By Lady Manager
เป็นข่าวดังครึกโครมต่อเนื่องและอึ้งไปทั้งสังคม เมื่อผู้บงการฆ่า อดีตนักกีฬายิงปืนทีมชาติไทย เอ็กซ์-จักรกฤษณ์ พณิชย์ผาติกรรม คือ แม่ยาย หรือแม่แท้ๆ ของ พญ.นิธิวดี ภู่เจริญยศ หรือ หมอนิ่ม ผู้เป็นภรรยา
ซึ่งข่าวสารที่ออกมานอกจากเน้นนำเสนอในเชิงข่าวอาชญากรรมแล้ว ยังแตกประเด็นไปเรื่องชู้สาว ฮุบมรดก แย่งสมบัติ ฯลฯ โดยลืมไปว่า ต้นตอที่มาของโศกนาฏกรรมครอบครัวนี้มาจากอะไร
ในวันที่หมอนิ่มพาแม่เข้ามอบตัว เธอพูดกับสื่อมวลชนไว้ว่า อยากให้กรณีของตัวเองเป็นบทเรียนกับสังคม อยากให้หยุดการทำร้ายผู้หญิง หยุดความรุนแรงในครอบครัว
ใกล้สิ้นปีอีกไม่กี่วัน เลดี้แมเนเจอร์ขอส่งท้ายด้วยบทวิเคราะห์ของนักวิชาการสตรีหลายท่านหลากสาขาจากงานเสวนา “หยุดความรุนแรงในครอบครัว : บทเรียนจากกรณีหมอนิ่ม” เพื่อกระตุ้นให้พวกเราหันมาตระหนักถึงผลร้ายของการใช้รุนแรงในครอบครัว อันเป็นปัญหาสากลด้วยเวลานี้
:: ดร.ชเนตตี ทินนาม คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
เมื่อเป็นข่าวอาชญากรรม ประเด็นความรุนแรงสิทธิมนุษยชนถูกกลบ!
“รูปแบบการนำเสนอข่าวความรุนแรงผู้หญิง โดยมากจะวนเวียนใน 3 ประเด็นหลัก คือ นำเสนอในมิติข่าวอาชญากรรม และมีแนวโน้มนำเสนอทางออกในมิติกฎหมายเป็นหลัก ถ้าไม่มีภาครัฐหรือมูลนิธิต่างๆ ออกแคมเปญรณรงค์ต่อต้านการใช้ความรุนแรง สื่อก็ไม่สนใจทำข่าว
ถ้ามูลนิธิหญิงชายก้าวไกลไม่ออกมาจัดแคมเปญและแถลงข่าวเรื่องสถิติองค์กรสหประชาชาติที่พบว่าหญิงไทยยอมรับการถูกทำร้ายมากเป็นอันดับ 2 ของโลก สื่อก็คงไม่นำประเด็นนี้มาใส่ในพื้นที่ข่าวหมอนิ่ม
การรายงานข่าวความรุนแรงในผู้หญิงของสื่อมวลชนไทยมีลักษณะตั้งรับมากกว่าเชิงรุก สื่อรอให้เหตุการณ์เกิดขึ้น และเกาะติดในเชิงอาชญากรรมตามการสืบสวนสอบสวนของตำรวจ จากนั้นสื่อก็จะหาทางออกในมุมกฎหมายเท่าที่พอหาได้ในพื้นที่แหล่งข่าว ณ เวลานั้น
วิธีคิดของสื่อในทฤษฎีด้านวารสารศาสตร์ มีการสอนว่าด้วยองค์ประกอบข่าว เป็นตัวนำมาชี้วัดว่าประเด็นไหนในสังคมมีคุณค่าในเชิงข่าว และก็คัดนำเสนอไปยังประชาชนให้รับทราบ
ในทฤษฎีนี้ระบุว่าเรื่องความขัดแย้งกับความมีเงื่อนงำ คือ สิ่งที่มนุษย์ให้ความสนใจ คดีฆ่าสามีจึงเข้าองค์ประกอบตามทฤษฎี สื่อต้องงัดแงะปมขัดแย้ง จากนั้นติดตามแกะรอยเงื่อนงำต่อในแง่มุมต่างๆ
เพราะฉะนั้นเมื่อใช้วิธีคิดเชิงอาชญากรรมมาจับเรื่องความรุนแรงในครอบครัวปุ๊บ เส้นทางการรายงานข่าวประเภทนี้ก็จะอยู่บนเส้นทางการสืบสวนสอบสวนของตำรวจ และการพิจารณาของศาลอย่างแยกไม่ออก ทำให้มุมมองเรื่องสิทธิมนุษยชนทั้งของผู้ถูกกระทำและผู้กระทำหายไป และมิติความรุนแรงในครอบครัวก็จะถูกตัดขาด
ทฤษฎีของโจฮัน กัลตุง (Johan Galtung) อธิบายเรื่องความรุนแรงไว้ 3 ระดับ ความรุนแรงที่มองเห็นได้ง่ายจับต้องได้ง่ายจะอยู่บนยอดสูงสุดของภูเขาน้ำแข็ง เป็นบริเวณที่อยู่เหนือพื้นผิวน้ำเป็นส่วนเล็กๆ ถ้านำมาเชื่อมโยงกับการรายงานข่าวที่ทำให้ข่าวความรุนแรงในครอบครัวเป็นข่าวอาชญากรรม ผู้สื่อข่าวเดินทางมองเหตุการณ์ในจุดที่มองเห็นยอดภูเขาน้ำแข็ง นั่นก็คือ มองที่ความตาย การสูญเสีย ใครคือผู้กระทำความผิด และสุดท้ายก็โยงใยมาถึงเรื่องมรดก ทรัพย์สิน เงินประกัน
แบบนี้เท่ากับมองความรุนแรงในเชิงกายภาพ การสูญเสียในแง่ทรัพย์สินเป็นหลัก นี่คือแก่นการทำงานในเชิงข่าวอาชญากรรมที่ถูกผลิตซ้ำอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน
วิธีคิดตรงนี้จะไปตัดตอนความรุนแรงที่อยู่ใต้ผิวน้ำ ที่เป็นความรุนแรงระดับโครงสร้าง และได้จัดวางสถานะของคนในสังคมนั้นให้มีความไม่เท่าเทียมกัน ในระดับลึกลงไปก็คือ ความรุนแรงเชิงวัฒนธรรม
สังคมทุกวันนี้ทำให้มิติความรุนแรงในครอบครัวเป็นเรื่องที่ไม่ต้องสงสัย ไม่ควรตั้งคำถาม ถือว่าเป็นเรื่องส่วนตัว ดังนั้นจึงไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมการรายงานข่าวทุกวันนี้ถึงทำให้มิติความรุนแรงในครอบครัวหายไป เพราะว่ารายงานจากสุดยอดของภูเขาน้ำแข็งนั่นเอง”
:: รศ.ดร.กฤตยา อาชวนิจกุล สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ผู้หญิงร้อยละ44 ถูกสามีทำร้าย ฐานะการศึกษาสูงก็โดนผัวตึ้บ
“ประเด็นแรก จากสถิติทั่วโลกรวมทั้งในไทย ผู้หญิงถูกทำร้ายเป็นอุบัติการณ์ที่สูงสุดในการทำร้ายครอบครัว ความรุนแรงในครอบครัวมีหลายประเภท แต่ความรุนแรงที่คู่ทำร้ายกัน ผัวทำร้ายเมียเป็นอัตราสูงสุด
ประเด็นที่สอง ความรุนแรงในครอบครัวเกิดขึ้นในสถานที่ๆ เราคิดว่าปลอดภัยมาก และเกิดขึ้นกับคนที่เราไว้ใจมาก เรารักด้วย เพราะฉะนั้นเมื่อเกิดกับผู้หญิงคนไหนก็ตาม ก็ยากที่จะบอกคนอื่น
ประเด็นที่สาม สถิติในไทย ผู้หญิงร้อยละ 44 ถูกทำร้ายจากคู่ของตัวเอง ซึ่งติดอันดับหนึ่งในสิบของโลก ที่เป็นเช่นนี้เพราะผู้หญิงถูกทำร้ายในครอบครัวเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงทุกชนชั้นทุกระดับการศึกษา ทุกอาชีพ ในงานวิจัยจะมีสถิติชนชั้นล่างเยอะหน่อย เพราะพวกเธอพร้อมเปิดเผยเรื่องราว แต่ถ้าเป็นผู้หญิงที่อยู่ในครอบครัวมีฐานะจะไม่ค่อยเป็นข่าว ยกเว้นเกิดกรณีร้ายแรงจริงๆ อย่างกรณีหมอนิ่ม
เราเก็บข่าวเรื่องครอบครัวทั้งหมด 6,000 กว่าข่าวในรอบ 13 ปี พบว่า 60% เป็นความรุนแรงที่ถึงแก่ชีวิต พูดง่ายๆ ถ้าไม่ถึงชีวิตคงไม่เป็นข่าว เพราะผู้หญิงมักไม่แจ้งความ หรือตำรวจไม่รับแจ้ง หรือนักข่าวไม่สนใจ ถ้าไม่ตบตีไม่ดราม่า นักข่าวก็ไม่ลง เพราะฉะนั้นถ้ารุนแรงถึงเลือดถึงเนื้อแล้วถึงเป็นข่าว
พฤติกรรมเริ่มต้นจากการพยายามควบคุมผู้หญิงของตัวเอง สร้างความตึงเครียด เพื่อทำร้ายจิตใจก่อน เช่น ไม่ให้ไปไหน ถ้าไปไหนต้องรายงานตลอดเวลา แล้วก็เริ่มทำร้ายทั้งทางกาย ทางใจ และทางเพศซึ่งเราไม่ค่อยพูดกัน
เมื่อเกิดการทำร้ายแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นถัดมา ก็จะมีการขอโทษ พอขอโทษเสร็จแล้วกลับมาคืนดีสัญญิงสัญญากันใหม่ แล้วก็กลับมาเป็นความรุนแรงอีก เป็นวงจรอุบาทว์ เรื่องนี้เกิดในอเมริกา อังกฤษ อียิปต์ ไทยเหมือนกันหมด
ความรุนแรงเมื่อกระทำแล้ว มันจะไม่หยุด แล้วมันก็ซ้ำซากยาวนานเป็นปีๆ และเริ่มถี่ขึ้น
เมื่อมันถี่ขึ้นเรื่อยๆ และผู้หญิงยอมไม่ได้ ก็จะมีการโต้กลับ การโต้กลับหลายเคสทำให้ถึงกับชีวิต หรือบาดเจ็บสาหัส”
แฉ จัดฉากมอบดอกไม้ หมอนิ่มเอ็กซ์เครื่องมือสร้างภาพ
“เรามีกฎหมายเรื่องรุนแรงในครอบครัว ซึ่งอยู่บนฐานคติให้ครอบครัวอบอุ่น และเชื่อว่าสามีซ่อมได้ กฎหมายและเจ้าหน้าที่ของไทยเราไม่เข้าใจว่าเมื่อเกิดความรุนแรงแล้ว คุณต้องให้ผู้หญิงเป็นศูนย์กลาง เอาผู้หญิงเป็นตัวตั้ง ถามผู้หญิงว่าอยากให้สามีซ่อมไหม หรืออยากกลับไปคืนดีไหม
ภาพคุณเอ็กซ์เอาดอกไม้ไปขอโทษคุณหมอนิ่ม ดิฉันอยากถามว่าคุณหมอนิ่มเต็มใจหรือเปล่า มีสักคำที่รัฐมนตรีถามคุณหมอนิ่มไหมว่าพร้อมไหม หรือคุณหมอนิ่มอยากแยก
ไปดูข่าวไล่เหตุการณ์ตอนที่คุณหมอนิ่มแจ้งความครั้งแรกพูดกับสื่อมวลชน-ไม่อยากไปใช้ชีวิตคู่เหมือนเดิม และตอนมอบดอกไม้ก็พูด-รับนะคะ รับดอกไม้ แต่ไม่ได้อยากจะกลับไปใช้ชีวิตคู่เหมือนเดิม
และเบื้องหลังการมอบดอกไม้ซึ่งทำกันที่สถานีตำรวจสุทธิสาร คุณสุเพ็ญศรี พึ่งโคกสูง มูลนิธิหญิงชาวก้าวไกล ผู้มีโอกาสเข้าไปใกล้ชิดคดีนี้ ถามคุณหมอนิ่มว่า-ยินดีเป็นข่าวทุกครั้งไหม คุณหมอบอก-ไม่ และวันที่มอบดอกไม้ถามจากเจ้าหน้าที่-จัดฉากหรือเปล่า เขาบอก-แน่นอน อยู่ใกล้ตลาดหาง่าย แต่ไม่รู้ใครเป็นคนไปซื้อ
สิ่งที่ดิฉันจะบอกคือ คำถามเหล่านี้มีความสำคัญมากในการคุ้มครอง เพราะกฎเกณฑ์ของการคุ้มครอง หนึ่ง คุณต้องเอาตัวผู้หญิงเป็นจุดศูนย์กลาง สอง คุณต้องไม่ละเมิดซ้ำซาก สิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศไทยคือ เจ้าหน้าที่ชอบทำความดีที่สร้างนรกให้คนอื่น”
:: ทิชา ณ นคร ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนบ้านกาญจนภิเษก
ความรุนแรงเสมือนระเบิดเวลา ชำแหละรมต.ใช้อะไรคิดเสนอตัวไกล่เกลี่ย
“คนทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยชีวิตคู่ ไม่ว่าจะเป็นรมต. หรือเจ้าหน้าที่ เมื่อเข้าไปไกล่เกลี่ยผู้หญิงผู้ชายที่ผ่านความรุนแรงมาไม่รู้กี่ครั้งกี่ปี คนที่รู้สึกว่าพื้นที่ห้องนอนไม่ปลอดภัย โดยเรียกความเป็นผัวเมียกลับคืนมา เท่ากับหยิบยื่นความตายให้กับเขา
ดิฉันอยากตั้งคำถามถึงคุณปวีณา (อดีตรมต.ว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นของมนุษย์) ตอนที่คุณปวีณาเลือกที่จะไกล่เกลี่ยให้กลับเข้าไปอยู่ด้วยกัน ฐานคิดจริงๆ ของคุณปวีณาคืออะไร จริงๆ ก็ทำงานด้านความรุนแรงมาตลอด คุณนึกไม่ออกเลยใช่ไหมว่า เหตุการณ์ที่คนๆ หนึ่งใช้ความรุนแรงได้ มันถูกบ่มมานาน มันไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อคืนนะคะ ดังนั้นเวลาเราจะเข้าไกล่เกลี่ยใครแต่ละคน มันคงต้องเอาข้อมูลมาตั้ง ต้องย้อนกลับไปดูประวัติแต่ละคนด้วย
จากข่าวในวันที่คุณเอ็กซ์ไม่ได้รับการประกันตัวรอบแรก เขาก็หันไปพูดกับแม่เขา-แล้วตอนเป็นเด็ก ใครที่ปล่อยให้ผมถูกทำร้ายโดยไม่ช่วยผม เราก็ถามเด็กบ้านกาญจนาฯเลย ว่าคำพูดนี้สะท้อนอะไร วันคืนที่คุณเอ็กซ์เป็นเด็กความทรงจำของเขาคืออะไร เรามาถอดรหัสกันดู ขนาดเด็กบ้านกาญจนาฯซึ่งไม่ได้เรียนมหาวิทยาลัย เด็กก็ถอดรหัสว่าวันคืนที่ผ่านมาของคุณเอ็กซ์ก็คือความรุนแรง
แน่นอน แสดงให้เห็นว่าความรุนแรงที่อยู่ในผู้ชายคนหนึ่งมันก็เป็นระเบิดเวลาติดตัวเขา เดินทางต่อไปเรื่อยๆ จนกระทั่งมาเจอหมอนิ่ม ซึ่งอาจซ่อนได้ในระดับหนึ่งในช่วงแรก แต่ในที่สุดก็ซ่อนไม่ได้”
ผู้หญิงติดอยู่ในกับดักสังคม ผัวเดียว ลูกขาดพ่อไม่ได้
“คนไทยมีความเชื่อว่าครอบครัวที่ดีต้องมีองค์ประกอบพ่อแม่ลูก และผู้หญิงเองเชื่อว่าเกิดมาต้องมีสามีเดียว เราไม่ได้บอกว่าความเชื่อนี้ถูกหรือผิด แต่ความเชื่อนี้พัฒนาการชีวิตไว้ เหมือนโซ่ตรวนขนาดใหญ่ พอเกิดเหตุการณ์รุนแรงขึ้นมา มันก็เจ็บปวด รู้สึกว่าถูกดูหมิ่นเหยียดหยามซ้ำซาก แต่ละคืนกว่าจะผ่านไปได้ ถ้าจะออกมาจากพื้นที่ตรงนั้นก็จะเจอกับดักอีกสองสามอัน ลูกจะอยู่อย่างไร ลูกไม่มีพ่อลูกจะมีปมด้อยไหม และตัวเองจะกลายเป็นผู้หญิงที่ถูกสามีทิ้ง
เมื่อมิติทางค่านิยมสังคมและวัฒนธรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ใช่แค่ผู้หญิงคิด คนในสังคมส่วนใหญ่ก็คิด
ในบ้านเรามีตั้งหลายคดีพอถึงขั้นศาล ก็พยายามยัดเยียดความเป็นผัวเมียให้กับผัวเมียที่หมดอายุแล้ว มันก็เลยเหลือทางเลือกให้ไม่กี่ทาง การโต้กลับหรือการใช้ศาลเตี้ยก็เป็นหนึ่งในทางเล็กๆ ที่ผู้ถูกกระทำเลือก
ถ้าความเป็นผัวเมียหมดอายุแล้ว หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่อยากเป็นผัวหรือเป็นเมียแล้ว แต่ยังเป็นพ่อแม่ หน้าที่เราก็คือต้องให้สิทธิ์นั้นแก่เขา ไม่ใช่มานั่งโน้มน้าวจูงใจ เจรจา ไกล่เกลี่ย คำถามก็คือ คุณไปอยู่ในห้องนอนกับเขาหรือเปล่า คุณรู้หรือเปล่าว่าเขาถูกเหยียดหยามขนาดไหน คุณรู้หรือเปล่าว่าเขาหวาดกลัวขนาดไหน คุณก็ไม่เคยรู้ แต่คุณอยากรักษาภาพลักษณ์ รักษาตัวเลขการหย่าร้างในสังคมไทย คุณจะรักษาไว้ทำอะไร ในเมื่อถึงที่สุดมันก็จบลงตรงโศกนาฏกรรมอันยิ่งใหญ่
และโศกนาฏกรรมแต่ละเรื่องไม่ได้จบลงตรงแค่ชีวิตของคนๆ นั้น แต่กระเพื่อมไปยังชีวิตอื่นด้วย คำถามที่เราต้องตอบคือ ลูกๆ ของหมอนิ่มกับคุณเอ็กซ์ จะต้องเยียวยากันขนาดไหน เพื่อให้ฉากชีวิตที่ไม่ลงตัวของพ่อแม่ไม่มาเป็นโซ่ตรวนของชีวิตเด็กสองคนนี้อีก
เด็กสองคนนี้จะก้าวข้ามความเลวร้ายนี้ไปได้อย่างไร ยิ่งในโลกที่เต็มไปด้วยการบันทึกข่าวสารง่ายดายแบบนี้ เมื่อเด็กสองคนนี้เติบโตและย้อนกลับมาดูสื่อ”
จนท.ต้องแยกแยะ นำประเด็นความรุนแรงมาร่วมดำเนินการ
ดิฉันคิดว่าเราต้องชัด ไม่ว่าจะเป็นสื่อ เป็นอาจารย์ เป็นตำรวจ และเป็นคนในกระบวนการยุติธรรม เราต้องแยกภาพให้ออกว่าความเป็นผัวเมียสิ้นสุดได้ แต่ความเป็นพ่อแม่ต้องนิรันดร์
จากการทำงานกับเด็กมาเยอะ ก็ดูว่าจริงๆ แล้ว เด็กต้องการเห็นความเป็นผัวเมียของพ่อแม่ หรือความเป็นพ่อแม่ของพ่อแม่ เอาเข้าจริง เด็กก็แยกออกนะว่า เขาไม่สนใจหรอกว่าแต่ละค่ำคืนพ่อแม่ของเขาจะมีเซ็กซ์กันหรือเปล่า เด็กไม่รับรู้และไม่แคร์ แต่เด็กอยากรู้อย่างเดียวว่าผู้หญิงผู้ชายคู่นี้ยังจะเป็นพ่อแม่ของเขาอยู่หรือเปล่า ซึ่งถ้าเราคิดว่าเราทำหน้าที่พ่อแม่ได้ การหย่าร้างหรือการสิ้นสุดความเป็นผัวเมียของผู้หญิงผู้ชายคู่นั้นไม่ได้ทำให้เด็กตายลงหรือทำให้เด็กมีปัญหา
แต่ถ้าตำรวจขึ้นมาแถลงข่าว โดยไม่เคยพูดถึงความรุนแรงในครอบครัวเลย คำเดียวก็ไม่พูดเลยนะ พูดแต่เรื่องอาชญากรรม เราฟังแล้วก็เอะใจ เพราะนั่นหมายความว่า เมื่อกระบวนการยุติธรรมเดินไปเรื่อยๆ นี่ก็คือ คดีอาชญากรรมธรรมดา
คนในกระบวนการยุติธรรมต้องนำสิ่งนี้ขึ้นมาพูดมาอธิบายให้เข้าใจ ว่าถึงที่สุดเรื่องนี้ไม่สามารถแก้ด้วยกฎหมายแท้ๆ อย่างเดียว ในกระบวนการยุติธรรมต้องมีความรู้ความเข้าใจด้านความรุนแรงด้วย ไม่ใช่ตำรวจนายใดก็ได้ลุกขึ้นมาทำหน้าที่ มันต้องการคนที่เข้าใจเฉพาะเจาะจงจริงๆ ว่าความรุนแรงถูกบ่มเพาะมาอย่างนี้นะ ถึงจะมีสติปัญญาเยียวยาแก้ไข ไม่อย่างนั้นมันก็คดีอาชญากรรม ฆ่ากันตาย จบ”
:: นัยนา สุภาพึ่ง ผู้อำนวยการมูลนิธิธีรนาถ กาญจนอักษร
ผู้หญิงถูกโซ่ตรวนค่านิยมพันธนาการ ไม่กล้าแจ้งความแม้ถูกผัวทุบตี
“กฎหมายถูกออกแบบมาสำหรับคนทุกคน ต้องใช้เหมือนกันหมด แต่ในความเป็นจริงของชีวิต คือ คนทุกคนไม่เหมือนกัน เรามีคนที่ตกอยู่ภายใต้วัฒนธรรมประเพณีที่แตกต่างกัน
เมื่อผู้หญิงคนหนึ่งถูกทำร้ายทุบตี ถ้าถูกทำร้ายทุบตีโดยนายก. นายข. เป็นใครไม่รู้ ที่ไม่ได้มีความสัมพันธ์ใดๆ ในครอบครัว ไม่มีโซ่ตรวน ไม่มีกับดัก ผู้หญิงพร้อมที่จะเดินไปโรงพักแจ้งความตำรวจว่าฉันจะเอาเรื่อง แต่ในยามที่เป็นพ่อแม่เป็นผัวเมีย ก็มีโซ่ตรวนว่าผู้หญิงต้องรักษาความเป็นครอบครัวเอาไว้ เพราะฉะนั้นต้องอดทนยอมที่จะอยู่ในพันธนาการกับดักโซ่ตรวน หรือแม้แต่ตัวผู้หญิงเองถ้าจะไปฟ้อง ก็เท่ากับตัวเองไม่ดี เป็นคนทำร้ายครอบครัว
ดิฉันไม่อยากก้าวล่วงคดีหมอนิ่ม เพราะอยู่ในกระบวนการยุติธรรม แต่อยากชี้ให้เห็นว่ากรณีหมอนิ่ม คนเป็นแม่ก็เป็นแม่ ดิฉันก็เป็นแม่ ดิฉันอยากพูดถึงหัวอกคุณแม่ของหมอนิ่ม ถ้าเรารู้สึกถึงผู้หญิงที่ถูกทำร้ายมากขนาดไหน คุณแม่ยิ่งรู้สึกมากกว่าหมอนิ่มหลายเท่า คุณแม่ก็อยู่ในกับดักเหมือนคุณแม่ทั่วไป อยากให้ลูกสาวมีสามีคนเดียว ประสบความสำเร็จในชีวิตที่มีครอบครัวอบอุ่น ความที่อยู่ในวังวนแบบนี้และเห็นลูกถูกทำร้ายทุกวันแต่ก็ยังต้องอยู่ในวังวนนี้ เป็นความทุกข์ขนาดไหน”
กฎหมายความรุนแรงต้องเน้นรับฟังผู้ถูกกระทำ ไม่ใช่ตัดสินจากพยานหลักฐาน
“ปัจจุบันเราใช้พรบ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 ชื่อคุ้มครองผู้ถูกกระทำ แต่ที่แนบท้ายมาระบุว่าไม่ว่าคดีไปถึงไหนก็ตามให้ศาลพยายามไกล่เกลี่ยเพื่อรักษาความสัมพันธ์ของคู่สามีภรรยาไว้ ตอนยกร่างฉบับนี้ เจตนารมณ์ต้องการรักษาสถาบันครอบครัวไว้ และคนที่มีหน้าที่บังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ส่วนใหญ่ มีความเชื่อว่าคำว่า ‘ครอบครัว’ หมายถึงพ่อแม่ลูก ดังนั้นจึงเห็นว่า คนที่มีหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรมมีความพยายามที่จะทำให้คนที่ถูกกระทำความรุนแรง กลับเข้าไปอยู่ในครอบครัวเดิม
ประเด็นคือ พรบ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว ต้องต่างจากกฎหมายทั่วไป เพราะเรื่องความรุนแรงในครอบครัวต้องอยู่บนมาตรฐานการรับฟังผู้ที่ถูกกระทำเป็นสำคัญ ไม่ใช่ตัดสินจากพยานหลักฐาน
ต้องแก้โจทย์ที่จะทำให้คนในกระบวนการยุติธรรมมองเห็นกับดักโซ่ตรวน และเจตนารมณ์กฎหมายฉบับนี้ต้องได้รับการแก้ไข”
นำความรู้ BWS มาใช้ กระบวนการยุติธรรมถึงจะเกิดความธรรมอย่างแท้จริง
“ตอนนี้กระบวนการยุติธรรมในต่างประเทศมีการนำคำว่า Battered woman syndrome (มักเรียกตัวย่อ BWS เป็นอาการของผู้หญิงที่ถูกทำร้าย) ดิฉันเห็นมีการนำคำนี้มาใช้ในกระบวนการยุติธรรมบ้านเราและดีใจมากเลยเห็นครั้งแรกในคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่ศาลอาญาธนบุรี ท่านผู้พิพากษาชื่อ ท่านมวล ขอโทษจำนามสกุลไม่ได้ ท่านได้ใช้ความรู้ของอาการของผู้หญิงที่ถูกทำร้ายมาใช้ในกระบวนการ และเวลานี้ในโรงเรียนนายร้อยตำรวจมีอาจารย์ที่ค้นคว้าและเขียนถึงความรู้เรื่องนี้ไว้ ท่านสอนความรู้เรื่องนี้ในโรงเรียนนายร้อยแต่ยังไม่เป็นที่แพร่หลาย
ผู้หญิงที่ถูกทำร้ายจะอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ แล้วก็ไม่สามารถมีการตัดสินใจที่ภาษากฎหมายเรียกว่า 'วิญญูชน' ผู้หญิงเหล่านี้จะไม่สามารถมีวุฒิภาวะหรือความมั่นคงเข้มแข็ง เพราะการที่ตัวเองต้องอยู่ในกับดักโซ่ตรวนที่หาทางออกไม่ได้ในกรอบวัฒนธรรมประเพณีและเผชิญความรุนแรงทุกเมื่อเชื่อวันตลอดเวลา ทำให้ไม่รู้จะหลีกหนีไปไหน ส่งผลให้ต้องสู้กลับ
วิธีการที่ผู้พิพากษาหรือคนในกระบวนการยุติธรรมจะใช้วัดว่าผู้หญิงคนไหนอยู่ในกับดักของความรุนแรงหรือโซ่ตรวนที่หาทางออกไม่ได้ก็คือ ผู้หญิงคนนั้นถูกกระทำความรุนแรงมากกว่าหนึ่งครั้ง แล้วการกระทำความรุนแรงครั้งที่สองครั้งที่สามโดยคนเดิม เป็นการกระทำที่มีเรื่องของวัฒนธรรมประเพณีหรือกรอบกฎเกณฑ์ที่ทำให้ต้องเชื่อว่าต้องดำรงรักษาสิ่งนั้นไว้ ฯลฯ มีมาตรฐานไว้เลยว่าถ้าเข้าข่ายข้อต่างๆ ต่อไปนี้แสดงว่าผู้หญิงเป็น BWS ก็จะมีมาตรการลงโทษ เยียวยา ฯลฯ ต่างจากคดีอาญาทั่วไป กระบวนการยุติธรรมถึงเกิดความธรรมอย่างแท้จริง”
:: พ.ต.ท.หญิงปวีณา เอกฉัตน รองผู้กำกับฝ่ายสอบสวน สน.ราษฎร์บูรณะ
อัตราพนักงานสอบสวนหญิงเพิ่มขึ้น ทำงานตามพรบ.ความรุนแรงโดยเฉพาะ
“ในเรื่องของพรบ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว มี 2 บทบาท คือเป็นเจ้าหน้าที่ตามพรบ.ฉบับนี้ และเป็นพนักงานสอบสวนด้วย
พนักงานสอบสวนโดยทั่วไปคุ้นเคยกับการใช้กฎหมายอาญา เราจะไม่ตัดประเด็นกฎหมายอาญา เพราะการกระทำความผิดย่อมต้องเป็นเรื่องของกฎหมายอาญา แต่ถ้าเกิดมองว่าเป็นเรื่องของการกระทำของบุคคลในครอบครัวและเอาพรบ.ฉบับนี้มาใช้มันก็จะเกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว
ในกรณีผู้ถูกกระทำตกมาเป็นผู้กระทำซะเองอย่างในเรื่อง BWS ถ้าเราพบเคสนี้และเราจะแจ้งข้อหาตามพรบ.ฉบับนี้ไปด้วย มันจะช่วยทำให้ศาลหยิบยกกระบวนการตามพรบ.ฉบับนี้มาใช้
กรณีหมอนิ่ม พอดีมีพนักงานสอบสวนหญิงก็เลยมีการพูดคุย บอกน้องต้องแจ้งข้อหาตามพรบ.ฉบับนี้ด้วยนะ คือ ถ้าเป็นพนักงานสอบสวนชาย ก็อาจละเลยประเด็นนี้ไป
สิ่งสำคัญคือ ต้องมองว่าผู้ต้องหาต้องตกเป็นจำเลยในคดีนี้เพราะอะไร โดยในองค์กรของพนักงานสอบสวนหญิงเอง เราพยายามรวมตัวกันและพูดคุยกันในประเด็นนี้ พยายามให้ทุกคนเห็นความสำคัญของกฎหมายฉบับนี้
ก็เป็นเรื่องน่ายินดีที่ว่าล่าสุดที่ผ่านมา พนักงานสอบสวนหญิง 67 คน ได้รับการแต่งตั้งและลงไปปฏิบัติหน้าที่แล้วตามสถานีตำรวจต่างๆ พวกเธอได้รับมอบหมายให้ทำงานตามพรบ.ฉบับนี้โดยเฉพาะ และที่ผ่านมา ภาค NGOs (Non Govermental Organizations) ได้ช่วยเข้าไปอบรมให้ความรู้กับน้องๆ ในประเด็นนี้ และพวกพี่ๆ ก็พยายามเป็นพี่เลี้ยงให้ ซึ่งถ้าเราใช้ได้ในกระบวนการตามพรบ.ฉบับนี้ ก็เป็นประโยชน์กับตัวเคสด้วยค่ะ"
ฟังอย่างนี้แล้ว แม้พรบ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวที่เหมือนมีข้ออ่อนบ้าง แต่ถ้าถูกใช้โดยไม่ทิ้งประเด็น BWS ความเป็นธรรมที่แท้จริงก็จะบังเกิดขึ้น
กรณีหมอนิ่มไม่ใช่เหตุการณ์แรกในประเทศไทยหรือในโลก มีผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรง แล้วในที่สุดหันกลับมาใช้ความรุนแรงตอบโต้ และปัจจุบันติดอยู่ในคุกจำนวนไม่น้อยเลยในประเทศไทยเรานี้แหล่ะ
หวังว่าเราคงไม่ต้องมีบทเรียนจากโศกนาฏกรรมซ้ำซากแนวนี้อีกเป็นร้อยบทพันบท ก่อนที่สังคมจะเรียนรู้ว่าความรุนแรงในสตรี เด็ก และครอบครัว ต้องหยุด
>> อัพเดตข่าวในแวดวงสังคม ก็อซซิป แฟชั่น ความงาม และเที่ยว กิน ดื่ม เพิ่มเติมได้ที่ http://www.celeb-online.net
เป็นข่าวดังครึกโครมต่อเนื่องและอึ้งไปทั้งสังคม เมื่อผู้บงการฆ่า อดีตนักกีฬายิงปืนทีมชาติไทย เอ็กซ์-จักรกฤษณ์ พณิชย์ผาติกรรม คือ แม่ยาย หรือแม่แท้ๆ ของ พญ.นิธิวดี ภู่เจริญยศ หรือ หมอนิ่ม ผู้เป็นภรรยา
ซึ่งข่าวสารที่ออกมานอกจากเน้นนำเสนอในเชิงข่าวอาชญากรรมแล้ว ยังแตกประเด็นไปเรื่องชู้สาว ฮุบมรดก แย่งสมบัติ ฯลฯ โดยลืมไปว่า ต้นตอที่มาของโศกนาฏกรรมครอบครัวนี้มาจากอะไร
ในวันที่หมอนิ่มพาแม่เข้ามอบตัว เธอพูดกับสื่อมวลชนไว้ว่า อยากให้กรณีของตัวเองเป็นบทเรียนกับสังคม อยากให้หยุดการทำร้ายผู้หญิง หยุดความรุนแรงในครอบครัว
ใกล้สิ้นปีอีกไม่กี่วัน เลดี้แมเนเจอร์ขอส่งท้ายด้วยบทวิเคราะห์ของนักวิชาการสตรีหลายท่านหลากสาขาจากงานเสวนา “หยุดความรุนแรงในครอบครัว : บทเรียนจากกรณีหมอนิ่ม” เพื่อกระตุ้นให้พวกเราหันมาตระหนักถึงผลร้ายของการใช้รุนแรงในครอบครัว อันเป็นปัญหาสากลด้วยเวลานี้
:: ดร.ชเนตตี ทินนาม คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
เมื่อเป็นข่าวอาชญากรรม ประเด็นความรุนแรงสิทธิมนุษยชนถูกกลบ!
“รูปแบบการนำเสนอข่าวความรุนแรงผู้หญิง โดยมากจะวนเวียนใน 3 ประเด็นหลัก คือ นำเสนอในมิติข่าวอาชญากรรม และมีแนวโน้มนำเสนอทางออกในมิติกฎหมายเป็นหลัก ถ้าไม่มีภาครัฐหรือมูลนิธิต่างๆ ออกแคมเปญรณรงค์ต่อต้านการใช้ความรุนแรง สื่อก็ไม่สนใจทำข่าว
ถ้ามูลนิธิหญิงชายก้าวไกลไม่ออกมาจัดแคมเปญและแถลงข่าวเรื่องสถิติองค์กรสหประชาชาติที่พบว่าหญิงไทยยอมรับการถูกทำร้ายมากเป็นอันดับ 2 ของโลก สื่อก็คงไม่นำประเด็นนี้มาใส่ในพื้นที่ข่าวหมอนิ่ม
การรายงานข่าวความรุนแรงในผู้หญิงของสื่อมวลชนไทยมีลักษณะตั้งรับมากกว่าเชิงรุก สื่อรอให้เหตุการณ์เกิดขึ้น และเกาะติดในเชิงอาชญากรรมตามการสืบสวนสอบสวนของตำรวจ จากนั้นสื่อก็จะหาทางออกในมุมกฎหมายเท่าที่พอหาได้ในพื้นที่แหล่งข่าว ณ เวลานั้น
วิธีคิดของสื่อในทฤษฎีด้านวารสารศาสตร์ มีการสอนว่าด้วยองค์ประกอบข่าว เป็นตัวนำมาชี้วัดว่าประเด็นไหนในสังคมมีคุณค่าในเชิงข่าว และก็คัดนำเสนอไปยังประชาชนให้รับทราบ
ในทฤษฎีนี้ระบุว่าเรื่องความขัดแย้งกับความมีเงื่อนงำ คือ สิ่งที่มนุษย์ให้ความสนใจ คดีฆ่าสามีจึงเข้าองค์ประกอบตามทฤษฎี สื่อต้องงัดแงะปมขัดแย้ง จากนั้นติดตามแกะรอยเงื่อนงำต่อในแง่มุมต่างๆ
เพราะฉะนั้นเมื่อใช้วิธีคิดเชิงอาชญากรรมมาจับเรื่องความรุนแรงในครอบครัวปุ๊บ เส้นทางการรายงานข่าวประเภทนี้ก็จะอยู่บนเส้นทางการสืบสวนสอบสวนของตำรวจ และการพิจารณาของศาลอย่างแยกไม่ออก ทำให้มุมมองเรื่องสิทธิมนุษยชนทั้งของผู้ถูกกระทำและผู้กระทำหายไป และมิติความรุนแรงในครอบครัวก็จะถูกตัดขาด
ทฤษฎีของโจฮัน กัลตุง (Johan Galtung) อธิบายเรื่องความรุนแรงไว้ 3 ระดับ ความรุนแรงที่มองเห็นได้ง่ายจับต้องได้ง่ายจะอยู่บนยอดสูงสุดของภูเขาน้ำแข็ง เป็นบริเวณที่อยู่เหนือพื้นผิวน้ำเป็นส่วนเล็กๆ ถ้านำมาเชื่อมโยงกับการรายงานข่าวที่ทำให้ข่าวความรุนแรงในครอบครัวเป็นข่าวอาชญากรรม ผู้สื่อข่าวเดินทางมองเหตุการณ์ในจุดที่มองเห็นยอดภูเขาน้ำแข็ง นั่นก็คือ มองที่ความตาย การสูญเสีย ใครคือผู้กระทำความผิด และสุดท้ายก็โยงใยมาถึงเรื่องมรดก ทรัพย์สิน เงินประกัน
แบบนี้เท่ากับมองความรุนแรงในเชิงกายภาพ การสูญเสียในแง่ทรัพย์สินเป็นหลัก นี่คือแก่นการทำงานในเชิงข่าวอาชญากรรมที่ถูกผลิตซ้ำอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน
วิธีคิดตรงนี้จะไปตัดตอนความรุนแรงที่อยู่ใต้ผิวน้ำ ที่เป็นความรุนแรงระดับโครงสร้าง และได้จัดวางสถานะของคนในสังคมนั้นให้มีความไม่เท่าเทียมกัน ในระดับลึกลงไปก็คือ ความรุนแรงเชิงวัฒนธรรม
สังคมทุกวันนี้ทำให้มิติความรุนแรงในครอบครัวเป็นเรื่องที่ไม่ต้องสงสัย ไม่ควรตั้งคำถาม ถือว่าเป็นเรื่องส่วนตัว ดังนั้นจึงไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมการรายงานข่าวทุกวันนี้ถึงทำให้มิติความรุนแรงในครอบครัวหายไป เพราะว่ารายงานจากสุดยอดของภูเขาน้ำแข็งนั่นเอง”
:: รศ.ดร.กฤตยา อาชวนิจกุล สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ผู้หญิงร้อยละ44 ถูกสามีทำร้าย ฐานะการศึกษาสูงก็โดนผัวตึ้บ
“ประเด็นแรก จากสถิติทั่วโลกรวมทั้งในไทย ผู้หญิงถูกทำร้ายเป็นอุบัติการณ์ที่สูงสุดในการทำร้ายครอบครัว ความรุนแรงในครอบครัวมีหลายประเภท แต่ความรุนแรงที่คู่ทำร้ายกัน ผัวทำร้ายเมียเป็นอัตราสูงสุด
ประเด็นที่สอง ความรุนแรงในครอบครัวเกิดขึ้นในสถานที่ๆ เราคิดว่าปลอดภัยมาก และเกิดขึ้นกับคนที่เราไว้ใจมาก เรารักด้วย เพราะฉะนั้นเมื่อเกิดกับผู้หญิงคนไหนก็ตาม ก็ยากที่จะบอกคนอื่น
ประเด็นที่สาม สถิติในไทย ผู้หญิงร้อยละ 44 ถูกทำร้ายจากคู่ของตัวเอง ซึ่งติดอันดับหนึ่งในสิบของโลก ที่เป็นเช่นนี้เพราะผู้หญิงถูกทำร้ายในครอบครัวเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงทุกชนชั้นทุกระดับการศึกษา ทุกอาชีพ ในงานวิจัยจะมีสถิติชนชั้นล่างเยอะหน่อย เพราะพวกเธอพร้อมเปิดเผยเรื่องราว แต่ถ้าเป็นผู้หญิงที่อยู่ในครอบครัวมีฐานะจะไม่ค่อยเป็นข่าว ยกเว้นเกิดกรณีร้ายแรงจริงๆ อย่างกรณีหมอนิ่ม
เราเก็บข่าวเรื่องครอบครัวทั้งหมด 6,000 กว่าข่าวในรอบ 13 ปี พบว่า 60% เป็นความรุนแรงที่ถึงแก่ชีวิต พูดง่ายๆ ถ้าไม่ถึงชีวิตคงไม่เป็นข่าว เพราะผู้หญิงมักไม่แจ้งความ หรือตำรวจไม่รับแจ้ง หรือนักข่าวไม่สนใจ ถ้าไม่ตบตีไม่ดราม่า นักข่าวก็ไม่ลง เพราะฉะนั้นถ้ารุนแรงถึงเลือดถึงเนื้อแล้วถึงเป็นข่าว
พฤติกรรมเริ่มต้นจากการพยายามควบคุมผู้หญิงของตัวเอง สร้างความตึงเครียด เพื่อทำร้ายจิตใจก่อน เช่น ไม่ให้ไปไหน ถ้าไปไหนต้องรายงานตลอดเวลา แล้วก็เริ่มทำร้ายทั้งทางกาย ทางใจ และทางเพศซึ่งเราไม่ค่อยพูดกัน
เมื่อเกิดการทำร้ายแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นถัดมา ก็จะมีการขอโทษ พอขอโทษเสร็จแล้วกลับมาคืนดีสัญญิงสัญญากันใหม่ แล้วก็กลับมาเป็นความรุนแรงอีก เป็นวงจรอุบาทว์ เรื่องนี้เกิดในอเมริกา อังกฤษ อียิปต์ ไทยเหมือนกันหมด
ความรุนแรงเมื่อกระทำแล้ว มันจะไม่หยุด แล้วมันก็ซ้ำซากยาวนานเป็นปีๆ และเริ่มถี่ขึ้น
เมื่อมันถี่ขึ้นเรื่อยๆ และผู้หญิงยอมไม่ได้ ก็จะมีการโต้กลับ การโต้กลับหลายเคสทำให้ถึงกับชีวิต หรือบาดเจ็บสาหัส”
แฉ จัดฉากมอบดอกไม้ หมอนิ่มเอ็กซ์เครื่องมือสร้างภาพ
“เรามีกฎหมายเรื่องรุนแรงในครอบครัว ซึ่งอยู่บนฐานคติให้ครอบครัวอบอุ่น และเชื่อว่าสามีซ่อมได้ กฎหมายและเจ้าหน้าที่ของไทยเราไม่เข้าใจว่าเมื่อเกิดความรุนแรงแล้ว คุณต้องให้ผู้หญิงเป็นศูนย์กลาง เอาผู้หญิงเป็นตัวตั้ง ถามผู้หญิงว่าอยากให้สามีซ่อมไหม หรืออยากกลับไปคืนดีไหม
ภาพคุณเอ็กซ์เอาดอกไม้ไปขอโทษคุณหมอนิ่ม ดิฉันอยากถามว่าคุณหมอนิ่มเต็มใจหรือเปล่า มีสักคำที่รัฐมนตรีถามคุณหมอนิ่มไหมว่าพร้อมไหม หรือคุณหมอนิ่มอยากแยก
ไปดูข่าวไล่เหตุการณ์ตอนที่คุณหมอนิ่มแจ้งความครั้งแรกพูดกับสื่อมวลชน-ไม่อยากไปใช้ชีวิตคู่เหมือนเดิม และตอนมอบดอกไม้ก็พูด-รับนะคะ รับดอกไม้ แต่ไม่ได้อยากจะกลับไปใช้ชีวิตคู่เหมือนเดิม
และเบื้องหลังการมอบดอกไม้ซึ่งทำกันที่สถานีตำรวจสุทธิสาร คุณสุเพ็ญศรี พึ่งโคกสูง มูลนิธิหญิงชาวก้าวไกล ผู้มีโอกาสเข้าไปใกล้ชิดคดีนี้ ถามคุณหมอนิ่มว่า-ยินดีเป็นข่าวทุกครั้งไหม คุณหมอบอก-ไม่ และวันที่มอบดอกไม้ถามจากเจ้าหน้าที่-จัดฉากหรือเปล่า เขาบอก-แน่นอน อยู่ใกล้ตลาดหาง่าย แต่ไม่รู้ใครเป็นคนไปซื้อ
สิ่งที่ดิฉันจะบอกคือ คำถามเหล่านี้มีความสำคัญมากในการคุ้มครอง เพราะกฎเกณฑ์ของการคุ้มครอง หนึ่ง คุณต้องเอาตัวผู้หญิงเป็นจุดศูนย์กลาง สอง คุณต้องไม่ละเมิดซ้ำซาก สิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศไทยคือ เจ้าหน้าที่ชอบทำความดีที่สร้างนรกให้คนอื่น”
:: ทิชา ณ นคร ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนบ้านกาญจนภิเษก
ความรุนแรงเสมือนระเบิดเวลา ชำแหละรมต.ใช้อะไรคิดเสนอตัวไกล่เกลี่ย
“คนทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยชีวิตคู่ ไม่ว่าจะเป็นรมต. หรือเจ้าหน้าที่ เมื่อเข้าไปไกล่เกลี่ยผู้หญิงผู้ชายที่ผ่านความรุนแรงมาไม่รู้กี่ครั้งกี่ปี คนที่รู้สึกว่าพื้นที่ห้องนอนไม่ปลอดภัย โดยเรียกความเป็นผัวเมียกลับคืนมา เท่ากับหยิบยื่นความตายให้กับเขา
ดิฉันอยากตั้งคำถามถึงคุณปวีณา (อดีตรมต.ว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นของมนุษย์) ตอนที่คุณปวีณาเลือกที่จะไกล่เกลี่ยให้กลับเข้าไปอยู่ด้วยกัน ฐานคิดจริงๆ ของคุณปวีณาคืออะไร จริงๆ ก็ทำงานด้านความรุนแรงมาตลอด คุณนึกไม่ออกเลยใช่ไหมว่า เหตุการณ์ที่คนๆ หนึ่งใช้ความรุนแรงได้ มันถูกบ่มมานาน มันไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อคืนนะคะ ดังนั้นเวลาเราจะเข้าไกล่เกลี่ยใครแต่ละคน มันคงต้องเอาข้อมูลมาตั้ง ต้องย้อนกลับไปดูประวัติแต่ละคนด้วย
จากข่าวในวันที่คุณเอ็กซ์ไม่ได้รับการประกันตัวรอบแรก เขาก็หันไปพูดกับแม่เขา-แล้วตอนเป็นเด็ก ใครที่ปล่อยให้ผมถูกทำร้ายโดยไม่ช่วยผม เราก็ถามเด็กบ้านกาญจนาฯเลย ว่าคำพูดนี้สะท้อนอะไร วันคืนที่คุณเอ็กซ์เป็นเด็กความทรงจำของเขาคืออะไร เรามาถอดรหัสกันดู ขนาดเด็กบ้านกาญจนาฯซึ่งไม่ได้เรียนมหาวิทยาลัย เด็กก็ถอดรหัสว่าวันคืนที่ผ่านมาของคุณเอ็กซ์ก็คือความรุนแรง
แน่นอน แสดงให้เห็นว่าความรุนแรงที่อยู่ในผู้ชายคนหนึ่งมันก็เป็นระเบิดเวลาติดตัวเขา เดินทางต่อไปเรื่อยๆ จนกระทั่งมาเจอหมอนิ่ม ซึ่งอาจซ่อนได้ในระดับหนึ่งในช่วงแรก แต่ในที่สุดก็ซ่อนไม่ได้”
ผู้หญิงติดอยู่ในกับดักสังคม ผัวเดียว ลูกขาดพ่อไม่ได้
“คนไทยมีความเชื่อว่าครอบครัวที่ดีต้องมีองค์ประกอบพ่อแม่ลูก และผู้หญิงเองเชื่อว่าเกิดมาต้องมีสามีเดียว เราไม่ได้บอกว่าความเชื่อนี้ถูกหรือผิด แต่ความเชื่อนี้พัฒนาการชีวิตไว้ เหมือนโซ่ตรวนขนาดใหญ่ พอเกิดเหตุการณ์รุนแรงขึ้นมา มันก็เจ็บปวด รู้สึกว่าถูกดูหมิ่นเหยียดหยามซ้ำซาก แต่ละคืนกว่าจะผ่านไปได้ ถ้าจะออกมาจากพื้นที่ตรงนั้นก็จะเจอกับดักอีกสองสามอัน ลูกจะอยู่อย่างไร ลูกไม่มีพ่อลูกจะมีปมด้อยไหม และตัวเองจะกลายเป็นผู้หญิงที่ถูกสามีทิ้ง
เมื่อมิติทางค่านิยมสังคมและวัฒนธรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ใช่แค่ผู้หญิงคิด คนในสังคมส่วนใหญ่ก็คิด
ในบ้านเรามีตั้งหลายคดีพอถึงขั้นศาล ก็พยายามยัดเยียดความเป็นผัวเมียให้กับผัวเมียที่หมดอายุแล้ว มันก็เลยเหลือทางเลือกให้ไม่กี่ทาง การโต้กลับหรือการใช้ศาลเตี้ยก็เป็นหนึ่งในทางเล็กๆ ที่ผู้ถูกกระทำเลือก
ถ้าความเป็นผัวเมียหมดอายุแล้ว หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่อยากเป็นผัวหรือเป็นเมียแล้ว แต่ยังเป็นพ่อแม่ หน้าที่เราก็คือต้องให้สิทธิ์นั้นแก่เขา ไม่ใช่มานั่งโน้มน้าวจูงใจ เจรจา ไกล่เกลี่ย คำถามก็คือ คุณไปอยู่ในห้องนอนกับเขาหรือเปล่า คุณรู้หรือเปล่าว่าเขาถูกเหยียดหยามขนาดไหน คุณรู้หรือเปล่าว่าเขาหวาดกลัวขนาดไหน คุณก็ไม่เคยรู้ แต่คุณอยากรักษาภาพลักษณ์ รักษาตัวเลขการหย่าร้างในสังคมไทย คุณจะรักษาไว้ทำอะไร ในเมื่อถึงที่สุดมันก็จบลงตรงโศกนาฏกรรมอันยิ่งใหญ่
และโศกนาฏกรรมแต่ละเรื่องไม่ได้จบลงตรงแค่ชีวิตของคนๆ นั้น แต่กระเพื่อมไปยังชีวิตอื่นด้วย คำถามที่เราต้องตอบคือ ลูกๆ ของหมอนิ่มกับคุณเอ็กซ์ จะต้องเยียวยากันขนาดไหน เพื่อให้ฉากชีวิตที่ไม่ลงตัวของพ่อแม่ไม่มาเป็นโซ่ตรวนของชีวิตเด็กสองคนนี้อีก
เด็กสองคนนี้จะก้าวข้ามความเลวร้ายนี้ไปได้อย่างไร ยิ่งในโลกที่เต็มไปด้วยการบันทึกข่าวสารง่ายดายแบบนี้ เมื่อเด็กสองคนนี้เติบโตและย้อนกลับมาดูสื่อ”
จนท.ต้องแยกแยะ นำประเด็นความรุนแรงมาร่วมดำเนินการ
ดิฉันคิดว่าเราต้องชัด ไม่ว่าจะเป็นสื่อ เป็นอาจารย์ เป็นตำรวจ และเป็นคนในกระบวนการยุติธรรม เราต้องแยกภาพให้ออกว่าความเป็นผัวเมียสิ้นสุดได้ แต่ความเป็นพ่อแม่ต้องนิรันดร์
จากการทำงานกับเด็กมาเยอะ ก็ดูว่าจริงๆ แล้ว เด็กต้องการเห็นความเป็นผัวเมียของพ่อแม่ หรือความเป็นพ่อแม่ของพ่อแม่ เอาเข้าจริง เด็กก็แยกออกนะว่า เขาไม่สนใจหรอกว่าแต่ละค่ำคืนพ่อแม่ของเขาจะมีเซ็กซ์กันหรือเปล่า เด็กไม่รับรู้และไม่แคร์ แต่เด็กอยากรู้อย่างเดียวว่าผู้หญิงผู้ชายคู่นี้ยังจะเป็นพ่อแม่ของเขาอยู่หรือเปล่า ซึ่งถ้าเราคิดว่าเราทำหน้าที่พ่อแม่ได้ การหย่าร้างหรือการสิ้นสุดความเป็นผัวเมียของผู้หญิงผู้ชายคู่นั้นไม่ได้ทำให้เด็กตายลงหรือทำให้เด็กมีปัญหา
แต่ถ้าตำรวจขึ้นมาแถลงข่าว โดยไม่เคยพูดถึงความรุนแรงในครอบครัวเลย คำเดียวก็ไม่พูดเลยนะ พูดแต่เรื่องอาชญากรรม เราฟังแล้วก็เอะใจ เพราะนั่นหมายความว่า เมื่อกระบวนการยุติธรรมเดินไปเรื่อยๆ นี่ก็คือ คดีอาชญากรรมธรรมดา
คนในกระบวนการยุติธรรมต้องนำสิ่งนี้ขึ้นมาพูดมาอธิบายให้เข้าใจ ว่าถึงที่สุดเรื่องนี้ไม่สามารถแก้ด้วยกฎหมายแท้ๆ อย่างเดียว ในกระบวนการยุติธรรมต้องมีความรู้ความเข้าใจด้านความรุนแรงด้วย ไม่ใช่ตำรวจนายใดก็ได้ลุกขึ้นมาทำหน้าที่ มันต้องการคนที่เข้าใจเฉพาะเจาะจงจริงๆ ว่าความรุนแรงถูกบ่มเพาะมาอย่างนี้นะ ถึงจะมีสติปัญญาเยียวยาแก้ไข ไม่อย่างนั้นมันก็คดีอาชญากรรม ฆ่ากันตาย จบ”
:: นัยนา สุภาพึ่ง ผู้อำนวยการมูลนิธิธีรนาถ กาญจนอักษร
ผู้หญิงถูกโซ่ตรวนค่านิยมพันธนาการ ไม่กล้าแจ้งความแม้ถูกผัวทุบตี
“กฎหมายถูกออกแบบมาสำหรับคนทุกคน ต้องใช้เหมือนกันหมด แต่ในความเป็นจริงของชีวิต คือ คนทุกคนไม่เหมือนกัน เรามีคนที่ตกอยู่ภายใต้วัฒนธรรมประเพณีที่แตกต่างกัน
เมื่อผู้หญิงคนหนึ่งถูกทำร้ายทุบตี ถ้าถูกทำร้ายทุบตีโดยนายก. นายข. เป็นใครไม่รู้ ที่ไม่ได้มีความสัมพันธ์ใดๆ ในครอบครัว ไม่มีโซ่ตรวน ไม่มีกับดัก ผู้หญิงพร้อมที่จะเดินไปโรงพักแจ้งความตำรวจว่าฉันจะเอาเรื่อง แต่ในยามที่เป็นพ่อแม่เป็นผัวเมีย ก็มีโซ่ตรวนว่าผู้หญิงต้องรักษาความเป็นครอบครัวเอาไว้ เพราะฉะนั้นต้องอดทนยอมที่จะอยู่ในพันธนาการกับดักโซ่ตรวน หรือแม้แต่ตัวผู้หญิงเองถ้าจะไปฟ้อง ก็เท่ากับตัวเองไม่ดี เป็นคนทำร้ายครอบครัว
ดิฉันไม่อยากก้าวล่วงคดีหมอนิ่ม เพราะอยู่ในกระบวนการยุติธรรม แต่อยากชี้ให้เห็นว่ากรณีหมอนิ่ม คนเป็นแม่ก็เป็นแม่ ดิฉันก็เป็นแม่ ดิฉันอยากพูดถึงหัวอกคุณแม่ของหมอนิ่ม ถ้าเรารู้สึกถึงผู้หญิงที่ถูกทำร้ายมากขนาดไหน คุณแม่ยิ่งรู้สึกมากกว่าหมอนิ่มหลายเท่า คุณแม่ก็อยู่ในกับดักเหมือนคุณแม่ทั่วไป อยากให้ลูกสาวมีสามีคนเดียว ประสบความสำเร็จในชีวิตที่มีครอบครัวอบอุ่น ความที่อยู่ในวังวนแบบนี้และเห็นลูกถูกทำร้ายทุกวันแต่ก็ยังต้องอยู่ในวังวนนี้ เป็นความทุกข์ขนาดไหน”
กฎหมายความรุนแรงต้องเน้นรับฟังผู้ถูกกระทำ ไม่ใช่ตัดสินจากพยานหลักฐาน
“ปัจจุบันเราใช้พรบ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 ชื่อคุ้มครองผู้ถูกกระทำ แต่ที่แนบท้ายมาระบุว่าไม่ว่าคดีไปถึงไหนก็ตามให้ศาลพยายามไกล่เกลี่ยเพื่อรักษาความสัมพันธ์ของคู่สามีภรรยาไว้ ตอนยกร่างฉบับนี้ เจตนารมณ์ต้องการรักษาสถาบันครอบครัวไว้ และคนที่มีหน้าที่บังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ส่วนใหญ่ มีความเชื่อว่าคำว่า ‘ครอบครัว’ หมายถึงพ่อแม่ลูก ดังนั้นจึงเห็นว่า คนที่มีหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรมมีความพยายามที่จะทำให้คนที่ถูกกระทำความรุนแรง กลับเข้าไปอยู่ในครอบครัวเดิม
ประเด็นคือ พรบ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว ต้องต่างจากกฎหมายทั่วไป เพราะเรื่องความรุนแรงในครอบครัวต้องอยู่บนมาตรฐานการรับฟังผู้ที่ถูกกระทำเป็นสำคัญ ไม่ใช่ตัดสินจากพยานหลักฐาน
ต้องแก้โจทย์ที่จะทำให้คนในกระบวนการยุติธรรมมองเห็นกับดักโซ่ตรวน และเจตนารมณ์กฎหมายฉบับนี้ต้องได้รับการแก้ไข”
นำความรู้ BWS มาใช้ กระบวนการยุติธรรมถึงจะเกิดความธรรมอย่างแท้จริง
“ตอนนี้กระบวนการยุติธรรมในต่างประเทศมีการนำคำว่า Battered woman syndrome (มักเรียกตัวย่อ BWS เป็นอาการของผู้หญิงที่ถูกทำร้าย) ดิฉันเห็นมีการนำคำนี้มาใช้ในกระบวนการยุติธรรมบ้านเราและดีใจมากเลยเห็นครั้งแรกในคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่ศาลอาญาธนบุรี ท่านผู้พิพากษาชื่อ ท่านมวล ขอโทษจำนามสกุลไม่ได้ ท่านได้ใช้ความรู้ของอาการของผู้หญิงที่ถูกทำร้ายมาใช้ในกระบวนการ และเวลานี้ในโรงเรียนนายร้อยตำรวจมีอาจารย์ที่ค้นคว้าและเขียนถึงความรู้เรื่องนี้ไว้ ท่านสอนความรู้เรื่องนี้ในโรงเรียนนายร้อยแต่ยังไม่เป็นที่แพร่หลาย
ผู้หญิงที่ถูกทำร้ายจะอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ แล้วก็ไม่สามารถมีการตัดสินใจที่ภาษากฎหมายเรียกว่า 'วิญญูชน' ผู้หญิงเหล่านี้จะไม่สามารถมีวุฒิภาวะหรือความมั่นคงเข้มแข็ง เพราะการที่ตัวเองต้องอยู่ในกับดักโซ่ตรวนที่หาทางออกไม่ได้ในกรอบวัฒนธรรมประเพณีและเผชิญความรุนแรงทุกเมื่อเชื่อวันตลอดเวลา ทำให้ไม่รู้จะหลีกหนีไปไหน ส่งผลให้ต้องสู้กลับ
วิธีการที่ผู้พิพากษาหรือคนในกระบวนการยุติธรรมจะใช้วัดว่าผู้หญิงคนไหนอยู่ในกับดักของความรุนแรงหรือโซ่ตรวนที่หาทางออกไม่ได้ก็คือ ผู้หญิงคนนั้นถูกกระทำความรุนแรงมากกว่าหนึ่งครั้ง แล้วการกระทำความรุนแรงครั้งที่สองครั้งที่สามโดยคนเดิม เป็นการกระทำที่มีเรื่องของวัฒนธรรมประเพณีหรือกรอบกฎเกณฑ์ที่ทำให้ต้องเชื่อว่าต้องดำรงรักษาสิ่งนั้นไว้ ฯลฯ มีมาตรฐานไว้เลยว่าถ้าเข้าข่ายข้อต่างๆ ต่อไปนี้แสดงว่าผู้หญิงเป็น BWS ก็จะมีมาตรการลงโทษ เยียวยา ฯลฯ ต่างจากคดีอาญาทั่วไป กระบวนการยุติธรรมถึงเกิดความธรรมอย่างแท้จริง”
:: พ.ต.ท.หญิงปวีณา เอกฉัตน รองผู้กำกับฝ่ายสอบสวน สน.ราษฎร์บูรณะ
อัตราพนักงานสอบสวนหญิงเพิ่มขึ้น ทำงานตามพรบ.ความรุนแรงโดยเฉพาะ
“ในเรื่องของพรบ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว มี 2 บทบาท คือเป็นเจ้าหน้าที่ตามพรบ.ฉบับนี้ และเป็นพนักงานสอบสวนด้วย
พนักงานสอบสวนโดยทั่วไปคุ้นเคยกับการใช้กฎหมายอาญา เราจะไม่ตัดประเด็นกฎหมายอาญา เพราะการกระทำความผิดย่อมต้องเป็นเรื่องของกฎหมายอาญา แต่ถ้าเกิดมองว่าเป็นเรื่องของการกระทำของบุคคลในครอบครัวและเอาพรบ.ฉบับนี้มาใช้มันก็จะเกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว
ในกรณีผู้ถูกกระทำตกมาเป็นผู้กระทำซะเองอย่างในเรื่อง BWS ถ้าเราพบเคสนี้และเราจะแจ้งข้อหาตามพรบ.ฉบับนี้ไปด้วย มันจะช่วยทำให้ศาลหยิบยกกระบวนการตามพรบ.ฉบับนี้มาใช้
กรณีหมอนิ่ม พอดีมีพนักงานสอบสวนหญิงก็เลยมีการพูดคุย บอกน้องต้องแจ้งข้อหาตามพรบ.ฉบับนี้ด้วยนะ คือ ถ้าเป็นพนักงานสอบสวนชาย ก็อาจละเลยประเด็นนี้ไป
สิ่งสำคัญคือ ต้องมองว่าผู้ต้องหาต้องตกเป็นจำเลยในคดีนี้เพราะอะไร โดยในองค์กรของพนักงานสอบสวนหญิงเอง เราพยายามรวมตัวกันและพูดคุยกันในประเด็นนี้ พยายามให้ทุกคนเห็นความสำคัญของกฎหมายฉบับนี้
ก็เป็นเรื่องน่ายินดีที่ว่าล่าสุดที่ผ่านมา พนักงานสอบสวนหญิง 67 คน ได้รับการแต่งตั้งและลงไปปฏิบัติหน้าที่แล้วตามสถานีตำรวจต่างๆ พวกเธอได้รับมอบหมายให้ทำงานตามพรบ.ฉบับนี้โดยเฉพาะ และที่ผ่านมา ภาค NGOs (Non Govermental Organizations) ได้ช่วยเข้าไปอบรมให้ความรู้กับน้องๆ ในประเด็นนี้ และพวกพี่ๆ ก็พยายามเป็นพี่เลี้ยงให้ ซึ่งถ้าเราใช้ได้ในกระบวนการตามพรบ.ฉบับนี้ ก็เป็นประโยชน์กับตัวเคสด้วยค่ะ"
ฟังอย่างนี้แล้ว แม้พรบ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวที่เหมือนมีข้ออ่อนบ้าง แต่ถ้าถูกใช้โดยไม่ทิ้งประเด็น BWS ความเป็นธรรมที่แท้จริงก็จะบังเกิดขึ้น
กรณีหมอนิ่มไม่ใช่เหตุการณ์แรกในประเทศไทยหรือในโลก มีผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรง แล้วในที่สุดหันกลับมาใช้ความรุนแรงตอบโต้ และปัจจุบันติดอยู่ในคุกจำนวนไม่น้อยเลยในประเทศไทยเรานี้แหล่ะ
หวังว่าเราคงไม่ต้องมีบทเรียนจากโศกนาฏกรรมซ้ำซากแนวนี้อีกเป็นร้อยบทพันบท ก่อนที่สังคมจะเรียนรู้ว่าความรุนแรงในสตรี เด็ก และครอบครัว ต้องหยุด
>> อัพเดตข่าวในแวดวงสังคม ก็อซซิป แฟชั่น ความงาม และเที่ยว กิน ดื่ม เพิ่มเติมได้ที่ http://www.celeb-online.net