(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Domestic violence rises on Kazakh agenda
By Joanna Lillis
18/12/2013
รายงานข่าวต่างๆ เกี่ยวกับการทำร้ายผู้หญิงในคาซัคสถาน เป็นต้นว่า นายแบงก์ต่อยหน้าพนักงานสายการบินที่ให้บริการไม่ถูกใจ หรือนายกเทศมนตรีในชุมชนแถบชนบททางภาคเหนือ ซ้อมผู้หญิงคนหนึ่งเพราะไม่พอใจที่เธอมาถ่ายภาพแผ่นป้ายบิลบอร์ดซึ่งอยู่ในสภาพไม่เรียบร้อย เหล่านี้ทำให้เรื่องของการใช้ความรุนแรงกับสตรี โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนในครอบครัว กลายเป็นประเด็นทางการเมืองขึ้นมาอีกครั้ง โดยที่รัฐสภากำลังพิจารณาร่างฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งจะเพิ่มความเข้มงวดให้แก่กฎหมายต่อต้านการทำร้ายบุตรภรรยาฉบับสำคัญ ที่ได้ออกมาบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2009
อัลมาตี, คาซัคสถาน – ตอนที่ ดาร์ฮาน โบตาบาเยฟ (Darkhan Botabayev) ผู้บริหารคนหนึ่งของธนาคารคาซินเวสต์แบงก์ (Kazinvestbank) พยายามขอจองตั๋วเที่ยวบินของสายการบินแห่งชาติของคาซัคสถานเมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว สิ่งที่เริ่มต้นขึ้นโดยดูเหมือนกับเป็นธุรกรรมปกติธรรมดาๆ กลับกลายเป็นคดีทำร้ายร่างกายซึ่งสั่นสะเทือนไปทั้งประเทศ เมื่อ โบตาบาเยฟ เกิดโมโหโกรธาและปล่อยหมัดชกไปที่ใบหน้าของหญิงสาวที่เป็นพนักงานออกตั๋ว
ยังมีเหตุการณ์ความรุนแรงอีกกรณีหนึ่งเกิดขึ้นในเดือนตุลาคม เมื่อ คานัตไบ ตูร์มากันเบตอฟ (Kanatbay Turmaganbetov) นายกเทศมนตรีของชุมชนแถบชนบทแห่งหนึ่งทางภาคเหนือของคาซัคสถาน เกิดความโกรธเกรี้ยวผู้หญิงคนหนึ่งที่กำลังถ่ายภาพแผ่นป้ายโฆษณากลางแจ้งซึ่งเป็นภาพของประธานาธิบดีนูร์สุลต่าน นาซาร์บาเยฟ (Nursultan Nazarbayev) โดยที่แผ่นป้ายบิลบอร์ดดังกล่าวอยู่ในสภาพไม่ค่อยเรียบร้อยนัก เขาจึงให้คนนำตัวเธอเข้ามายังห้องทำงานของเขา ณ ที่นั้นเขาได้ “จับศีรษะของเธอโขกกับผนังห้อง, ต่อยเธอที่บริเวณอกหลายครั้ง, ตลอดจนเตะเธอ” ทั้งนี้ตามรายงานข่าวของสื่อท้องถิ่น
นายกเทศมนตรีตูร์มากันเบตอฟ ถูกฟ้องร้องดำเนินคดี ถูกตัดสินลงโทษปรับ และถูกปลดออกจากตำแหน่ง ส่วนนายแบงก์โบตาบาเยฟก็ถูกบังคับให้ลาออกจากการเป็นกรรมการในบอร์ดบริหารของคาซินเวสต์แบงก์ และถูกสายการบินแอร์อัสตานา (Air Astana) ขึ้นบัญชีดำ –โดยที่ต่อมาเขาต้องถือช่อดอกไม้ไปกล่าวขอโทษเหยื่อสาวที่ถูกเขาทำร้าย และบริจาคเงินจำนวน 10,000 ดอลลาร์สหรัฐฯบำรุงการกุศล เหตุการณ์เหล่านี้ก่อให้เกิดปฏิกิริยาไม่พอใจขึ้นอย่างแรงในคาซัคสถาน แต่พวกนักเคลื่อนไหวพากันชี้ว่ามันไม่ใช่กรณีที่เกิดขึ้นโดดๆ โดยไม่เกี่ยวข้องกันแต่อย่างใด สิ่งที่น่ากังวลใจมากที่สุดก็คือ กรณีการทำร้ายผู้หญิงนั้นจำนวนมากทีเดียวเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายในครอบครัว
ยกตัวอย่าง มารินา (Marina) ซึ่งแต่งงานกับชายคนที่คอยทำร้ายเธออยู่เสมอ ด้วยความต้องการที่จะหลบหนีจากบิดาผู้หันมาใช้ความรุนแรงกับเธอ หลังจากที่เธอถูกข่มขืนตอนอายุ 15 ปีและตั้งท้อง หรือกรณีของ อิรินา (Irina) ผู้ซึ่งสามีของเธอจุดไฟเผาแฟลตพักอาศัยของมารดาของเธอ ภายหลังที่ตัวเธอหลบหนีไปเพื่อไม่ให้ถูกสามีทำร้ายต่อไปอีก เหยื่อของการใช้ความรุนแรงภายในบ้านเหล่านี้ มีบางคนถึงขั้นเสียชีวิต อย่างในรายของ ราชิดา (Rashida) มีผู้พบศพของเธอในสภาพที่มีมีดปักอยู่ที่อก หลังจากที่สามีของเธอบุกเข้าไปในเซฟเฮาส์ของเธอ จัดแจงนำเอาพวกบุตรสาวของเธอไปขังเอาไว้ในห้องนอน และจากนั้นก็แทงเธอจนตาย
กรณีเหล่านี้รวบรวมขึ้นมาโดย ศูนย์วิกฤตโปดรูกี (Podrugi Crisis Center คำว่า Podrugi แปลว่า เพื่อนหญิง) ในเมืองอัลมาตี ซึ่งเป็นเมืองหลวงเก่าและยังคงเป็นเมืองใหญ่ที่สุดในคาซัคสถาน ศูนย์แห่งนี้คอยให้ความช่วยเหลือสนับสนุนทั้งในทางจิตวิทยาและในทางกฎหมายแก่เหยื่อของความรุนแรงทั้งหลาย รวมทั้งจัดการอบรมให้แก่เจ้าหน้าที่รักษากฎหมาย, เจ้าหน้าที่การศึกษา, และนักวิชาชีพทางด้านสาธารณสุข นอกจากนั้น โปดรูกี ยังกำลังพยายามผลักดันประเด็นปัญหานี้ให้กลายเป็นวาระทางการเมืองของคาซัคสถาน
ตอนที่ โปดรูกี จัดตั้งขึ้นมาเมื่อ 15 ปีก่อน เรื่องการใช้ความรุนแรงภายในครอบครัวยังไม่ได้ถูกมองว่าเป็นปัญหาหรือเป็นอาชญากรรมแต่อย่างใด ตรงกันข้าม เรื่องเช่นนี้กลับมักถูกวาดภาพว่าเป็นกิจการภายในของครอบครัวซึ่งคนภายนอกไม่ควรเข้าไปสอดแทรกก้าวก่าย แต่ด้วยความพยายามอย่างไม่ลดละของบรรดานักเคลื่อนไหว ก็ได้ช่วยเปลี่ยนแปลงความรับรู้ความเข้าใจของสาธารณชนไปมาก กระทั่งในการแถลงนโยบายประจำปีเมื่อปีที่แล้ว ประธานาธิบดีนาซาร์บาเยฟ ซึ่งบอกว่าตัวเขา “มองเห็นถึงสัญญาณอันตราย” ก็ได้พูดอย่างเจาะจงว่าประเด็นปัญหานี้เป็นเรื่องหนึ่งที่จำเป็นต้องได้รับความเอาใจใส่
ขณะที่ นาเดจดา กลาดีร์ (Nadezhda Gladyr) ประธานบริหารของ โปดรูกี กล่าวย้ำในระหว่างให้สัมภาษณ์เว็บไซต์ EurasiaNet.org ว่า “ความรุนแรงไม่ใช่เป็นปัญหาส่วนตัว” และแจกแจงว่า “มันเป็นปัญหาสังคม เพราะปัญหานี้ครอบคลุมเกินเลยไปกว่าขอบเขตของครอบครัว ปัญหานี้ต้องถือว่าเป็นปัญหาหนึ่งของระดับรัฐ”
ในการต่อสู้เพื่อยกระดับความตื่นตัวความเข้าอกเข้าใจปัญหานี้ของคาซัคสถาน สิ่งที่ถือเป็นหลักหมายสำคัญประการหนึ่ง ได้แก่ การออกกฎหมายต่อต้านการใช้ความรุนแรงในครอบครัวเมื่อปี 2009 โดยที่ในเวลานี้รัฐสภายังกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณา ร่างปรับปรุงแก้ไขกฎหมายฉบับนี้ให้เข้มงวดรัดกุมยิ่งขึ้น อีกทั้งเพิ่มความสนับสนุนแก่เหยื่อผู้เคราะห์ร้ายให้มากขึ้นด้วย
ไม่มีใครทราบว่าในคาซัคสถานแต่ละปีมีผู้หญิงจำนวนมากแค่ไหนที่กลายเป็นเหยื่อของความรุนแรงภายในครอบครัว แต่สถิติข้อมูลของทางการ (ซึ่งในแทบทุกประเทศทีเดียว ย่อมขึ้นชื่อลือชาในเรื่องความเชื่อถือไม่ได้ เมื่อเป็นข้อมูลเกี่ยวกับความรุนแรงในทางเพศภาวะ) แสดงให้เห็นว่าจำนวนการแจ้งความคดีอาญาได้ลดต่ำลงนับตั้งแต่ที่กฎหมายฉบับที่กล่าวไว้ข้างต้นมีผลบังคับใช้ เรื่องนี้ออกจะดูทะแม่งๆ ชอบกลอยู่ เพราะย่อมเป็นที่คาดหมายกันว่าเมื่อมีการนำเอากลไกทางกฎหมายใหม่ๆ มาใช้ การแจ้งความในคดีเช่นนี้สมควรที่จะเพิ่มสูงขึ้น
ทั้งนี้ตามข้อมูลจากคณะกรรมการสถิติทางกฎหมาย ของสำนักงานอัยการสูงสุด (General-Prosecutor's Office Legal Statistics Committee) ในปี 2012 มีการแจ้งความคดีเช่นนี้ 783 คดี ลดลงจากที่เคยมี 887 คดีในปี 2009 อย่างไรก็ตาม ในอีกด้านหนึ่ง เมื่อปีที่แล้วมีผู้หญิงถึง 285 คนเสียชีวิตในเหตุการณ์ซึ่งเกี่ยวข้องพัวพันกับความรุนแรงในครอบครัว ทั้งนี้ตามข้อมูลของ กุลชารา อับดีคาลิโควา (Gulshara Abdykalikova) ประธานของคณะกรรมการแห่งชาติเพื่อกิจการสตรี ครอบครัว และนโยบายประชากร (National Commission for Women Affairs, Family and Demographic Policy) อับดีคาลิโควานั้น เมื่อเดือนที่แล้วได้รับการแต่งตั้งให้ขึ้นเป็นรองนายกรัฐมนตรีของคาซัคสถาน
พวกผู้แทนของ โปดรูกี ประมาณการว่า มีครอบครัวในคาซัคสถานถึงราว 1 ใน 5 ทีเดียวที่ประสบปัญหาจากการใช้ความรุนแรงภายในบ้าน ในเวลาเดียวกันนั้น สำนักงานสถิติ (Statistics Agency) ซึ่งเป็นหน่วยราชการระดับชาติ ได้ออกรายงานว่าด้วยอาชญากรรมที่เหยื่อเป็นผู้หญิงในปี 2012 โดยระบุว่ามีการแจ้งความคดีอาญาร้ายแรงซึ่งเหยื่อเป็นสตรีจำนวนทั้งสิ้นถึง 13,797 คดี โดยที่ “คดีจำนวนมาก” เป็นกรณีการใช้ความรุนแรงภายในครอบครัว
อับดีคาลิโควา ได้เคยพูดเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ว่า เนื่องจากการไปแจ้งความจะก่อให้เกิดตราบาปที่ส่งผลต่อเนื่องใหญ่โตมาก ดังนั้น “ไม่ใช่ผู้หญิงทุกคนหรอกที่กล้าพูดถึงเรื่องนี้ พวกเธอไม่ต้องการนำเอาเสื้อผ้าสกปรกมอมแมมของพวกเธอมาผึ่งลมในที่สาธารณะให้คนอื่นๆ เห็น” ส่วน ตาเตียนา อุสมาโนวา (Tatyana Usmanova) จากกลุ่มเอ็นจีโอที่มีชื่อว่า ศูนย์เพื่อการสนับสนุนผู้หญิง (Center for Supporting Women) ได้ไปพูดในการประชุมเสวนาโต๊ะกลมซึ่งจัดขึ้นในเดือนมกราคมในทำนองคล้ายๆ กันว่า “สังคม (คาซัคสถาน) ยังคงมีความอดกลั้นอดทนสูงมากๆ ต่อเรื่องการใช้ความรุนแรงภายในครอบครัว”
แม้กระทั่งเมื่อผู้หญิงไปแจ้งความร้องทุกข์ตำรวจแล้ว บ่อยครั้งทีเดียวเธอจะต้องกลับไปถอนเรื่อง ด้วยเหตุผลต่างๆ นานาตั้งแต่การถูกครอบครัวกดดัน ไปจนถึงการที่เธอยังคงต้องพึ่งพาผู้ที่ถูกกล่าวหาเป็นตัวการทำร้ายเธอ ในทางด้านการเงิน รัฐมนตรีช่วยมหาดไทย ไครัต ตีนีเบคอฟ (Kayrat Tynybekov) ไปแถลงต่อรัฐสภาเมื่อปีที่แล้วระบุว่า ในปี 2011 มีผู้หญิงราว 20,000 คนไปร้องเรียนตำรวจเรื่องการใช้ความรุนแรงในครอบครัว อย่างไรก็ตาม มีเพียงส่วนเสี้ยวเดียวของการร้องทุกข์เบื้องต้นเหล่านี้เท่านั้น ซึ่งสิ้นสุดลงด้วยการลงบันทึกแจ้งความอย่างเป็นทางการ
ช่วงห่างระหว่างจำนวนผู้หญิงที่ไปแจ้งความคดีอาญา กับจำนวนผู้หญิงที่กำลังต้องการความช่วยเหลือนั้น ยังถ่างกว้างเหลือเกิน โดยที่กระทรวงมหาดไทยได้รายงานต่อรัฐสภาในเดือนตุลาคมว่า มีผู้หญิง 37,000 คนทีเดียวไปขอความช่วยเหลือจากพวกหน่วยพิเศษเพื่อการคุ้มครองสตรีจากความรุนแรง (Protect Women From Violence Unit) ของทางกระทรวง และมีอีก 11,000 คนซึ่งไปขอความช่วยเหลือจากศูนย์วิกฤต (crisis center) ที่มีอยู่ 28 ศูนย์ในคาซัคสถาน
ในเวลาเดียวกัน อัตราการตัดสินว่าจำเลยมีความผิดในคดีอาญาด้านการใช้ความรุนแรงภายในครอบครัว ก็ได้ลดต่ำลงนับตั้งแต่ที่กฎหมายฉบับใหม่ๆ บังคับใช้ โดยที่ในปี 2012 มีคดีที่จำเลยถูกตัดสินว่าผิดจริงจำนวน 509 คดี เปรียบเทียบกับในปี 2009 ที่มี 988 คดี ก็เท่ากับลดฮวบลงถึง 48% อีกทั้งยังลงต่ำกว่ามาก เมื่อเทียบกับระดับการลดลงของการแจ้งความซึ่งอยู่ที่ 12% เท่านั้น แม้ว่าตัวเลขคดีที่จำเลยถูกตัดสินว่าผิดจริงในความผิดลหุโทษ อาจจะมีส่วนทำให้ตัวเลขเหล่านี้เบี่ยงเบนไปได้ ทั้งนี้ในปีที่แล้ว จำนวนจำเลยที่ถูกตัดสินว่าผิดจริงและถูกลงโทษถึงขั้นจำคุก (ซึ่งก็คือไม่ใช่คดีความผิดลหุโทษ) มี 389 คน (เท่ากับ 76% ของจำเลยที่ถูกตัดสินว่าผิดจริง)
เนื่องในโอกาสที่ทั่วโลกจัดการรณรงค์ “Say NO” ประจำปีระหว่างวันที่ 25 พฤศจิกายนถึง 10 ธันวาคมปีนี้ โปดรูกี ได้พยายามล็อบบี้รัฐบาลให้จัดตั้งเครือข่ายบ้านปลอดภัยขึ้นมาทั่วประเทศ เพื่อให้เหยื่อของความรุนแรงในครอบครัวได้ใช้เป็นที่พักพิงหลบภัย ในปัจจุบัน มีกลุ่มเอ็นจีโอดำเนินการเครือข่ายบ้านปลอดภัยขึ้นมาในบางพื้นที่ของคาซัคสถานอยู่เหมือนกัน ทว่าไม่ทั่วถึง โดยที่ในเมืองใหญ่ๆ บางแห่ง รวมทั้งนครอัลมาตี ยังไม่มีจุดที่ใช้เป็นบ้านปลอดภัยอย่างชัดเจนแน่นอนเลย ปรากฏว่ามีสมาชิกรัฐสภาจำนวนหนึ่งออกมาพูดแสดงความเห็นสนับสนุนให้รัฐเข้าไปมีบทบาทในเรื่องนี้
“สำหรับพวกเราที่เป็นผู้ปกป้องสิทธิมนุษยชนในส่วนของสิทธิของผู้หญิง เราเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญมากที่รัฐควรเข้าไปแสดงบทบาทสำคัญในการป้องกันไม่ให้เกิดความรุนแรงเช่นนี้ขึ้นมา และด้วยเหตุนี้ การมีบ้านปลอดภัยของรัฐขึ้นมาจึงเป็นเรื่องที่สำคัญๆ จริงๆ สำหรับเรา” กลาดีร์ กล่าว เธอยังแสดงความเชื่อมั่นว่ารัฐบาล “เวลานี้กำลังฟังเสียงของเรา และพวกเขาจะทำงานร่วมกับเรา”
โจอันนา ลิลลิส เป็นนักเขียนอิสระที่ชำนาญเป็นพิเศษในเรื่องเอเชียกลาง ข้อเขียนนี้ตอนแรกเริ่มโพสต์เอาไว้ในเว็บไซต์ EurasiaNet.org.
(สำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส)
Domestic violence rises on Kazakh agenda
By Joanna Lillis
18/12/2013
รายงานข่าวต่างๆ เกี่ยวกับการทำร้ายผู้หญิงในคาซัคสถาน เป็นต้นว่า นายแบงก์ต่อยหน้าพนักงานสายการบินที่ให้บริการไม่ถูกใจ หรือนายกเทศมนตรีในชุมชนแถบชนบททางภาคเหนือ ซ้อมผู้หญิงคนหนึ่งเพราะไม่พอใจที่เธอมาถ่ายภาพแผ่นป้ายบิลบอร์ดซึ่งอยู่ในสภาพไม่เรียบร้อย เหล่านี้ทำให้เรื่องของการใช้ความรุนแรงกับสตรี โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนในครอบครัว กลายเป็นประเด็นทางการเมืองขึ้นมาอีกครั้ง โดยที่รัฐสภากำลังพิจารณาร่างฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งจะเพิ่มความเข้มงวดให้แก่กฎหมายต่อต้านการทำร้ายบุตรภรรยาฉบับสำคัญ ที่ได้ออกมาบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2009
อัลมาตี, คาซัคสถาน – ตอนที่ ดาร์ฮาน โบตาบาเยฟ (Darkhan Botabayev) ผู้บริหารคนหนึ่งของธนาคารคาซินเวสต์แบงก์ (Kazinvestbank) พยายามขอจองตั๋วเที่ยวบินของสายการบินแห่งชาติของคาซัคสถานเมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว สิ่งที่เริ่มต้นขึ้นโดยดูเหมือนกับเป็นธุรกรรมปกติธรรมดาๆ กลับกลายเป็นคดีทำร้ายร่างกายซึ่งสั่นสะเทือนไปทั้งประเทศ เมื่อ โบตาบาเยฟ เกิดโมโหโกรธาและปล่อยหมัดชกไปที่ใบหน้าของหญิงสาวที่เป็นพนักงานออกตั๋ว
ยังมีเหตุการณ์ความรุนแรงอีกกรณีหนึ่งเกิดขึ้นในเดือนตุลาคม เมื่อ คานัตไบ ตูร์มากันเบตอฟ (Kanatbay Turmaganbetov) นายกเทศมนตรีของชุมชนแถบชนบทแห่งหนึ่งทางภาคเหนือของคาซัคสถาน เกิดความโกรธเกรี้ยวผู้หญิงคนหนึ่งที่กำลังถ่ายภาพแผ่นป้ายโฆษณากลางแจ้งซึ่งเป็นภาพของประธานาธิบดีนูร์สุลต่าน นาซาร์บาเยฟ (Nursultan Nazarbayev) โดยที่แผ่นป้ายบิลบอร์ดดังกล่าวอยู่ในสภาพไม่ค่อยเรียบร้อยนัก เขาจึงให้คนนำตัวเธอเข้ามายังห้องทำงานของเขา ณ ที่นั้นเขาได้ “จับศีรษะของเธอโขกกับผนังห้อง, ต่อยเธอที่บริเวณอกหลายครั้ง, ตลอดจนเตะเธอ” ทั้งนี้ตามรายงานข่าวของสื่อท้องถิ่น
นายกเทศมนตรีตูร์มากันเบตอฟ ถูกฟ้องร้องดำเนินคดี ถูกตัดสินลงโทษปรับ และถูกปลดออกจากตำแหน่ง ส่วนนายแบงก์โบตาบาเยฟก็ถูกบังคับให้ลาออกจากการเป็นกรรมการในบอร์ดบริหารของคาซินเวสต์แบงก์ และถูกสายการบินแอร์อัสตานา (Air Astana) ขึ้นบัญชีดำ –โดยที่ต่อมาเขาต้องถือช่อดอกไม้ไปกล่าวขอโทษเหยื่อสาวที่ถูกเขาทำร้าย และบริจาคเงินจำนวน 10,000 ดอลลาร์สหรัฐฯบำรุงการกุศล เหตุการณ์เหล่านี้ก่อให้เกิดปฏิกิริยาไม่พอใจขึ้นอย่างแรงในคาซัคสถาน แต่พวกนักเคลื่อนไหวพากันชี้ว่ามันไม่ใช่กรณีที่เกิดขึ้นโดดๆ โดยไม่เกี่ยวข้องกันแต่อย่างใด สิ่งที่น่ากังวลใจมากที่สุดก็คือ กรณีการทำร้ายผู้หญิงนั้นจำนวนมากทีเดียวเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายในครอบครัว
ยกตัวอย่าง มารินา (Marina) ซึ่งแต่งงานกับชายคนที่คอยทำร้ายเธออยู่เสมอ ด้วยความต้องการที่จะหลบหนีจากบิดาผู้หันมาใช้ความรุนแรงกับเธอ หลังจากที่เธอถูกข่มขืนตอนอายุ 15 ปีและตั้งท้อง หรือกรณีของ อิรินา (Irina) ผู้ซึ่งสามีของเธอจุดไฟเผาแฟลตพักอาศัยของมารดาของเธอ ภายหลังที่ตัวเธอหลบหนีไปเพื่อไม่ให้ถูกสามีทำร้ายต่อไปอีก เหยื่อของการใช้ความรุนแรงภายในบ้านเหล่านี้ มีบางคนถึงขั้นเสียชีวิต อย่างในรายของ ราชิดา (Rashida) มีผู้พบศพของเธอในสภาพที่มีมีดปักอยู่ที่อก หลังจากที่สามีของเธอบุกเข้าไปในเซฟเฮาส์ของเธอ จัดแจงนำเอาพวกบุตรสาวของเธอไปขังเอาไว้ในห้องนอน และจากนั้นก็แทงเธอจนตาย
กรณีเหล่านี้รวบรวมขึ้นมาโดย ศูนย์วิกฤตโปดรูกี (Podrugi Crisis Center คำว่า Podrugi แปลว่า เพื่อนหญิง) ในเมืองอัลมาตี ซึ่งเป็นเมืองหลวงเก่าและยังคงเป็นเมืองใหญ่ที่สุดในคาซัคสถาน ศูนย์แห่งนี้คอยให้ความช่วยเหลือสนับสนุนทั้งในทางจิตวิทยาและในทางกฎหมายแก่เหยื่อของความรุนแรงทั้งหลาย รวมทั้งจัดการอบรมให้แก่เจ้าหน้าที่รักษากฎหมาย, เจ้าหน้าที่การศึกษา, และนักวิชาชีพทางด้านสาธารณสุข นอกจากนั้น โปดรูกี ยังกำลังพยายามผลักดันประเด็นปัญหานี้ให้กลายเป็นวาระทางการเมืองของคาซัคสถาน
ตอนที่ โปดรูกี จัดตั้งขึ้นมาเมื่อ 15 ปีก่อน เรื่องการใช้ความรุนแรงภายในครอบครัวยังไม่ได้ถูกมองว่าเป็นปัญหาหรือเป็นอาชญากรรมแต่อย่างใด ตรงกันข้าม เรื่องเช่นนี้กลับมักถูกวาดภาพว่าเป็นกิจการภายในของครอบครัวซึ่งคนภายนอกไม่ควรเข้าไปสอดแทรกก้าวก่าย แต่ด้วยความพยายามอย่างไม่ลดละของบรรดานักเคลื่อนไหว ก็ได้ช่วยเปลี่ยนแปลงความรับรู้ความเข้าใจของสาธารณชนไปมาก กระทั่งในการแถลงนโยบายประจำปีเมื่อปีที่แล้ว ประธานาธิบดีนาซาร์บาเยฟ ซึ่งบอกว่าตัวเขา “มองเห็นถึงสัญญาณอันตราย” ก็ได้พูดอย่างเจาะจงว่าประเด็นปัญหานี้เป็นเรื่องหนึ่งที่จำเป็นต้องได้รับความเอาใจใส่
ขณะที่ นาเดจดา กลาดีร์ (Nadezhda Gladyr) ประธานบริหารของ โปดรูกี กล่าวย้ำในระหว่างให้สัมภาษณ์เว็บไซต์ EurasiaNet.org ว่า “ความรุนแรงไม่ใช่เป็นปัญหาส่วนตัว” และแจกแจงว่า “มันเป็นปัญหาสังคม เพราะปัญหานี้ครอบคลุมเกินเลยไปกว่าขอบเขตของครอบครัว ปัญหานี้ต้องถือว่าเป็นปัญหาหนึ่งของระดับรัฐ”
ในการต่อสู้เพื่อยกระดับความตื่นตัวความเข้าอกเข้าใจปัญหานี้ของคาซัคสถาน สิ่งที่ถือเป็นหลักหมายสำคัญประการหนึ่ง ได้แก่ การออกกฎหมายต่อต้านการใช้ความรุนแรงในครอบครัวเมื่อปี 2009 โดยที่ในเวลานี้รัฐสภายังกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณา ร่างปรับปรุงแก้ไขกฎหมายฉบับนี้ให้เข้มงวดรัดกุมยิ่งขึ้น อีกทั้งเพิ่มความสนับสนุนแก่เหยื่อผู้เคราะห์ร้ายให้มากขึ้นด้วย
ไม่มีใครทราบว่าในคาซัคสถานแต่ละปีมีผู้หญิงจำนวนมากแค่ไหนที่กลายเป็นเหยื่อของความรุนแรงภายในครอบครัว แต่สถิติข้อมูลของทางการ (ซึ่งในแทบทุกประเทศทีเดียว ย่อมขึ้นชื่อลือชาในเรื่องความเชื่อถือไม่ได้ เมื่อเป็นข้อมูลเกี่ยวกับความรุนแรงในทางเพศภาวะ) แสดงให้เห็นว่าจำนวนการแจ้งความคดีอาญาได้ลดต่ำลงนับตั้งแต่ที่กฎหมายฉบับที่กล่าวไว้ข้างต้นมีผลบังคับใช้ เรื่องนี้ออกจะดูทะแม่งๆ ชอบกลอยู่ เพราะย่อมเป็นที่คาดหมายกันว่าเมื่อมีการนำเอากลไกทางกฎหมายใหม่ๆ มาใช้ การแจ้งความในคดีเช่นนี้สมควรที่จะเพิ่มสูงขึ้น
ทั้งนี้ตามข้อมูลจากคณะกรรมการสถิติทางกฎหมาย ของสำนักงานอัยการสูงสุด (General-Prosecutor's Office Legal Statistics Committee) ในปี 2012 มีการแจ้งความคดีเช่นนี้ 783 คดี ลดลงจากที่เคยมี 887 คดีในปี 2009 อย่างไรก็ตาม ในอีกด้านหนึ่ง เมื่อปีที่แล้วมีผู้หญิงถึง 285 คนเสียชีวิตในเหตุการณ์ซึ่งเกี่ยวข้องพัวพันกับความรุนแรงในครอบครัว ทั้งนี้ตามข้อมูลของ กุลชารา อับดีคาลิโควา (Gulshara Abdykalikova) ประธานของคณะกรรมการแห่งชาติเพื่อกิจการสตรี ครอบครัว และนโยบายประชากร (National Commission for Women Affairs, Family and Demographic Policy) อับดีคาลิโควานั้น เมื่อเดือนที่แล้วได้รับการแต่งตั้งให้ขึ้นเป็นรองนายกรัฐมนตรีของคาซัคสถาน
พวกผู้แทนของ โปดรูกี ประมาณการว่า มีครอบครัวในคาซัคสถานถึงราว 1 ใน 5 ทีเดียวที่ประสบปัญหาจากการใช้ความรุนแรงภายในบ้าน ในเวลาเดียวกันนั้น สำนักงานสถิติ (Statistics Agency) ซึ่งเป็นหน่วยราชการระดับชาติ ได้ออกรายงานว่าด้วยอาชญากรรมที่เหยื่อเป็นผู้หญิงในปี 2012 โดยระบุว่ามีการแจ้งความคดีอาญาร้ายแรงซึ่งเหยื่อเป็นสตรีจำนวนทั้งสิ้นถึง 13,797 คดี โดยที่ “คดีจำนวนมาก” เป็นกรณีการใช้ความรุนแรงภายในครอบครัว
อับดีคาลิโควา ได้เคยพูดเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ว่า เนื่องจากการไปแจ้งความจะก่อให้เกิดตราบาปที่ส่งผลต่อเนื่องใหญ่โตมาก ดังนั้น “ไม่ใช่ผู้หญิงทุกคนหรอกที่กล้าพูดถึงเรื่องนี้ พวกเธอไม่ต้องการนำเอาเสื้อผ้าสกปรกมอมแมมของพวกเธอมาผึ่งลมในที่สาธารณะให้คนอื่นๆ เห็น” ส่วน ตาเตียนา อุสมาโนวา (Tatyana Usmanova) จากกลุ่มเอ็นจีโอที่มีชื่อว่า ศูนย์เพื่อการสนับสนุนผู้หญิง (Center for Supporting Women) ได้ไปพูดในการประชุมเสวนาโต๊ะกลมซึ่งจัดขึ้นในเดือนมกราคมในทำนองคล้ายๆ กันว่า “สังคม (คาซัคสถาน) ยังคงมีความอดกลั้นอดทนสูงมากๆ ต่อเรื่องการใช้ความรุนแรงภายในครอบครัว”
แม้กระทั่งเมื่อผู้หญิงไปแจ้งความร้องทุกข์ตำรวจแล้ว บ่อยครั้งทีเดียวเธอจะต้องกลับไปถอนเรื่อง ด้วยเหตุผลต่างๆ นานาตั้งแต่การถูกครอบครัวกดดัน ไปจนถึงการที่เธอยังคงต้องพึ่งพาผู้ที่ถูกกล่าวหาเป็นตัวการทำร้ายเธอ ในทางด้านการเงิน รัฐมนตรีช่วยมหาดไทย ไครัต ตีนีเบคอฟ (Kayrat Tynybekov) ไปแถลงต่อรัฐสภาเมื่อปีที่แล้วระบุว่า ในปี 2011 มีผู้หญิงราว 20,000 คนไปร้องเรียนตำรวจเรื่องการใช้ความรุนแรงในครอบครัว อย่างไรก็ตาม มีเพียงส่วนเสี้ยวเดียวของการร้องทุกข์เบื้องต้นเหล่านี้เท่านั้น ซึ่งสิ้นสุดลงด้วยการลงบันทึกแจ้งความอย่างเป็นทางการ
ช่วงห่างระหว่างจำนวนผู้หญิงที่ไปแจ้งความคดีอาญา กับจำนวนผู้หญิงที่กำลังต้องการความช่วยเหลือนั้น ยังถ่างกว้างเหลือเกิน โดยที่กระทรวงมหาดไทยได้รายงานต่อรัฐสภาในเดือนตุลาคมว่า มีผู้หญิง 37,000 คนทีเดียวไปขอความช่วยเหลือจากพวกหน่วยพิเศษเพื่อการคุ้มครองสตรีจากความรุนแรง (Protect Women From Violence Unit) ของทางกระทรวง และมีอีก 11,000 คนซึ่งไปขอความช่วยเหลือจากศูนย์วิกฤต (crisis center) ที่มีอยู่ 28 ศูนย์ในคาซัคสถาน
ในเวลาเดียวกัน อัตราการตัดสินว่าจำเลยมีความผิดในคดีอาญาด้านการใช้ความรุนแรงภายในครอบครัว ก็ได้ลดต่ำลงนับตั้งแต่ที่กฎหมายฉบับใหม่ๆ บังคับใช้ โดยที่ในปี 2012 มีคดีที่จำเลยถูกตัดสินว่าผิดจริงจำนวน 509 คดี เปรียบเทียบกับในปี 2009 ที่มี 988 คดี ก็เท่ากับลดฮวบลงถึง 48% อีกทั้งยังลงต่ำกว่ามาก เมื่อเทียบกับระดับการลดลงของการแจ้งความซึ่งอยู่ที่ 12% เท่านั้น แม้ว่าตัวเลขคดีที่จำเลยถูกตัดสินว่าผิดจริงในความผิดลหุโทษ อาจจะมีส่วนทำให้ตัวเลขเหล่านี้เบี่ยงเบนไปได้ ทั้งนี้ในปีที่แล้ว จำนวนจำเลยที่ถูกตัดสินว่าผิดจริงและถูกลงโทษถึงขั้นจำคุก (ซึ่งก็คือไม่ใช่คดีความผิดลหุโทษ) มี 389 คน (เท่ากับ 76% ของจำเลยที่ถูกตัดสินว่าผิดจริง)
เนื่องในโอกาสที่ทั่วโลกจัดการรณรงค์ “Say NO” ประจำปีระหว่างวันที่ 25 พฤศจิกายนถึง 10 ธันวาคมปีนี้ โปดรูกี ได้พยายามล็อบบี้รัฐบาลให้จัดตั้งเครือข่ายบ้านปลอดภัยขึ้นมาทั่วประเทศ เพื่อให้เหยื่อของความรุนแรงในครอบครัวได้ใช้เป็นที่พักพิงหลบภัย ในปัจจุบัน มีกลุ่มเอ็นจีโอดำเนินการเครือข่ายบ้านปลอดภัยขึ้นมาในบางพื้นที่ของคาซัคสถานอยู่เหมือนกัน ทว่าไม่ทั่วถึง โดยที่ในเมืองใหญ่ๆ บางแห่ง รวมทั้งนครอัลมาตี ยังไม่มีจุดที่ใช้เป็นบ้านปลอดภัยอย่างชัดเจนแน่นอนเลย ปรากฏว่ามีสมาชิกรัฐสภาจำนวนหนึ่งออกมาพูดแสดงความเห็นสนับสนุนให้รัฐเข้าไปมีบทบาทในเรื่องนี้
“สำหรับพวกเราที่เป็นผู้ปกป้องสิทธิมนุษยชนในส่วนของสิทธิของผู้หญิง เราเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญมากที่รัฐควรเข้าไปแสดงบทบาทสำคัญในการป้องกันไม่ให้เกิดความรุนแรงเช่นนี้ขึ้นมา และด้วยเหตุนี้ การมีบ้านปลอดภัยของรัฐขึ้นมาจึงเป็นเรื่องที่สำคัญๆ จริงๆ สำหรับเรา” กลาดีร์ กล่าว เธอยังแสดงความเชื่อมั่นว่ารัฐบาล “เวลานี้กำลังฟังเสียงของเรา และพวกเขาจะทำงานร่วมกับเรา”
โจอันนา ลิลลิส เป็นนักเขียนอิสระที่ชำนาญเป็นพิเศษในเรื่องเอเชียกลาง ข้อเขียนนี้ตอนแรกเริ่มโพสต์เอาไว้ในเว็บไซต์ EurasiaNet.org.
(สำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส)