>>>คอลัมน์ : 108-1000 - ศิลป์ โดย รองศาสตราจารย์ ดร. กฤษณา หงษ์อุเทน
การสร้างรูปมนุษย์เปลือยในงานศิลปะนั้นมีมาช้านานนับแต่ครั้งบรรพกาลแล้ว เริ่มตั้งแต่สมัยที่มนุษย์คิดสร้างรูปบูชาแม่พระธรณีในลักษณะอวบอ้วนและเปลือยเปล่าเพื่อสื่อถึงความอุดมสมบูรณ์ เช่น วีนัสแห่งวิลเลนดอร์ฟ (Venus of Willendorf) (รูปที่ 2) เป็นต้น
ต่อมาในสมัยกรีก ถึงแม้ว่าศิลปินจะนิยมสร้างเทวรูปหรือรูปชายหนุ่มเปลือยที่มีใบหน้าและทรวงทรงอันงดงามแบบอุดมคติ ตลอดจนมีการจัดวางท่วงท่าที่สง่างามก็ตาม แต่ก็ยังไม่มีการสร้างรูปประติมากรรมหญิงสาวเปลือย ความนิยมในการสร้างรูปประติมากรรมสตรีเปลือยในศิลปะกรีกเริ่มมีขึ้นเมื่อประมาณกลางคริสต์ศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล
เมื่ออาณาจักรโรมันล่มสลายลง และคริสต์ศาสนาเริ่มมีอิทธิพลในทวีปยุโรป จึงทำให้การสร้างรูปมนุษย์เปลือยตามคติกรีกและโรมันหยุดชะงักลงตลอดยุคกลางของยุโรป เนื่องจากชาวคริสเตียนถือว่าการเปลือยกายเป็นบาป จากนั้นจึงเริ่มมีการสร้างรูปมนุษย์เปลือยขึ้นมาใหม่อีกครั้งหนึ่งในสมัยเรอเนสซองซ์ (Renaissance) โดย Donatello ประติมากรเอกของอิตาลี ได้หล่อประติมากรรมสำริด รมดำ เดวิด (David) (รูปที่ 3) ซึ่งถือว่าเป็นประติมากรรมมนุษย์เปลือยรูปแรกที่สร้างขึ้นหลังจากที่ได้หยุดสร้างมาเป็นระยะเวลานานถึง 1,000 ปี อย่างไรก็ตาม ศิลปินในสมัยนั้นก็ยังคงนิยมสร้างแต่รูปประติมากรรมชายหนุ่มเปลือยมากกว่ารูปสตรีเปลือย
แต่ในงานจิตรกรรมรูปสตรีเปลือยกลับเป็นที่นิยมมากที่สุด จิตรกรรมรูปสตรีเปลือยรูปแรกในยุคนี้คือภาพ เทพธิดาวีนัสในห้วงนิทรารมณ์ (รูปที่ 4) ของ จอร์โจเน (Giorgione) จิตรกรผู้มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่งในสมัยเรอเนสซองซ์ของอิตาลี
ภาพสตรีเปลือยในงานศิลปะคือบทเพลงสรรเสริญความงามอันเป็นอุดมคติแห่งสรีระของอิสตรี ซึ่งอาจดูคล้ายคลึงกัน แต่ความจริงแล้วแตกต่างกันตามเจตนารมณ์แห่งการนำเสนอของศิลปินผู้สร้างสรรค์ จอร์โจเนเน้นการนำเสนอภาพการตกอยู่ในห้วงนิทรารมณ์อย่างเป็นสุขของเทพธิดาแห่งความรักซึ่งสอดประสานอย่างคล้องจองกับภาพทิวทัศน์อันสงบเงียบที่อยู่ล้อมรอบพระวรกายของพระนาง
การเข้าสู่นิทรารมณ์ที่ดูเป็นธรรมชาติและไร้ซึ่งความเสแสร้ง ได้สร้างความงดงามอันจับใจและความสง่างามให้กับเท้าเธอยิ่งนัก ด้วยเหตุนี้ ความเปลือยเปล่าของเทพธิดาวีนัสจึงดูงดงามและบริสุทธิ์ผุดผ่องเกินกว่าจะปลุกกิเลสตัณหาแห่งบุรุษใดได้
ดังนั้น ครั้งนี้จึงนับเป็นครั้งแรกในโลกของศิลปะที่ศิลปินได้นำเอาความงดงามของสรีระสตรีมายกย่องเชิดชูและนำมาเป็นเนื้อหาสาระสำคัญของงานจิตรกรรม
ถึงแม้ว่าภาพ วีนัสแห่งเออร์บิโน (Venus of Urbino) (รูปที่ 1) ของ ทิเซียโน (Tiziano) จะได้รับแรงบันดาลใจมาจากภาพเทพธิดาวีนัสของจอร์โจเนก็ตาม แต่วิธีการนำเสนอภาพจะแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ทิเซียโนปลุกองค์เทวีให้ทรงตื่นจากบรรทม และอัญเชิญท้าวเธอเสด็จประทับในพระราชฐาน ใบหน้าอันอ่อนหวานน่ารัก ทรวดทรงอันอวบอัดและเต็มไปด้วยเลือดเนื้อ ท่าทางที่เชิญชวน และสายตาซึ่งมองออกมานอกภาพยังผู้ชมอย่างท้าทาย ทำให้เทพธิดาวีนัสของทิเซียโนมีเสน่ห์เย้ายวนใจมากกว่าของจอร์โจเน
ถึงแม้ว่าภาพ มายาเปลือย (รูปที่ 5) ของ ฟรานซิสโก เดอ โกยา (Francisco de Goya) ศิลปินชาวสเปน จะมิใช่ภาพของเทพธิดาวีนัส แต่เป็นภาพเหมือนชู้รักของจิตรกรก็ตาม แต่ก็เป็นภาพที่ศิลปินต้องการนำเสนอความงดงามแห่งสรีระอันเปลือยเปล่าของสตรีเช่นกัน
ท่าทางการนอนที่บิดเอี้ยวกายมาทางผู้ชมอย่างไม่เขินอาย และการยกแขนสองข้างขึ้นประสานกันเพื่อหนุนศีรษะ บอกให้รู้เป็นนัยว่า สาวงามผู้นี้ไม่ต้องการปิดบังสรีระอันเปลือยเปล่าของตน ยิ่งไปกว่านั้น สายตาที่มองออกมานอกภาพอย่างไม่สะทกสะท้านและรอยยิ้มยั่วเย้าบางๆ บนใบหน้า ก็ดูราวกับเป็นการเชิญชวนและท้าทายให้ผู้ชมหรือจิตรกรทัศนาทรวดทรงองเอวที่โค้งเว้าได้สัดส่วนงดงาม รวมทั้งปทุมถันอันกลมกลึงและอวบอิ่มของเธอได้อย่างไม่ต้องเกรงใจ ดังนั้น ภาพ “มายาเปลือย” จึงเป็นภาพจิตรกรรมสาวเปลือยที่มุ่งเน้นความเย้ายวนใจและเสน่ห์มารยาของสตรีเพศเป็นสำคัญ
ผลงานประติมากรรม ธารทอง (รูปที่ 6) ของ แสวง สงฆ์มั่งมี (พ.ศ. 2461-2501) ซึ่งได้รับรางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง จากงานแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2494 เป็นการประสานภาพเทพธิดาวีนัสของจอร์โจเน เข้ากับ “มายา” ของ โกย่า ได้อย่างวิเศษสุด
ถึงแม้ว่าท่าทางการนอนบิดเอี้ยวกายและยกแขนทั้งสองข้างทอดวางไว้เหนือศีรษะอย่างอ่อนช้อยของ “ธารทอง” จะคล้ายคลึงกับ “มายา” ของโกยาก็ตาม แต่ภาพสาวงามที่นอนระทวยกายหลับตาพริ้มอย่างผาสุกบนโขดหิน ซึ่งมีธารน้ำไหลรินอย่างแผ่วพลิ้ว จะต่างกันอย่างสิ้นเชิงกับภาพหญิงสาวที่นอนเปลือยกายเผยทรวดทรงอันอะร้าอร่ามอยู่บนเตียงนอน และมองออกมานอกภาพด้วยสายตาที่ท้าทายและรอยยิ้มอันยั่วเย้าอย่างไม่ขวยอาย
เสน่ห์อันเย้ายวนใจและรัดรึงใจชายของ “ธารทอง” ไม่เพียงจะอยู่ที่วงพักตร์อันจิ้มลิ้มพริ้มเพรา ทรวดทรงที่สมส่วนและอวบอิ่ม ปทุมถันอันกลมกลึงซึ่งท้าทายสายตาผู้ชมอย่างทะนง และสรีระอันเปลือยเปล่าของหญิงสาวเท่านั้น แต่ยังอยู่ที่การนำเสนอภาพสาวงามซึ่งนอนเปลือยกายและอยู่ในห้วงนิทรารมณ์ท่ามกลางป่าเขาลำเนาไพรอันสงัดเงียบ ซึ่งมีเพียงเสียงดนตรีแห่งธรรมชาติคอยขับกล่อมเธอเช่นเดียวกับภาพการปรากฏกายของเทพธิดาแห่งความรักของจอร์โจเน
ขณะที่ “มายา” ทำให้ชายหนุ่มรู้สึกตะขิดตะขวงใจและร้อนๆ หนาวๆ กับสายตาอันท้าทายและรอยยิ้มอันยั่วเย้าแบบรู้เท่าทันของเธอ แต่ “ธารทอง” กลับทำให้ผู้ชมระทึกใจราวกับได้แอบลอบชมโฉมสาวงามยามหลับใหลโดยที่เธอไม่รู้สึกตัว
ภาพสตรีเปลือยในงานศิลปะทั้งหมดที่กล่าวมานี้ เผยให้เห็นจุดมุ่งหมายหลักที่ศิลปินทุกยุคทุกสมัยตั้งใจวางไว้อย่างหนักแน่นในการสร้างสรรค์งานของพวกเขา นั่นคือ
ภาพความงดงามซึ่งมีมนต์ขลังอย่างมหัศจรรย์ของสรีระแห่งอิสตรีเพียงอย่างเดียวก็มีเหตุผลมากเกินพอที่จะนำมาเป็นเนื้อหาสาระสำคัญในการสร้างสรรค์งานศิลปะ และศิลปินก็มีสิทธิอย่างเต็มเปี่ยมในอันที่จะนำเสนอสิ่งซึ่งเขาเชื่อมั่นในงานสร้างสรรค์ของเขาเอง
เรียนรู้ศัพท์ศิลปะกับ 108-1000-ศิลป์
Middle Ages ยุคกลางในทวีปยุโรปคือช่วงเวลาตั้งแต่การล่มสลายของอาณาจักรโรมันตะวันตกในปี ค.ศ. 476 จนถึงประมาณต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15
Renaissance ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ หรือ เรอเนสซองซ์ ในทวีปยุโรป เริ่มต้นราวต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17
Donatello ประติมากรเอกสมัยเรอเนสซองซ์ตอนต้นของอิตาลี มีชีวิตระหว่าง ค.ศ. 1386 - 1466
David วีรบุรุษและกษัตริย์แห่งอิสราเอล ตามเรื่องเล่าในพระคริสตธรรมคัมภีร ภาคพันธสัญญาเก่า
Giorgione จิตรกรเอกสมัยเรอเนสซองซ์ตอนต้นของอิตาลี มีชีวิตระหว่าง ค.ศ. 1477/78-1510
Tiziano Vecellio จิตรกรเอกสมัยเรอเนสซองซ์ของอิตาลี มีชีวิตระหว่าง ค.ศ. 1476/77-1576
Francisco de Goya จิตรกรเอกสมัยโรแมนติคของเสปน มีชีวิตระหว่าง ค.ศ. 1746-1828
รู้จัก … รองศาสตราจารย์ ดร. กฤษณา หงษ์อุเทน
จบมัธยมศึกษาตอนปลายจาก โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ และปริญญาตรี อักษรศาสตร์บัณฑิต (Bachelor of Art) (ภาษาอังกฤษ) จากมหาวิทยาลัยศิลปากร จังหวัดนครปฐม
จากนั้นจึงได้ไปศึกษาต่อยังประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ในสาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตก ที่มหาวิทยาลัย Technische Universität Carolo-Wilhelmina แห่งเมือง Braunschweig จนจบหลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต (Magistra Artium)
ต่อมาได้รับทุนจากรัฐบาลเยอรมัน (Deutscher Akademischer Austauschdienst/DAAD) ให้ไปศึกษาต่อจนจบปริญญาดุษฎีบัณฑิต (Doktors der Philosophie/Dr. Phil.) (ประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตก) ด้วยระดับ “magna cum laude” จากมหาวิทยาลัย Osnabrück แห่งเมือง Osnabrück
ระหว่างปี พ.ศ. 2542-2546 ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการหอศิลป์ คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. 2544 ได้รับทุนจากสถาบันเกอเธ่ ให้ไปเข้าร่วมการสัมมนาด้านวัฒนธรรม ณ เมือง Weimar และ Berlin ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เป็นเวลา 1 เดือน พร้อมทั้งได้นำเอาผลงานศิลปะของศิลปินไทย 3 คน คือ ดำรง วงศ์อุปราช อภิชัย ภิรมย์รักษ์ และ เด่น หวานจริง ไปเผยแพร่ในรูปการจัดแสดงนิทรรศการเป็นครั้งแรกในประเทศเยอรมนี ณ Kunstverein Talstrasse แห่งเมือง Halle ด้วย
พ.ศ. 2545 ได้รับทุนจากรัฐบาลเยอรมัน (Deutscher Akademischer Austauschdienst/DAAD) ให้ไปศึกษาและค้นคว้าเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมในคริสต์ศตวรรษที่ 19-20 ของทวีปยุโรป ณ กรุง Berlin ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เป็นเวลา 3 เดือน
พ.ศ. 2548 ดำรงตำแหน่งประธานสภาคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยศิลปากร ระหว่างปี พ.ศ. 2548-2552 ดำรงตำแหน่ง หัวหน้าภาควิชาทฤษฎีศิลป์ คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ปัจจุบันรับราชการในตำแหน่ง รองศาสตราจารย์ ระดับ 9 ประจำภาควิชาทฤษฎีศิลป์ คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
นอกจากงานประจำด้านการสอนวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตกในคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร แล้ว ยังมีผลงานที่เป็นบทความทางวิชาการ ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาเยอรมัน ที่พิมพ์เผยแพร่อย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกปี และผลงานสร้างสรรค์ศิลปะที่แสดงร่วมกับคณาจารย์ในคณะอีกด้วย
ผลงานอื่นๆ ได้แก่ การแต่งตำราประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตก การออกแบบหนังสือและสูจิบัตร การกำกับและจัดวางรูปแบบนิทรรศการศิลปะ และการจัดทำ (การกำกับ) VCD
เมื่อ พ.ศ.2549 เคยมีผลงานหนังสือ "ศิลปะคลาสสิก" ซึ่งแต่งขึ้น จากการศึกษาและค้นคว้าตำราต่างประเทศหลายสิบเล่มเป็นเวลานานกว่าสิบปี
และ พ.ศ.2552 รศ.ดร.กฤษณา มีผลงานหนังสือ "เผยความลับที่ไม่ลับ ของ รหัสลับดาวินชี" ออกมาเปิดโปง ความจริงที่ถูกปิดบัง ซ่อนเร้น และบิดเบือนอย่างมโหราฬ ใน รหัสลับดาวินชี (The Da Vinci Code) นวนิยายอาชญากรรมเชิงสืบสวนสอบสวนของ แดน บราวน์ ที่โด่งดังและขายดีที่สุดเมื่อหลายปีที่ผ่านมา
ART EYE VIEW เชิญ รองศาสตราจารย์ ดร. กฤษณา มาร่วมให้ความรู้แก่ผู้ชมงานศิลปะ ด้วยเห็นว่า ความรู้ที่มี ไม่ควรถูกจำกัดอยู่แค่ ในรั้วสถาบันการศึกษา
ติดตามอ่าน ...108-1000 - ศิลป์ โดย รองศาสตราจารย์ ดร. กฤษณา หงษ์อุเทน ได้ทุกอาทิตย์ ทาง ART EYE VIEW
ส่งข่าวสารงานศิลปะร่วมสมัย มาได้ที่ ข่าว ART EYE VIEW เซกชัน Celeb Online www.astvmanager.com และ M-Art eye view เซกชัน Lite ในหนังสือพิมพ์ ASTV ผู้จัดการสุดสัปดาห์ Email: thinksea@hotmail.com
และคลิกเป็น แฟนเพจ ได้ที่ www.facebook.com/arteyeviewnews
การสร้างรูปมนุษย์เปลือยในงานศิลปะนั้นมีมาช้านานนับแต่ครั้งบรรพกาลแล้ว เริ่มตั้งแต่สมัยที่มนุษย์คิดสร้างรูปบูชาแม่พระธรณีในลักษณะอวบอ้วนและเปลือยเปล่าเพื่อสื่อถึงความอุดมสมบูรณ์ เช่น วีนัสแห่งวิลเลนดอร์ฟ (Venus of Willendorf) (รูปที่ 2) เป็นต้น
ต่อมาในสมัยกรีก ถึงแม้ว่าศิลปินจะนิยมสร้างเทวรูปหรือรูปชายหนุ่มเปลือยที่มีใบหน้าและทรวงทรงอันงดงามแบบอุดมคติ ตลอดจนมีการจัดวางท่วงท่าที่สง่างามก็ตาม แต่ก็ยังไม่มีการสร้างรูปประติมากรรมหญิงสาวเปลือย ความนิยมในการสร้างรูปประติมากรรมสตรีเปลือยในศิลปะกรีกเริ่มมีขึ้นเมื่อประมาณกลางคริสต์ศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล
เมื่ออาณาจักรโรมันล่มสลายลง และคริสต์ศาสนาเริ่มมีอิทธิพลในทวีปยุโรป จึงทำให้การสร้างรูปมนุษย์เปลือยตามคติกรีกและโรมันหยุดชะงักลงตลอดยุคกลางของยุโรป เนื่องจากชาวคริสเตียนถือว่าการเปลือยกายเป็นบาป จากนั้นจึงเริ่มมีการสร้างรูปมนุษย์เปลือยขึ้นมาใหม่อีกครั้งหนึ่งในสมัยเรอเนสซองซ์ (Renaissance) โดย Donatello ประติมากรเอกของอิตาลี ได้หล่อประติมากรรมสำริด รมดำ เดวิด (David) (รูปที่ 3) ซึ่งถือว่าเป็นประติมากรรมมนุษย์เปลือยรูปแรกที่สร้างขึ้นหลังจากที่ได้หยุดสร้างมาเป็นระยะเวลานานถึง 1,000 ปี อย่างไรก็ตาม ศิลปินในสมัยนั้นก็ยังคงนิยมสร้างแต่รูปประติมากรรมชายหนุ่มเปลือยมากกว่ารูปสตรีเปลือย
แต่ในงานจิตรกรรมรูปสตรีเปลือยกลับเป็นที่นิยมมากที่สุด จิตรกรรมรูปสตรีเปลือยรูปแรกในยุคนี้คือภาพ เทพธิดาวีนัสในห้วงนิทรารมณ์ (รูปที่ 4) ของ จอร์โจเน (Giorgione) จิตรกรผู้มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่งในสมัยเรอเนสซองซ์ของอิตาลี
ภาพสตรีเปลือยในงานศิลปะคือบทเพลงสรรเสริญความงามอันเป็นอุดมคติแห่งสรีระของอิสตรี ซึ่งอาจดูคล้ายคลึงกัน แต่ความจริงแล้วแตกต่างกันตามเจตนารมณ์แห่งการนำเสนอของศิลปินผู้สร้างสรรค์ จอร์โจเนเน้นการนำเสนอภาพการตกอยู่ในห้วงนิทรารมณ์อย่างเป็นสุขของเทพธิดาแห่งความรักซึ่งสอดประสานอย่างคล้องจองกับภาพทิวทัศน์อันสงบเงียบที่อยู่ล้อมรอบพระวรกายของพระนาง
การเข้าสู่นิทรารมณ์ที่ดูเป็นธรรมชาติและไร้ซึ่งความเสแสร้ง ได้สร้างความงดงามอันจับใจและความสง่างามให้กับเท้าเธอยิ่งนัก ด้วยเหตุนี้ ความเปลือยเปล่าของเทพธิดาวีนัสจึงดูงดงามและบริสุทธิ์ผุดผ่องเกินกว่าจะปลุกกิเลสตัณหาแห่งบุรุษใดได้
ดังนั้น ครั้งนี้จึงนับเป็นครั้งแรกในโลกของศิลปะที่ศิลปินได้นำเอาความงดงามของสรีระสตรีมายกย่องเชิดชูและนำมาเป็นเนื้อหาสาระสำคัญของงานจิตรกรรม
ถึงแม้ว่าภาพ วีนัสแห่งเออร์บิโน (Venus of Urbino) (รูปที่ 1) ของ ทิเซียโน (Tiziano) จะได้รับแรงบันดาลใจมาจากภาพเทพธิดาวีนัสของจอร์โจเนก็ตาม แต่วิธีการนำเสนอภาพจะแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ทิเซียโนปลุกองค์เทวีให้ทรงตื่นจากบรรทม และอัญเชิญท้าวเธอเสด็จประทับในพระราชฐาน ใบหน้าอันอ่อนหวานน่ารัก ทรวดทรงอันอวบอัดและเต็มไปด้วยเลือดเนื้อ ท่าทางที่เชิญชวน และสายตาซึ่งมองออกมานอกภาพยังผู้ชมอย่างท้าทาย ทำให้เทพธิดาวีนัสของทิเซียโนมีเสน่ห์เย้ายวนใจมากกว่าของจอร์โจเน
ถึงแม้ว่าภาพ มายาเปลือย (รูปที่ 5) ของ ฟรานซิสโก เดอ โกยา (Francisco de Goya) ศิลปินชาวสเปน จะมิใช่ภาพของเทพธิดาวีนัส แต่เป็นภาพเหมือนชู้รักของจิตรกรก็ตาม แต่ก็เป็นภาพที่ศิลปินต้องการนำเสนอความงดงามแห่งสรีระอันเปลือยเปล่าของสตรีเช่นกัน
ท่าทางการนอนที่บิดเอี้ยวกายมาทางผู้ชมอย่างไม่เขินอาย และการยกแขนสองข้างขึ้นประสานกันเพื่อหนุนศีรษะ บอกให้รู้เป็นนัยว่า สาวงามผู้นี้ไม่ต้องการปิดบังสรีระอันเปลือยเปล่าของตน ยิ่งไปกว่านั้น สายตาที่มองออกมานอกภาพอย่างไม่สะทกสะท้านและรอยยิ้มยั่วเย้าบางๆ บนใบหน้า ก็ดูราวกับเป็นการเชิญชวนและท้าทายให้ผู้ชมหรือจิตรกรทัศนาทรวดทรงองเอวที่โค้งเว้าได้สัดส่วนงดงาม รวมทั้งปทุมถันอันกลมกลึงและอวบอิ่มของเธอได้อย่างไม่ต้องเกรงใจ ดังนั้น ภาพ “มายาเปลือย” จึงเป็นภาพจิตรกรรมสาวเปลือยที่มุ่งเน้นความเย้ายวนใจและเสน่ห์มารยาของสตรีเพศเป็นสำคัญ
ผลงานประติมากรรม ธารทอง (รูปที่ 6) ของ แสวง สงฆ์มั่งมี (พ.ศ. 2461-2501) ซึ่งได้รับรางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง จากงานแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2494 เป็นการประสานภาพเทพธิดาวีนัสของจอร์โจเน เข้ากับ “มายา” ของ โกย่า ได้อย่างวิเศษสุด
ถึงแม้ว่าท่าทางการนอนบิดเอี้ยวกายและยกแขนทั้งสองข้างทอดวางไว้เหนือศีรษะอย่างอ่อนช้อยของ “ธารทอง” จะคล้ายคลึงกับ “มายา” ของโกยาก็ตาม แต่ภาพสาวงามที่นอนระทวยกายหลับตาพริ้มอย่างผาสุกบนโขดหิน ซึ่งมีธารน้ำไหลรินอย่างแผ่วพลิ้ว จะต่างกันอย่างสิ้นเชิงกับภาพหญิงสาวที่นอนเปลือยกายเผยทรวดทรงอันอะร้าอร่ามอยู่บนเตียงนอน และมองออกมานอกภาพด้วยสายตาที่ท้าทายและรอยยิ้มอันยั่วเย้าอย่างไม่ขวยอาย
เสน่ห์อันเย้ายวนใจและรัดรึงใจชายของ “ธารทอง” ไม่เพียงจะอยู่ที่วงพักตร์อันจิ้มลิ้มพริ้มเพรา ทรวดทรงที่สมส่วนและอวบอิ่ม ปทุมถันอันกลมกลึงซึ่งท้าทายสายตาผู้ชมอย่างทะนง และสรีระอันเปลือยเปล่าของหญิงสาวเท่านั้น แต่ยังอยู่ที่การนำเสนอภาพสาวงามซึ่งนอนเปลือยกายและอยู่ในห้วงนิทรารมณ์ท่ามกลางป่าเขาลำเนาไพรอันสงัดเงียบ ซึ่งมีเพียงเสียงดนตรีแห่งธรรมชาติคอยขับกล่อมเธอเช่นเดียวกับภาพการปรากฏกายของเทพธิดาแห่งความรักของจอร์โจเน
ขณะที่ “มายา” ทำให้ชายหนุ่มรู้สึกตะขิดตะขวงใจและร้อนๆ หนาวๆ กับสายตาอันท้าทายและรอยยิ้มอันยั่วเย้าแบบรู้เท่าทันของเธอ แต่ “ธารทอง” กลับทำให้ผู้ชมระทึกใจราวกับได้แอบลอบชมโฉมสาวงามยามหลับใหลโดยที่เธอไม่รู้สึกตัว
ภาพสตรีเปลือยในงานศิลปะทั้งหมดที่กล่าวมานี้ เผยให้เห็นจุดมุ่งหมายหลักที่ศิลปินทุกยุคทุกสมัยตั้งใจวางไว้อย่างหนักแน่นในการสร้างสรรค์งานของพวกเขา นั่นคือ
ภาพความงดงามซึ่งมีมนต์ขลังอย่างมหัศจรรย์ของสรีระแห่งอิสตรีเพียงอย่างเดียวก็มีเหตุผลมากเกินพอที่จะนำมาเป็นเนื้อหาสาระสำคัญในการสร้างสรรค์งานศิลปะ และศิลปินก็มีสิทธิอย่างเต็มเปี่ยมในอันที่จะนำเสนอสิ่งซึ่งเขาเชื่อมั่นในงานสร้างสรรค์ของเขาเอง
เรียนรู้ศัพท์ศิลปะกับ 108-1000-ศิลป์
Middle Ages ยุคกลางในทวีปยุโรปคือช่วงเวลาตั้งแต่การล่มสลายของอาณาจักรโรมันตะวันตกในปี ค.ศ. 476 จนถึงประมาณต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15
Renaissance ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ หรือ เรอเนสซองซ์ ในทวีปยุโรป เริ่มต้นราวต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17
Donatello ประติมากรเอกสมัยเรอเนสซองซ์ตอนต้นของอิตาลี มีชีวิตระหว่าง ค.ศ. 1386 - 1466
David วีรบุรุษและกษัตริย์แห่งอิสราเอล ตามเรื่องเล่าในพระคริสตธรรมคัมภีร ภาคพันธสัญญาเก่า
Giorgione จิตรกรเอกสมัยเรอเนสซองซ์ตอนต้นของอิตาลี มีชีวิตระหว่าง ค.ศ. 1477/78-1510
Tiziano Vecellio จิตรกรเอกสมัยเรอเนสซองซ์ของอิตาลี มีชีวิตระหว่าง ค.ศ. 1476/77-1576
Francisco de Goya จิตรกรเอกสมัยโรแมนติคของเสปน มีชีวิตระหว่าง ค.ศ. 1746-1828
รู้จัก … รองศาสตราจารย์ ดร. กฤษณา หงษ์อุเทน
จบมัธยมศึกษาตอนปลายจาก โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ และปริญญาตรี อักษรศาสตร์บัณฑิต (Bachelor of Art) (ภาษาอังกฤษ) จากมหาวิทยาลัยศิลปากร จังหวัดนครปฐม
จากนั้นจึงได้ไปศึกษาต่อยังประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ในสาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตก ที่มหาวิทยาลัย Technische Universität Carolo-Wilhelmina แห่งเมือง Braunschweig จนจบหลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต (Magistra Artium)
ต่อมาได้รับทุนจากรัฐบาลเยอรมัน (Deutscher Akademischer Austauschdienst/DAAD) ให้ไปศึกษาต่อจนจบปริญญาดุษฎีบัณฑิต (Doktors der Philosophie/Dr. Phil.) (ประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตก) ด้วยระดับ “magna cum laude” จากมหาวิทยาลัย Osnabrück แห่งเมือง Osnabrück
ระหว่างปี พ.ศ. 2542-2546 ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการหอศิลป์ คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. 2544 ได้รับทุนจากสถาบันเกอเธ่ ให้ไปเข้าร่วมการสัมมนาด้านวัฒนธรรม ณ เมือง Weimar และ Berlin ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เป็นเวลา 1 เดือน พร้อมทั้งได้นำเอาผลงานศิลปะของศิลปินไทย 3 คน คือ ดำรง วงศ์อุปราช อภิชัย ภิรมย์รักษ์ และ เด่น หวานจริง ไปเผยแพร่ในรูปการจัดแสดงนิทรรศการเป็นครั้งแรกในประเทศเยอรมนี ณ Kunstverein Talstrasse แห่งเมือง Halle ด้วย
พ.ศ. 2545 ได้รับทุนจากรัฐบาลเยอรมัน (Deutscher Akademischer Austauschdienst/DAAD) ให้ไปศึกษาและค้นคว้าเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมในคริสต์ศตวรรษที่ 19-20 ของทวีปยุโรป ณ กรุง Berlin ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เป็นเวลา 3 เดือน
พ.ศ. 2548 ดำรงตำแหน่งประธานสภาคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยศิลปากร ระหว่างปี พ.ศ. 2548-2552 ดำรงตำแหน่ง หัวหน้าภาควิชาทฤษฎีศิลป์ คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ปัจจุบันรับราชการในตำแหน่ง รองศาสตราจารย์ ระดับ 9 ประจำภาควิชาทฤษฎีศิลป์ คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
นอกจากงานประจำด้านการสอนวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตกในคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร แล้ว ยังมีผลงานที่เป็นบทความทางวิชาการ ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาเยอรมัน ที่พิมพ์เผยแพร่อย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกปี และผลงานสร้างสรรค์ศิลปะที่แสดงร่วมกับคณาจารย์ในคณะอีกด้วย
ผลงานอื่นๆ ได้แก่ การแต่งตำราประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตก การออกแบบหนังสือและสูจิบัตร การกำกับและจัดวางรูปแบบนิทรรศการศิลปะ และการจัดทำ (การกำกับ) VCD
เมื่อ พ.ศ.2549 เคยมีผลงานหนังสือ "ศิลปะคลาสสิก" ซึ่งแต่งขึ้น จากการศึกษาและค้นคว้าตำราต่างประเทศหลายสิบเล่มเป็นเวลานานกว่าสิบปี
และ พ.ศ.2552 รศ.ดร.กฤษณา มีผลงานหนังสือ "เผยความลับที่ไม่ลับ ของ รหัสลับดาวินชี" ออกมาเปิดโปง ความจริงที่ถูกปิดบัง ซ่อนเร้น และบิดเบือนอย่างมโหราฬ ใน รหัสลับดาวินชี (The Da Vinci Code) นวนิยายอาชญากรรมเชิงสืบสวนสอบสวนของ แดน บราวน์ ที่โด่งดังและขายดีที่สุดเมื่อหลายปีที่ผ่านมา
ART EYE VIEW เชิญ รองศาสตราจารย์ ดร. กฤษณา มาร่วมให้ความรู้แก่ผู้ชมงานศิลปะ ด้วยเห็นว่า ความรู้ที่มี ไม่ควรถูกจำกัดอยู่แค่ ในรั้วสถาบันการศึกษา
ติดตามอ่าน ...108-1000 - ศิลป์ โดย รองศาสตราจารย์ ดร. กฤษณา หงษ์อุเทน ได้ทุกอาทิตย์ ทาง ART EYE VIEW
ส่งข่าวสารงานศิลปะร่วมสมัย มาได้ที่ ข่าว ART EYE VIEW เซกชัน Celeb Online www.astvmanager.com และ M-Art eye view เซกชัน Lite ในหนังสือพิมพ์ ASTV ผู้จัดการสุดสัปดาห์ Email: thinksea@hotmail.com
และคลิกเป็น แฟนเพจ ได้ที่ www.facebook.com/arteyeviewnews