xs
xsm
sm
md
lg

“เรื่องเล่าจากวังวรดิศ” ผลงานน้ำหมึกเล่มแรก ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ท่านหญิง (ม.จ.) ประภาพันธ์, พล.ร.อ. นพ. ม.จ.ปุสาณ สวัสดิวัฒน์, คุณเหลน
ายหลังได้รับคำเชิญจาก ดนัย จันทร์เจ้าฉาย เจ้าพ่อวงการหนังสือ สนพ.ดีเอ็มจี ทำให้ “ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล” หรือ “คุณเหลน”รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ขอใช้เวลาว่างจากงานบริหารประเทศหันมาจับปากกาเพื่อเล่าเรื่องราว“วังวรดิศ” ที่ตนเองอาศัยอยู่ผ่านหนังสือซึ่งเป็นผลงานเขียนเล่มแรกในชีวิต “เรื่องเล่าจากวังวรดิศ” โดยเปิดตัวหนังสือไปเมื่อเร็วๆ นี้ ณ วังวรดิศ กรุงเทพฯ

นงานได้รับเกียรติจาก ท่านหญิง (ม.จ.) ประภาพันธุ์ ภาณุพันธุ์ กรโกสียกาจ เสด็จมาร่วมงาน ร่วมด้วยเจ้าศรีรัตน์ ณ ลำปาง, เจ้าวรจักร์ ณ เชียงตุง, เจ้าภาคินัย ณ เชียงใหม่, เจ้าพงศ์เดช ณ ลำพูน และ พล.ร.อ.นพ.ม.จ.ปุสาณ สวัสดิวัตน์ ตลอดจนข้าราชการชั้นผู้ใหญ่มาให้กำลังใจ อาทิ ชุติมา บุณยประภัศร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ และ ศ.ดร.อภินันท์ โปษยานนท์ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นต้น

หนังสือ “เรื่องเล่าจากวังวรดิศ” เป็นงานเขียนที่เล่าเรื่องราวของวังวรดิศ และการใช้ชีวิตในวังของ “คุณเหลน” ผู้สืบทอดความดีงามต่อจากบรรพบุรุษ นอกจากนี้ ยังถ่ายทอดเรื่องราวคำสอนของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ หรือสมเด็จทวดของหม่อมหลวงปนัดดา ต้นราชสกุลดิศกุล ซึ่งคำสอนของสมเด็จทวด ทุกวันนี้ยังถูกถ่ายทอดไปสู่ลูกหลานรุ่นต่อรุ่นโดยหม่อมหลวงปนัดดาอย่างไม่ขาดตกบกพร่อง


เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 4 ภาค คือ 1. มรดกคำสอน 2. เรื่องเล่าจากวังวรดิศ 3. บุคคล ผู้เป็นต้นแบบสุภาพบุรุษจุฑาเทพ และ 4. รวมภาพถ่ายจากวังวรดิศ ซึ่งทุกภาคเต็มไปด้วยเนื้อหาที่เข้มข้นและภาพประกอบที่สวยงาม


เจ้าของผลงาน ม.ล.ปนัดดา เล่าว่า “หนังสือเล่มนี้ถือเป็นหนังสือที่ถ่ายทอดเรื่องราวของกระผมได้อย่างละเอียดที่สุด ซึ่งแต่ละหัวข้อถูกกลั่นกรองออกมาอย่างเหมาะสม อย่าง มรดก คำสอนถือเป็นคำสอนที่สมเด็จทวดได้ถ่ายทอดจากรุ่นคุณปู่ สู่คุณพ่อ จนกระทั่งถึงตัวกระผมเองก็ได้นำคำสอนเหล่านี้ถ่ายทอดไปยังรุ่นลูก (คุณวรดิศ ดิศกุล ณ อยุธยา)”


ซึ่งหนึ่งในคำสอนของสมเด็จทวดที่ ม.ล.ปนัดดา ได้รับการปลูกฝัง เป็นพระดำรัสที่สมเด็จทวดได้ทรงถ่ายทอดให้กับคนในครอบครัว ซึ่งหม่อมหลวงปนัดดาเองก็ได้นำคำสอนของสมเด็จทวดไปใช้สอนบุคคลทั้งผู้ใต้บังคับบัญชา มิตรสหาย ในแวดวงราชการอยู่เสมอ และได้บอกเล่าแก่บุตรชายด้วยเช่นกัน นั่นคือ “ข้าราชการมิใช่อภิสิทธิ์ชน หากแต่จะต้องบำเพ็ญตนให้เป็นแบบอย่างของคนดีแก่สังคม” คำสอนดังกล่าว หากทุกคนได้ฟังและประพฤติปฏิบัติตามย่อมนำมาซึ่งความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน


นอกจากคำสอนที่ ม.ล.ปนัดดาได้รับถ่ายทอดจากบรรพบุรุษแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ได้รับการถ่ายทอดและได้สะท้อนความเป็นตัวตนของหม่อมหลวงปนัดดาได้เป็นอย่างดี ก็คือ การอนุรักษ์การแต่งกายผ้าไทย

“มีหลายท่านสอบถามกระผมเรื่องการแต่งกายว่า เหตุใดจึงหันมาอนุรักษ์การแต่งกายเช่นนี้ ที่มาของการ แต่งกายของกระผม คือ เมื่อครั้งสมเด็จทวดยังทรงดำรงพระชนม์ชีพ พระองค์ก็โปรดที่จะสวมใส่ชุดไทยลักษณะคล้ายๆ แบบนี้เช่นกัน แต่สมัยนั้นเรียกว่าชุด“ราชปะแตน” และกระผมยังมี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นแบบอย่างการแต่งกายให้กับกระผม ขณะที่ท่านดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ท่านใส่เสื้อคอตั้ง แขนสั้นบ้าง แขนยาวบ้าง เป็นการแสดงถึงเอกลักษณ์แบบไทยๆ ให้ชาวต่างชาติได้เห็น นอกจากนี้ คุณพ่อของกระผมก็ชอบใส่เสื้อพระราชทานอยู่เสมอๆ เช่นกัน ด้วยความรักและความผูกพันที่มีต่อท่าน อะไรที่คุณพ่อทำ กระผมจะรู้สึกภูมิใจที่ได้กระทำและระลึกถึงท่านทุกครั้งที่ใส่เสื้อพระราชทาน”

หนังสือเล่มนี้ยังได้เล่าถึงเมื่อครั้ง ม.ล.ปนัดดาได้เป็นครูของสุภาพบุรุษจุฑาเทพ ครั้งนั้นหม่อมหลวงปนัดดาได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องกิริยามารยาทของการเป็นราชสกุล และเมื่อเจอคำถามที่ว่า “รู้สึกอย่างไรที่เป็นราชสกุล” ม.ล.ปนัดดาได้ยกคำสอนของสมเด็จทวดที่ทรงเคยสอนไว้ว่า


“บุคคลที่เป็นเจ้าจริงๆ แล้วจะต้องเป็นหม่อมเจ้าขึ้นไป เช่น พระองค์เจ้า หม่อมเจ้า แต่อย่างคุณพ่อและ ตัวกระผมเป็นหม่อมราชวงศ์และหม่อมหลวง ไม่ได้ถือว่าเป็นเจ้า เรียกว่าเป็นผู้สืบสานความดีของบรรพบุรุษ ดังนั้น อะไรที่เป็นคุณงามความดี จะต้องมีอยู่ในใจเราเสมอ ไม่คดโกง ไม่เอาเปรียบผู้คน”
ครอบครัวดิสกุลเล่าเรื่องของวังวรดิส
ชนิตรนันท์ จันทร์เจ้าฉาย, สรีพัฒน์ อินทรศิริ, ดนัย จันทร์ เจ้าฉาย
วีรินทร์ทิรา นาทองบ่อจรัส, สุจินตนา จรรยาทิพย์สกุล
อัมพร ดิศกุล ณ อยุธยา
จิรพรรณ สุกันศรี, ระพีพรรณ สวนสมจิตร
กำลังโหลดความคิดเห็น