>>>คอลัมน์ : 108-1000 - ศิลป์ โดย รองศาสตราจารย์ ดร. กฤษณา หงษ์อุเทน
สวัสดีค่ะ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา ระหว่างนั่งรถโดยสารประจำทาง ได้มีโอกาสฟังเพลงที่คนขับรถเปิดเผื่อให้ผู้โดยสารฟัง มีเพลงหนึ่ง เป็นเพลงเก่ามาก ชื่อเพลง “จูบ” สุรพล โทณะวนิก เป็นผู้ประพันธ์เนื้อร้องและทำนองเพลง พิทยา บุญยรัตพันธ์ เป็นผู้ขับร้อง เป็นเพลงที่ไพเราะมากๆ ทำให้รับรู้ถึงอัจฉริยภาพของทั้งผู้แต่งเนื้อร้องและทำนองเพลง อีกทั้งความสามารถของผู้ขับร้องในการถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกของเพลงได้อย่างยอดเยี่ยม ซึ่งหาได้ยากในวงการเพลงของบ้านเราในปัจจุบันนี้
เท่าที่จดจำได้ (ผิดพลาดประการใด ต้องขออภัยด้วยค่ะ) หญิงสาวร้องรำพันว่า
“จูบ คุณคิดว่าไม่สำคัญ แต่เมื่อคุณจูบฉัน ทำไมฉันสั่นไปถึงหัวใจ คุณเป็นคนจูบ คุณรู้บ้างไหม ฉันหนาว ฉันร้อน เหมือนดังเป็นไข้ ทุกที ทุกที”
และท้ายที่สุดเธอก็ออดอ้อนออเซาะไว้ในท่อนสุดท้ายของเพลงว่า “จูบ อย่าคิดว่าไม่สำคัญ จูบเบาเบาเท่านั้นยังทำฉันสั่นดังฟ้าสะเทือน คุณเป็นคนจูบ อย่าลืม อย่าเลือน รักไม่จริงก็อย่ามาเฉือนหัวใจฉันด้วยจูบเลย”
แหม! อะไรจะปานนั้น ทั้งคำบรรยายและเสียงร้อง ช่างน่าประทับใจจริงๆ ต้องขอขอบคุณลุงโชเฟอร์ผู้น่ารัก ที่ได้มอบความสุขเล็กๆ น้อยๆ อันยิ่งใหญ่ให้กับผู้โดยสารด้วยเพลง ซึ่งนับเป็นวิจิตรศิลป์สาขาหนึ่ง ได้ฟังเพลงนี้แล้วเลยถือโอกาสนำเอาผลงานศิลปะที่เกี่ยวข้องกับ “จูบประทับใจ” มาเล่าให้ผู้อ่านที่รักของดิฉันได้ฟังเล่นในวันนี้เสียเลย
ภาพจิตรกรรมชื่อ จุมพิต (The Kiss รูปที่ 1) เป็นผลงานสร้างสรรค์ของ กุสตาฟ คลิมท์ (Gustav Klimt) จิตรกรจอมเจ้าชู้ชาวออสเตรีย และเป็นภาพจูบที่มีชื่อเสียงดังกระฉ่อนไปทั่วโลก เพราะถูกนำไปเผยแพร่อย่างกว้างขวางและมากมายหลายรูปแบบอยู่เสมอ คลิมท์ นำเสนอภาพ “จูบ” ของเขาได้อย่างน่าประทับใจ
ชายหนุ่มใช้มือทั้งสองประคองใบหน้าหญิงคนรักอย่างทะนุถนอมพร้อมก้มลงบรรจงจุมพิตแก้มเธอด้วยความรัก หญิงสาวเบียดร่างอันบอบบางของเธอแนบชิดกับกายของชายคนรัก เธอยกแขนขวาขึ้นโอบรอบลำคอเขา ส่วนมือซ้ายเกาะกุมมือขวาของชายหนุ่มไว้อย่างนุ่มนวล หญิงสาวหลับตาพริ้ม ใบหน้าของเธอราวกับตกอยู่ในภวังค์แห่งความฝันอันล้ำลึก ขณะที่มือทั้งสองของเธอเผยความรู้สึกอันซาบซ่านและขวยอาย ร่างกายอันบอบบางและอ่อนระทวยของหญิงสาวถูกหลอมรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวอย่างแยกไม่ออกกับร่างกายอันใหญ่โตราวกับป้อมปราการของชายหนุ่ม
ผืนแผ่นดินเบื้องล่างปกคลุมไปด้วยหญ้าสีเขียวขจีและมวลบุปผาสีสดใสหลายหลากชนิดที่ขยายกลีบบานสะพรั่งรอรับแสงตะวัน เฉกเช่นเดียวกับหญิงสาวที่เผยอกายขึ้นรอรับจุมพิตอันหวานชื่นจากชายคนรัก ฉากหลังสีทองอันว่างเปล่าและเสื้อคลุมสีทองอันสุกปลั่งที่ห่อหุ้มคลุมร่างของชายหนุ่มและหญิงสาวให้แนบสนิทเป็นเนื้อเดียวกัน ช่วยเน้นย้ำโลกส่วนตัวที่มีแต่เพียงเขาและเธอ ผู้ซึ่งตกอยู่ในห้วงเสน่หารัญจวนใจอย่างไม่ใส่ใจใครหรือความเป็นไปใดใดแห่งโลกภายนอก
นอกจากนี้ยังมีผลงานสร้างสรรค์ของ เอากุสต์ โรแด็ง (Auguste Rodin) ประติมากรชาวฝรั่งเศส ผู้คร่ำเคร่งจริงจังกับการแสวงหาวิธีการนำเสนอภาพคู่รักชายหญิงที่กอดเกี่ยวกันด้วยจิตพิศวาสในหลากหลายรูปแบบ ผลงานในช่วงแรกๆ ของเขามักสะท้อนภาพพลังพิศวาสอันเร่าร้อนรุนแรงที่ถาโถมเข้าหาคู่รักหนุ่มสาว เช่น ฤดูใบไม้ผลิตลอดกาล (Eternal Springtime รูปที่ 2) แต่ผลงานในช่วงหลังกลับแสดงออกถึงเสน่ห์แห่งความอ่อนหวานและเย้ายวนรัญจวนใจมากกว่า ดังเช่น จุมพิต (The Kiss รูปที่ 3) ประติมากรรมที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลกของเขา ซึ่งนำเสนอภาพการกอดเกี่ยวกันอย่างอ่อนหวานนุ่มนวลของคู่รักหนุ่มสาวที่ตกอยู่ในภวังค์แห่งห้วงพิศวาส
เช่นเดียวกับ ศกุนตลา (Shakuntala รูปที่ 4 และ 5) ผลงานประติมากรรมที่ดีที่สุดชิ้นหนึ่งของ คามีย์ โคลเดล (Camille Claudel) ชู้รัก ลูกศิษย์ ผู้ร่วมงาน และคู่แข่งในสายอาชีพของโรแด็ง ที่สะท้อนภาพความรักอันลึกล้ำ อารมณ์ถวิลหา และความร้าวรานใจซึ่งยากจะทานทนของคู่รัก ที่พลัดพรากจากกันไปนานแสนนานและได้กลับมาพบกันอีกครั้งหนึ่ง
ชายหนุ่มทรุดกายลงคุกเข่า โอบกอดหญิงคนรักอย่างทะนุถนอม และยืดกายขึ้นจุมพิตเธอด้วยความถวิลหา หญิงสาวยกมือขวาขึ้นประทับบนทรวงอกอย่างนุ่มนวลด้วยความปีติยินดี ทิ้งแขนซ้ายลงพาดผ่านแผ่นหลังอันเปลือยเปล่าของชายหนุ่มอย่างไร้ซึ่งเรี่ยวแรง และเอนกายโน้มศีรษะลงรับจุมพิตของชายอันเป็นที่รัก
ศกุนตลา ของ คามีย์ โคลเดล คือภาพสะท้อนความปลื้มปีติและความโสมนัสอันใหญ่หลวงของคู่รัก ที่ได้กลับคืนสู่อ้อมกอดอันอบอุ่นของกันและกันอีกครั้งโดยถ่ายทอดผ่านการประทับจุมพิตแห่งการรับขวัญด้วยความเสน่หาของชายหนุ่ม ผลงานชิ้นนี้ของ คามีย์ โคลเดล ได้รับการตอบรับและคำวิจารณ์ที่ดีเยี่ยมจากนักวิจารณ์และวงการศิลปะแห่งกรุงปารีสในยุคสมัยนั้น
หมายเหตุ: ชื่อเฉพาะภาษาต่างประเทศในบทความนี้สะกดตามคำอ่านในภาษานั้นๆ
เรียนรู้ศัพท์ศิลปะกับ 108-1000-ศิลป์
Gustav Klimt จิตรกรเอกแห่งยุค Sezession (secession) ของออสเตรีย มีชีวิตราว ค.ศ. 1862-1918
Sezession กระแสความเคลื่อนไหวทางศิลปะแนวนี้มีช่วงระยะเวลาเบ่งบานในทวีปยุโรปเพียงสั้นๆ คือตั้งแต่ราว ค.ศ. 1894-1914 และมีต้นกำเนิดในประเทศฝรั่งเศส ต่อมาจึงได้แพร่หลายเข้าไปในประเทศเบลเยี่ยม ออสเตรีย เยอรมัน เสปน และอิตาลี จากนั้นจึงคลี่คลายเป็นรูปแบบศิลปะที่มีลักษณะอันเป็นเอกลักษณ์ของตนเองและเรียกชื่อแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ เช่น Art nouveau (ฝรั่งเศส) Jugendstil (เยอรมนี) Sezessionsstil (ออสเตรีย) Modern style (อังกฤษและอเมริกา) Stile florale หรือ Stile Liberty (อิตาลี) ถึงแม้ว่าศิลปะรูปแบบนี้จะมีลักษณะพิเศษบางอย่างที่ถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ร่วมกัน เช่น นิยมรูปทรงและลวดลายที่มีเส้นสายโค้ง งอ พลิ้วไหวอย่างงดงามและเป็นอิสระ ซึ่งมักได้รับแรงบันดาลใจมาจากธรรมชาติ เช่น กิ่งก้าน ดอกใบ และเครือเถาของต้นไม้ต้นหญ้า อีกทั้งยังนิยมวัสดุที่มันเป็นเงาแวววาว เช่น เหล็ก ทองเหลือง แก้ว กระเบื้องเคลือบ และกระจกสี เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เราก็มิอาจกล่าวได้ว่า Art nouveau คือ Jugendstil หรือ Sezessionsstil คือ Modern style หรือ Stile florale คือ Art nouveau ฯลฯ เพราะถึงแม้ว่ารูปแบบศิลปะดังกล่าวจะมีแนวร่วมเดียวกัน อยู่ร่วมสมัยเดียวกัน และมีลักษณะคล้ายคลึงกัน แต่ก็มิได้เหมือนกัน ดังนั้นจึงไม่อาจถือว่าเป็นสิ่งเดียวกันได้
Auguste Rodin ประติมากรเอกชาวฝรั่งเศสแห่งยุคอิมเพรสชั่นนิสม์ มีชีวิตระหว่าง ค.ศ. 1840-1917
Camille Claudel ประติมากรหญิงชาวฝรั่งเศสแห่งยุคอิมเพรสชั่นนิสม์ มีชีวิตระหว่าง ค.ศ. 1864-1943
Impressionism อิมเพรสชั่นนิสม์ กระแสการสร้างงานศิลปะช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในประเทศฝรั่งเศส อันถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นศิลปะสมัยใหม่ของยุโรป ศิลปินกลุ่มนี้ต้องการถ่ายทอดความรู้สึกประทับใจของตนจากประสบการณ์ที่ได้จากการสังเกตบรรยากาศ สี และแสงในธรรมชาติอย่างฉับพลันทันใด
รู้จัก … รองศาสตราจารย์ ดร. กฤษณา หงษ์อุเทน
จบมัธยมศึกษาตอนปลายจาก โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ และปริญญาตรี อักษรศาสตร์บัณฑิต (Bachelor of Art) (ภาษาอังกฤษ) จากมหาวิทยาลัยศิลปากร จังหวัดนครปฐม
จากนั้นจึงได้ไปศึกษาต่อยังประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ในสาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตก ที่มหาวิทยาลัย Technische Universität Carolo-Wilhelmina แห่งเมือง Braunschweig จนจบหลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต (Magistra Artium)
ต่อมาได้รับทุนจากรัฐบาลเยอรมัน (Deutscher Akademischer Austauschdienst/DAAD) ให้ไปศึกษาต่อจนจบปริญญาดุษฎีบัณฑิต (Doktors der Philosophie/Dr. Phil.) (ประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตก) ด้วยระดับ “magna cum laude” จากมหาวิทยาลัย Osnabrück แห่งเมือง Osnabrück
ระหว่างปี พ.ศ. 2542-2546 ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการหอศิลป์ คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. 2544 ได้รับทุนจากสถาบันเกอเธ่ ให้ไปเข้าร่วมการสัมมนาด้านวัฒนธรรม ณ เมือง Weimar และ Berlin ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เป็นเวลา 1 เดือน พร้อมทั้งได้นำเอาผลงานศิลปะของศิลปินไทย 3 คน คือ ดำรง วงศ์อุปราช อภิชัย ภิรมย์รักษ์ และ เด่น หวานจริง ไปเผยแพร่ในรูปการจัดแสดงนิทรรศการเป็นครั้งแรกในประเทศเยอรมนี ณ Kunstverein Talstrasse แห่งเมือง Halle ด้วย
พ.ศ. 2545 ได้รับทุนจากรัฐบาลเยอรมัน (Deutscher Akademischer Austauschdienst/DAAD) ให้ไปศึกษาและค้นคว้าเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมในคริสต์ศตวรรษที่ 19-20 ของทวีปยุโรป ณ กรุง Berlin ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เป็นเวลา 3 เดือน
พ.ศ. 2548 ดำรงตำแหน่งประธานสภาคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยศิลปากร ระหว่างปี พ.ศ. 2548-2552 ดำรงตำแหน่ง หัวหน้าภาควิชาทฤษฎีศิลป์ คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ปัจจุบันรับราชการในตำแหน่ง รองศาสตราจารย์ ระดับ 9 ประจำภาควิชาทฤษฎีศิลป์ คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
นอกจากงานประจำด้านการสอนวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตกในคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร แล้ว ยังมีผลงานที่เป็นบทความทางวิชาการ ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาเยอรมัน ที่พิมพ์เผยแพร่อย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกปี และผลงานสร้างสรรค์ศิลปะที่แสดงร่วมกับคณาจารย์ในคณะอีกด้วย
ผลงานอื่นๆ ได้แก่ การแต่งตำราประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตก การออกแบบหนังสือและสูจิบัตร การกำกับและจัดวางรูปแบบนิทรรศการศิลปะ และการจัดทำ (การกำกับ) VCD
เมื่อ พ.ศ.2549 เคยมีผลงานหนังสือ "ศิลปะคลาสสิก" ซึ่งแต่งขึ้น จากการศึกษาและค้นคว้าตำราต่างประเทศหลายสิบเล่มเป็นเวลานานกว่าสิบปี
และ พ.ศ.2552 รศ.ดร.กฤษณา มีผลงานหนังสือ "เผยความลับที่ไม่ลับ ของ รหัสลับดาวินชี" ออกมาเปิดโปง ความจริงที่ถูกปิดบัง ซ่อนเร้น และบิดเบือนอย่างมโหราฬ ใน รหัสลับดาวินชี (The Da Vinci Code) นวนิยายอาชญากรรมเชิงสืบสวนสอบสวนของ แดน บราวน์ ที่โด่งดังและขายดีที่สุดเมื่อหลายปีที่ผ่านมา
ART EYE VIEW เชิญ รองศาสตราจารย์ ดร. กฤษณา มาร่วมให้ความรู้แก่ผู้ชมงานศิลปะ ด้วยเห็นว่า ความรู้ที่มี ไม่ควรถูกจำกัดอยู่แค่ ในรั้วสถาบันการศึกษา
ติดตามอ่าน ...108-1000 - ศิลป์ โดย รองศาสตราจารย์ ดร. กฤษณา หงษ์อุเทน ได้ทุกอาทิตย์ ทาง ART EYE VIEW
ส่งข่าวสารงานศิลปะร่วมสมัย มาได้ที่ ข่าว ART EYE VIEW เซกชัน Celeb Online www.astvmanager.com และ M-Art eye view เซกชัน Lite ในหนังสือพิมพ์ ASTV ผู้จัดการสุดสัปดาห์ Email: thinksea@hotmail.com
และคลิกเป็น แฟนเพจ ได้ที่ www.facebook.com/arteyeviewnews
สวัสดีค่ะ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา ระหว่างนั่งรถโดยสารประจำทาง ได้มีโอกาสฟังเพลงที่คนขับรถเปิดเผื่อให้ผู้โดยสารฟัง มีเพลงหนึ่ง เป็นเพลงเก่ามาก ชื่อเพลง “จูบ” สุรพล โทณะวนิก เป็นผู้ประพันธ์เนื้อร้องและทำนองเพลง พิทยา บุญยรัตพันธ์ เป็นผู้ขับร้อง เป็นเพลงที่ไพเราะมากๆ ทำให้รับรู้ถึงอัจฉริยภาพของทั้งผู้แต่งเนื้อร้องและทำนองเพลง อีกทั้งความสามารถของผู้ขับร้องในการถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกของเพลงได้อย่างยอดเยี่ยม ซึ่งหาได้ยากในวงการเพลงของบ้านเราในปัจจุบันนี้
เท่าที่จดจำได้ (ผิดพลาดประการใด ต้องขออภัยด้วยค่ะ) หญิงสาวร้องรำพันว่า
“จูบ คุณคิดว่าไม่สำคัญ แต่เมื่อคุณจูบฉัน ทำไมฉันสั่นไปถึงหัวใจ คุณเป็นคนจูบ คุณรู้บ้างไหม ฉันหนาว ฉันร้อน เหมือนดังเป็นไข้ ทุกที ทุกที”
และท้ายที่สุดเธอก็ออดอ้อนออเซาะไว้ในท่อนสุดท้ายของเพลงว่า “จูบ อย่าคิดว่าไม่สำคัญ จูบเบาเบาเท่านั้นยังทำฉันสั่นดังฟ้าสะเทือน คุณเป็นคนจูบ อย่าลืม อย่าเลือน รักไม่จริงก็อย่ามาเฉือนหัวใจฉันด้วยจูบเลย”
แหม! อะไรจะปานนั้น ทั้งคำบรรยายและเสียงร้อง ช่างน่าประทับใจจริงๆ ต้องขอขอบคุณลุงโชเฟอร์ผู้น่ารัก ที่ได้มอบความสุขเล็กๆ น้อยๆ อันยิ่งใหญ่ให้กับผู้โดยสารด้วยเพลง ซึ่งนับเป็นวิจิตรศิลป์สาขาหนึ่ง ได้ฟังเพลงนี้แล้วเลยถือโอกาสนำเอาผลงานศิลปะที่เกี่ยวข้องกับ “จูบประทับใจ” มาเล่าให้ผู้อ่านที่รักของดิฉันได้ฟังเล่นในวันนี้เสียเลย
ภาพจิตรกรรมชื่อ จุมพิต (The Kiss รูปที่ 1) เป็นผลงานสร้างสรรค์ของ กุสตาฟ คลิมท์ (Gustav Klimt) จิตรกรจอมเจ้าชู้ชาวออสเตรีย และเป็นภาพจูบที่มีชื่อเสียงดังกระฉ่อนไปทั่วโลก เพราะถูกนำไปเผยแพร่อย่างกว้างขวางและมากมายหลายรูปแบบอยู่เสมอ คลิมท์ นำเสนอภาพ “จูบ” ของเขาได้อย่างน่าประทับใจ
ชายหนุ่มใช้มือทั้งสองประคองใบหน้าหญิงคนรักอย่างทะนุถนอมพร้อมก้มลงบรรจงจุมพิตแก้มเธอด้วยความรัก หญิงสาวเบียดร่างอันบอบบางของเธอแนบชิดกับกายของชายคนรัก เธอยกแขนขวาขึ้นโอบรอบลำคอเขา ส่วนมือซ้ายเกาะกุมมือขวาของชายหนุ่มไว้อย่างนุ่มนวล หญิงสาวหลับตาพริ้ม ใบหน้าของเธอราวกับตกอยู่ในภวังค์แห่งความฝันอันล้ำลึก ขณะที่มือทั้งสองของเธอเผยความรู้สึกอันซาบซ่านและขวยอาย ร่างกายอันบอบบางและอ่อนระทวยของหญิงสาวถูกหลอมรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวอย่างแยกไม่ออกกับร่างกายอันใหญ่โตราวกับป้อมปราการของชายหนุ่ม
ผืนแผ่นดินเบื้องล่างปกคลุมไปด้วยหญ้าสีเขียวขจีและมวลบุปผาสีสดใสหลายหลากชนิดที่ขยายกลีบบานสะพรั่งรอรับแสงตะวัน เฉกเช่นเดียวกับหญิงสาวที่เผยอกายขึ้นรอรับจุมพิตอันหวานชื่นจากชายคนรัก ฉากหลังสีทองอันว่างเปล่าและเสื้อคลุมสีทองอันสุกปลั่งที่ห่อหุ้มคลุมร่างของชายหนุ่มและหญิงสาวให้แนบสนิทเป็นเนื้อเดียวกัน ช่วยเน้นย้ำโลกส่วนตัวที่มีแต่เพียงเขาและเธอ ผู้ซึ่งตกอยู่ในห้วงเสน่หารัญจวนใจอย่างไม่ใส่ใจใครหรือความเป็นไปใดใดแห่งโลกภายนอก
นอกจากนี้ยังมีผลงานสร้างสรรค์ของ เอากุสต์ โรแด็ง (Auguste Rodin) ประติมากรชาวฝรั่งเศส ผู้คร่ำเคร่งจริงจังกับการแสวงหาวิธีการนำเสนอภาพคู่รักชายหญิงที่กอดเกี่ยวกันด้วยจิตพิศวาสในหลากหลายรูปแบบ ผลงานในช่วงแรกๆ ของเขามักสะท้อนภาพพลังพิศวาสอันเร่าร้อนรุนแรงที่ถาโถมเข้าหาคู่รักหนุ่มสาว เช่น ฤดูใบไม้ผลิตลอดกาล (Eternal Springtime รูปที่ 2) แต่ผลงานในช่วงหลังกลับแสดงออกถึงเสน่ห์แห่งความอ่อนหวานและเย้ายวนรัญจวนใจมากกว่า ดังเช่น จุมพิต (The Kiss รูปที่ 3) ประติมากรรมที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลกของเขา ซึ่งนำเสนอภาพการกอดเกี่ยวกันอย่างอ่อนหวานนุ่มนวลของคู่รักหนุ่มสาวที่ตกอยู่ในภวังค์แห่งห้วงพิศวาส
เช่นเดียวกับ ศกุนตลา (Shakuntala รูปที่ 4 และ 5) ผลงานประติมากรรมที่ดีที่สุดชิ้นหนึ่งของ คามีย์ โคลเดล (Camille Claudel) ชู้รัก ลูกศิษย์ ผู้ร่วมงาน และคู่แข่งในสายอาชีพของโรแด็ง ที่สะท้อนภาพความรักอันลึกล้ำ อารมณ์ถวิลหา และความร้าวรานใจซึ่งยากจะทานทนของคู่รัก ที่พลัดพรากจากกันไปนานแสนนานและได้กลับมาพบกันอีกครั้งหนึ่ง
ชายหนุ่มทรุดกายลงคุกเข่า โอบกอดหญิงคนรักอย่างทะนุถนอม และยืดกายขึ้นจุมพิตเธอด้วยความถวิลหา หญิงสาวยกมือขวาขึ้นประทับบนทรวงอกอย่างนุ่มนวลด้วยความปีติยินดี ทิ้งแขนซ้ายลงพาดผ่านแผ่นหลังอันเปลือยเปล่าของชายหนุ่มอย่างไร้ซึ่งเรี่ยวแรง และเอนกายโน้มศีรษะลงรับจุมพิตของชายอันเป็นที่รัก
ศกุนตลา ของ คามีย์ โคลเดล คือภาพสะท้อนความปลื้มปีติและความโสมนัสอันใหญ่หลวงของคู่รัก ที่ได้กลับคืนสู่อ้อมกอดอันอบอุ่นของกันและกันอีกครั้งโดยถ่ายทอดผ่านการประทับจุมพิตแห่งการรับขวัญด้วยความเสน่หาของชายหนุ่ม ผลงานชิ้นนี้ของ คามีย์ โคลเดล ได้รับการตอบรับและคำวิจารณ์ที่ดีเยี่ยมจากนักวิจารณ์และวงการศิลปะแห่งกรุงปารีสในยุคสมัยนั้น
หมายเหตุ: ชื่อเฉพาะภาษาต่างประเทศในบทความนี้สะกดตามคำอ่านในภาษานั้นๆ
เรียนรู้ศัพท์ศิลปะกับ 108-1000-ศิลป์
Gustav Klimt จิตรกรเอกแห่งยุค Sezession (secession) ของออสเตรีย มีชีวิตราว ค.ศ. 1862-1918
Sezession กระแสความเคลื่อนไหวทางศิลปะแนวนี้มีช่วงระยะเวลาเบ่งบานในทวีปยุโรปเพียงสั้นๆ คือตั้งแต่ราว ค.ศ. 1894-1914 และมีต้นกำเนิดในประเทศฝรั่งเศส ต่อมาจึงได้แพร่หลายเข้าไปในประเทศเบลเยี่ยม ออสเตรีย เยอรมัน เสปน และอิตาลี จากนั้นจึงคลี่คลายเป็นรูปแบบศิลปะที่มีลักษณะอันเป็นเอกลักษณ์ของตนเองและเรียกชื่อแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ เช่น Art nouveau (ฝรั่งเศส) Jugendstil (เยอรมนี) Sezessionsstil (ออสเตรีย) Modern style (อังกฤษและอเมริกา) Stile florale หรือ Stile Liberty (อิตาลี) ถึงแม้ว่าศิลปะรูปแบบนี้จะมีลักษณะพิเศษบางอย่างที่ถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ร่วมกัน เช่น นิยมรูปทรงและลวดลายที่มีเส้นสายโค้ง งอ พลิ้วไหวอย่างงดงามและเป็นอิสระ ซึ่งมักได้รับแรงบันดาลใจมาจากธรรมชาติ เช่น กิ่งก้าน ดอกใบ และเครือเถาของต้นไม้ต้นหญ้า อีกทั้งยังนิยมวัสดุที่มันเป็นเงาแวววาว เช่น เหล็ก ทองเหลือง แก้ว กระเบื้องเคลือบ และกระจกสี เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เราก็มิอาจกล่าวได้ว่า Art nouveau คือ Jugendstil หรือ Sezessionsstil คือ Modern style หรือ Stile florale คือ Art nouveau ฯลฯ เพราะถึงแม้ว่ารูปแบบศิลปะดังกล่าวจะมีแนวร่วมเดียวกัน อยู่ร่วมสมัยเดียวกัน และมีลักษณะคล้ายคลึงกัน แต่ก็มิได้เหมือนกัน ดังนั้นจึงไม่อาจถือว่าเป็นสิ่งเดียวกันได้
Auguste Rodin ประติมากรเอกชาวฝรั่งเศสแห่งยุคอิมเพรสชั่นนิสม์ มีชีวิตระหว่าง ค.ศ. 1840-1917
Camille Claudel ประติมากรหญิงชาวฝรั่งเศสแห่งยุคอิมเพรสชั่นนิสม์ มีชีวิตระหว่าง ค.ศ. 1864-1943
Impressionism อิมเพรสชั่นนิสม์ กระแสการสร้างงานศิลปะช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในประเทศฝรั่งเศส อันถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นศิลปะสมัยใหม่ของยุโรป ศิลปินกลุ่มนี้ต้องการถ่ายทอดความรู้สึกประทับใจของตนจากประสบการณ์ที่ได้จากการสังเกตบรรยากาศ สี และแสงในธรรมชาติอย่างฉับพลันทันใด
รู้จัก … รองศาสตราจารย์ ดร. กฤษณา หงษ์อุเทน
จบมัธยมศึกษาตอนปลายจาก โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ และปริญญาตรี อักษรศาสตร์บัณฑิต (Bachelor of Art) (ภาษาอังกฤษ) จากมหาวิทยาลัยศิลปากร จังหวัดนครปฐม
จากนั้นจึงได้ไปศึกษาต่อยังประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ในสาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตก ที่มหาวิทยาลัย Technische Universität Carolo-Wilhelmina แห่งเมือง Braunschweig จนจบหลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต (Magistra Artium)
ต่อมาได้รับทุนจากรัฐบาลเยอรมัน (Deutscher Akademischer Austauschdienst/DAAD) ให้ไปศึกษาต่อจนจบปริญญาดุษฎีบัณฑิต (Doktors der Philosophie/Dr. Phil.) (ประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตก) ด้วยระดับ “magna cum laude” จากมหาวิทยาลัย Osnabrück แห่งเมือง Osnabrück
ระหว่างปี พ.ศ. 2542-2546 ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการหอศิลป์ คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. 2544 ได้รับทุนจากสถาบันเกอเธ่ ให้ไปเข้าร่วมการสัมมนาด้านวัฒนธรรม ณ เมือง Weimar และ Berlin ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เป็นเวลา 1 เดือน พร้อมทั้งได้นำเอาผลงานศิลปะของศิลปินไทย 3 คน คือ ดำรง วงศ์อุปราช อภิชัย ภิรมย์รักษ์ และ เด่น หวานจริง ไปเผยแพร่ในรูปการจัดแสดงนิทรรศการเป็นครั้งแรกในประเทศเยอรมนี ณ Kunstverein Talstrasse แห่งเมือง Halle ด้วย
พ.ศ. 2545 ได้รับทุนจากรัฐบาลเยอรมัน (Deutscher Akademischer Austauschdienst/DAAD) ให้ไปศึกษาและค้นคว้าเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมในคริสต์ศตวรรษที่ 19-20 ของทวีปยุโรป ณ กรุง Berlin ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เป็นเวลา 3 เดือน
พ.ศ. 2548 ดำรงตำแหน่งประธานสภาคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยศิลปากร ระหว่างปี พ.ศ. 2548-2552 ดำรงตำแหน่ง หัวหน้าภาควิชาทฤษฎีศิลป์ คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ปัจจุบันรับราชการในตำแหน่ง รองศาสตราจารย์ ระดับ 9 ประจำภาควิชาทฤษฎีศิลป์ คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
นอกจากงานประจำด้านการสอนวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตกในคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร แล้ว ยังมีผลงานที่เป็นบทความทางวิชาการ ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาเยอรมัน ที่พิมพ์เผยแพร่อย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกปี และผลงานสร้างสรรค์ศิลปะที่แสดงร่วมกับคณาจารย์ในคณะอีกด้วย
ผลงานอื่นๆ ได้แก่ การแต่งตำราประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตก การออกแบบหนังสือและสูจิบัตร การกำกับและจัดวางรูปแบบนิทรรศการศิลปะ และการจัดทำ (การกำกับ) VCD
เมื่อ พ.ศ.2549 เคยมีผลงานหนังสือ "ศิลปะคลาสสิก" ซึ่งแต่งขึ้น จากการศึกษาและค้นคว้าตำราต่างประเทศหลายสิบเล่มเป็นเวลานานกว่าสิบปี
และ พ.ศ.2552 รศ.ดร.กฤษณา มีผลงานหนังสือ "เผยความลับที่ไม่ลับ ของ รหัสลับดาวินชี" ออกมาเปิดโปง ความจริงที่ถูกปิดบัง ซ่อนเร้น และบิดเบือนอย่างมโหราฬ ใน รหัสลับดาวินชี (The Da Vinci Code) นวนิยายอาชญากรรมเชิงสืบสวนสอบสวนของ แดน บราวน์ ที่โด่งดังและขายดีที่สุดเมื่อหลายปีที่ผ่านมา
ART EYE VIEW เชิญ รองศาสตราจารย์ ดร. กฤษณา มาร่วมให้ความรู้แก่ผู้ชมงานศิลปะ ด้วยเห็นว่า ความรู้ที่มี ไม่ควรถูกจำกัดอยู่แค่ ในรั้วสถาบันการศึกษา
ติดตามอ่าน ...108-1000 - ศิลป์ โดย รองศาสตราจารย์ ดร. กฤษณา หงษ์อุเทน ได้ทุกอาทิตย์ ทาง ART EYE VIEW
ส่งข่าวสารงานศิลปะร่วมสมัย มาได้ที่ ข่าว ART EYE VIEW เซกชัน Celeb Online www.astvmanager.com และ M-Art eye view เซกชัน Lite ในหนังสือพิมพ์ ASTV ผู้จัดการสุดสัปดาห์ Email: thinksea@hotmail.com
และคลิกเป็น แฟนเพจ ได้ที่ www.facebook.com/arteyeviewnews