รอยเตอร์ – รัฐบาลจีนเตรียมลงสำรวจภาษาถิ่นหลายพันภาษา ที่พูดกันในประเทศทั้งหมดด้วยตาตนเอง เพื่ออนุรักษ์ภาษาถิ่นเหล่านี้ ซึ่งหลายภาษากำลังใกล้จะสูญหายแล้ว
หนังสือพิมพ์ไชน่า เดลี่ ของทางการจีนระบุว่านอกจากการสำรวจภาษาถิ่นแล้ว ยังจะมีการศึกษาอิทธิพลของภาษาถิ่นที่มีต่อภาษาแมนดาริน ซึ่งเป็นภาษาทางราชการ พร้อมทำฐานข้อมูลบันทึก ทั้งนี้ จากคำสัมภาษณ์ของนายหลี่อี้ว์หมิง รองประธานกรรมาธิการกิจการด้านภาษาของรัฐ
ทั้งนี้ การสำรวจจะมุ่งไปที่ภาษาเซี่ยงไฮ้ เนื่องจากเป็นภาษาถิ่นที่ชาวจีนนิยมพูดกันมากที่สุดภาษาหนึ่ง โดยพบว่า คนหนุ่มสาวใช้ภาษาถิ่นนี้ สื่อสารกันทางอินเตอร์เน็ต และเนื่องจากการขยายตัวของวงศัพท์ จึงจะมีการทำให้เป็นมาตรฐาน และส่งเสริมให้เป็นภาษาท้องถิ่นอีกภาษาหนึ่งต่างหาก
อย่างไรก็ตาม มิได้มีการระบุว่า ภาษาถิ่นใดบ้างที่ใกล้จะสูญหาย แต่ปัจจุบัน มีบางภาษาที่พูดกันในหมู่ชนกลุ่มน้อยกลุ่มเล็ก ๆ เช่น ภาษาเฮ่อเจ๋อ ส่วนภาษาออโรเควน ปัจจุบัน มีผู้พูดกันน้อยมาก เนื่องจากคนรุ่นหนุ่มสาว ได้กลายเป็นคนจีนไปแล้ว
นักภาษาศาสตร์กล่าวว่า หลายภาษาที่รัฐบาลจีนเรียกว่า ภาษาถิ่นนั้น เช่น ภาษาเซี่ยงไฮ้ และภาษากวางตุ้ง จริง ๆ แล้ว เป็นคนละภาษากัน เมื่อพิจารณาจากหลักไวยากรณ์ และรูปศัพท์ ซึ่งมีความแตกต่างกัน นอกจากนั้น ในขณะที่ภาษาเหล่านี้ ใช้ระบบการเขียนร่วมกัน แต่โดยทั่วไปแล้ว ก็ไม่สามารถเข้าใจร่วมกันได้
รัฐบาลจีนประเมินว่า มีประชากรเพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้น ที่พูดภาษาแมนดารินได้จริง ๆ แม้ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา ได้ดำเนินความพยายามส่งเสริมการใช้ภาษาแมนดารินอย่างเต็มที่เพื่อสร้างเอกลักษณ์ในสังคมของจีน ซึ่งมีประชากรมากที่สุดในโลก โดยที่ผ่านมา ทางการได้เข้มงวดการใช้ภาษาถิ่นของประชาชน แต่ปัจจุบัน ได้ผ่อนคลายในระดับหนึ่ง
หนังสือพิมพ์ไชน่า เดลี่ ของทางการจีนระบุว่านอกจากการสำรวจภาษาถิ่นแล้ว ยังจะมีการศึกษาอิทธิพลของภาษาถิ่นที่มีต่อภาษาแมนดาริน ซึ่งเป็นภาษาทางราชการ พร้อมทำฐานข้อมูลบันทึก ทั้งนี้ จากคำสัมภาษณ์ของนายหลี่อี้ว์หมิง รองประธานกรรมาธิการกิจการด้านภาษาของรัฐ
ทั้งนี้ การสำรวจจะมุ่งไปที่ภาษาเซี่ยงไฮ้ เนื่องจากเป็นภาษาถิ่นที่ชาวจีนนิยมพูดกันมากที่สุดภาษาหนึ่ง โดยพบว่า คนหนุ่มสาวใช้ภาษาถิ่นนี้ สื่อสารกันทางอินเตอร์เน็ต และเนื่องจากการขยายตัวของวงศัพท์ จึงจะมีการทำให้เป็นมาตรฐาน และส่งเสริมให้เป็นภาษาท้องถิ่นอีกภาษาหนึ่งต่างหาก
อย่างไรก็ตาม มิได้มีการระบุว่า ภาษาถิ่นใดบ้างที่ใกล้จะสูญหาย แต่ปัจจุบัน มีบางภาษาที่พูดกันในหมู่ชนกลุ่มน้อยกลุ่มเล็ก ๆ เช่น ภาษาเฮ่อเจ๋อ ส่วนภาษาออโรเควน ปัจจุบัน มีผู้พูดกันน้อยมาก เนื่องจากคนรุ่นหนุ่มสาว ได้กลายเป็นคนจีนไปแล้ว
นักภาษาศาสตร์กล่าวว่า หลายภาษาที่รัฐบาลจีนเรียกว่า ภาษาถิ่นนั้น เช่น ภาษาเซี่ยงไฮ้ และภาษากวางตุ้ง จริง ๆ แล้ว เป็นคนละภาษากัน เมื่อพิจารณาจากหลักไวยากรณ์ และรูปศัพท์ ซึ่งมีความแตกต่างกัน นอกจากนั้น ในขณะที่ภาษาเหล่านี้ ใช้ระบบการเขียนร่วมกัน แต่โดยทั่วไปแล้ว ก็ไม่สามารถเข้าใจร่วมกันได้
รัฐบาลจีนประเมินว่า มีประชากรเพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้น ที่พูดภาษาแมนดารินได้จริง ๆ แม้ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา ได้ดำเนินความพยายามส่งเสริมการใช้ภาษาแมนดารินอย่างเต็มที่เพื่อสร้างเอกลักษณ์ในสังคมของจีน ซึ่งมีประชากรมากที่สุดในโลก โดยที่ผ่านมา ทางการได้เข้มงวดการใช้ภาษาถิ่นของประชาชน แต่ปัจจุบัน ได้ผ่อนคลายในระดับหนึ่ง