โดย : ปิ่น บุตรี(pinn109@hotmail.com)
“พังงา”เป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่นำช้างมาเป็นสัญลักษณ์ประทับอยู่ในตราจังหวัด(ร่วมกับเขาตาปูและเรือขุดแร่)
ช้างในตราประจำจังหวัดพังงา มาจาก“เขาช้าง” หรือ “เขารูปช้าง” ที่ตั้งโดดเด่นเป็นสง่าอยู่กลางใจเมือง เขาลูกนี้หากมองให้ดีๆแบบถูกที่ถูกตำแหน่งจะเห็นมีลักษณะเหมือนช้างกำลังหมอบแบบไม่ต้องใช้จินตนาการมากมายก็เห็นภาพตามได้ไม่ยาก
ด้วยลักษณะอันโดดเด่นเกี่ยวกับช้างทำให้พังงาได้รับการขนานนามว่าเป็นหนึ่งในจังหวัดช้างของเมืองไทย ซึ่งทางจังหวัดได้สร้างประติมากรรมช้างหมอบประดับไว้บนหัวเสาไฟเพื่อแสดงให้เห็นถึงความเป็นเมืองช้างของพังงา
แต่...การล่องใต้ไปพังงาหน(ล่าสุด)นี้ ผมได้รับรู้ว่า พังงานอกจากจะเป็นเมืองช้างแล้วยังได้ชื่อว่าเป็น“เมืองเต่า” อีกด้วย โดยผู้ที่ให้ข้อมูลนี้กับผมคือ คุณ“สุภาพ ไพรพนาพงศ์” ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งพังงา
ผอ.สุภาพอธิบายเหตุผลในการเรียกพังงาเมืองเต่าว่า เต่าทะเลที่พบในเมืองไทย(เคย)มี 5 ชนิด แต่ปัจจุบันพบเพียง 4 ชนิด คือ เต่าตนุ เต่ากระ เต่ามะเฟือง เต่าหญ้าหรือเต่าสังกะสี ส่วนเต่าที่ไม่ได้พบนานแล้วคือเต่าหัวค้อน(และคาดว่าน่าจะสูญพันธุ์ไปจากเมืองไทย)
“จากข้อมูลที่สำรวจพบในปัจจุบัน พังงาเป็นจังหวัดเดียวที่ยังคงมีเต่าทั้ง 4 ชนิดขึ้นมาวางไข่” ผอ.สุภาพ กล่าว ก่อนพูดถึงแหล่งวางไข่หลักๆ ของเต่าทั้ง 4 ชนิด ดังนี้
เกาะหูยง(เกาะ 1) หมู่เกาะสิมิลัน เป็นจุดที่เต่าตนุขึ้นมาวางไข่
เกาะสุรินทร์ เป็นจุดที่เต่ากระขึ้นมาวางไข่
เกาะพระทอง เป็นจุดที่เต่าหญ้าขึ้นมาวางไข่
และหาดท้ายเมือง เป็นจุดที่เต่าตนุและเต่ามะเฟืองขึ้นมาวางไข่
จะเห็นได้ว่าที่หาดท้ายเหมือง อ.ท้ายเหมือง มีความพิเศษกว่าที่อื่นตรงที่มีเต่าถึง 2 ชนิดขึ้นมาวางไข่ ซึ่งเหตุปัจจัยสำคัญที่ทำให้แม่เต่าเลือกหาดท้ายเหมืองเป็นที่วางไข่นั้น ผอ.สุภาพบอกกับผมว่า เนื่องจากหาดท้ายเหมืองเป็นหาดที่มีแนวชายหาดที่ยาวหลายกิโลเมตร(ประมาณ 13 กม.) มีความสงบ สะอาดทั้งน้ำทะเลและหาดทราย(การันตีด้วยรางวัลชายหาดติดดาวระดับ 5 ดาวหลายปีด้วยกัน) บนหาดมีคนรบกวนน้อยเพราะพื้นที่ส่วนใหญ่ของแนวชายหาดอยู่ในการดูแลของ “อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง”(เป็นอีกหนึ่งหน่วยงานที่มีส่วนสำคัญต่อกระบวนการฟักไข่เต่า และปล่อยลูกเต่าคืนสู่ทะเล)
สำหรับเต่าตนุที่มาวางไข่ที่หาดท้ายเหมืองนั้น ปัจจุบันบ้านเราสามารถทำการอนุบาลมันได้แล้ว โดย “ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งพังงา” ที่ตั้งอยู่บริเวณหาดท้ายเหมือง นับเป็นอีกหนึ่งศูนย์วิจัยที่เด่นมากในเรื่องของการอนุบาลเต่าตนุ
เมื่อทางศูนย์วิจัยฯได้ลูกเต่าตนุที่ฟักออกมา(ส่วนหนึ่งมาจากกระบวนการฟักของอุทยานฯหาดท้ายเหมือง) ก็จะนำมาเข้าสู่กระบวนการอนุบาลโดยนำลูกเต่ามาเลี้ยงไว้ในบ่อพัก(นักท่องเที่ยวสามารถติดต่อขอเข้าชมได้) ก่อนปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติ
ลูกเต่าที่ปล่อยคืนสู่ทะเลต้องมีอายุอย่างต่ำ 8 เดือนขึ้นไปถึงจะปล่อยคืนสู่ทะเลได้ เพราะเต่าเมื่อมีอายุถึงในช่วงนี้สามารถเอาตัวรอดในธรรมชาติได้ ซึ่งทางศูนย์วิจัยฯได้มีโครงการให้นักท่องเที่ยวสามารถบริจาคเงินเพื่อปล่อยเต่าได้(ในจำนวนเงินไม่ต่ำกว่าค่าเลี้ยงดูเต่า) โดยผู้บริจาคจะเป็นเหมือนเจ้าของเต่ากลายๆ เพราะมีการลงชื่อ ลงทะเบียน และฝังชิปติดตามเต่าไว้ มีการให้อีเมลของผู้ปล่อยเพื่อทางศูนย์จะได้คอยส่งข้อมูลให้กับผู้ปล่อยเต่า โดยทางศูนย์ฯ รับรองว่าไม่มีชิปหายแน่นอน
สำหรับหนึ่งในจุดที่เหมาะต่อการปล่อยลูกเต่าคืนสู่ทะเลนั้นก็ไม่ใช่ที่ไหนไกล หากแต่เป็นที่ชายหาดท้ายเหมืองหน้าศูนย์วิจัยฯ นั่นเอง โดย ผอ.สุภาพให้เหตุผลว่า เพราะหาดท้ายเหมืองมีแนวปะการังน้ำตื้นขนาดใหญ่อยู่ใกล้ๆ กับชายฝั่ง ห่างแค่ประมาณ 1 กิโลเมตร เหมาะแก่การให้เต่าได้พักตัวหลังปล่อยลงสู่ท้องทะเล
ด้วยความมีศักยภาพในการอนุบาลลูกเต่าตนุ และศักยภาพของหาดท้ายเหมืองที่เหมาะต่อการปล่อยเต่าคืนสู่ทะเล ทำให้ทุกๆ ปีทางจังหวัดพังงาได้จัดกิจกรรมปล่อยเต่าคืนสู่ทะเลขึ้นที่หาดท้ายเหมือง ซึ่งนับเป็นอีกหนึ่งงานใหญ่ของพังงา
นอกจากเต่าตนุแล้ว ที่หาดท้ายเหมืองยังมีเต่าหายากอย่างเต่ามะเฟืองขึ้นมาวางไข่ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น ซึ่งเต่ามะเฟืองถือเป็นเจ้าถิ่นของที่นี่ เพราะพวกเขาได้ขึ้นมาวางไข่ที่หาดท้ายเหมืองมาช้านาน ก่อนที่เต่าตนุจะขึ้นมาวางไข่เมื่อไม่นานมานี้เสียอีก แต่...เมื่อเต่ามะเฟืองฟักไข่ออกเป็นตัวแล้วต้องรีบปล่อยคืนสู่ทะเลทันที เพราะปัจจุบันในบ้านเรา(และทั่วโลก)ยังไม่สามารถที่จะอนุบาลเต่ามะเฟืองได้ ทำให้ปัจจัยสุ่มเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของลูกเต่ามะเฟืองที่เกิดมามีมาก เนื่องจากเพิ่งเกิดใหม่ ยังไม่พร้อมต่อการเอาตัวรอดในท้องทะเล
พูดถึงเต่ามะเฟืองแล้ว หน่วยงานหลักที่ดูแลเรื่องการฟักไข่ของเต่ามะเฟืองที่หาดท้ายเหมืองก็คือ อุทยานฯหาดท้ายเหมือง โดยคุณ “สุวรรณา สะอาด” ผู้ช่วยหัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง หรือ “ผช.น้อง” หญิงแกร่งที่เป็นหนึ่งในกำลังหลักของทีมดูแลเต่า เล่าถึงภารกิจในการดูแลเต่าของอุทยานฯหาดท้ายเหมืองให้ฟังว่า
ช่วงวางไข่ของเต่าที่หาดท้ายเหมืองจะอยู่ในราวเดือน พ.ย.-มี.ค. แม่เต่าหนึ่งตัวจะวางไข่ได้ 5-6 ครั้ง ทิ้งช่วงห่างประมาณ 10-15 และมันจะเปลี่ยนที่วางไข่ไปเรื่อยๆ โดยการวางไข่ครั้งแรกของแม่เต่าจะมากสุดอยู่ที่ประมาณ 100-150 ฟอง เป็นไข่ฝ่อประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ ส่วนการวางไข่ครั้งต่อไปปริมาณจะน้อยลงกว่าครั้งแรก หลังจากออกไข่มาแล้ว ทิ้งช่วงไปอีก 65-75 วัน ลูกเต่าจึงจะฟักเป็นตัวออกมา นั่นจึงทำให้ทางเจ้าหน้าที่อุทยานฯผู้ดูแลไข่เต่าคำนวณถึงการออกมาดูโลกของลูกเต่าน้อยได้
อย่างไรก็ตามการดูแลไข่เต่าให้ฟักนั้นดูจะไม่ยากเท่ากับการหาไข่เต่าที่แม่เต่าฟักทิ้งไว้ให้เจอ เพราะเมื่อแม่เต่าวางไข่แล้วมันจะกลับคืนสู่ทะเล ทีนี้และปัญหาสำคัญ เพราะไข่เต่าที่รอวันฟักเป็นตัว หากเกิดมีสุนัขหรือเหี้ยไปเจอไข่เต่าเข้าก่อน พวกนี้ก็จะกินกำจัดไข่เต่าอย่างเอร็ดอร่อย แต่ถ้าไข่เต่าถูกคนไปพบเข้า งานนี้จะเกิดหนังคนละม้วนใน 2 แบบขึ้น
แบบแรกผู้เจอจะไปแจ้งทางอุทยานฯหรือศูนย์วิจัย ให้นำไข่เต่าไปฟักเพื่อปล่อยคืนสู่ทะเล
ส่วนแบบที่สองผู้เจอจะนำไข่เต่าไปขายเป็นหลัก เพราะไข่เต่านั้นมีราคาแพงเอาเรื่อง ราคาฟองละประมาณ 200 บาทเลยทีเดียว
แน่นอนว่างานนี้มีคนในแบบที่สองมากกว่าแบบแรกอยู่ไม่น้อย นั่นจึงทำให้ช่วงฤดูวางไข่เต่า ทางอุทยานฯหาดท้ายเหมืองจึงต้องจัดทีมลาดตระเวนค้นหาไข่เต่า ซึ่งเต่าที่ขึ้นมาวางไข่จะสังเกตรอยของมันได้ไม่ยาก เพราะรอยเต่าเดินจะเป็นรอยคล้ายล้อรถขนาดใหญ่ แต่แม่เต่าที่ออกไข่แล้วจะกลบไข่ไว้ แถมยังขุดหลุมหลอก ยากต่อการค้นหา ทางเจ้าหน้าที่จึงต้องมีวิธีค้นหาไข่ด้วยการ “สักไข่เต่า” ที่เป็นการแทงเหล็กแหลมลงไป เพื่อเช็กว่ามีไข่เต่าหรือเปล่า เหล็กแหลมจะไปทิ่มโดนไข่ดึงขึ้นมาจะมีเมือกเหม็นคาว นั่นนับเป็นข่าวดีที่ได้พบไข่เต่าแล้ว
จากนั้นทางเจ้าหน้าที่ก็จัดการเก็บไข่เต่ามาเข้าสู่กระบวนการฟักตัว เพื่อปล่อยคืนสู่ทะเลในลำดับต่อไป
สำหรับสถานการณ์ของเต่ามะเฟืองที่หาดท้ายเหมืองนั้น ผช.น้อง เล่าให้ผมฟังว่า หาดท้ายเหมืองสมัยก่อนมีเต่ามะเฟืองขึ้นมาวางไข่ทุกปี แต่ตอนหลังเริ่มทิ้งช่วงไป เพราะสภาพแวดล้อมเปลี่ยนไป และปริมาณเต่ามะเฟืองรวมถึงเต่าชนิดอื่นๆ ได้ลดจำนวนลงไปมาก ทั้งจากถูกจับ ติดอวน ถูกฆ่า รวมถึงตายเพราะเต่าไปกินขยะจำพวกพลาสติก โดยเฉพาะถุงพลาสติกที่ถูกทิ้งลงทะเลทั้งจากนักท่องเที่ยวและชาวประมง ซึ่งเต่าหลายๆ ตัวที่ตาย เมื่อผ่าท้องออกมาจะเจอซากถุงพลาสติกอุดตันจำนวนมาก ส่งผลให้เต่าที่ตายเพราะถุงพลาสติกนั้นมากพอๆ กับติดอวนเลยทีเดียว ดังนั้นนักท่องเที่ยวและชาวประมงจำเป็นต้องไม่ทิ้งขยะทะเล
“ปกติเต่ามะเฟืองจะขึ้นมาวางไข่ตอนกลางคืนช่วงน้ำเต็มในที่มืดที่ไม่มีแสงรบกวน แต่บางครั้งก็ไม่แน่ เพราะถ้าแม่เต่าอั้นไม่ไหวก็ต้องหาจุดที่เหมาะสมเพื่อวางไข่ อย่างกรณีการขึ้นของเต่ามะเฟืองตัวล่าสุดเมื่อไม่นานมานี้ เขาขึ้นมาวางไข่ที่หน้าหาด ม.ราม สงสัยแม่เต่าคงอั้นไม่ไหวแล้ว” ผช.น้องกล่าว
การขึ้นมาวางไข่ของแม่เต่ามะเฟืองตัวนี้ นับว่าสร้างความฮือฮาไม่น้อย เพราะที่ผ่านมาเต่ามะเฟืองได้หายหน้าหายตัวจากการวางไข่ที่หาดท้ายเหมืองไปประมาณเกือบ 3 ปีแล้ว(เจอเต่ามะเฟืองครั้งสุดท้ายก่อนที่จะเจอตัวนี้ช่วงเดือน ม.ค. ปี 53) จนผู้เกี่ยวข้องหลายคนอดหวั่นใจไม่ได้ว่าเต่ามะเฟืองอาจหายไปจากท้องทะเลไทยแบบไม่มีวันกลับ เพราะอีกหนึ่งจุดวางไข่เต่ามะเฟืองที่สำคัญของไทยคือที่หาดไม้ขาว จ.ภูเก็ต ที่นี่เต่ามะเฟืองได้หายหน้าหายตัวจากการขึ้นมาวางไข่ไปหลายปีแล้ว
เต่ามะเฟืองที่ขึ้นมาวางไข่ตัวนี้เป็นเต่าตัวโตมาก สันนิษฐานว่าคงมีอายุมากแล้ว (เต่ามะเฟืองต้องมีอายุตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ถึงจะวางไข่ได้ ส่วนเต่าตนุประมาณ 8-10 ปี) ผช.น้อง บอกกับผมว่า ตอนแม่เต่าออกไข่มันจะไม่สนใจสิ่งรอบข้าง หากไปยืนอยู่ด้านหลังหรือจุดที่ไม่รบกวนมัน
นั่นจึงทำให้เต่ามะเฟืองยักษ์ตัวนี้เมื่อออกไข่จึงมีคนสนใจไปเฝ้ารอชมกันเป็นจำนวนมาก นับเป็นสัญญาณดีที่เกิดขึ้นกับวงการเต่าบ้านเรา ซึ่งแม่เต่ามะเฟืองยักษ์ตัวนี้ตอนที่มันออกไข่ นอกจากจะมีคนมามุง คอยช่วย คอยลุ้นแล้ว จำนวนไข่ที่มันออกยังมีคนนำไปตีเป็นเลขแทงหวยอีกด้วย(จนท.อุทยานฯท้ายเหมืองบอกว่า ช่วงที่แม่เต่าออกไข่ การไปยืนดูโดยไม่ไปรบกวนต่อการออกไข่ จะไม่สร้างผลกระทบต่อการวางไข่ของแม่เต่า)
นับเป็นการออกไข่ที่ดูแล้วให้บรรยากาศแบบไทยๆ ดีไม่น้อย
***********************************************************
คลิกชมคลิป ถึงเวลาน้องเต่าออกเผชิญโลกกว้าง ที่หาดท้ายเหมือง พังงา
***********************************************************
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล travel_astvmgr@hotmail.com
“พังงา”เป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่นำช้างมาเป็นสัญลักษณ์ประทับอยู่ในตราจังหวัด(ร่วมกับเขาตาปูและเรือขุดแร่)
ช้างในตราประจำจังหวัดพังงา มาจาก“เขาช้าง” หรือ “เขารูปช้าง” ที่ตั้งโดดเด่นเป็นสง่าอยู่กลางใจเมือง เขาลูกนี้หากมองให้ดีๆแบบถูกที่ถูกตำแหน่งจะเห็นมีลักษณะเหมือนช้างกำลังหมอบแบบไม่ต้องใช้จินตนาการมากมายก็เห็นภาพตามได้ไม่ยาก
ด้วยลักษณะอันโดดเด่นเกี่ยวกับช้างทำให้พังงาได้รับการขนานนามว่าเป็นหนึ่งในจังหวัดช้างของเมืองไทย ซึ่งทางจังหวัดได้สร้างประติมากรรมช้างหมอบประดับไว้บนหัวเสาไฟเพื่อแสดงให้เห็นถึงความเป็นเมืองช้างของพังงา
แต่...การล่องใต้ไปพังงาหน(ล่าสุด)นี้ ผมได้รับรู้ว่า พังงานอกจากจะเป็นเมืองช้างแล้วยังได้ชื่อว่าเป็น“เมืองเต่า” อีกด้วย โดยผู้ที่ให้ข้อมูลนี้กับผมคือ คุณ“สุภาพ ไพรพนาพงศ์” ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งพังงา
ผอ.สุภาพอธิบายเหตุผลในการเรียกพังงาเมืองเต่าว่า เต่าทะเลที่พบในเมืองไทย(เคย)มี 5 ชนิด แต่ปัจจุบันพบเพียง 4 ชนิด คือ เต่าตนุ เต่ากระ เต่ามะเฟือง เต่าหญ้าหรือเต่าสังกะสี ส่วนเต่าที่ไม่ได้พบนานแล้วคือเต่าหัวค้อน(และคาดว่าน่าจะสูญพันธุ์ไปจากเมืองไทย)
“จากข้อมูลที่สำรวจพบในปัจจุบัน พังงาเป็นจังหวัดเดียวที่ยังคงมีเต่าทั้ง 4 ชนิดขึ้นมาวางไข่” ผอ.สุภาพ กล่าว ก่อนพูดถึงแหล่งวางไข่หลักๆ ของเต่าทั้ง 4 ชนิด ดังนี้
เกาะหูยง(เกาะ 1) หมู่เกาะสิมิลัน เป็นจุดที่เต่าตนุขึ้นมาวางไข่
เกาะสุรินทร์ เป็นจุดที่เต่ากระขึ้นมาวางไข่
เกาะพระทอง เป็นจุดที่เต่าหญ้าขึ้นมาวางไข่
และหาดท้ายเมือง เป็นจุดที่เต่าตนุและเต่ามะเฟืองขึ้นมาวางไข่
จะเห็นได้ว่าที่หาดท้ายเหมือง อ.ท้ายเหมือง มีความพิเศษกว่าที่อื่นตรงที่มีเต่าถึง 2 ชนิดขึ้นมาวางไข่ ซึ่งเหตุปัจจัยสำคัญที่ทำให้แม่เต่าเลือกหาดท้ายเหมืองเป็นที่วางไข่นั้น ผอ.สุภาพบอกกับผมว่า เนื่องจากหาดท้ายเหมืองเป็นหาดที่มีแนวชายหาดที่ยาวหลายกิโลเมตร(ประมาณ 13 กม.) มีความสงบ สะอาดทั้งน้ำทะเลและหาดทราย(การันตีด้วยรางวัลชายหาดติดดาวระดับ 5 ดาวหลายปีด้วยกัน) บนหาดมีคนรบกวนน้อยเพราะพื้นที่ส่วนใหญ่ของแนวชายหาดอยู่ในการดูแลของ “อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง”(เป็นอีกหนึ่งหน่วยงานที่มีส่วนสำคัญต่อกระบวนการฟักไข่เต่า และปล่อยลูกเต่าคืนสู่ทะเล)
สำหรับเต่าตนุที่มาวางไข่ที่หาดท้ายเหมืองนั้น ปัจจุบันบ้านเราสามารถทำการอนุบาลมันได้แล้ว โดย “ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งพังงา” ที่ตั้งอยู่บริเวณหาดท้ายเหมือง นับเป็นอีกหนึ่งศูนย์วิจัยที่เด่นมากในเรื่องของการอนุบาลเต่าตนุ
เมื่อทางศูนย์วิจัยฯได้ลูกเต่าตนุที่ฟักออกมา(ส่วนหนึ่งมาจากกระบวนการฟักของอุทยานฯหาดท้ายเหมือง) ก็จะนำมาเข้าสู่กระบวนการอนุบาลโดยนำลูกเต่ามาเลี้ยงไว้ในบ่อพัก(นักท่องเที่ยวสามารถติดต่อขอเข้าชมได้) ก่อนปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติ
ลูกเต่าที่ปล่อยคืนสู่ทะเลต้องมีอายุอย่างต่ำ 8 เดือนขึ้นไปถึงจะปล่อยคืนสู่ทะเลได้ เพราะเต่าเมื่อมีอายุถึงในช่วงนี้สามารถเอาตัวรอดในธรรมชาติได้ ซึ่งทางศูนย์วิจัยฯได้มีโครงการให้นักท่องเที่ยวสามารถบริจาคเงินเพื่อปล่อยเต่าได้(ในจำนวนเงินไม่ต่ำกว่าค่าเลี้ยงดูเต่า) โดยผู้บริจาคจะเป็นเหมือนเจ้าของเต่ากลายๆ เพราะมีการลงชื่อ ลงทะเบียน และฝังชิปติดตามเต่าไว้ มีการให้อีเมลของผู้ปล่อยเพื่อทางศูนย์จะได้คอยส่งข้อมูลให้กับผู้ปล่อยเต่า โดยทางศูนย์ฯ รับรองว่าไม่มีชิปหายแน่นอน
สำหรับหนึ่งในจุดที่เหมาะต่อการปล่อยลูกเต่าคืนสู่ทะเลนั้นก็ไม่ใช่ที่ไหนไกล หากแต่เป็นที่ชายหาดท้ายเหมืองหน้าศูนย์วิจัยฯ นั่นเอง โดย ผอ.สุภาพให้เหตุผลว่า เพราะหาดท้ายเหมืองมีแนวปะการังน้ำตื้นขนาดใหญ่อยู่ใกล้ๆ กับชายฝั่ง ห่างแค่ประมาณ 1 กิโลเมตร เหมาะแก่การให้เต่าได้พักตัวหลังปล่อยลงสู่ท้องทะเล
ด้วยความมีศักยภาพในการอนุบาลลูกเต่าตนุ และศักยภาพของหาดท้ายเหมืองที่เหมาะต่อการปล่อยเต่าคืนสู่ทะเล ทำให้ทุกๆ ปีทางจังหวัดพังงาได้จัดกิจกรรมปล่อยเต่าคืนสู่ทะเลขึ้นที่หาดท้ายเหมือง ซึ่งนับเป็นอีกหนึ่งงานใหญ่ของพังงา
นอกจากเต่าตนุแล้ว ที่หาดท้ายเหมืองยังมีเต่าหายากอย่างเต่ามะเฟืองขึ้นมาวางไข่ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น ซึ่งเต่ามะเฟืองถือเป็นเจ้าถิ่นของที่นี่ เพราะพวกเขาได้ขึ้นมาวางไข่ที่หาดท้ายเหมืองมาช้านาน ก่อนที่เต่าตนุจะขึ้นมาวางไข่เมื่อไม่นานมานี้เสียอีก แต่...เมื่อเต่ามะเฟืองฟักไข่ออกเป็นตัวแล้วต้องรีบปล่อยคืนสู่ทะเลทันที เพราะปัจจุบันในบ้านเรา(และทั่วโลก)ยังไม่สามารถที่จะอนุบาลเต่ามะเฟืองได้ ทำให้ปัจจัยสุ่มเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของลูกเต่ามะเฟืองที่เกิดมามีมาก เนื่องจากเพิ่งเกิดใหม่ ยังไม่พร้อมต่อการเอาตัวรอดในท้องทะเล
พูดถึงเต่ามะเฟืองแล้ว หน่วยงานหลักที่ดูแลเรื่องการฟักไข่ของเต่ามะเฟืองที่หาดท้ายเหมืองก็คือ อุทยานฯหาดท้ายเหมือง โดยคุณ “สุวรรณา สะอาด” ผู้ช่วยหัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง หรือ “ผช.น้อง” หญิงแกร่งที่เป็นหนึ่งในกำลังหลักของทีมดูแลเต่า เล่าถึงภารกิจในการดูแลเต่าของอุทยานฯหาดท้ายเหมืองให้ฟังว่า
ช่วงวางไข่ของเต่าที่หาดท้ายเหมืองจะอยู่ในราวเดือน พ.ย.-มี.ค. แม่เต่าหนึ่งตัวจะวางไข่ได้ 5-6 ครั้ง ทิ้งช่วงห่างประมาณ 10-15 และมันจะเปลี่ยนที่วางไข่ไปเรื่อยๆ โดยการวางไข่ครั้งแรกของแม่เต่าจะมากสุดอยู่ที่ประมาณ 100-150 ฟอง เป็นไข่ฝ่อประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ ส่วนการวางไข่ครั้งต่อไปปริมาณจะน้อยลงกว่าครั้งแรก หลังจากออกไข่มาแล้ว ทิ้งช่วงไปอีก 65-75 วัน ลูกเต่าจึงจะฟักเป็นตัวออกมา นั่นจึงทำให้ทางเจ้าหน้าที่อุทยานฯผู้ดูแลไข่เต่าคำนวณถึงการออกมาดูโลกของลูกเต่าน้อยได้
อย่างไรก็ตามการดูแลไข่เต่าให้ฟักนั้นดูจะไม่ยากเท่ากับการหาไข่เต่าที่แม่เต่าฟักทิ้งไว้ให้เจอ เพราะเมื่อแม่เต่าวางไข่แล้วมันจะกลับคืนสู่ทะเล ทีนี้และปัญหาสำคัญ เพราะไข่เต่าที่รอวันฟักเป็นตัว หากเกิดมีสุนัขหรือเหี้ยไปเจอไข่เต่าเข้าก่อน พวกนี้ก็จะกินกำจัดไข่เต่าอย่างเอร็ดอร่อย แต่ถ้าไข่เต่าถูกคนไปพบเข้า งานนี้จะเกิดหนังคนละม้วนใน 2 แบบขึ้น
แบบแรกผู้เจอจะไปแจ้งทางอุทยานฯหรือศูนย์วิจัย ให้นำไข่เต่าไปฟักเพื่อปล่อยคืนสู่ทะเล
ส่วนแบบที่สองผู้เจอจะนำไข่เต่าไปขายเป็นหลัก เพราะไข่เต่านั้นมีราคาแพงเอาเรื่อง ราคาฟองละประมาณ 200 บาทเลยทีเดียว
แน่นอนว่างานนี้มีคนในแบบที่สองมากกว่าแบบแรกอยู่ไม่น้อย นั่นจึงทำให้ช่วงฤดูวางไข่เต่า ทางอุทยานฯหาดท้ายเหมืองจึงต้องจัดทีมลาดตระเวนค้นหาไข่เต่า ซึ่งเต่าที่ขึ้นมาวางไข่จะสังเกตรอยของมันได้ไม่ยาก เพราะรอยเต่าเดินจะเป็นรอยคล้ายล้อรถขนาดใหญ่ แต่แม่เต่าที่ออกไข่แล้วจะกลบไข่ไว้ แถมยังขุดหลุมหลอก ยากต่อการค้นหา ทางเจ้าหน้าที่จึงต้องมีวิธีค้นหาไข่ด้วยการ “สักไข่เต่า” ที่เป็นการแทงเหล็กแหลมลงไป เพื่อเช็กว่ามีไข่เต่าหรือเปล่า เหล็กแหลมจะไปทิ่มโดนไข่ดึงขึ้นมาจะมีเมือกเหม็นคาว นั่นนับเป็นข่าวดีที่ได้พบไข่เต่าแล้ว
จากนั้นทางเจ้าหน้าที่ก็จัดการเก็บไข่เต่ามาเข้าสู่กระบวนการฟักตัว เพื่อปล่อยคืนสู่ทะเลในลำดับต่อไป
สำหรับสถานการณ์ของเต่ามะเฟืองที่หาดท้ายเหมืองนั้น ผช.น้อง เล่าให้ผมฟังว่า หาดท้ายเหมืองสมัยก่อนมีเต่ามะเฟืองขึ้นมาวางไข่ทุกปี แต่ตอนหลังเริ่มทิ้งช่วงไป เพราะสภาพแวดล้อมเปลี่ยนไป และปริมาณเต่ามะเฟืองรวมถึงเต่าชนิดอื่นๆ ได้ลดจำนวนลงไปมาก ทั้งจากถูกจับ ติดอวน ถูกฆ่า รวมถึงตายเพราะเต่าไปกินขยะจำพวกพลาสติก โดยเฉพาะถุงพลาสติกที่ถูกทิ้งลงทะเลทั้งจากนักท่องเที่ยวและชาวประมง ซึ่งเต่าหลายๆ ตัวที่ตาย เมื่อผ่าท้องออกมาจะเจอซากถุงพลาสติกอุดตันจำนวนมาก ส่งผลให้เต่าที่ตายเพราะถุงพลาสติกนั้นมากพอๆ กับติดอวนเลยทีเดียว ดังนั้นนักท่องเที่ยวและชาวประมงจำเป็นต้องไม่ทิ้งขยะทะเล
“ปกติเต่ามะเฟืองจะขึ้นมาวางไข่ตอนกลางคืนช่วงน้ำเต็มในที่มืดที่ไม่มีแสงรบกวน แต่บางครั้งก็ไม่แน่ เพราะถ้าแม่เต่าอั้นไม่ไหวก็ต้องหาจุดที่เหมาะสมเพื่อวางไข่ อย่างกรณีการขึ้นของเต่ามะเฟืองตัวล่าสุดเมื่อไม่นานมานี้ เขาขึ้นมาวางไข่ที่หน้าหาด ม.ราม สงสัยแม่เต่าคงอั้นไม่ไหวแล้ว” ผช.น้องกล่าว
การขึ้นมาวางไข่ของแม่เต่ามะเฟืองตัวนี้ นับว่าสร้างความฮือฮาไม่น้อย เพราะที่ผ่านมาเต่ามะเฟืองได้หายหน้าหายตัวจากการวางไข่ที่หาดท้ายเหมืองไปประมาณเกือบ 3 ปีแล้ว(เจอเต่ามะเฟืองครั้งสุดท้ายก่อนที่จะเจอตัวนี้ช่วงเดือน ม.ค. ปี 53) จนผู้เกี่ยวข้องหลายคนอดหวั่นใจไม่ได้ว่าเต่ามะเฟืองอาจหายไปจากท้องทะเลไทยแบบไม่มีวันกลับ เพราะอีกหนึ่งจุดวางไข่เต่ามะเฟืองที่สำคัญของไทยคือที่หาดไม้ขาว จ.ภูเก็ต ที่นี่เต่ามะเฟืองได้หายหน้าหายตัวจากการขึ้นมาวางไข่ไปหลายปีแล้ว
เต่ามะเฟืองที่ขึ้นมาวางไข่ตัวนี้เป็นเต่าตัวโตมาก สันนิษฐานว่าคงมีอายุมากแล้ว (เต่ามะเฟืองต้องมีอายุตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ถึงจะวางไข่ได้ ส่วนเต่าตนุประมาณ 8-10 ปี) ผช.น้อง บอกกับผมว่า ตอนแม่เต่าออกไข่มันจะไม่สนใจสิ่งรอบข้าง หากไปยืนอยู่ด้านหลังหรือจุดที่ไม่รบกวนมัน
นั่นจึงทำให้เต่ามะเฟืองยักษ์ตัวนี้เมื่อออกไข่จึงมีคนสนใจไปเฝ้ารอชมกันเป็นจำนวนมาก นับเป็นสัญญาณดีที่เกิดขึ้นกับวงการเต่าบ้านเรา ซึ่งแม่เต่ามะเฟืองยักษ์ตัวนี้ตอนที่มันออกไข่ นอกจากจะมีคนมามุง คอยช่วย คอยลุ้นแล้ว จำนวนไข่ที่มันออกยังมีคนนำไปตีเป็นเลขแทงหวยอีกด้วย(จนท.อุทยานฯท้ายเหมืองบอกว่า ช่วงที่แม่เต่าออกไข่ การไปยืนดูโดยไม่ไปรบกวนต่อการออกไข่ จะไม่สร้างผลกระทบต่อการวางไข่ของแม่เต่า)
นับเป็นการออกไข่ที่ดูแล้วให้บรรยากาศแบบไทยๆ ดีไม่น้อย
***********************************************************
คลิกชมคลิป ถึงเวลาน้องเต่าออกเผชิญโลกกว้าง ที่หาดท้ายเหมือง พังงา
***********************************************************
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล travel_astvmgr@hotmail.com