิดจะเขียนถึงชีวประวัติของใครแล้ว ท่านก็มักจะเสริมเติมแต่งเรื่องราวของบุคคลในประวัติศาสตร์ผู้นั้นให้มีกลิ่นอายของความเป็นนิยายลงไปด้วย เช่นเดียวกับนวนิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่องซูสีไทเฮา (慈禧太后)
เหตุใดท่านจึงต้องเสริมเติมแต่ง ใส่จินตนาการของตนเข้าไปในชีวประวัติของบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ผู้นั้นด้วยจนทำให้ข้อเขียนของท่านกลายเป็นนวนิยายอิงประวัติศาสตร์แทนที่จะเป็นหนังสือชีวประวัติที่กล่าวถึงหลักฐานและข้อเท็จจริงล้วนๆ? ในประเด็นนี้ท่านอาจารย์หม่อมคึกฤทธิ์ได้เขียนอธิบายไว้ในส่วนอารัมภบทของหนังสือฮวนนั้งแล้วว่า
“เรื่องที่จะได้เขียนต่อไปนี้ เป็นชีวประวัติของฮวนผู้มีนามว่า อัตติลา ผู้ที่ได้ชื่อว่าพระเจ้าส่งมาให้ทำลายล้างพวกโรมัน เป็นผู้ที่มีชีวิตพิลึกพิลั่นโลดโผน ผู้เขียนได้อาศัยประวัติที่พวกโรมันเขียนไว้ และหนังสือที่ชาวต่างประเทศแต่งไว้บางเล่มเป็นบรรทัดฐาน แต่ในการแต่งหนังสือเรื่องชนิดที่จะให้ความเพลิดเพลินแก่ผู้อ่านตามสมควร ผู้เขียนจำต้องบรรยายในลักษณะที่เรียกว่า “โกหกบ้างจริงบ้าง” ในที่นี้อาจมีผู้ถามได้ว่า ก็เมื่ออัตติลาเป็นบุคคลจริงๆ ในประวัติศาสตร์ ผู้เขียนมีเหตุอันใดที่จะต้อง “โกหกบ้าง” อย่างที่ได้กล่าวมา ขอตอบปัญหานั้นไว้ก่อนในที่นี้ว่า ถึงแม้ว่าอัตติลาจะเป็นบุคคลในประวัติศาสตร์ก็จริง แต่อัตติลาก็ได้ตายไปแล้วถึงพันห้าร้อยปี ผู้เขียนปรารถนาจะปลุกอัตติลาให้กลับฟื้นคืนชีวิตด้วยอารมณ์และความรู้สึกของผู้เขียน หากจะใช้เพียงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอัตติลาที่มีอยู่ในประวัติศาสตร์เท่านั้น เรื่องที่จะเล่าต่อไปก็จะแห้งแล้งปราศจากจิตใจ จำต้อง “โกหกบ้าง” เพื่อให้อัตติลากลับฟื้นคืนชีวิตขึ้นมาได้อีกครั้งหนึ่ง” - - - คึกฤทธิ์ ปราโมช
ตามหลักฐานในหน้าประวัติศาสตร์อัตติลามีชีวิตอยู่ในช่วง ค.ศ.406-453 ด้วยความเก่งกาจสามารถในการทำศึกสงครามทำให้ได้รับฉายาว่า “เทพเจ้าแห่งสงคราม” ในช่วงชีวิตวัยเด็กอัตติลาเคยถูกส่งตัวไปเป็นเชลยของจักรวรรดิโรมัน ก่อนที่ในเวลาต่อมาเขาจะหลบหนีกลับมาหาพรรคพวกของตัวเอง และลงมือสังหารพี่ชายเบลดา (Bleda) เพื่อแย่งชิงตำแหน่งผู้นำสูงสุดของชาวฮวน เมื่อขึ้นครองตำแหน่งผู้นำของชาวฮวน อัตติลาได้สร้างประวัติศาสตร์ที่สั่นสะเทือนโลกด้วยการยกทัพรุกรานคาบสมุทรบัลข่านและยุโรปตะวันตก
ด้วยความสามารถในการสู้รบและความโหดร้าย ทารุณที่พวกเขาทำกับข้าศึก อัตติลาและชาวฮวนถือว่ามีบทบาทสำคัญยิ่งในประวัติศาสตร์การล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน โดยถึงปัจจุบันสำหรับชาวยุโรป เมื่อมีการพูดถึงชาวฮวนและอัตติลา พวกเขาก็มักจะถูกตีตราว่าเป็นชนเผ่าป่าเถื่อน โหดร้าย และร้ซึ่งวัฒนธรรม โดยสาเหตุที่ภาพลักษณ์ส่วนใหญ่ของชาวฮวนเป็นไปในเชิงลบนั้นก็อันเนื่องมาจาก ปัจจุบันภาษาพูดของชาวฮวนนั้นสาบสูญไปเสียแล้ว ขณะที่ภาษาเขียนก็ไม่ปรากฏหลักฐาน ทำให้เรื่องราวเกี่ยวกับชาวฮวนที่ถูกบันทึกนั้นถูกบันทึกโดยกลุ่มคนที่เป็นศัตรู หรือ มีทัศนคติที่เป็นอริกับฮวนทั้งสิ้น*
สำหรับ “ฮวนนั้ง” โดยฝีปากกาของหม่อมคึกฤทธิ์นั้นเป็นนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ที่มีชีวิตชีวายิ่ง ทั้งนี้ผู้อ่านนอกจากจะได้อรรถรสและความสนุกสนานจากการอ่านหนังสือเล่มนี้แล้ว ยังจะได้กลิ่นอายของประวัติศาสตร์สำหรับสืบหาความรู้เพิ่มเติมต่อไปด้วย
รายละเอียดหนังสือ
ชื่อหนังสือ ฮวนนั้ง
ชื่อผู้เขียน ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
สำนักพิมพ์ สยามรัฐ (ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6 ธันวาคม 2537)
ISBN 974-87577-8-1
หมายเหตุ :
*Hugh Kenedy (2002), Mongols, Huns&Vikings, Cassell&Co.
**หน่วยงาน/บุคคลใดที่ต้องการแบ่งปันความรู้เกี่ยวกับจีนในรูปแบบหนังสือ สามารถส่งหนังสือมาได้ที่ “โต๊ะจีน หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน 102/1 ถ.พระอาทิตย์ แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200” กรุณาวงเล็บด้วยว่า “(คอลัมน์หิ้งหนังสือ)”
ด้วยเหตุที่หนังสือเกี่ยวกับจีนหลายๆ เล่มเป็นหนังสือเก่าที่มิได้มีการพิมพ์ออกมาจำหน่ายอีกแล้ว หรือ เป็นหนังสือที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่เห็นช่องทางในการทำการตลาดอีกต่อไป ดังนั้นหนังสือทรงคุณค่าเหล่านี้หลายๆ เล่มจึงกลายเป็นหนังสือที่ถูกซุกซ่อนอยู่ในหอสมุด-ห้องสมุดของสถาบันการศึกษา อยู่ ณ หลืบหนึ่งของตู้หนังสือผู้อาวุโส หรือซอกหนึ่งในร้านหนังสือเก่า เพื่อรอวันผู้ที่เห็นคุณค่าหยิบมันออกไปอ่าน
สัปดาห์นี้ทางมุมจีนขอหยิบเอาหนังสือเก่าเล่มหนึ่งมาแนะนำให้ท่านผู้อ่านได้ทบทวนความทรงจำหรือทำความรู้จัก หนังสือเล่มนี้มีชื่อว่า “ฮวนนั้ง”
“ฮวนนั้ง” เป็นนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ที่ผู้แต่งคือ ‘หม่อมคึกฤทธิ์’ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช แต่งเอาไว้ตั้งแต่ในช่วงก่อนปี พ.ศ.2500 โดยเวลาต่อมาได้มีการพิมพ์ซ้ำอีกหลายครั้ง
ฮวนนั้ง เป็นภาษาแต้จิ๋วโดยคำว่า “ฮวน” นั้นน่าจะมาจากคำว่า Hun ในภาษาอังกฤษ หรือ ในภาษาจีนนั้นคือชนเผ่าหนึ่งที่รู้จักโดยทั่วกันในชื่อ ซงหนู (匈奴) ขณะที่คำว่า “นั้ง” นั้นเป็นภาษาแต้จิ๋วแปลได้ว่า คน, ชาว (人) กระนั้นโดยความเข้าใจของคนไทยแล้วคำว่า “ฮวนนั้ง” นั้นมีความหมายครอบคลุมโดยกว้างมากกว่าคำว่าชาวซงหนู หรือ ชนเผ่าซงหนู แต่หมายความถึง คนป่าเถื่อน ชนเผ่าป่าเถื่อน กลุ่มคนที่ไร้วัฒนธรรมในสายตาของชาวจีนซึ่งมีระบบการปกครองในระบอบกษัตริย์หรือระบอบจักรพรรดิและมีความก้าวหน้าทางวัฒนธรรมและเทคโนโลยีมากกว่า
สำหรับฮวนนั้งของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ นั้นเป็นเรื่องราวที่กล่าวถึงชีวประวัติของกษัตริย์ของชาวฮวนผู้มีนามว่า อัตติลา (ในภาษาอังกฤษคือ Attila the Hun ส่วนในภาษาจีนคือ匈奴王阿提拉) อย่างไรก็ตามด้วยรูปแบบการเขียนของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ที่เมื่อคิดจะเขียนถึงชีวประวัติของใครแล้ว ท่านก็มักจะเสริมเติมแต่งเรื่องราวของบุคคลในประวัติศาสตร์ผู้นั้นให้มีกลิ่นอายของความเป็นนิยายลงไปด้วย เช่นเดียวกับนวนิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่องซูสีไทเฮา (慈禧太后)
เหตุใดท่านจึงต้องเสริมเติมแต่ง ใส่จินตนาการของตนเข้าไปในชีวประวัติของบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ผู้นั้นด้วยจนทำให้ข้อเขียนของท่านกลายเป็นนวนิยายอิงประวัติศาสตร์แทนที่จะเป็นหนังสือชีวประวัติที่กล่าวถึงหลักฐานและข้อเท็จจริงล้วนๆ? ในประเด็นนี้ท่านอาจารย์หม่อมคึกฤทธิ์ได้เขียนอธิบายไว้ในส่วนอารัมภบทของหนังสือฮวนนั้งแล้วว่า
“เรื่องที่จะได้เขียนต่อไปนี้ เป็นชีวประวัติของฮวนผู้มีนามว่า อัตติลา ผู้ที่ได้ชื่อว่าพระเจ้าส่งมาให้ทำลายล้างพวกโรมัน เป็นผู้ที่มีชีวิตพิลึกพิลั่นโลดโผน ผู้เขียนได้อาศัยประวัติที่พวกโรมันเขียนไว้ และหนังสือที่ชาวต่างประเทศแต่งไว้บางเล่มเป็นบรรทัดฐาน แต่ในการแต่งหนังสือเรื่องชนิดที่จะให้ความเพลิดเพลินแก่ผู้อ่านตามสมควร ผู้เขียนจำต้องบรรยายในลักษณะที่เรียกว่า “โกหกบ้างจริงบ้าง” ในที่นี้อาจมีผู้ถามได้ว่า ก็เมื่ออัตติลาเป็นบุคคลจริงๆ ในประวัติศาสตร์ ผู้เขียนมีเหตุอันใดที่จะต้อง “โกหกบ้าง” อย่างที่ได้กล่าวมา ขอตอบปัญหานั้นไว้ก่อนในที่นี้ว่า ถึงแม้ว่าอัตติลาจะเป็นบุคคลในประวัติศาสตร์ก็จริง แต่อัตติลาก็ได้ตายไปแล้วถึงพันห้าร้อยปี ผู้เขียนปรารถนาจะปลุกอัตติลาให้กลับฟื้นคืนชีวิตด้วยอารมณ์และความรู้สึกของผู้เขียน หากจะใช้เพียงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอัตติลาที่มีอยู่ในประวัติศาสตร์เท่านั้น เรื่องที่จะเล่าต่อไปก็จะแห้งแล้งปราศจากจิตใจ จำต้อง “โกหกบ้าง” เพื่อให้อัตติลากลับฟื้นคืนชีวิตขึ้นมาได้อีกครั้งหนึ่ง” - - - คึกฤทธิ์ ปราโมช
ตามหลักฐานในหน้าประวัติศาสตร์อัตติลามีชีวิตอยู่ในช่วง ค.ศ.406-453 ด้วยความเก่งกาจสามารถในการทำศึกสงครามทำให้ได้รับฉายาว่า “เทพเจ้าแห่งสงคราม” ในช่วงชีวิตวัยเด็กอัตติลาเคยถูกส่งตัวไปเป็นเชลยของจักรวรรดิโรมัน ก่อนที่ในเวลาต่อมาเขาจะหลบหนีกลับมาหาพรรคพวกของตัวเอง และลงมือสังหารพี่ชายเบลดา (Bleda) เพื่อแย่งชิงตำแหน่งผู้นำสูงสุดของชาวฮวน เมื่อขึ้นครองตำแหน่งผู้นำของชาวฮวน อัตติลาได้สร้างประวัติศาสตร์ที่สั่นสะเทือนโลกด้วยการยกทัพรุกรานคาบสมุทรบัลข่านและยุโรปตะวันตก
ด้วยความสามารถในการสู้รบและความโหดร้าย ทารุณที่พวกเขาทำกับข้าศึก อัตติลาและชาวฮวนถือว่ามีบทบาทสำคัญยิ่งในประวัติศาสตร์การล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน โดยถึงปัจจุบันสำหรับชาวยุโรป เมื่อมีการพูดถึงชาวฮวนและอัตติลา พวกเขาก็มักจะถูกตีตราว่าเป็นชนเผ่าป่าเถื่อน โหดร้าย และร้ซึ่งวัฒนธรรม โดยสาเหตุที่ภาพลักษณ์ส่วนใหญ่ของชาวฮวนเป็นไปในเชิงลบนั้นก็อันเนื่องมาจาก ปัจจุบันภาษาพูดของชาวฮวนนั้นสาบสูญไปเสียแล้ว ขณะที่ภาษาเขียนก็ไม่ปรากฏหลักฐาน ทำให้เรื่องราวเกี่ยวกับชาวฮวนที่ถูกบันทึกนั้นถูกบันทึกโดยกลุ่มคนที่เป็นศัตรู หรือ มีทัศนคติที่เป็นอริกับฮวนทั้งสิ้น*
สำหรับ “ฮวนนั้ง” โดยฝีปากกาของหม่อมคึกฤทธิ์นั้นเป็นนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ที่มีชีวิตชีวายิ่ง ทั้งนี้ผู้อ่านนอกจากจะได้อรรถรสและความสนุกสนานจากการอ่านหนังสือเล่มนี้แล้ว ยังจะได้กลิ่นอายของประวัติศาสตร์สำหรับสืบหาความรู้เพิ่มเติมต่อไปด้วย
รายละเอียดหนังสือ
ชื่อหนังสือ ฮวนนั้ง
ชื่อผู้เขียน ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
สำนักพิมพ์ สยามรัฐ (ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6 ธันวาคม 2537)
ISBN 974-87577-8-1
หมายเหตุ :
*Hugh Kenedy (2002), Mongols, Huns&Vikings, Cassell&Co.
**หน่วยงาน/บุคคลใดที่ต้องการแบ่งปันความรู้เกี่ยวกับจีนในรูปแบบหนังสือ สามารถส่งหนังสือมาได้ที่ “โต๊ะจีน หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน 102/1 ถ.พระอาทิตย์ แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200” กรุณาวงเล็บด้วยว่า “(คอลัมน์หิ้งหนังสือ)”