คอลัมน์ : Nature Impressions โดย แอชลีย์ วินเซนต์
หลายอาทิตย์ติดต่อกันแล้ว ที่ผมได้นำภาพถ่ายสัตว์ป่าจากแคนย่ามาแบ่งปันกับทุกท่าน อาทิตย์นี้ผมขออนุญาตเปลี่ยนบรรยากาศด้วยการนำภาพถ่ายสัตว์ป่าจากสวนสัตว์มาเสนอต่อทุกท่านบ้างนะครับ
สวนสัตว์เปิดเขาเขียว เป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับระดับสากล ว่าเป็นหนึ่งในสวนสัตว์ที่ดีที่สุดในโลก มันเป็นสวนสัตว์เปิดที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้วยครับ สวนสัตว์แห่งนี้สามารถรองรับสัตว์ป่าต่างสายพันธุ์ได้เป็นจำนวนมาก และทางสวนสัตว์ก็พยายามปรับแต่งพื้นที่อยู่อาศัยของสัตว์แต่ละชนิดอยู่เสมอ ให้มีสภาพแวดล้อมคล้ายคลึงกับธรรมชาติของมันมากที่สุด สัตว์ที่อยู่ในสวนสัตว์เปิดเขาเขียวนี้มองดูแข็งแรงและมีสุขภาพดีมากครับ
ผมได้เห็น เจ้าหน้าที่ในสวนสัตว์เปิดเขาเขียวทุกคนทำงานกันอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย มีการศึกษาวิจัยทำความเข้าใจชีวิตของสัตว์ป่ากันอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาปรับปรุงชีวิตของสัตว์ให้เต็มศักยภาพที่สุด สิ่งที่ยืนยันความสำเร็จของสวนสัตว์เปิดเขาเขียวส่วนหนึ่ง น่าจะวัดได้จากปริมาณการเกิดใหม่ของสัตว์หลายชนิดตลอดหลายปีที่ผ่านมาครับ
ภาพที่ผมนำมาเสนอในอาทิตย์นี้ เป็นบางตัวอย่างของสมาชิกใหม่ในสวนสัตว์เปิดเขาเขียวครับ ภาพใบแรกคือลูก ชะมดอินเดียน (Viverricula indica) มันถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มสัตว์กินเนื้อ(Carnivore) และมีอีกชื่อเรียกว่า Feliformai
ชะมดมีถิ่นกำเนิดในป่าชื้นร้อนของเอเชียและอัฟริกา สามารถใช้ชีวิตอยู่ได้ในหลายสภาพแวดล้อม ประชากรของชะมดที่หากินอยู่ตามธรรมชาติยังมีเหลืออยู่มาก จนสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ(IUCN) จัดให้ชะมดอยู่ในกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์(LC)
ภาพใบที่สองคือลูก เสือลายเมฆ (Neofelis nebulosa)เพศผู้ครับ เสือลายเมฆจัดอยู่ในกลุ่มสัตว์ตระกูลแมวขนาดกลาง ถิ่นกำเนิดของมันอยู่ในเมืองไทยบ้านเรานี่เอง รวมไปถึงอีกหลายประเทศในเอเชียด้วย เสือลายเมฆมีขนที่อ่อนนุ่มและลวดลายสวยงาม และเพราะความงามของขนตัวมันนี่เอง ที่ทำให้มันถูกล่าอย่างหนักจนเกือบจะสูญพันธุ์เต็มที
เราเข้าใจวิถีชีวิตตามธรรมชาติของเสือลายเมฆน้อยมากครับ เรามีข้อมูลพฤติกรรมดั้งเดิมของมันอย่างจำกัด มันเป็นเรื่องที่ขำไม่ค่อยออก ที่ดูเหมือนว่า พวกนายพรานมักจะค้นหาเสือลายเมฆได้เร็วกว่าและบ่อยกว่าเหล่านักวิจัยเสมอ เพราะเมื่อเราได้ข่าวเสือลายเมฆทีไร ก็มักจะเป็นตอนที่มีการบอกซื้อขายชิ้นส่วนของมันไปแล้ว น่าเศร้าใจมาก
แต่ยังพอมีเรื่องที่น่ายินดีอยู่บ้างครับ ที่มีคนบางกลุ่มเห็นความสำคัญในเรื่องนี้ระดับสากล มีการเคลื่อนไหวจนเกิดการจัดตั้ง โครงการคุ้มครองและแพร่พันธุ์เสือลายเมฆ ขึ้นมา และสวนสัตว์เปิดเขาเขียวก็ได้รับการคัดเลือกอนุมัติให้เป็นสถานที่ที่ดำเนินโครงการที่น่าทึ่งนี้ ร่วมกับสถาบันสมิธโซเนียน และสวนสัตว์พอยท์ดิไฟย์ ในรัฐวอชิงตัน โครงการนี้ดำเนินงานมาแล้วกว่า11 ปีและประสบความสำเร็จมากครับ
ภาพใบที่สามคือลูก แรคคูน (Procyon lotor) ครับ แรคคูนมีถิ่นกำเนิดอยู่ในอเมริกาเหนือ มันเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อยู่ได้ในหลายสภาพแวดล้อม ไม่ว่าจะตามภูเขาสูง ในป่าใหญ่ หรือตามที่ราบชายฝั่ง และบางทีก็อาจพบเห็นพวกมันอยู่ไม่ไกลจากที่มนุษย์อาศัยอยู่ด้วย แรคคูนเป็นสัตว์ที่จะตื่นตัวและหากินตอนกลางคืน
แรคคูนกินอาหารได้หลากหลายประเภทเลยครับ อย่างพวกแมลง ปลา นก หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก พวกใบไม้และผลไม้มันก็กินได้ ประชากรของแรคคูนยังมีเหลืออยู่มากในธรรมชาติและยังไม่น่าเป็นห่วงครับ
ภาพสุดท้ายคือลูก จากัวร์ (Panthera onca) เพศเมียทั้งคู่ ถิ่นกำเนิดของจากัวร์อยู่ในอเมริกากลางและอเมริกาใต้เท่านั้นครับ จากัวร์จะถูกมองและถูกเรียกสับสนกับเสือดาวอยู่เสมอ เพราะรูปลักษณ์คล้ายกันมาก แต่เสือดาวมีถิ่นกำเนิดอยู่ในอัฟริกาและเอเชีย ห่างไกลกันคนละทวีปเลยล่ะครับ จากัวร์ไม่ได้อยู่ในกลุ่มสัตว์ตระกูลแมวใหญ่นะครับ แต่ขนาดตัวของมันเมื่อโตเต็มวัยเป็นรองแค่ เสือโคร่งและสิงโตเท่านั้น
จากัวร์ที่โตเต็มที่จะมีรูปร่างใหญ่ และมีกล้ามเนื้อมากกว่าเสือดาวอย่างเห็นได้ชัด คุณอาจจะมองว่าลายบนตัวของพวกมันก็คล้าย ๆ กัน คือเป็นลายห่าง ๆ คล้ายดอกกุหลาบ (Rosettes) แต่จุดสังเกตก็คือ ลายของจากัวร์จะเป็นดอกใหญ่กว่า และจะไม่อยู่ติดใกล้กันเหมือนลายของเสือดาวครับ พฤติกรรมของจากัวร์จะคล้ายกับเสือโคร่งมากกว่าเสือดาวด้วย ยกตัวอย่าง เช่น มันชอบอยู่ใกล้น้ำและเป็นนักว่ายน้ำที่ยอดเยี่ยมมาก
ผมหวังว่าทุกท่านจะมีความสุขกับภาพถ่ายและเนื้อหาเรื่องราวของสัตว์ที่ผมนำมาแบ่งปันนะครับ ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามคอลัมน์นี้ และที่ฝากคอมเม้นท์ไว้ในอาทิตย์ที่ผ่านมา ขอให้ทุกท่านมีรอยยิ้มอยู่เสมอนะครับ และพบกันใหม่อาทิตย์หน้า
รู้จัก...แอชลีย์ วินเซนต์
ชาวอังกฤษเชื้อสายอิสราเอล ที่ผันตัวเองจากการทำธุรกิจด้านเรียลเอสเตท มาทำงานเป็นช่างภาพถ่ายภาพสัตว์ป่าอย่างเต็มตัว เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา
ปัจจุบัน นอกจากเปิดร้าน Nature Impressions จำหน่ายผลงานของตัวเอง ณ สวนสัตว์เปิดเขาเขียว ต.บางพระ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ที่กล่าวกันว่า เป็นสวนสัตว์เปิดที่ใหญ่อันดับ 1 ของโลก เขายังทำงานให้กับสวนสัตว์แห่งนี้ ในฐานะอาสาสมัครเก็บภาพสัตว์ป่าไปพร้อมกันด้วย
ผลงานภาพถ่าย “บุษบา” เสือโคร่งเพศเมีย ถ่ายจากสวนสัตว์เปิดเขาเขียว ของแอชลีย์ได้รับการประกาศให้เป็น สุดยอดภาพถ่าย National Geographic 2012
เสมือนบอกย้ำให้กำลังใจช่างภาพหลายๆ คนว่า “ภาพถ่ายสัตว์ป่าที่ดี ไม่ต้องไปถึงเคนยา”
ติดตามอ่าน ...Nature Impressions โดย แอชลีย์ วินเซนต์ ได้ทุกอาทิตย์ ทาง ART EYE VIEW
ส่งข่าวสารงานศิลปะร่วมสมัย มาได้ที่ ข่าว ART EYE VIEW เซกชัน Celeb Online www.astvmanager.com และ M-Art eye view เซกชัน Lite ในหนังสือพิมพ์ ASTV ผู้จัดการสุดสัปดาห์ Email: thinksea@hotmail.com
และคลิกเป็น แฟนเพจ ได้ที่ http://www.facebook.com/arteyeviewnews
หลายอาทิตย์ติดต่อกันแล้ว ที่ผมได้นำภาพถ่ายสัตว์ป่าจากแคนย่ามาแบ่งปันกับทุกท่าน อาทิตย์นี้ผมขออนุญาตเปลี่ยนบรรยากาศด้วยการนำภาพถ่ายสัตว์ป่าจากสวนสัตว์มาเสนอต่อทุกท่านบ้างนะครับ
สวนสัตว์เปิดเขาเขียว เป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับระดับสากล ว่าเป็นหนึ่งในสวนสัตว์ที่ดีที่สุดในโลก มันเป็นสวนสัตว์เปิดที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้วยครับ สวนสัตว์แห่งนี้สามารถรองรับสัตว์ป่าต่างสายพันธุ์ได้เป็นจำนวนมาก และทางสวนสัตว์ก็พยายามปรับแต่งพื้นที่อยู่อาศัยของสัตว์แต่ละชนิดอยู่เสมอ ให้มีสภาพแวดล้อมคล้ายคลึงกับธรรมชาติของมันมากที่สุด สัตว์ที่อยู่ในสวนสัตว์เปิดเขาเขียวนี้มองดูแข็งแรงและมีสุขภาพดีมากครับ
ผมได้เห็น เจ้าหน้าที่ในสวนสัตว์เปิดเขาเขียวทุกคนทำงานกันอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย มีการศึกษาวิจัยทำความเข้าใจชีวิตของสัตว์ป่ากันอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาปรับปรุงชีวิตของสัตว์ให้เต็มศักยภาพที่สุด สิ่งที่ยืนยันความสำเร็จของสวนสัตว์เปิดเขาเขียวส่วนหนึ่ง น่าจะวัดได้จากปริมาณการเกิดใหม่ของสัตว์หลายชนิดตลอดหลายปีที่ผ่านมาครับ
ภาพที่ผมนำมาเสนอในอาทิตย์นี้ เป็นบางตัวอย่างของสมาชิกใหม่ในสวนสัตว์เปิดเขาเขียวครับ ภาพใบแรกคือลูก ชะมดอินเดียน (Viverricula indica) มันถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มสัตว์กินเนื้อ(Carnivore) และมีอีกชื่อเรียกว่า Feliformai
ชะมดมีถิ่นกำเนิดในป่าชื้นร้อนของเอเชียและอัฟริกา สามารถใช้ชีวิตอยู่ได้ในหลายสภาพแวดล้อม ประชากรของชะมดที่หากินอยู่ตามธรรมชาติยังมีเหลืออยู่มาก จนสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ(IUCN) จัดให้ชะมดอยู่ในกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์(LC)
ภาพใบที่สองคือลูก เสือลายเมฆ (Neofelis nebulosa)เพศผู้ครับ เสือลายเมฆจัดอยู่ในกลุ่มสัตว์ตระกูลแมวขนาดกลาง ถิ่นกำเนิดของมันอยู่ในเมืองไทยบ้านเรานี่เอง รวมไปถึงอีกหลายประเทศในเอเชียด้วย เสือลายเมฆมีขนที่อ่อนนุ่มและลวดลายสวยงาม และเพราะความงามของขนตัวมันนี่เอง ที่ทำให้มันถูกล่าอย่างหนักจนเกือบจะสูญพันธุ์เต็มที
เราเข้าใจวิถีชีวิตตามธรรมชาติของเสือลายเมฆน้อยมากครับ เรามีข้อมูลพฤติกรรมดั้งเดิมของมันอย่างจำกัด มันเป็นเรื่องที่ขำไม่ค่อยออก ที่ดูเหมือนว่า พวกนายพรานมักจะค้นหาเสือลายเมฆได้เร็วกว่าและบ่อยกว่าเหล่านักวิจัยเสมอ เพราะเมื่อเราได้ข่าวเสือลายเมฆทีไร ก็มักจะเป็นตอนที่มีการบอกซื้อขายชิ้นส่วนของมันไปแล้ว น่าเศร้าใจมาก
แต่ยังพอมีเรื่องที่น่ายินดีอยู่บ้างครับ ที่มีคนบางกลุ่มเห็นความสำคัญในเรื่องนี้ระดับสากล มีการเคลื่อนไหวจนเกิดการจัดตั้ง โครงการคุ้มครองและแพร่พันธุ์เสือลายเมฆ ขึ้นมา และสวนสัตว์เปิดเขาเขียวก็ได้รับการคัดเลือกอนุมัติให้เป็นสถานที่ที่ดำเนินโครงการที่น่าทึ่งนี้ ร่วมกับสถาบันสมิธโซเนียน และสวนสัตว์พอยท์ดิไฟย์ ในรัฐวอชิงตัน โครงการนี้ดำเนินงานมาแล้วกว่า11 ปีและประสบความสำเร็จมากครับ
ภาพใบที่สามคือลูก แรคคูน (Procyon lotor) ครับ แรคคูนมีถิ่นกำเนิดอยู่ในอเมริกาเหนือ มันเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อยู่ได้ในหลายสภาพแวดล้อม ไม่ว่าจะตามภูเขาสูง ในป่าใหญ่ หรือตามที่ราบชายฝั่ง และบางทีก็อาจพบเห็นพวกมันอยู่ไม่ไกลจากที่มนุษย์อาศัยอยู่ด้วย แรคคูนเป็นสัตว์ที่จะตื่นตัวและหากินตอนกลางคืน
แรคคูนกินอาหารได้หลากหลายประเภทเลยครับ อย่างพวกแมลง ปลา นก หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก พวกใบไม้และผลไม้มันก็กินได้ ประชากรของแรคคูนยังมีเหลืออยู่มากในธรรมชาติและยังไม่น่าเป็นห่วงครับ
ภาพสุดท้ายคือลูก จากัวร์ (Panthera onca) เพศเมียทั้งคู่ ถิ่นกำเนิดของจากัวร์อยู่ในอเมริกากลางและอเมริกาใต้เท่านั้นครับ จากัวร์จะถูกมองและถูกเรียกสับสนกับเสือดาวอยู่เสมอ เพราะรูปลักษณ์คล้ายกันมาก แต่เสือดาวมีถิ่นกำเนิดอยู่ในอัฟริกาและเอเชีย ห่างไกลกันคนละทวีปเลยล่ะครับ จากัวร์ไม่ได้อยู่ในกลุ่มสัตว์ตระกูลแมวใหญ่นะครับ แต่ขนาดตัวของมันเมื่อโตเต็มวัยเป็นรองแค่ เสือโคร่งและสิงโตเท่านั้น
จากัวร์ที่โตเต็มที่จะมีรูปร่างใหญ่ และมีกล้ามเนื้อมากกว่าเสือดาวอย่างเห็นได้ชัด คุณอาจจะมองว่าลายบนตัวของพวกมันก็คล้าย ๆ กัน คือเป็นลายห่าง ๆ คล้ายดอกกุหลาบ (Rosettes) แต่จุดสังเกตก็คือ ลายของจากัวร์จะเป็นดอกใหญ่กว่า และจะไม่อยู่ติดใกล้กันเหมือนลายของเสือดาวครับ พฤติกรรมของจากัวร์จะคล้ายกับเสือโคร่งมากกว่าเสือดาวด้วย ยกตัวอย่าง เช่น มันชอบอยู่ใกล้น้ำและเป็นนักว่ายน้ำที่ยอดเยี่ยมมาก
ผมหวังว่าทุกท่านจะมีความสุขกับภาพถ่ายและเนื้อหาเรื่องราวของสัตว์ที่ผมนำมาแบ่งปันนะครับ ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามคอลัมน์นี้ และที่ฝากคอมเม้นท์ไว้ในอาทิตย์ที่ผ่านมา ขอให้ทุกท่านมีรอยยิ้มอยู่เสมอนะครับ และพบกันใหม่อาทิตย์หน้า
รู้จัก...แอชลีย์ วินเซนต์
ชาวอังกฤษเชื้อสายอิสราเอล ที่ผันตัวเองจากการทำธุรกิจด้านเรียลเอสเตท มาทำงานเป็นช่างภาพถ่ายภาพสัตว์ป่าอย่างเต็มตัว เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา
ปัจจุบัน นอกจากเปิดร้าน Nature Impressions จำหน่ายผลงานของตัวเอง ณ สวนสัตว์เปิดเขาเขียว ต.บางพระ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ที่กล่าวกันว่า เป็นสวนสัตว์เปิดที่ใหญ่อันดับ 1 ของโลก เขายังทำงานให้กับสวนสัตว์แห่งนี้ ในฐานะอาสาสมัครเก็บภาพสัตว์ป่าไปพร้อมกันด้วย
ผลงานภาพถ่าย “บุษบา” เสือโคร่งเพศเมีย ถ่ายจากสวนสัตว์เปิดเขาเขียว ของแอชลีย์ได้รับการประกาศให้เป็น สุดยอดภาพถ่าย National Geographic 2012
เสมือนบอกย้ำให้กำลังใจช่างภาพหลายๆ คนว่า “ภาพถ่ายสัตว์ป่าที่ดี ไม่ต้องไปถึงเคนยา”
ติดตามอ่าน ...Nature Impressions โดย แอชลีย์ วินเซนต์ ได้ทุกอาทิตย์ ทาง ART EYE VIEW
ส่งข่าวสารงานศิลปะร่วมสมัย มาได้ที่ ข่าว ART EYE VIEW เซกชัน Celeb Online www.astvmanager.com และ M-Art eye view เซกชัน Lite ในหนังสือพิมพ์ ASTV ผู้จัดการสุดสัปดาห์ Email: thinksea@hotmail.com
และคลิกเป็น แฟนเพจ ได้ที่ http://www.facebook.com/arteyeviewnews