คอลัมน์ : Nature Impressions โดย แอชลีย์ วินเซนต์
แอนติโลป เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในกลุ่มสัตว์กีบคู่ วงศ์เดียวกับวัวและควาย และมีหลายชนิดในหลายสกุล แอนติโลปพันธุ์ที่มีขนาดตัวเล็กที่สุดมีชื่อเรียกว่า เคริก์-ดิกดิก(Madoqua kirkii) ตัวที่โตเต็มวัยแล้วน้ำหนักไม่เกิน7กิโลกรัม ความสูงตอนยืนประมาณ 35-45เซนติเมตร ดิกดิกต่างจากแอนติโลปพันธุ์อื่น ตรงที่มันจะไม่อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม หรือเป็นฝูงใหญ่ มักจะหากินอยู่เพียงตัวเดียวหรือเป็นคู่ หรือกับลูกน้อยของมันเท่านั้น ดิกดิกจะจับคู่เพียงครั้งเดียวตลอดชีวิตครับ
ผมได้เรียนรู้เรื่องราวของดิกดิกเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ2006ตอนที่ผมพาครอบครัวไปท่องซาฟารีเป็นครั้งแรก น่าเสียดายไม่น้อย ที่ดิกดิกตัวแรกที่ผมได้พบเห็นในวันนั้น เป็นดิกดิกบาดเจ็บที่นอนหายใจรวยรินรอเวลาที่วิญญาณจะออกจากร่าง
เช้าวันนั้น พวกเราออกเดินทางเพื่อตามรอยช้างป่าโขลงหนึ่งอยู่ ไกด์ขับรถเข้าป่าไปเรื่อย ๆ และทันใดนั้น เขาก็ชะรอรถลงและถามผมขึ้นมาว่า“คุณได้ยินเสียงอะไรไหม..ผมได้ยินเสียงครางเหมือนสัตว์ได้รับบาดเจ็บร้องอยู่แถวนี้”ผมพยายามเงี่ยหูฟังบ้าง แต่ไม่ได้ยินเสียงอะไรเลย นอกจากเสียงลม ผมรู้สึกทึ่งกับความหูไวของไกด์ที่สะสมประสบการณ์ในป่ายาวนานจนไม่มีเสียงใดจะสามารถรอดหูรอดตาของเขาไปได้โดยง่าย
เราจอดรถและดับเครื่องยนต์ลงเพื่อจะตั้งใจฟังให้ออกว่า เสียงครางดังมาจากทิศทางไหน แล้วเราก็มองเห็นความเคลื่อนไหวจากพุ่มไม้หนาทึบทางด้านหลัง ผมลองส่องกล้องทางไกลไปทางนั้น และก็ได้เห็นภาพเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึงอยู่ตรงหน้า นกอินทรีมาเชอร์(http://manager.co.th/CelebOnline/ViewNews.aspx?NewsID=9560000089130)ตัวหนึ่งกำลังยืนตื่นตัวคร่อมดิกดิกบาดเจ็บที่ใกล้จะตายเต็มที พวกเราทุกคนในรถมองภาพนั้นด้วยความเงียบสงบ เราเป็นเพียงแค่ผู้ชมฉากชีวิตของธรรมชาติ มันเป็นวงจรชีวิตในป่า เป็นห่วงโซ่อาหารของกัน ที่มนุษย์อย่างเราไม่มีสิทธิ์เข้าไปยุ่งเกี่ยว
แต่ไม่ว่า พวกเราจะนิ่งเงียบและเคลื่อนไหวกันน้อยแค่ไหน เจ้าอินทรีมาเชอร์ก็มีสัมผัสไวไม่แพ้ไกด์ของผมเลยล่ะครับ มันคงจะได้กลิ่นหรืออาจจะมองเห็นพวกเราก็ได้ ผมเห็นมันมองไปรอบ ๆ แล้วโผบินขึ้นไปเกาะอยู่บนต้นไม้สูง สายตาของมันยังจับจ้องอยู่ที่ซากดิกดิกบนพื้น ไกด์บอกพวกเราว่า อินทรีมาเชอร์จะรอจนกว่าพวกเราจากไปก่อน มันจึงจะเข้ามาจัดการกับอาหารของมัน พวกเราจึงต้องให้ความเคารพต่อวิถีของป่า พากันจากมาอย่างเงียบ ๆ
ดิกดิก เป็นสมาชิกรุ่นจิ๋วในป่าอัฟริกาที่ต้องระวังตัวอยู่ตลอดเวลาเลยครับ สัตว์กินเนื้อที่มีขนาดตัวใหญ่กว่าดิกดิก เห็นมันเป็นอาหารจานโปรดทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็น ตะกวด งูเหลือม อินทรีมาเชอร์ เหยี่ยว บาบูน หมาป่า ไฮยีน่า ชีตาร์ เสือดาว หรือสิงโต
ภาพสองใบแรก ผมไม่ได้ถ่ายได้ตอนออกตระเวนในป่านะครับ ผมถ่ายได้ใกล้กับแค้มป์ที่พักที่พวกเราพักอาศัยอยู่ในเขตสงวนธรรมชาติมาไซมาร่า แค้มป์นี่ตั้งอยู่ไม่ไกลจากประตูทางเข้าเขตสงวน ห่างไกลและปลอดภัยจากพวกสัตว์นักล่า แต่ยังคงความเป็นธรรมชาติไว้เกือบทั้งหมด ไม่มีรั้วกั้น สัตว์หลายชนิดจึงเข้ามาให้เห็นในแค้มป์เสมอ บางทีพวกมันก็มาหาของกิน หรือบางทีก็แค่หนีร้อนเข้ามาหลบแดดกันเท่านั้น
ในช่วงหยุดพักทานอาหารกลางวัน ผมจึงมักจะได้เห็น ดิกดิก ไฮแร็กส์ (คล้ายหนูแฮมเตอร์ แต่ตัวใหญ่กว่ามาก)ลิงเวอเว็จ บาบูน พังพอนแคะ และนกอีกหลายชนิด โชว์ตัวกันอยู่รอบ ๆ แค้มป์เสมอ ภาพใบแรก ผมถ่ายได้ตอนที่ฟ้ากำลังเปิดเต็มที่เลยครับ ไม่มีเมฆสักก้อนช่วยกรองแสงแดดยามเที่ยงวันให้ผมเลย แสงจัดเกินไป ไม่ได้เป็นที่ต้องการของช่างภาพธรรมชาตินะครับ ผมต้องตั้งกล้องรอจนดิกดิกเดินเข้ามาในร่ม และรีบกดชัตเตอร์เพื่อให้ได้ภาพที่ต้องการ ดิกดิกตัวนี้ก็ไม่ได้หยุดยืนเฉยให้ผมเก็บภาพได้ง่าย ๆ นะครับ เธอเพียงแค่เยื้องย่างผ่านมาและก็เดินจากไป
การเดินทางในครั้งนั้น ผมได้พบเห็นดิกดิกอีกหลายตัวหลายครั้ง ในสภาพแวดล้อมและดินฟ้าอากาศที่ต่างกันออกไปด้วยครับ เช่น ในภาพใบที่สองผมถ่ายได้ตอนเช้าตรู่ของวันหนึ่งที่แสงอาทิตย์กำลังเปลี่ยนเป็นสีทอง ซึ่งเป็นช่วงเวลาสำหรับถ่ายภาพในฝันของช่างภาพทุกคน ผมยังเคยได้เห็นดิกดิกยืนหลบฝนตอนที่ฝนกำลังตกอย่างหนัก แต่ผมไม่ได้ถ่ายภาพตอนนั้นไว้หรอกนะครับ เพราะตัวผมเองก็ต้องพยายามไม่ให้ตัวเองและเครื่องมือทำมาหากินของผมเปียกโชกเสียหายอยู่เหมือนกัน
ภาพที่สามและสี่ เป็นภาพพฤติกรรมที่น่ารักน่าสนใจของดิกดิกที่ผมอยากจะแบ่งปันกับทุกท่านครับ ดิกดิกตัวนี้ยืนมองกลับมาที่พวกเราหลายครั้งตอนที่พวกเราจอดรถแอบมองมันอยู่ไม่ไกลนัก หลายนาทีผ่านไป เจ้าดิกดิกคงจะสัมผัสได้แล้วว่า พวกเราไม่ใช่นักล่าที่จ้องจะตระคลุบสังหารมัน ดูมันผ่อนคลายขึ้น สุดท้ายมันก็กล้าเดินออกหาของกิน ดิกดิกชอบกินพืชที่มีใบและก้านที่มีรสหวานฉ่ำครับ
รูปหัวของดิกดิกเล็กยาวสมส่วน เวลาที่มันยื่นปากออกเพื่อดึงกินใบไม้ จะไม่ถูกหนามแหลมคมของพุ่มไม้ทิ่มตำได้ง่ายนัก แอนติโลปพันธุ์อื่น ๆ จะกินหญ้าเป็นอาหารหลัก แต่ดิกดิกโปรดปรานพวกผลไม้ ใบพืช และลูกเบอร์รี่ พฤติกรรมการเลือกกินของดิกดิก ช่วยให้ร่างกายของมันสามารถกักเก็บของเหลวไว้ในร่างกายอย่างพอเพียง ทำให้มันไม่มีความจำเป็นต้องพึ่งแหล่งน้ำ มันเป็นสัญชาตญาณรักษาชีวิตอย่างหนึ่ง เพราะแหล่งน้ำเป็นจุดรวมตัวของสัตว์นานาชนิด และสัตว์กินเนื้อแทบทุกอย่างก็ชอบกินดิกดิกเสียด้วย
ขอบคุณทุกท่านมากครับ ที่กรุณาติดตามคอลัมน์นี้ ผมขอให้ทุกท่านมีความสุขกับทุกวันของชีวิต พบกันใหม่อาทิตย์หน้าครับ
รู้จัก...แอชลีย์ วินเซนต์
ชาวอังกฤษเชื้อสายอิสราเอล ที่ผันตัวเองจากการทำธุรกิจด้านเรียลเอสเตท มาทำงานเป็นช่างภาพถ่ายภาพสัตว์ป่าอย่างเต็มตัว เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา
ปัจจุบัน นอกจากเปิดร้าน Nature Impressions จำหน่ายผลงานของตัวเอง ณ สวนสัตว์เปิดเขาเขียว ต.บางพระ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ที่กล่าวกันว่า เป็นสวนสัตว์เปิดที่ใหญ่อันดับ 1 ของโลก เขายังทำงานให้กับสวนสัตว์แห่งนี้ ในฐานะอาสาสมัครเก็บภาพสัตว์ป่าไปพร้อมกันด้วย
ผลงานภาพถ่าย “บุษบา” เสือโคร่งเพศเมีย ถ่ายจากสวนสัตว์เปิดเขาเขียว ของแอชลีย์ได้รับการประกาศให้เป็น สุดยอดภาพถ่าย National Geographic 2012
เสมือนบอกย้ำให้กำลังใจช่างภาพหลายๆ คนว่า “ภาพถ่ายสัตว์ป่าที่ดี ไม่ต้องไปถึงเคนยา”
ติดตามอ่าน ...Nature Impressions โดย แอชลีย์ วินเซนต์ ได้ทุกอาทิตย์ ทาง ART EYE VIEW
ส่งข่าวสารงานศิลปะร่วมสมัย มาได้ที่ ข่าว ART EYE VIEW www.astvmanager.com และ เซกชัน Lite ในหนังสือพิมพ์ ASTV ผู้จัดการสุดสัปดาห์ Email: thinksea@hotmail.com
และคลิกเป็น แฟนเพจ ได้ที่ http://www.facebook.com/arteyeviewnews
แอนติโลป เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในกลุ่มสัตว์กีบคู่ วงศ์เดียวกับวัวและควาย และมีหลายชนิดในหลายสกุล แอนติโลปพันธุ์ที่มีขนาดตัวเล็กที่สุดมีชื่อเรียกว่า เคริก์-ดิกดิก(Madoqua kirkii) ตัวที่โตเต็มวัยแล้วน้ำหนักไม่เกิน7กิโลกรัม ความสูงตอนยืนประมาณ 35-45เซนติเมตร ดิกดิกต่างจากแอนติโลปพันธุ์อื่น ตรงที่มันจะไม่อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม หรือเป็นฝูงใหญ่ มักจะหากินอยู่เพียงตัวเดียวหรือเป็นคู่ หรือกับลูกน้อยของมันเท่านั้น ดิกดิกจะจับคู่เพียงครั้งเดียวตลอดชีวิตครับ
ผมได้เรียนรู้เรื่องราวของดิกดิกเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ2006ตอนที่ผมพาครอบครัวไปท่องซาฟารีเป็นครั้งแรก น่าเสียดายไม่น้อย ที่ดิกดิกตัวแรกที่ผมได้พบเห็นในวันนั้น เป็นดิกดิกบาดเจ็บที่นอนหายใจรวยรินรอเวลาที่วิญญาณจะออกจากร่าง
เช้าวันนั้น พวกเราออกเดินทางเพื่อตามรอยช้างป่าโขลงหนึ่งอยู่ ไกด์ขับรถเข้าป่าไปเรื่อย ๆ และทันใดนั้น เขาก็ชะรอรถลงและถามผมขึ้นมาว่า“คุณได้ยินเสียงอะไรไหม..ผมได้ยินเสียงครางเหมือนสัตว์ได้รับบาดเจ็บร้องอยู่แถวนี้”ผมพยายามเงี่ยหูฟังบ้าง แต่ไม่ได้ยินเสียงอะไรเลย นอกจากเสียงลม ผมรู้สึกทึ่งกับความหูไวของไกด์ที่สะสมประสบการณ์ในป่ายาวนานจนไม่มีเสียงใดจะสามารถรอดหูรอดตาของเขาไปได้โดยง่าย
เราจอดรถและดับเครื่องยนต์ลงเพื่อจะตั้งใจฟังให้ออกว่า เสียงครางดังมาจากทิศทางไหน แล้วเราก็มองเห็นความเคลื่อนไหวจากพุ่มไม้หนาทึบทางด้านหลัง ผมลองส่องกล้องทางไกลไปทางนั้น และก็ได้เห็นภาพเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึงอยู่ตรงหน้า นกอินทรีมาเชอร์(http://manager.co.th/CelebOnline/ViewNews.aspx?NewsID=9560000089130)ตัวหนึ่งกำลังยืนตื่นตัวคร่อมดิกดิกบาดเจ็บที่ใกล้จะตายเต็มที พวกเราทุกคนในรถมองภาพนั้นด้วยความเงียบสงบ เราเป็นเพียงแค่ผู้ชมฉากชีวิตของธรรมชาติ มันเป็นวงจรชีวิตในป่า เป็นห่วงโซ่อาหารของกัน ที่มนุษย์อย่างเราไม่มีสิทธิ์เข้าไปยุ่งเกี่ยว
แต่ไม่ว่า พวกเราจะนิ่งเงียบและเคลื่อนไหวกันน้อยแค่ไหน เจ้าอินทรีมาเชอร์ก็มีสัมผัสไวไม่แพ้ไกด์ของผมเลยล่ะครับ มันคงจะได้กลิ่นหรืออาจจะมองเห็นพวกเราก็ได้ ผมเห็นมันมองไปรอบ ๆ แล้วโผบินขึ้นไปเกาะอยู่บนต้นไม้สูง สายตาของมันยังจับจ้องอยู่ที่ซากดิกดิกบนพื้น ไกด์บอกพวกเราว่า อินทรีมาเชอร์จะรอจนกว่าพวกเราจากไปก่อน มันจึงจะเข้ามาจัดการกับอาหารของมัน พวกเราจึงต้องให้ความเคารพต่อวิถีของป่า พากันจากมาอย่างเงียบ ๆ
ดิกดิก เป็นสมาชิกรุ่นจิ๋วในป่าอัฟริกาที่ต้องระวังตัวอยู่ตลอดเวลาเลยครับ สัตว์กินเนื้อที่มีขนาดตัวใหญ่กว่าดิกดิก เห็นมันเป็นอาหารจานโปรดทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็น ตะกวด งูเหลือม อินทรีมาเชอร์ เหยี่ยว บาบูน หมาป่า ไฮยีน่า ชีตาร์ เสือดาว หรือสิงโต
ภาพสองใบแรก ผมไม่ได้ถ่ายได้ตอนออกตระเวนในป่านะครับ ผมถ่ายได้ใกล้กับแค้มป์ที่พักที่พวกเราพักอาศัยอยู่ในเขตสงวนธรรมชาติมาไซมาร่า แค้มป์นี่ตั้งอยู่ไม่ไกลจากประตูทางเข้าเขตสงวน ห่างไกลและปลอดภัยจากพวกสัตว์นักล่า แต่ยังคงความเป็นธรรมชาติไว้เกือบทั้งหมด ไม่มีรั้วกั้น สัตว์หลายชนิดจึงเข้ามาให้เห็นในแค้มป์เสมอ บางทีพวกมันก็มาหาของกิน หรือบางทีก็แค่หนีร้อนเข้ามาหลบแดดกันเท่านั้น
ในช่วงหยุดพักทานอาหารกลางวัน ผมจึงมักจะได้เห็น ดิกดิก ไฮแร็กส์ (คล้ายหนูแฮมเตอร์ แต่ตัวใหญ่กว่ามาก)ลิงเวอเว็จ บาบูน พังพอนแคะ และนกอีกหลายชนิด โชว์ตัวกันอยู่รอบ ๆ แค้มป์เสมอ ภาพใบแรก ผมถ่ายได้ตอนที่ฟ้ากำลังเปิดเต็มที่เลยครับ ไม่มีเมฆสักก้อนช่วยกรองแสงแดดยามเที่ยงวันให้ผมเลย แสงจัดเกินไป ไม่ได้เป็นที่ต้องการของช่างภาพธรรมชาตินะครับ ผมต้องตั้งกล้องรอจนดิกดิกเดินเข้ามาในร่ม และรีบกดชัตเตอร์เพื่อให้ได้ภาพที่ต้องการ ดิกดิกตัวนี้ก็ไม่ได้หยุดยืนเฉยให้ผมเก็บภาพได้ง่าย ๆ นะครับ เธอเพียงแค่เยื้องย่างผ่านมาและก็เดินจากไป
การเดินทางในครั้งนั้น ผมได้พบเห็นดิกดิกอีกหลายตัวหลายครั้ง ในสภาพแวดล้อมและดินฟ้าอากาศที่ต่างกันออกไปด้วยครับ เช่น ในภาพใบที่สองผมถ่ายได้ตอนเช้าตรู่ของวันหนึ่งที่แสงอาทิตย์กำลังเปลี่ยนเป็นสีทอง ซึ่งเป็นช่วงเวลาสำหรับถ่ายภาพในฝันของช่างภาพทุกคน ผมยังเคยได้เห็นดิกดิกยืนหลบฝนตอนที่ฝนกำลังตกอย่างหนัก แต่ผมไม่ได้ถ่ายภาพตอนนั้นไว้หรอกนะครับ เพราะตัวผมเองก็ต้องพยายามไม่ให้ตัวเองและเครื่องมือทำมาหากินของผมเปียกโชกเสียหายอยู่เหมือนกัน
ภาพที่สามและสี่ เป็นภาพพฤติกรรมที่น่ารักน่าสนใจของดิกดิกที่ผมอยากจะแบ่งปันกับทุกท่านครับ ดิกดิกตัวนี้ยืนมองกลับมาที่พวกเราหลายครั้งตอนที่พวกเราจอดรถแอบมองมันอยู่ไม่ไกลนัก หลายนาทีผ่านไป เจ้าดิกดิกคงจะสัมผัสได้แล้วว่า พวกเราไม่ใช่นักล่าที่จ้องจะตระคลุบสังหารมัน ดูมันผ่อนคลายขึ้น สุดท้ายมันก็กล้าเดินออกหาของกิน ดิกดิกชอบกินพืชที่มีใบและก้านที่มีรสหวานฉ่ำครับ
รูปหัวของดิกดิกเล็กยาวสมส่วน เวลาที่มันยื่นปากออกเพื่อดึงกินใบไม้ จะไม่ถูกหนามแหลมคมของพุ่มไม้ทิ่มตำได้ง่ายนัก แอนติโลปพันธุ์อื่น ๆ จะกินหญ้าเป็นอาหารหลัก แต่ดิกดิกโปรดปรานพวกผลไม้ ใบพืช และลูกเบอร์รี่ พฤติกรรมการเลือกกินของดิกดิก ช่วยให้ร่างกายของมันสามารถกักเก็บของเหลวไว้ในร่างกายอย่างพอเพียง ทำให้มันไม่มีความจำเป็นต้องพึ่งแหล่งน้ำ มันเป็นสัญชาตญาณรักษาชีวิตอย่างหนึ่ง เพราะแหล่งน้ำเป็นจุดรวมตัวของสัตว์นานาชนิด และสัตว์กินเนื้อแทบทุกอย่างก็ชอบกินดิกดิกเสียด้วย
ขอบคุณทุกท่านมากครับ ที่กรุณาติดตามคอลัมน์นี้ ผมขอให้ทุกท่านมีความสุขกับทุกวันของชีวิต พบกันใหม่อาทิตย์หน้าครับ
รู้จัก...แอชลีย์ วินเซนต์
ชาวอังกฤษเชื้อสายอิสราเอล ที่ผันตัวเองจากการทำธุรกิจด้านเรียลเอสเตท มาทำงานเป็นช่างภาพถ่ายภาพสัตว์ป่าอย่างเต็มตัว เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา
ปัจจุบัน นอกจากเปิดร้าน Nature Impressions จำหน่ายผลงานของตัวเอง ณ สวนสัตว์เปิดเขาเขียว ต.บางพระ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ที่กล่าวกันว่า เป็นสวนสัตว์เปิดที่ใหญ่อันดับ 1 ของโลก เขายังทำงานให้กับสวนสัตว์แห่งนี้ ในฐานะอาสาสมัครเก็บภาพสัตว์ป่าไปพร้อมกันด้วย
ผลงานภาพถ่าย “บุษบา” เสือโคร่งเพศเมีย ถ่ายจากสวนสัตว์เปิดเขาเขียว ของแอชลีย์ได้รับการประกาศให้เป็น สุดยอดภาพถ่าย National Geographic 2012
เสมือนบอกย้ำให้กำลังใจช่างภาพหลายๆ คนว่า “ภาพถ่ายสัตว์ป่าที่ดี ไม่ต้องไปถึงเคนยา”
ติดตามอ่าน ...Nature Impressions โดย แอชลีย์ วินเซนต์ ได้ทุกอาทิตย์ ทาง ART EYE VIEW
ส่งข่าวสารงานศิลปะร่วมสมัย มาได้ที่ ข่าว ART EYE VIEW www.astvmanager.com และ เซกชัน Lite ในหนังสือพิมพ์ ASTV ผู้จัดการสุดสัปดาห์ Email: thinksea@hotmail.com
และคลิกเป็น แฟนเพจ ได้ที่ http://www.facebook.com/arteyeviewnews