xs
xsm
sm
md
lg

น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ “สมเด็จย่า” ผ่านนิทรรศการ “ในความคิด...คำนึง”

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือ สมเด็จย่า ในวันที่ 21 ตุลาคมของทุกปี บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด และศูนย์การค้าสยามพารากอน ร่วมกับ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ และบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) เชิญร่วมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จย่า ที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่า ในนิทรรศการ “คิดถึง…สมเด็จย่า” ครั้งที่ 23 ภายใต้ชื่องาน “In Her Thoughts” หรือ “ในความคิด...คำนึง” ในวันที่ 21-25 ต.ค. 63 ณ ไลฟ์สไตล์ ฮอลล์ ชั้น 2 สยามพารากอน โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานเปิดงาน ในวันที่ 23 ต.ค. 63 เวลา 09.00 น.


นิทรรศการครั้งนี้นำเสนอในรูปแบบเส้นเวลา (Timeline) นับตั้งแต่ปีแรกที่ประสูติ จนกระทั่งสวรรคต และพระราชปณิธานที่มีผู้สานต่อผ่านมูลนิธิหรือองค์กรต่างๆ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ดังนี้

ท่านผู้หญิงบุตรี  วีระไวทยะ และ ศ.ดร.พนัส  สิมะเสถียร
ช่วงที่ 1 พ.ศ. 2443-2460 ชีวิตในวัยเยาว์ เรียนรู้ เติบโตในชุมชนเล็กๆ ใกล้วัดอนงคาราม ได้เป็นข้าหลวงในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ (กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร) กระทั่งได้ร่ำเรียนในฐานะนักเรียนพยาบาล โรงเรียนแพทย์ผดุงครรภ์และหญิงพยาบาลแห่งศิริราช และมีโอกาสได้รับทุนการศึกษาวิชาพยาบาล ไปศึกษาต่อ ณ สหรัฐอเมริกา

เกตุวลี นภาศัพท์, พาสินี ลิ่มอติบูลย์, ศ.ดร.พนัส สิมะเสถียร, คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม และ ชฎาทิพ จูตระกูล
ช่วงที่ 2 พ.ศ. 2460-2466 ชีวิตของการเป็นนักเรียนทุนในต่างประเทศ ทำให้มีโอกาสเรียนรู้สิ่งใหม่ ตลอดทั้งเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์ ศิลปวัฒนธรรม และฝึกทักษะด้านภาษา และจุดเปลี่ยนสำคัญในชีวิตนักเรียนทุนพยาบาล ณ สหรัฐอเมริกา คือการได้พบและอภิเษกสมรสกับสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ และสร้าง “ครอบครัวมหิดล”

ม.ล. รดีเทพ เทวกุล, ฐาปน สิริวัฒนภักดี, ศ.ดร.พนัส สิมะเสถียร และประวิช สุขุม
ช่วงที่ 3 พ.ศ. 2467-2475 ชีวิตครอบครัวเริ่มได้ไม่นานก็ประสบกับความสูญเสีย สมเด็จฯ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ สิ้นพระชนม์ นับจากนั้น แม้การอภิบาลพระโอรสธิดาจะดำเนินไปท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสังคมและประเทศ แต่เจ้านายเล็กๆ ก็เติบโตอย่างมีสุขอนามัยที่สมบูรณ์ ณ วังสระปทุม

นที เกวลกุล, ท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ และบุรณี รัชไชยบุญ
ช่วงที่ 4 พ.ศ. 2476-2514 ช่วงเวลาที่ได้ปฏิบัติพระราชภารกิจยิ่งใหญ่ในการถวายพระอภิบาลและอบรมพระโอรสธิดา และทุกพระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปศึกษาต่อต่างประเทศ นอกจากนั้น สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ ทรงใช้เวลาศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม ทั้งวิชาปรัชญา ภาษาสันสกฤต และบาลี อย่างจริงจัง ซึ่งนำเสนอผ่านสมุดเลกเชอร์ลายพระหัตถ์ และตำราวิชาต่างๆ ที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงสนพระราชหฤทัย

ม.ร.ว.ดิศนัดดา ดิศกุล และคุณหญิงพวงร้อย ดิศกุล ณ อยุธยา พร้อมด้วยสมาชิกครอบครัว
ช่วงที่ 5 พ.ศ. 2515-2538 นอกจากพระราชกรณียกิจที่ทรงปฏิบัติด้วยความเมตตากรุณา ส่งไปถึงอาณาประชาราษฎร์ทุกหมู่เหล่าแล้ว ในยามที่ทรงว่างหรือภายหลังการทรงงาน ก็จะทรงพักพระอิริยาบถทรงงานอดิเรกที่โปรด ด้วยทรงตระหนักว่า “เวลาเป็นของมีค่า” ทั้งเรื่องงานปั้น งานปักผ้า งานดอกไม้แห้ง งานวาดรูปบนเครื่องกระเบื้องเซรามิก และความสนพระราชหฤทัยเกี่ยวกับดาราศาสตร์ โปรดให้ตกแต่งเพดานพระตำหนักดอยตุงเป็นภาพสุริยจักรวาล กลุ่มดาวจักรราศี และกลุ่มดาวฤกษ์สำคัญ ซึ่งจำลองมาให้ชมภายในนิทรรศการครั้งนี้ด้วย ตราบจนถึงวาระสุดท้ายของพระชนม์ชีพ เมื่อเสด็จสวรรคต ทรงเป็น “สมเด็จย่า” ที่ชาวไทยเคารพเทิดทูน และผูกพันมาจนตราบทุกวันนี้

ท่านผู้หญิงอิศรา บุรณศิริ
ช่วงที่ 6 พ.ศ. 2539-ปัจจุบัน พระราชปณิธานยังคงได้รับการสืบสานผ่านหน่วยงานและองค์กรต่างๆ มาจนถึงปัจจุบัน เช่น มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ และโครงการพัฒนาดอยตุงฯ รวมทั้งการดำเนินการเพื่อแก้ปัญหาความยากจน ยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชน

พล.ต.อ.สมศักดิ์ แขวงโสภา, พล.ต.ต.เธียรชัย เอี่ยมรักษา และ พล.ต.ท.นิพนธ์ ศิริวงศ์

ม.ล.อรดิศ สนิทวงศ์, อารยา จิตตโรภาส, มยุรี ชัยพรหมประสิทธิ์ และจิตติมา วรรธนะสิน










กำลังโหลดความคิดเห็น