xs
xsm
sm
md
lg

สมเด็จพระเทพฯเสด็จฯเปิดงาน คิดถึง “สมเด็จย่า” จากพระราชศรัทธาสู่พระพุทธศาสนา

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ทอดพระเนตรนิทรรศการ
ธารินทร์,ดร.พนัส
ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดอย่างต่อเนื่อง บจก. สยามพิวรรธน์ จึงร่วมกับ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ และบมจ.ไทยเบฟเวอเรจ จัดงานนิทรรศการ “คิดถึง...สมเด็จย่า” ครั้งที่ 17 ขึ้น และร่วมแสดงมุทิตาจิตในโอกาสที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก มีพระชนมายุครบ 100 พรรษา ภายใต้แนวคิด “พระราชศรัทธา”

การนี้ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯมาทรงเปิดงาน ณ แกรนด์ฮอลล์ ชั้น 1 สยามดิสคัฟเวอรี่ โดยมี ธารินทร์ นิมมานเหมินทร์ ประธานกรรมการบริษัท สยามพิวรรธน์ ,ดร.พนัส สิมะเสถียร,เกตุวลี นภาศัพท์ ,พาสินี ลิ่มอติบูลย์,สุเวทย์ ธีรวชิรกุล,กนิช บุณยัษฐิติ,ชฎาทิพ จูตระกูล คณะกรรมการมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ตลอดจนคณะผู้บริหาร เฝ้ารับเสด็จ

หลังจากที่ประธานกรรมการบจก.สยามพิวรรธน์ กราบทูลถวายรายงานแล้ว สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงตัดแถบแพรเปิดงานนิทรรศการ “คิดถึง...สมเด็จย่า” ครั้งที่ 17 และทรงพระดำเนินทอดพระเนตรภายในบริเวณนิทรรศการซึ่งครั้งนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “พระราชศรัทธา” โดยนิทรรศการแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย
ชฎาทิพย์,พล.อ.ม.ล.ทศนวอมร,คุณหญิงพวงร้อย,พาสินี
พล.ร.อ.เดชา,คุณหญิงชดช้อย,ท่านผู้หญิงบุตรี,คุณหญิงทิพยวรรณ
ส่วนที่ 1 “พระราชศรัทธา” จัดแสดงหนังสือธรรมะในพระราชปรารภสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เช่น หนังสือ “ธรรมบรรยาย” ซึ่งได้ถอดเสียงจากการบรรยายธรรมทางวิทยุของสถานีวิทยุ อ.ส.พระราชวังดุสิต อันทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดรายการดังกล่าวขึ้นเป็นประจำทุกวันตลอดกาลทรงพระผนวชพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในปีพุทธศักราช 2499

ส่วนที่ 2 “ศิลปะ...เหตุผล” จัดแสดงรูปถ่ายและแบบจำลองพระพุทธรูปเซรามิกฝีพระหัตถ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระพุทธรูปฝีพระหัตถ์นี้อาจมิใช่งดงามด้วยความวิจิตรพิสดารทางศิลปะ แต่งดงามด้วยพระพุทธลักษณะที่สงบนิ่งมั่นคง อันสะท้อนถึงพระราชหฤทัยอันสบงสันโดษ นอกจากนี้ยังมีภาพวาดฝีพระหัตถ์บนจานเซรามิก พระราชทานชื่อว่า “Navire Plastrem” (นาเวียล ป้าดแทรม) เป็นภาพกลุ่มดาวกลุ่มหนึ่ง โดยที่ดาวแต่ละดวงแทนนักปราชญ์และนักเขียนบางคนที่โปรดหรือทรงนับถือ ทรงเขียนอักษรย่อชื่อนักปราชญ์และนักเขียนกลุ่มนี้ไว้ด้านหลังของจาน โดยมีคำว่า “ศิลปะ” และ “เหตุผล” ในภาษาฝรั่งเศสรวมอยู่ด้วย นอกจากนี้ทรงเขียนประโยคว่า “C’est avec ce navire que je vais voyager” (เซ ตะแว็ก เซอ นาเวียล เกอะ เชอ เว วัวยาดเช่) แปลความว่า “ฉันจะเดินทางด้วยเรือลำนี้”

ส่วนที่ 3 “ปัญญา + ความรู้ที่ถูกต้องก็ทำไปในทางที่ถูก” จัดแสดงหนังสือชุด “รวมธรรมะ” โดย พระราชปรารภสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พร้อมทั้งพระราชหัตถเลขาและเอกสารเกี่ยวเนื่องในการผลิตหนังสือชุดดังกล่าว หนังสือชุดนี้ประกอบไปด้วย หัวข้อธรรมในพระพุทธศาสนาพร้อมคำอธิบายที่กระชับได้ใจความ เรียบเรียงด้วยภาษาที่เรียบง่ายเป็นที่เข้าใจได้สำหรับบุคคลทั่วไป ทั้งนี้ในปีพุทธศักราช 2514 ทรงมีพระราชปรารภว่าควรมีหนังสือแนะแนวคำสั่งสอนในศาสนาอิสลาม สำหรับพระราชทานแก่ประชาชนในภาคใต้ผู้นับถือศาสนาอิสลามและสำหรับผู้ประสงค์จะทราบทั่วไป จึงโปรดเกล้าฯให้จัดพิมพ์หนังสือ “ศาสนาอิสลามสอนอะไร” ขึ้นอีกด้วย

พร้อมกันนี้ภายในงาน ท่านผู้หญิงพึงใจ สินธวานนท์,ท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ,คุณหญิงพวงร้อย ดิศกุล,พล.อ.ม.ล.ทศนวอมร เทวกุล,คุณหญิงวิจันทรา บุญนาค,คุณหญิงปานจิตต์ วัฒนายากร,พล.ร.อ.เดชา บุนนาค,ม.ล.บุณยนุช เกษมสันต์ ฯลฯ มาร่วมชมนิทรรศการและถ่ายรูปอย่างเรียบง่าย
ท่านผู้หญิงพึงใจ,คุณหญิงวิจันทรา
คุณหญิงพวงร้อย,คุณหญิงกิ่งแก้ว,สมฤดี อมาตยกุล
 
>> อัพเดตข่าวในแวดวงสังคม ก็อซซิป แฟชั่น ความงาม และเที่ยว กิน ดื่ม เพิ่มเติมได้ที่  http://www.celeb-online.net
กำลังโหลดความคิดเห็น