ในระหว่างที่พวกเราส่วนใหญ่ “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” อยู่นี้ ทำให้เราได้มีเวลาหันมาใส่ใจดูแลสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืนมากขึ้นผ่านพฤติกรรมในชีวิตประจำวันภายในบ้าน มาดูกันว่าเราสามารถเริ่มต้นดูแลสิ่งแวดล้อมได้ง่ายๆ ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 นี้ได้อย่างไรบ้าง
1. ลดขยะจากภาชนะ และบรรจุภัณฑ์
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่ากิจกรรมยอดฮิตช่วงกักตัวอยู่บ้านในวิกฤตการณ์โควิด-19 คงหนีไม่พ้นฟูดดีลิเวอรี ซึ่งแน่นอนว่าสิ่งที่ตามมาคือขยะจากภาชนะและพัสดุ
หนึ่งออเดอร์ของการสั่งอาหารดีลิเวอรีอาจประกอบไปด้วยภาชนะมากมาย ทั้งกล่องพลาสติกใส่อาหาร ถุงพลาสติก ซองแยกน้ำจิ้ม และช้อน-ส้อมพลาสติก แต่เราสามารถลดการสั่งอาหารดีลิเวอรีได้ด้วยการทำกับข้าวรับประทานเองที่บ้านซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิธีง่ายๆ ที่ช่วยลดจำนวนขยะจากกล่องใส่อาหารดีลิเวอรี แถมยังเป็นกิจกรรมในการสร้างช่วงเวลาดีๆ ร่วมกันภายในครอบครัวให้ผ่อนคลายในช่วงกักตัวอยู่บ้านอีกด้วย หรือหากเพื่อนๆ มีความจำเป็นต้องสั่งอาหารก็สามารถสั่งครั้งเดียวแต่สามารถรับประทานได้หลายมื้อ หรือปฏิเสธการรับช้อน-ส้อมพลาสติกจากร้านค้าได้
2. แยกประเภทของขยะ
การคัดแยกขยะเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยให้ขยะไม่ปนกัน และง่ายต่อการนำไปจัดการอย่างถูกต้องและรีไซเคิล นอกจากนี้ยังช่วยลดภาระให้แก่พนักงานเก็บขยะที่นอกจากจะไม่ได้หยุดกักตัวอยู่บ้านเฉกเช่นคนทั่วไป ซึ่งการปฏิบัติงานอาจทำให้เจ้าหน้าที่เก็บขยะมีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อจากการจัดการขยะในช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 อีกด้วย
เพื่อนๆ สามารถเริ่มต้นได้ง่ายๆ ด้วยการแยกขยะออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1) ขยะเปียก เช่น เศษอาหาร 2) ขยะย่อยสลายไม่ได้ เช่น กล่องโฟม และถุงพลาสติกปนเปื้อนอาหาร 3) ขยะรีไซเคิล เช่น กระดาษ ขวดแก้ว และขวดพลาสติก และ 4) ขยะมีพิษ เช่น หน้ากากอนามัยที่ผ่านการใช้แล้ว และถ่านไฟฉาย เป็นต้น
3. Work from Home ลดมลพิษทางอากาศ
ในช่วงการระบาดของโควิด-19 หลายบริษัทให้พนักงานทำงานที่บ้าน (Work from Home) ซึ่งทำให้ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ได้ทำงานในสภาพแวดล้อมที่กำหนดเอง อีกทั้งยังส่งผลให้มลพิษทางอากาศที่สำคัญบางตัว อาทิ ไนโตรเจนไดออกไซด์ และคาร์บอนไดออกไซด์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้คุณภาพของอากาศดีขึ้นชัดเจน
4. ลดการใช้พลังงาน
การปิดและถอดสวิตช์เราเตอร์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าในช่วงเวลาที่ไม่ได้ใช้งาน ตลอดจนการไม่เปิดตู้เย็นบ่อยเกินไป รวมถึงการตั้งอุณหูมิแอร์ให้อยู่ที่ 25-27 องศา ก็สามารถลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าภายในบ้านลงได้ อีกวิธีหนึ่งคือการใส่เสื้อผ้าที่โปร่งสบาย ระบายเหงื่อ และไม่ยับง่ายหลังซัก ก็จะช่วยให้เราอยู่บ้านได้อย่างสบายและไม่ต้องรีดผ้ามากนัก แถมยังช่วยประหยัดค่าไฟได้อีกทางหนึ่งด้วย
5. ใช้น้ำอย่างรู้ค่า
ภัยแล้งก็เป็นปัญหาใหญ่อีกเรื่องของเมืองไทยในขณะนี้ เราทุกคนสามารถมีส่วนช่วยลดการสิ้นเปลืองทรัพยากรน้ำได้ง่ายๆ เพียงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประจำวันเล็กๆ น้อยๆ เพียงท่องว่า “ฝักบัวดีกว่า ภาชนะดีกว่า ปิดดีกว่า” ทุกครั้งที่เราใช้น้ำ ‘ฝักบัวดีกว่า’ หมายถึง การอาบน้ำ และรดน้ำต้นไม้ด้วยฝักบัว ประหยัดน้ำกว่าการอาบน้ำในอ่างหรือตักอาบ หรือการรดน้ำต้นไม้ด้วยสายยาง ส่วน ‘ภาชนะดีกว่า’ หมายถึงเราควรรองน้ำใส่ภาชนะเมื่อแปรงฟัน และล้างจานแทนการเปิดก๊อกน้ำทิ้งไว้ และสุดท้าย ‘ปิดดีกว่า’ คือปิดก๊อกน้ำให้สนิททุกครั้งที่ไม่ใช้งาน
ด้วย 5 วิธีง่ายๆ เพียงเท่านี้ก็ทำให้การอยู่บ้านทั้งวันของเรานอกจากจะช่วยชาติให้พ้นภัยโควิด-19 แล้ว ยังเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดี การทำงานไม่สะดุด รวมถึงรักษาสิ่งแวดล้อมอันเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งนับเป็นวาระระดับนานาชาติที่องค์กรต่างๆ ให้ความสำคัญ โดยเฉพาะ DJSI ดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (Dow Jones Sustainability Indices) ที่นำเรื่องนี้มาประเมินผลควบคู่กับเรื่องประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจของบริษัทชั้นนำระดับโลก ซึ่ง S&P Dow Jones Indices และ RobecoSAM ได้ร่วมกันจัดทำขึ้น โดยเชิญบริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่ทั่วโลกกว่า 3,400 แห่งใน 60 อุตสาหกรรมเข้าร่วมการประเมินผล ซึ่งในประเทศไทยมีผู้ประกอบการหลายรายที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นแบรนด์ที่ดำเนินธุรกิจตามแนวทางแห่งความยั่งยืน แต่สำหรับผู้ให้บริการโทรคมนาคมของไทยมีเพียงรายเดียว คือ กลุ่มทรู ที่ติดอันดับกลุ่มดัชนีความความยั่งยืนระดับโลก 3 ปีซ้อน และเป็นอันดับหนึ่งในหมวดธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมของโลกติดต่อกันเป็นปีที่ 2 อันสะท้อนความมุ่งมั่นในการร่วมคืนสมดุลกับโลกที่ยั่งยืน…ไปด้วยกัน
1. ลดขยะจากภาชนะ และบรรจุภัณฑ์
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่ากิจกรรมยอดฮิตช่วงกักตัวอยู่บ้านในวิกฤตการณ์โควิด-19 คงหนีไม่พ้นฟูดดีลิเวอรี ซึ่งแน่นอนว่าสิ่งที่ตามมาคือขยะจากภาชนะและพัสดุ
หนึ่งออเดอร์ของการสั่งอาหารดีลิเวอรีอาจประกอบไปด้วยภาชนะมากมาย ทั้งกล่องพลาสติกใส่อาหาร ถุงพลาสติก ซองแยกน้ำจิ้ม และช้อน-ส้อมพลาสติก แต่เราสามารถลดการสั่งอาหารดีลิเวอรีได้ด้วยการทำกับข้าวรับประทานเองที่บ้านซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิธีง่ายๆ ที่ช่วยลดจำนวนขยะจากกล่องใส่อาหารดีลิเวอรี แถมยังเป็นกิจกรรมในการสร้างช่วงเวลาดีๆ ร่วมกันภายในครอบครัวให้ผ่อนคลายในช่วงกักตัวอยู่บ้านอีกด้วย หรือหากเพื่อนๆ มีความจำเป็นต้องสั่งอาหารก็สามารถสั่งครั้งเดียวแต่สามารถรับประทานได้หลายมื้อ หรือปฏิเสธการรับช้อน-ส้อมพลาสติกจากร้านค้าได้
2. แยกประเภทของขยะ
การคัดแยกขยะเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยให้ขยะไม่ปนกัน และง่ายต่อการนำไปจัดการอย่างถูกต้องและรีไซเคิล นอกจากนี้ยังช่วยลดภาระให้แก่พนักงานเก็บขยะที่นอกจากจะไม่ได้หยุดกักตัวอยู่บ้านเฉกเช่นคนทั่วไป ซึ่งการปฏิบัติงานอาจทำให้เจ้าหน้าที่เก็บขยะมีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อจากการจัดการขยะในช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 อีกด้วย
เพื่อนๆ สามารถเริ่มต้นได้ง่ายๆ ด้วยการแยกขยะออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1) ขยะเปียก เช่น เศษอาหาร 2) ขยะย่อยสลายไม่ได้ เช่น กล่องโฟม และถุงพลาสติกปนเปื้อนอาหาร 3) ขยะรีไซเคิล เช่น กระดาษ ขวดแก้ว และขวดพลาสติก และ 4) ขยะมีพิษ เช่น หน้ากากอนามัยที่ผ่านการใช้แล้ว และถ่านไฟฉาย เป็นต้น
3. Work from Home ลดมลพิษทางอากาศ
ในช่วงการระบาดของโควิด-19 หลายบริษัทให้พนักงานทำงานที่บ้าน (Work from Home) ซึ่งทำให้ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ได้ทำงานในสภาพแวดล้อมที่กำหนดเอง อีกทั้งยังส่งผลให้มลพิษทางอากาศที่สำคัญบางตัว อาทิ ไนโตรเจนไดออกไซด์ และคาร์บอนไดออกไซด์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้คุณภาพของอากาศดีขึ้นชัดเจน
4. ลดการใช้พลังงาน
การปิดและถอดสวิตช์เราเตอร์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าในช่วงเวลาที่ไม่ได้ใช้งาน ตลอดจนการไม่เปิดตู้เย็นบ่อยเกินไป รวมถึงการตั้งอุณหูมิแอร์ให้อยู่ที่ 25-27 องศา ก็สามารถลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าภายในบ้านลงได้ อีกวิธีหนึ่งคือการใส่เสื้อผ้าที่โปร่งสบาย ระบายเหงื่อ และไม่ยับง่ายหลังซัก ก็จะช่วยให้เราอยู่บ้านได้อย่างสบายและไม่ต้องรีดผ้ามากนัก แถมยังช่วยประหยัดค่าไฟได้อีกทางหนึ่งด้วย
5. ใช้น้ำอย่างรู้ค่า
ภัยแล้งก็เป็นปัญหาใหญ่อีกเรื่องของเมืองไทยในขณะนี้ เราทุกคนสามารถมีส่วนช่วยลดการสิ้นเปลืองทรัพยากรน้ำได้ง่ายๆ เพียงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประจำวันเล็กๆ น้อยๆ เพียงท่องว่า “ฝักบัวดีกว่า ภาชนะดีกว่า ปิดดีกว่า” ทุกครั้งที่เราใช้น้ำ ‘ฝักบัวดีกว่า’ หมายถึง การอาบน้ำ และรดน้ำต้นไม้ด้วยฝักบัว ประหยัดน้ำกว่าการอาบน้ำในอ่างหรือตักอาบ หรือการรดน้ำต้นไม้ด้วยสายยาง ส่วน ‘ภาชนะดีกว่า’ หมายถึงเราควรรองน้ำใส่ภาชนะเมื่อแปรงฟัน และล้างจานแทนการเปิดก๊อกน้ำทิ้งไว้ และสุดท้าย ‘ปิดดีกว่า’ คือปิดก๊อกน้ำให้สนิททุกครั้งที่ไม่ใช้งาน
ด้วย 5 วิธีง่ายๆ เพียงเท่านี้ก็ทำให้การอยู่บ้านทั้งวันของเรานอกจากจะช่วยชาติให้พ้นภัยโควิด-19 แล้ว ยังเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดี การทำงานไม่สะดุด รวมถึงรักษาสิ่งแวดล้อมอันเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งนับเป็นวาระระดับนานาชาติที่องค์กรต่างๆ ให้ความสำคัญ โดยเฉพาะ DJSI ดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (Dow Jones Sustainability Indices) ที่นำเรื่องนี้มาประเมินผลควบคู่กับเรื่องประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจของบริษัทชั้นนำระดับโลก ซึ่ง S&P Dow Jones Indices และ RobecoSAM ได้ร่วมกันจัดทำขึ้น โดยเชิญบริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่ทั่วโลกกว่า 3,400 แห่งใน 60 อุตสาหกรรมเข้าร่วมการประเมินผล ซึ่งในประเทศไทยมีผู้ประกอบการหลายรายที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นแบรนด์ที่ดำเนินธุรกิจตามแนวทางแห่งความยั่งยืน แต่สำหรับผู้ให้บริการโทรคมนาคมของไทยมีเพียงรายเดียว คือ กลุ่มทรู ที่ติดอันดับกลุ่มดัชนีความความยั่งยืนระดับโลก 3 ปีซ้อน และเป็นอันดับหนึ่งในหมวดธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมของโลกติดต่อกันเป็นปีที่ 2 อันสะท้อนความมุ่งมั่นในการร่วมคืนสมดุลกับโลกที่ยั่งยืน…ไปด้วยกัน