xs
xsm
sm
md
lg

จีนโต้ ‘คุมราคา’ ได้ผล รับรองเศรษฐกิจไม่พัง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ผู้บริโภคจ้องตรวจสอบราคาเบียร์ใน ห้างสรรพสินค้า กลางเมืองเสิ่นหยัง เมืองเอกของมณฑลเหียวหนิง หลังรัฐบาลออกมาตรการแทรกแซงราคาสินค้า - เอเอฟพี
รอยเตอร์ – จีนโต้คำวิจารณ์นักวิเคาะห์ ย้ำ “มาตรการคุมราคาไม่ทำเศรษฐกิจบูดเบี้ยว” ขณะที่นักวิเคาะห์ห่วง นโยบายแทรกแซงอาจส่งผลให้สินค้าขาดแคลน แถมตลาดมืดบูม

หลังจีนออกมาตรการแทรกแซงชั่วคราว คุมราคาสินค้าสำคัญในการบริโภค 6 ประเภทได้แก่ ธัญพืชสำเร็จรูปและผลิตภัณฑ์จากธัญพืช, น้ำมันพืช, เนื้อหมู วัว แพะ และผลิตภัณฑ์จากเนื้อดังกล่าว และก๊าซหุงต้ม เพื่อแก้ปัญหาภาวะเงินเฟ้อที่ทะยานไม่หยุด

นักวิเคราะห์ต่างรุมสวดวิธีแก้ปัญหา ตงเต้า นักเศรษฐศาสตร์จาก เครดิตสวิส สาขาฮ่องกงชี้ “แก้ปัญหาได้เพียงชั่วคราว ไม่นานปัญหาก็เกิดขึ้นใหม่ ระบบเศรษฐกิจครึ่งๆกลางๆ ระหว่างสังคมนิยมกับทุนนิยมดำเนินการลำบาก ไม่นานกลไกตลาดจะทำให้ปัญหาลอยฟ่องขึ้นมาอีกครั้ง คราวนี้รัฐบาลก็ต้องมานั่งตามแก้อีก” เต้าเผย พร้อมยกตัวอย่างภัตตาคารในหลันโจวที่ถูกสั่งคุมราคาบะหมี่ จนภายหลังต้องลดปริมาณบะหมี่ลงเพื่อแก้ปัญหาขาดทุน

ส่วนนักวิเคราะห์รายอื่นก็กังขาว่า “กฎระเบียบที่ดูเข้มงวด พอบังคับใช้จริงๆแล้วจะทำได้จริงหรือ เพราะที่ผ่านมาระบบการบังคับใช้กฎหมายของจีนมีปัญหา เนื่องจากเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นไม่เข้มงวด บวกกับระบบตรวจสอบเองก็มีช่องโหว่หลายจุด” โธมัส รอว์สกี ผู้เชี่ยวชาญเศรษฐกิจจีน จากมหาวิทยาลัยพิตส์เบิร์กเผย

ทั้งนี้บริษัทยักษ์สินค้าบริโภคในจีนอาทิ ยูนิ เพรสซิเดนท์ โฮลดิ้ง ประเทศจีน ผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปหลายใหญ่, อี้ลี่ บริษัทผลิตภัณฑ์นมชื่อดังจากมองโกเลียใน ต่างต้องยื่นขออนุญาตต่อคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติจีน (เอ็นดีอาร์ซี) ก่อนเปลี่ยนแปลงขึ้นราคาสินค้า

ด้าน เฉาฉางชิง หัวหน้าฝ่ายควบคุมราคาสินค้าของเอ็นดีอาร์ซีโต้ว่า “มาตรการดังกล่าวมีขึ้น เพื่อแก้ไขพฤติกรรมในวงจรตลาดที่ส่งผลให้เกิดเงินเฟ้อ”

“เมื่อหวังกำไรมาก ผู้ผลิตมักลดจำนวนสินค้าลง จนราคาพุ่ง เมื่อผู้บริโภคเกรงว่าสินค้าจะมีราคาแพง ก็จะแห่แย่งไปซื้อกักตุนทำให้ราคาสินค้ายิ่งทะยานสูงไปอีก ฉะนั้นเราจึงต้องแทรกแซง” เฉากล่าว

นักเศรษฐศาสตร์นิรนามรายหนึ่ง ซึ่งสังกัดอยู่กับหน่วยคลังสมองของรัฐวิจารณ์ว่า “ตรรกะนโยบายดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า รัฐบาลยังไม่ทิ้งวิธีคิดโบราณๆ ตั้งแต่ปี 1993 ที่เงินเฟ้อพุ่งสูงเกิน 10% จนรัฐเข้าแทรก แต่แทรกแล้วปัญหาก็มาปะทุใหม่อีก”
กำลังโหลดความคิดเห็น