xs
xsm
sm
md
lg

ปวดศีรษะ 4 สไตล์...อันตรายที่ไม่ควรมองข้าม

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


>>คุณเคยรู้สึกปวดศีรษะแบบไม่มีสาเหตุไหม นั่นอาจบ่งชี้ถึงโรคร้ายแรง เช่น เลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมอง เส้นเลือดในสมองผิดปกติ หรือแม้แต่สมองขาดเลือด วันนี้จะมาแนะนำหนทางช่วยให้ทราบถึงต้นเหตุการปวด และแนวทางป้องกันก่อนเกิดโรคร้ายที่คุณเองก็คาดไม่ถึง

แบบไหนถึงเรียก ‘ปวด’ จริงจัง

นพ. บัญชา เสียมหาญ อายุรแพทย์ระบบประสาท ศูนย์ระบบประสาทสมองและไขสันหลัง โรงพยาบาล พญาไท 2เผยว่า “อาการปวดศีรษะส่วนใหญ่อาจไม่ได้เกิดจากโรคร้ายแรง แต่ถ้ามีอาการต่อไปนี้ ควรรีบมาพบแพทย์เช่น อยู่ดีๆ ก็ปวดศีรษะรุนแรงทันทีทันใด หรือเวลาปวดทุกครั้งจะปวดมากขึ้นเรื่อยๆ และไม่ตอบสนองต่อการรักษาใดๆ รวมถึงอาการปวดศีรษะเป็นไข้ร่วมกับต้นคอแข็ง และสุดท้ายมักเกิดร่วมกับอาการทางระบบประสาท อย่างแขนขาอ่อนแรง สับสน มึน งง บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง เป็นต้น”

4 ปวด 4 สไตล์ อันตรายต่างกัน

อาการปวดศีรษะมี 4 แบบ ที่จะนำไปสู่ภาวะแห่งโรคที่ต่างกันคือ ปวดศีรษะแบบตึงตัว (Tension Type Headache) พบบ่อยที่สุด คนทั่วไปก็สามารถเป็นได้ เกิดจากความเครียด เหนื่อย ทำงานหนัก จะปวดแบบแน่นๆ รัดๆ ทั้งสองข้าง มีความรุนแรงน้อยถึงปานกลาง

ปวดศีรษะไมเกรน (Migraine Headache) พบบ่อยในวัยทำงาน ปวดรุนแรงปานกลางถึงมาก มักปวดนาน 4 ชม.ขึ้นไป ปัจจัยอย่าง แสง เสียง สี และกลิ่นจะยิ่งเป็นตัวกระตุ้นให้คลื่นไส้อาเจียน

ปวดศีรษะแบบกลุ่ม (Cluster Headache) จะพบในชายมากกว่าหญิง ปวดบริเวณรอบดวงตาหรือขมับข้างใดข้างหนึ่ง รุนแรงจนถึงกระสับกระส่าย มีอาการระบบประสาทร่วมด้วย เช่น ตาแดง น้ำตาไหล มีน้ำมูก และเหงื่อออก เป็นต้น

ปวดศีรษะแบบเรื้อรังทุกวัน (Choronic Daily Headache) จะปวดเป็นเวลานาน อย่างน้อย 15 วันต่อเดือน ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากการรับประทานยาเกินขนาด หรือกินยาผิดประเภท หรือไม่ก็เกิดจากภาวะไซนัสอักเสบ อาการเกี่ยวกับหลอดเลือดในสมอง หรือมะเร็งก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้ปวดเรื้อรัง ฉะนั้น ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที

พฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้ปวด

การเคี้ยวหมากฝรั่ง รับประทานอาหารหวาน เช่น ช็อกโกแลต ชีส หรืออยู่ในที่ที่มีอุณหภูมิสูงและแดดจ้า สิ่งเหล่านี้คือตัวกระตุ้นที่ทำให้ปวดศีรษะ แต่เราสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ดังนี้

1. นวดบริเวณขมับ เพื่อบรรเทาอาการปวด ซึ่งจะช่วยให้ผ่อนคลายเฉพาะจุดที่ปวด และทำให้อาการปวดเบาบางลง

2. อยู่ในแสงไม่จ้า เพราะบางครั้งแสงไฟก็เป็นตัวกระตุ้นให้ปวดศีรษะ จากเดิมที่ปวดอยู่แล้วก็จะปวดมากขึ้น ลองปิดไฟแล้วเปิดเฉพาะดวงที่จำเป็น

ก่อนที่โรคร้ายจะมาเยือนไปตรวจเช็คได้ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2 กับแพกเกจ “ตรวจคัดกรองปวดศีรษะ” ในแคมเปญ “ไม่อยากให้ใครป่วยมาโรงพยาบาล” ซึ่งมีบริการตรวจสุขภาพรายการอื่นๆ 30 แพกเกจ ครอบคลุมทุกช่วงวัยชีวิต วันนี้-30 สิงหาคม ศกนี้
กำลังโหลดความคิดเห็น