By Lady Manager
แทนที่จะมานั่งร้องไห้ฟูมฟาย ชวนสามีที่หมดใจแล้วทะเลาะกัน กรณีถึงจุดอยู่ด้วยกันไม่ได้แล้วจริงๆ ผู้หญิงเราควรตั้งสติ เอาเวลามานั่งรวบรวมความคิดเตรียมหลักฐานเรียกร้องสิทธิความเป็นภรรยาและแม่ของลูก มากกว่ามัวนั่งจมปลักอยู่ในกองทุกข์และความโกรธแค้น
เรามีโค้ช “ทนายมล” มาให้แนวคิดแนวทาง เพื่อให้คุณเริ่มต้นชีวิตใหม่ โดยไม่ต้องติดลบ
ข้อมูลจากกรมการปกครอง เปรียบเทียบกันในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 2551 คู่สมรสกว่า 318,000 คู่ หย่ากว่า 109,000 คู่, ปี 2552 คู่สมรสกว่า 300,800 คู่ หย่ากว่า 109,000 คู่, และปี 2553 ในประเทศไทยมีคู่สมรสกว่า 285,000 คู่ หย่ากว่า 108,000 คู่
สรุปประมาณ 3 คู่ที่แต่งงาน จะหย่าร้าง 1 คู่
ทางสำนักสำนักงานสถิติแห่งชาติก็ได้สรุปตัวเลขการจดทะเบียนหย่าหลังสุดเมื่อปี 2554 รวมทั่วราชอาณาจักร 109,312 คู่
“ชีวิตคู่ในโลกปัจจุบันเปราะบางมาก” นฤมล โรจนารุณ หรือ “ทนายมล” แห่งรายการยามบ่ายกับทนายประชาชน ทางวิทยุครอบครัวข่าว FM 106 วิเคราะห์ลักษณะชีวิตคู่ในปัจจุบัน
“เมื่อเปราะบางมาก มันก็จะใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล เธอเหนื่อย ฉันเหนื่อย ความเข้าใจลดน้อยถอยลงไป สิ่งที่เคยชอบทำร่วมกันบ่อยๆ มันก็เป็นความซ้ำซากการจำเจ และก็ไม่ค่อยจะหันหน้าเข้ามาคุยกัน เริ่มที่จะหวาดระแวง ฉันทำได้ คุณทำได้ ความรักมันไม่มีแล้วไง มองทุกด้านเอาเปรียบไปหมด”
ทว่าก่อนแยกทางกับสามีตามกฎหมาย คุณผู้หญิงคะ! คุณควรให้โอกาสเขาและตัวเองก่อน!?
ทบทวนด้วยหัวใจอย่างถี่ถ้วน หาทางออกร่วมกันก่อน
“พี่ไม่เคยแนะนำให้ผู้หญิงคนไหนหย่าร้างกันเลยนะ” ทนายมลพูดอย่างเป็นกันเอง “พี่จะแนะนำให้มาคิดทบทวนด้วยหัวใจของเราว่าเราอยู่ได้ไหม และหันไปมองลูกเป็นจุดที่สอง หากเลิกรากันไป ลูกจะมีอะไร อย่างไร และความผิดที่เขาทำ สามารถให้อภัยได้ไหม
จริงๆ แล้ว ข้อดีข้อเสียมันอยู่ในคนสองคน ความรักความเข้าใจ เพราะว่าคนเราตอนรักกันมันดูดีไปหมด แต่พอจะหย่าร้างกันมันเลวทุกด้าน”
ทนายมลแนะผู้หญิงที่กำลังเผชิญวิกฤติชีวิตสมรส ตั้งคำถามกับตัวเองก่อนว่า
“การให้อภัยสำคัญสุด มองเขาเป็นพ่อของลูก รักมากพอที่ให้อภัยไหม คนเราเริ่มต้นใหม่ได้ ให้โอกาสเขาไหม ให้อภัยเขาไหม” ทนายมลสะกิดให้ภรรยาทบทวนและปรับปรุงตัวเองก่อน
“อย่าลืมว่าเหรียญยังมีสองด้าน ภรรยาต้องกลับมามองตัวเองว่าเราผิดหรือเปล่า หลายคนทะนงตัวว่าจะเปลี่ยนแปลงสามีให้ได้ ไม่ให้เกียรติสามี พูดจาข่มขู่สามี ชอบขุดคุ้ยจุกจิกกับสามี ไม่ดูแลตัวเอง ปล่อยตัวให้อ้วน เสื้อผ้าหน้าผมไม่แต่ง ละเลยหน้าที่ภรรยา พี่อยากให้ผู้หญิงที่เป็นภรรยาทั้งหลายทบทวนตัวเองก่อน ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตัวเองก่อน
ถ้าทบทวนแล้ว ปรับปรุงตัวเองแล้ว ตัวเราไม่ผิดเลยจริงๆ สามีต่างหากที่สุดๆ จริงๆ ก็ลองหามาตรการร่วมกันทำทัณฑ์บนไว้ดีไหม”
‘ทัณฑ์บน’! อย่าเพิ่งตกใจค่ะ เป็นทีเด็ดที่ทนายมลแนะนำเพื่อนหญิงมาแล้ว และได้ผลทีเดียวล่ะ
“เคยมีเพื่อนที่มีปัญหา แนะให้ทำทัณฑ์บน เขียนข้อตกลงกันเลย มีเซ็นทุกอย่าง ถ้าทำผิดคิดนอกใจมีคนอื่นอีก ทรัพย์สินต่างๆ ใส่ชื่อฉัน เขียนให้ลูกหมดเลย เพราะงั้นคุณไป มีแต่ตัวกับหัวใจ สาวไหนอยากได้ก็เชิญ แนะเพื่อนสองคน ไม่แตกแถวเลยตอนนี้ไม่หย่า
อันนี้แนะนำอันดับแรกก่อนหย่าร้าง
ทั้งนี้ทัณฑ์บนมีประโยชน์นะคะ เพราะทัณฑ์บนนี้สามารถเป็นคำฟ้องได้เวลาที่สามีประพฤติผิดเช่นนั้นอีก ฝ่ายหญิงสามารถเอาทัณฑ์บนนี้ไปยื่นฟ้องได้ คือ ตกลงจะหย่าจากกัน เพราะมีเรื่องนี้อยู่ มันมีเหตุหย่าอยู่แล้ว”
และถ้าสุดทางตัน การหย่าเป็นทางออกสุดท้าย หญิงเราต้องรู้เท่าทันเตรียมการหย่าอะไรบ้าง
ตรวจสอบทรัพย์สินรอบคอบ เตรียมเอกสารสมบูรณ์
“ตัดสินแล้วว่าหย่าดีกว่า ไม่อยากขังชีวิตไว้กับผู้ชายคนนี้ อย่างแรกเลย อย่าให้เขารู้ตัว ต้องเป็น FBI คอยตรวจสอบว่า หนึ่ง-เขามีทรัพย์สินอะไร ได้มาอย่างไร โอนไปไหน ตรวจสอบข้อมูลให้รู้ เพราะสิ่งเหล่านี้จะเป็นหลักฐานในการฟ้องหย่า สอง-หลักฐานนอกใจ บอกเห็นสามีไปกับผู้หญิงคนนี้ แค่พูดไม่พอนะ ต้องมีหลักฐานภาพถ่าย สาม-อะไรก็ตามที่เราไม่เคยสนใจมาก่อน เราต้องสนใจ
ต้องเตรียมตัวเก็บทรัพย์สิน เตรียมเอกสารต่างๆ ให้เรียบร้อย”
ทนายมลบอกเหตุหย่า อาทิ ยกย่องหญิงอื่นเหนือภรรยา หรือดูหมิ่นบุพการี ตรงนี้มันเป็นเหตุหย่าอยู่แล้ว, ทิ้งร้าง 1 ปี แยกกันอยู่ 3 ปี
“คำว่าทิ้งร้างคือ ไม่เคยมาเลยเป็นเวลา 1 ปีเต็มๆ แต่ถ้าแยกกันอยู่คือ มาบ้าง มาดูลูก”
ซึ่งการแยกกันอยู่นานเกิน 3 ปี ฝ่ายหนึ่งก็มีสิทธิ์ไปยื่นฟ้องหย่า
“การหย่ามี 2 แบบ คือ หย่าโดยสมัครใจ ไปที่เขต แต่ถ้าหย่าโดยคำฟ้องศาล มันจะสะเทือนจิตใจหลายๆ ฝ่าย”
ความที่แต่ละคู่ต่างมีสาเหตุรายละเอียดหลากหลายแตกต่างกัน เราขอยกตัวอย่างสถานการณ์ยอดนิยมที่ว่า ส่วนใหญ่ฝ่ายชายมีหญิงอื่นและอยากหย่ากับภรรยา
“ถ้าเป็นเคสนี้โทรมาถามในรายการ พี่จะบอกให้สู้ อย่าให้เขาไปง่ายๆ เพราะการที่จะถูกฟ้องหย่าได้ คุณต้องเป็นฝ่ายผิด
ผู้ชายจะมาฟ้องหย่าเรา ทั้งที่ตัวเขาเป็นคนผิด กฎหมายไม่ให้ฟ้องนะ
เราก็ทรมานเขาเข้าไป อย่าให้เขาได้อิสระง่ายๆ”
‘ทรมาน’ ณ ที่นี้ ไม่ใช่หมายความว่า เล่นตัวซื้อเวลาล้างแค้นผูกพยาบาทไม่สิ้นสุด เพราะถึงที่สุดคนที่ทรมานที่สุดก็คือ ตัวคุณภรรยาฝ่ายหญิงเอง หากทนายมลหมายถึง ใช้เวลาทำสมาธิตั้งสติ เรียกร้องสิทธิตามความเป็นจริง
ความเป็นจริงในความสามารถหาเงินของเขา และเงื่อนไขการดำเนินชีวิตจริงของเราเผื่อถึงอนาคต ซึ่งคุณต้องพิจารณาตามนี้ค่ะ
เรียกร้องค่ายังชีพ แบ่งกันจ่ายค่าเลี้ยงดูบุตร ทำบันทึกหลังการหย่ารัดกุม
“เราต้องดูความจริงด้วยว่า ระหว่างหย่ากับไม่หย่า อะไรเป็นผลดีกว่ากัน โอเค ตัดสินใจหย่าแล้ว อันดับแรก-ต้องเรียกค่าเลี้ยงดูบุตร อันดับสอง-ค่ายังชีพ ต้องเข้าใจก่อนนะว่าค่ายังชีพให้ภรรยา สำคัญนะคะ ฝ่ายหญิงต้องขอค่ายังชีพด้วย
คำว่า ‘ค่ายังชีพ’ หมายถึง ฝ่ายชายต้องเลี้ยงดูฝ่ายหญิง สัญญานี้จะสิ้นสุดลงเมื่อหญิงสมรสใหม่ เพราะฉะนั้นระหว่างนี้เราต้องดูว่าค่าใช้จ่ายค่ายังชีพของเราเท่าไร เราไม่ได้เป็นฝ่ายผิด และถ้าเราเป็นแม่บ้าน ไม่ได้ไปทำงานตั้งแต่มีลูก ต่อไปนี้เราต้องออกไปหางาน เราก็มีเหตุผลได้ว่าเราอยู่ระหว่างหางานอยู่
ส่วนค่าเลี้ยงดูบุตรช่วงแรกก็ต้องให้สามีรับผิดชอบหมด หลายคนคิดว่าผู้ชายต้องจ่ายค่าเลี้ยงดูบุตรคนเดียว จริงๆ แล้วไม่ใช่ ผู้หญิงต้องออกด้วย สองคนต้องตกลงกัน ต้องดูด้วยบุตรจะอยู่ในการปกครองของใคร
ยิ่งถ้าสามีกำลังอยากหย่า เพราะมีคนใหม่ใช่ไหม ช่วงนี้จะเป็นช่วงนาทีทอง ก็ต้องมีข้อต่อรอง หนึ่ง-สอง-สาม-สี่ และทำบันทึกหลังหย่าให้เรียบร้อย กรุณาทำให้รัดกุม”
ทนายมลบอก เวลาไปหย่าที่เขต เจ้าหน้าที่จะทำบันทึกหลังการหย่า
“ตอนนี้แหล่ะค่ะ ขอเลย คุณขอเลย ขอสามีเลย บอกเพื่อลูก ที่ดินแปลงนี้ รถคันนี้ บ้านหลังนี้ ให้เราเปลี่ยนเป็นชื่อเรา ระบุชัดเจนไปเลย รวมถึงอำนาจเลี้ยงดูบุตร ค่ายังชีพของเรา ซึ่งส่วนใหญ่ศาลท่านจะให้เป็นรายเดือน”
ถึงกระนั้น ทนายมลฝากกำชับคุณภรรยาทั้งหลายว่า อย่ามัวเอาแต่ทะเลาะกับสามี
“ทนายมลว่าไม่ฉลาดเลยที่จะทะเลาะกับสามี อย่าไปทะเลาะกับสามี จริงอยู่ ผู้หญิงเป็นเพศที่ควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ค่อยได้ ดังนั้นคุณต้องนั่งสมาธิตั้งสติก่อนไปหย่า และคิดถึงลูกเป็นหลัก และคุณก็ต้องมองว่าสิ่งที่คุณสูญเสียไป ต้องได้รับการชดเชยกลับมา นั่นคือ คุณจะเรียกค่ายังชีพเท่าไร แต่การเรียกร้อง ต้องให้เขาอยู่ได้ด้วย เพราะหากเรียกเว่อร์ไป เขาก็ไม่มีทางที่จะจ่าย เรื่องก็ไม่จบ”
เมื่อถึงทางตันชีวิตแต่งงาน และการหย่าเป็นทางออก… กรุณาดำเนินการอย่างมีสติ เรียกร้องรักษาสิทธิ ไม่เอาเปรียบเกิน เพราะถึงเขาจะเป็นสามีคุณไม่ได้ แต่เขาก็ยังเป็นพ่อของลูก หรือหากไม่มีลูกด้วยกัน พวกคุณก็ยังเป็นเพื่อนกันได้ มิใช่หรือ!
“ขอให้หย่าเป็นทางเลือกสุดท้าย คิดถึงลูกให้มากๆ ไม่มีใครรักลูกเท่าพ่อแม่ที่แท้จริงหรอกค่ะ” ทนายมลกล่าวทิ้งท้าย
“แต่ถ้าทุกข์และเจ็บปวดกับสามีมากเกินไป ก็หย่าเถอะค่ะ เพราะบางครั้งการสิ้นสุดด้วยความเจ็บปวด ดีกว่าเจ็บปวดไม่มีที่สิ้นสุดนะคะ”
>> อัพเดตข่าวในแวดวงสังคม ก็อซซิป แฟชั่น ความงาม และเที่ยว กิน ดื่ม เพิ่มเติมได้ที่ http://www.celeb-online.net
แทนที่จะมานั่งร้องไห้ฟูมฟาย ชวนสามีที่หมดใจแล้วทะเลาะกัน กรณีถึงจุดอยู่ด้วยกันไม่ได้แล้วจริงๆ ผู้หญิงเราควรตั้งสติ เอาเวลามานั่งรวบรวมความคิดเตรียมหลักฐานเรียกร้องสิทธิความเป็นภรรยาและแม่ของลูก มากกว่ามัวนั่งจมปลักอยู่ในกองทุกข์และความโกรธแค้น
เรามีโค้ช “ทนายมล” มาให้แนวคิดแนวทาง เพื่อให้คุณเริ่มต้นชีวิตใหม่ โดยไม่ต้องติดลบ
ข้อมูลจากกรมการปกครอง เปรียบเทียบกันในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 2551 คู่สมรสกว่า 318,000 คู่ หย่ากว่า 109,000 คู่, ปี 2552 คู่สมรสกว่า 300,800 คู่ หย่ากว่า 109,000 คู่, และปี 2553 ในประเทศไทยมีคู่สมรสกว่า 285,000 คู่ หย่ากว่า 108,000 คู่
สรุปประมาณ 3 คู่ที่แต่งงาน จะหย่าร้าง 1 คู่
ทางสำนักสำนักงานสถิติแห่งชาติก็ได้สรุปตัวเลขการจดทะเบียนหย่าหลังสุดเมื่อปี 2554 รวมทั่วราชอาณาจักร 109,312 คู่
“ชีวิตคู่ในโลกปัจจุบันเปราะบางมาก” นฤมล โรจนารุณ หรือ “ทนายมล” แห่งรายการยามบ่ายกับทนายประชาชน ทางวิทยุครอบครัวข่าว FM 106 วิเคราะห์ลักษณะชีวิตคู่ในปัจจุบัน
“เมื่อเปราะบางมาก มันก็จะใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล เธอเหนื่อย ฉันเหนื่อย ความเข้าใจลดน้อยถอยลงไป สิ่งที่เคยชอบทำร่วมกันบ่อยๆ มันก็เป็นความซ้ำซากการจำเจ และก็ไม่ค่อยจะหันหน้าเข้ามาคุยกัน เริ่มที่จะหวาดระแวง ฉันทำได้ คุณทำได้ ความรักมันไม่มีแล้วไง มองทุกด้านเอาเปรียบไปหมด”
ทว่าก่อนแยกทางกับสามีตามกฎหมาย คุณผู้หญิงคะ! คุณควรให้โอกาสเขาและตัวเองก่อน!?
ทบทวนด้วยหัวใจอย่างถี่ถ้วน หาทางออกร่วมกันก่อน
“พี่ไม่เคยแนะนำให้ผู้หญิงคนไหนหย่าร้างกันเลยนะ” ทนายมลพูดอย่างเป็นกันเอง “พี่จะแนะนำให้มาคิดทบทวนด้วยหัวใจของเราว่าเราอยู่ได้ไหม และหันไปมองลูกเป็นจุดที่สอง หากเลิกรากันไป ลูกจะมีอะไร อย่างไร และความผิดที่เขาทำ สามารถให้อภัยได้ไหม
จริงๆ แล้ว ข้อดีข้อเสียมันอยู่ในคนสองคน ความรักความเข้าใจ เพราะว่าคนเราตอนรักกันมันดูดีไปหมด แต่พอจะหย่าร้างกันมันเลวทุกด้าน”
ทนายมลแนะผู้หญิงที่กำลังเผชิญวิกฤติชีวิตสมรส ตั้งคำถามกับตัวเองก่อนว่า
“การให้อภัยสำคัญสุด มองเขาเป็นพ่อของลูก รักมากพอที่ให้อภัยไหม คนเราเริ่มต้นใหม่ได้ ให้โอกาสเขาไหม ให้อภัยเขาไหม” ทนายมลสะกิดให้ภรรยาทบทวนและปรับปรุงตัวเองก่อน
“อย่าลืมว่าเหรียญยังมีสองด้าน ภรรยาต้องกลับมามองตัวเองว่าเราผิดหรือเปล่า หลายคนทะนงตัวว่าจะเปลี่ยนแปลงสามีให้ได้ ไม่ให้เกียรติสามี พูดจาข่มขู่สามี ชอบขุดคุ้ยจุกจิกกับสามี ไม่ดูแลตัวเอง ปล่อยตัวให้อ้วน เสื้อผ้าหน้าผมไม่แต่ง ละเลยหน้าที่ภรรยา พี่อยากให้ผู้หญิงที่เป็นภรรยาทั้งหลายทบทวนตัวเองก่อน ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตัวเองก่อน
ถ้าทบทวนแล้ว ปรับปรุงตัวเองแล้ว ตัวเราไม่ผิดเลยจริงๆ สามีต่างหากที่สุดๆ จริงๆ ก็ลองหามาตรการร่วมกันทำทัณฑ์บนไว้ดีไหม”
‘ทัณฑ์บน’! อย่าเพิ่งตกใจค่ะ เป็นทีเด็ดที่ทนายมลแนะนำเพื่อนหญิงมาแล้ว และได้ผลทีเดียวล่ะ
“เคยมีเพื่อนที่มีปัญหา แนะให้ทำทัณฑ์บน เขียนข้อตกลงกันเลย มีเซ็นทุกอย่าง ถ้าทำผิดคิดนอกใจมีคนอื่นอีก ทรัพย์สินต่างๆ ใส่ชื่อฉัน เขียนให้ลูกหมดเลย เพราะงั้นคุณไป มีแต่ตัวกับหัวใจ สาวไหนอยากได้ก็เชิญ แนะเพื่อนสองคน ไม่แตกแถวเลยตอนนี้ไม่หย่า
อันนี้แนะนำอันดับแรกก่อนหย่าร้าง
ทั้งนี้ทัณฑ์บนมีประโยชน์นะคะ เพราะทัณฑ์บนนี้สามารถเป็นคำฟ้องได้เวลาที่สามีประพฤติผิดเช่นนั้นอีก ฝ่ายหญิงสามารถเอาทัณฑ์บนนี้ไปยื่นฟ้องได้ คือ ตกลงจะหย่าจากกัน เพราะมีเรื่องนี้อยู่ มันมีเหตุหย่าอยู่แล้ว”
และถ้าสุดทางตัน การหย่าเป็นทางออกสุดท้าย หญิงเราต้องรู้เท่าทันเตรียมการหย่าอะไรบ้าง
ตรวจสอบทรัพย์สินรอบคอบ เตรียมเอกสารสมบูรณ์
“ตัดสินแล้วว่าหย่าดีกว่า ไม่อยากขังชีวิตไว้กับผู้ชายคนนี้ อย่างแรกเลย อย่าให้เขารู้ตัว ต้องเป็น FBI คอยตรวจสอบว่า หนึ่ง-เขามีทรัพย์สินอะไร ได้มาอย่างไร โอนไปไหน ตรวจสอบข้อมูลให้รู้ เพราะสิ่งเหล่านี้จะเป็นหลักฐานในการฟ้องหย่า สอง-หลักฐานนอกใจ บอกเห็นสามีไปกับผู้หญิงคนนี้ แค่พูดไม่พอนะ ต้องมีหลักฐานภาพถ่าย สาม-อะไรก็ตามที่เราไม่เคยสนใจมาก่อน เราต้องสนใจ
ต้องเตรียมตัวเก็บทรัพย์สิน เตรียมเอกสารต่างๆ ให้เรียบร้อย”
ทนายมลบอกเหตุหย่า อาทิ ยกย่องหญิงอื่นเหนือภรรยา หรือดูหมิ่นบุพการี ตรงนี้มันเป็นเหตุหย่าอยู่แล้ว, ทิ้งร้าง 1 ปี แยกกันอยู่ 3 ปี
“คำว่าทิ้งร้างคือ ไม่เคยมาเลยเป็นเวลา 1 ปีเต็มๆ แต่ถ้าแยกกันอยู่คือ มาบ้าง มาดูลูก”
ซึ่งการแยกกันอยู่นานเกิน 3 ปี ฝ่ายหนึ่งก็มีสิทธิ์ไปยื่นฟ้องหย่า
“การหย่ามี 2 แบบ คือ หย่าโดยสมัครใจ ไปที่เขต แต่ถ้าหย่าโดยคำฟ้องศาล มันจะสะเทือนจิตใจหลายๆ ฝ่าย”
ความที่แต่ละคู่ต่างมีสาเหตุรายละเอียดหลากหลายแตกต่างกัน เราขอยกตัวอย่างสถานการณ์ยอดนิยมที่ว่า ส่วนใหญ่ฝ่ายชายมีหญิงอื่นและอยากหย่ากับภรรยา
“ถ้าเป็นเคสนี้โทรมาถามในรายการ พี่จะบอกให้สู้ อย่าให้เขาไปง่ายๆ เพราะการที่จะถูกฟ้องหย่าได้ คุณต้องเป็นฝ่ายผิด
ผู้ชายจะมาฟ้องหย่าเรา ทั้งที่ตัวเขาเป็นคนผิด กฎหมายไม่ให้ฟ้องนะ
เราก็ทรมานเขาเข้าไป อย่าให้เขาได้อิสระง่ายๆ”
‘ทรมาน’ ณ ที่นี้ ไม่ใช่หมายความว่า เล่นตัวซื้อเวลาล้างแค้นผูกพยาบาทไม่สิ้นสุด เพราะถึงที่สุดคนที่ทรมานที่สุดก็คือ ตัวคุณภรรยาฝ่ายหญิงเอง หากทนายมลหมายถึง ใช้เวลาทำสมาธิตั้งสติ เรียกร้องสิทธิตามความเป็นจริง
ความเป็นจริงในความสามารถหาเงินของเขา และเงื่อนไขการดำเนินชีวิตจริงของเราเผื่อถึงอนาคต ซึ่งคุณต้องพิจารณาตามนี้ค่ะ
เรียกร้องค่ายังชีพ แบ่งกันจ่ายค่าเลี้ยงดูบุตร ทำบันทึกหลังการหย่ารัดกุม
“เราต้องดูความจริงด้วยว่า ระหว่างหย่ากับไม่หย่า อะไรเป็นผลดีกว่ากัน โอเค ตัดสินใจหย่าแล้ว อันดับแรก-ต้องเรียกค่าเลี้ยงดูบุตร อันดับสอง-ค่ายังชีพ ต้องเข้าใจก่อนนะว่าค่ายังชีพให้ภรรยา สำคัญนะคะ ฝ่ายหญิงต้องขอค่ายังชีพด้วย
คำว่า ‘ค่ายังชีพ’ หมายถึง ฝ่ายชายต้องเลี้ยงดูฝ่ายหญิง สัญญานี้จะสิ้นสุดลงเมื่อหญิงสมรสใหม่ เพราะฉะนั้นระหว่างนี้เราต้องดูว่าค่าใช้จ่ายค่ายังชีพของเราเท่าไร เราไม่ได้เป็นฝ่ายผิด และถ้าเราเป็นแม่บ้าน ไม่ได้ไปทำงานตั้งแต่มีลูก ต่อไปนี้เราต้องออกไปหางาน เราก็มีเหตุผลได้ว่าเราอยู่ระหว่างหางานอยู่
ส่วนค่าเลี้ยงดูบุตรช่วงแรกก็ต้องให้สามีรับผิดชอบหมด หลายคนคิดว่าผู้ชายต้องจ่ายค่าเลี้ยงดูบุตรคนเดียว จริงๆ แล้วไม่ใช่ ผู้หญิงต้องออกด้วย สองคนต้องตกลงกัน ต้องดูด้วยบุตรจะอยู่ในการปกครองของใคร
ยิ่งถ้าสามีกำลังอยากหย่า เพราะมีคนใหม่ใช่ไหม ช่วงนี้จะเป็นช่วงนาทีทอง ก็ต้องมีข้อต่อรอง หนึ่ง-สอง-สาม-สี่ และทำบันทึกหลังหย่าให้เรียบร้อย กรุณาทำให้รัดกุม”
ทนายมลบอก เวลาไปหย่าที่เขต เจ้าหน้าที่จะทำบันทึกหลังการหย่า
“ตอนนี้แหล่ะค่ะ ขอเลย คุณขอเลย ขอสามีเลย บอกเพื่อลูก ที่ดินแปลงนี้ รถคันนี้ บ้านหลังนี้ ให้เราเปลี่ยนเป็นชื่อเรา ระบุชัดเจนไปเลย รวมถึงอำนาจเลี้ยงดูบุตร ค่ายังชีพของเรา ซึ่งส่วนใหญ่ศาลท่านจะให้เป็นรายเดือน”
ถึงกระนั้น ทนายมลฝากกำชับคุณภรรยาทั้งหลายว่า อย่ามัวเอาแต่ทะเลาะกับสามี
“ทนายมลว่าไม่ฉลาดเลยที่จะทะเลาะกับสามี อย่าไปทะเลาะกับสามี จริงอยู่ ผู้หญิงเป็นเพศที่ควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ค่อยได้ ดังนั้นคุณต้องนั่งสมาธิตั้งสติก่อนไปหย่า และคิดถึงลูกเป็นหลัก และคุณก็ต้องมองว่าสิ่งที่คุณสูญเสียไป ต้องได้รับการชดเชยกลับมา นั่นคือ คุณจะเรียกค่ายังชีพเท่าไร แต่การเรียกร้อง ต้องให้เขาอยู่ได้ด้วย เพราะหากเรียกเว่อร์ไป เขาก็ไม่มีทางที่จะจ่าย เรื่องก็ไม่จบ”
เมื่อถึงทางตันชีวิตแต่งงาน และการหย่าเป็นทางออก… กรุณาดำเนินการอย่างมีสติ เรียกร้องรักษาสิทธิ ไม่เอาเปรียบเกิน เพราะถึงเขาจะเป็นสามีคุณไม่ได้ แต่เขาก็ยังเป็นพ่อของลูก หรือหากไม่มีลูกด้วยกัน พวกคุณก็ยังเป็นเพื่อนกันได้ มิใช่หรือ!
“ขอให้หย่าเป็นทางเลือกสุดท้าย คิดถึงลูกให้มากๆ ไม่มีใครรักลูกเท่าพ่อแม่ที่แท้จริงหรอกค่ะ” ทนายมลกล่าวทิ้งท้าย
“แต่ถ้าทุกข์และเจ็บปวดกับสามีมากเกินไป ก็หย่าเถอะค่ะ เพราะบางครั้งการสิ้นสุดด้วยความเจ็บปวด ดีกว่าเจ็บปวดไม่มีที่สิ้นสุดนะคะ”
>> อัพเดตข่าวในแวดวงสังคม ก็อซซิป แฟชั่น ความงาม และเที่ยว กิน ดื่ม เพิ่มเติมได้ที่ http://www.celeb-online.net