By Lady Manager
ร่างกายเราน่ะฉลาดล้ำ ต้องการอะไรก็สื่อสารออกมาให้เจ้าของร่างกายรู้สึก.. เวลาท้องว่างก็ร้องโครกคราก เพื่อให้เจ้าของกระเพาะเกิดรู้สึกหิว เตือนคุณว่าถึงเวลากินอาหารแล้วจ๊ะซักที เท่านั้นไม่พอ คุณรู้ไหมว่าสภาพอวัยวะร่างกายคุณที่เปลี่ยนแปลง อาทิ เล็บที่เคยอมชมพูกลับกลายเป็นสีเหลือง ฯลฯ ไม่ใช่เพราะเล็บซีดจากการทาสีบ่อยๆ หรอกนะคะ หากคุณกำลังเป็นโรคบางอย่างอยู่น่ะสิ!
…มีหลากหลายอาการอวัยวะที่ไม่เหมือนเดิม และคุณเองอาจไม่ทันสังเกต
…เราจึงอาสาพาคุณสำรวจร่างกายตัวเองตั้งศีรษะจรดปลายเท้ากันเลยค่ะว่า แต่ละสังขารอันไม่เที่ยงนั้น กำลังส่งสัญญาณโรคภัยไข้เจ็บชนิดไหน และควรป้องกันรักษาอย่างไร
ขนคิ้วหลุดร่วง->ต่อมไทรอยด์ผิดปกติ
ในวันที่มิได้แต่งหน้าแต่งตา ลองส่องกระจกมองหน้าที่เปลือยเปล่าเครื่องสำอางของคุณดูค่ะ สังเกตที่บริเวณคิ้วว่าสั้นลงหรือไม่ วิธีง่ายๆ ที่จะทำให้มองเห็นได้อย่างชัดเจนคือ ลองเอาดินสอ หรือไม้บรรทัดตรงๆ วางทาบจากหางตาขึ้นไปยังหางคิ้ว หากพบว่าขนที่บริเวณหางคิ้วหลุดร่วง จนคิ้วสั้นกุด อาจเป็นไปได้ว่าคุณมีปัญหาที่ต่อมไทรอยด์ (Thyroid) เข้าแล้ว!
ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ (Thyroxin) ซึ่งมีหน้าที่ในการเผาผลาญอาหารเพื่อให้พลังงานแก่ร่างกาย เสริมสร้างและซ่อมแซมเซลล์ (cell) ที่สึกหรอในร่างกาย ฉะนั้นหากต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ เซลล์ในร่างกายก็จะเสื่อมโทรมส่งผลให้เกิดอาการขนคิ้ว (โดยเฉพาะบริเวณปลายคิ้ว) หลุดร่วง, เส้นผมแห้งและหลุดร่วงง่าย, น้ำหนักเพิ่มขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ, รู้สึกเหนื่อยง่าย, และท้องผูกอีกด้วย
สิ่งที่ต้องทำ เมื่อสังเกตเห็นอาการเหล่านี้ ต้องรีบไปพบแพทย์อย่างด่วนจี๋ เพื่อตรวจเลือด วัดระดับฮอร์โมนไทรอยด์ หากพบว่าฮอร์โมนดังกล่าวต่ำลง หรือสูงเกินไป จะได้รีบเยียวยารักษาให้ระดับไทรอยด์ฮอร์โมนกลับมาอยู่ในระดับปกติ ตามที่ควรจะเป็น
นิ้วนางยาวกว่านิ้วชี้->ไขข้ออาจอักเสบ
เมื่อปี 2008 มีการเผยแพร่ผลงานวิจัย ในวารสารทางการแพทย์ด้านโรคไขข้ออักเสบว่า หญิงที่มีนิ้วนาง ยาวกว่านิ้วชี้มีความเสี่ยงที่จะป่วยเป็นโรคปวดข้อ และไขข้ออักเสบมากขึ้นเป็นสองเท่า พูดง่ายๆ ก็คือ หากคุณสาวๆ มีนิ้วนางสั้นกว่า หรือเท่ากับนิ้วชี้ ก็โล่งใจได้ ทว่าหากนิ้วนางยาวกว่านิ้วชี้ คงต้องคิดหนัก!
แม้นักวิทยาศาสตร์จะยังให้คำตอบที่ชัดเจนไม่ได้ว่า เรื่องความยาวของนิ้วนางเกี่ยวข้องกับโรคปวดข้อ และโรคไขข้ออักเสบได้อย่างไร แต่ก็มีการสันนิษฐานว่าเรื่องนี้ น่าจะเกี่ยวข้องกับการสร้างฮอร์โมนเทสโตสเตอโรน (Testosterone = ฮอร์โมนเพศชาย) ที่มีการสร้างมาตั้งแต่ก่อนคลอด
มีการค้นพบว่า ฮอร์เทสโตสเตอโรนนี้มีความสัมพันธ์กับความยาวของนิ้วนาง (หากผู้หญิงคนใดมีฮอร์เทสโตสเตอโรนมาก นิ้วนางก็จะยาว) เมื่อมีฮอร์เทสโตสเตอโรน อยู่ในตัวมาก ก็จะทำให้สาวนางนั้น มีฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen= ฮอร์โมนเพศหญิง) น้อย ซึ่งฮอร์โมนเอสโตรเจนนี้เองที่มีส่วนสำคัญในการสร้างกระดูกและฟัน เมื่อมีฮอร์โมนเอสโตรเจนน้อย พอถึงวัยทอง หรือยามแก่เฒ่า สาวนางนั้นจึงมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคข้อ และโรคไขข้ออักเสบมากขึ้นนั่นเอง
สิ่งที่ต้องทำ ไม่ว่าคุณจะมีนิ้วนางสั้นหรือยาว ก็อย่าเพิ่งกลุ้ม เพราะแม้คุณจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงความยาวของนิ้วที่มีมาตั้งแต่เกิดได้ แต่ก็สามารถลดความเสี่ยง ด้วยการหันมาใส่ใจสุขภาพตัวเอง ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์พอเหมาะ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ แค่นี้ก็ช่วยให้คุณหลีกไกลโรคข้อเสื่อมได้มากแล้ว
เล็บเหลือง->เบาหวานมาเยือน
หงายเล็บขึ้นมาดูสักนิด หากคุณเป็นสาวที่ไม่ค่อยได้ทาเล็บ ดูแลเล็บเป็นอย่างดี แต่เล็บเจ้ากรรมแทนที่จะสีชมพูสดระเรื่อ ดั๊นกลายเป็นสีเหลืองซะงั้น! เรื่องนี้อาจเป็นสัญญาณที่บอกเหตุได้ว่าคุณอาจเป็นโรคเบาหวาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณปัสสาวะบ่อย แถมรู้สึกเหนื่อย อ่อนเพลียร่วมด้วย อันนี้ยิ่งน่าห่วงเลยค่ะ
สาเหตุที่ผู้ป่วยเบาหวานมักมีเล็บเหลือง ก็เนื่องมาจากการที่น้ำตาลซึ่งมีอยู่มากในร่างกาย ไปรวมตัวเข้ากับคอลลาเจน (Collagen) และโปรตีน (Protein) ในเล็บ จึงทำให้เล็บเปลี่ยนจากสีชมพูไปเป็นสีเหลืองได้
สิ่งที่ต้องทำ เมื่อมีอาการเล็บเหลืองร่วมกับอาการเข้าห้องน้ำบ่อย หรืออ่อนเพลีย แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือด ถ้าพบว่าเป็นโรคเบาหวานจะได้ดูแลป้องกัน และควบคุมไม่ให้ระดับน้ำตาลสูง จนเกิดอันตรายร้ายแรงต่อร่างกาย
หนวดเฟิ้ม-ขนพรึ่บ->ถุงน้ำตรึมในรังไข่
หากจู่ๆ คุณเกิดมีขนเส้นดำๆ หยาบกระด้าง เพิ่มขึ้นมาในร่างกายอย่างผิดปกติ เช่น มีขนขึ้นบนริมฝีปาก ทำให้จากสาวหน้าเด็กแทบกลายเป็นหนุ่มหน้าเข้มสไตล์เพื่อชีวิต หรือขนหนาดำบริเวณหน้าอกหน้าท้อง ต้องเอะใจแล้วหล่ะค่ะ
เดิมทีคุณไม่เคยมีขนในบริเวณเหล่านั้น แล้ววันดีคืนดี ขนเจ้ากรรมขึ้นพรึ่บไปหมดน่ะ ตีความได้ว่าคุณอาจเป็นโรค Polycystic (PCOS) หรือการมีถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่ ทำให้ระดับฮอร์โมนเพศชายสูงขึ้น ซึ่งการที่ฮอร์โมนเพศชายสูงขึ้นนี้เอง ทำให้คุณกลายเป็นสาวมีหนวดเฟิ้ม ขนดำทะมึนทั่วกาย รวมถึงยังอาจมีภาวะผิวแตกลายเป็นสีกระดำกระด่าง, เกิดสิวเรื้อรัง, น้ำหนักเพิ่มขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ, ประจำเดือนมาไม่ปกติ
นอกจากนี้ยังเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน และเกิดภาวะมีบุตรยากอีกด้วย
สิ่งที่ต้องทำ หากพบอาการขนขึ้นเยอะผิดปกติแบบนี้ แนะนำให้รีบบึ่งไปพบแพทย์ เพื่อตรวจได้ชัด รักษาได้อย่างตรงจุดต่อไป
เรียบเรียงจากไชน์
>> อัพเดตข่าวในแวดวงสังคม ก็อซซิป แฟชั่น ความงาม และเที่ยว กิน ดื่ม เพิ่มเติมได้ที่ http://www.celeb-online.net
ร่างกายเราน่ะฉลาดล้ำ ต้องการอะไรก็สื่อสารออกมาให้เจ้าของร่างกายรู้สึก.. เวลาท้องว่างก็ร้องโครกคราก เพื่อให้เจ้าของกระเพาะเกิดรู้สึกหิว เตือนคุณว่าถึงเวลากินอาหารแล้วจ๊ะซักที เท่านั้นไม่พอ คุณรู้ไหมว่าสภาพอวัยวะร่างกายคุณที่เปลี่ยนแปลง อาทิ เล็บที่เคยอมชมพูกลับกลายเป็นสีเหลือง ฯลฯ ไม่ใช่เพราะเล็บซีดจากการทาสีบ่อยๆ หรอกนะคะ หากคุณกำลังเป็นโรคบางอย่างอยู่น่ะสิ!
…มีหลากหลายอาการอวัยวะที่ไม่เหมือนเดิม และคุณเองอาจไม่ทันสังเกต
…เราจึงอาสาพาคุณสำรวจร่างกายตัวเองตั้งศีรษะจรดปลายเท้ากันเลยค่ะว่า แต่ละสังขารอันไม่เที่ยงนั้น กำลังส่งสัญญาณโรคภัยไข้เจ็บชนิดไหน และควรป้องกันรักษาอย่างไร
ขนคิ้วหลุดร่วง->ต่อมไทรอยด์ผิดปกติ
ในวันที่มิได้แต่งหน้าแต่งตา ลองส่องกระจกมองหน้าที่เปลือยเปล่าเครื่องสำอางของคุณดูค่ะ สังเกตที่บริเวณคิ้วว่าสั้นลงหรือไม่ วิธีง่ายๆ ที่จะทำให้มองเห็นได้อย่างชัดเจนคือ ลองเอาดินสอ หรือไม้บรรทัดตรงๆ วางทาบจากหางตาขึ้นไปยังหางคิ้ว หากพบว่าขนที่บริเวณหางคิ้วหลุดร่วง จนคิ้วสั้นกุด อาจเป็นไปได้ว่าคุณมีปัญหาที่ต่อมไทรอยด์ (Thyroid) เข้าแล้ว!
ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ (Thyroxin) ซึ่งมีหน้าที่ในการเผาผลาญอาหารเพื่อให้พลังงานแก่ร่างกาย เสริมสร้างและซ่อมแซมเซลล์ (cell) ที่สึกหรอในร่างกาย ฉะนั้นหากต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ เซลล์ในร่างกายก็จะเสื่อมโทรมส่งผลให้เกิดอาการขนคิ้ว (โดยเฉพาะบริเวณปลายคิ้ว) หลุดร่วง, เส้นผมแห้งและหลุดร่วงง่าย, น้ำหนักเพิ่มขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ, รู้สึกเหนื่อยง่าย, และท้องผูกอีกด้วย
สิ่งที่ต้องทำ เมื่อสังเกตเห็นอาการเหล่านี้ ต้องรีบไปพบแพทย์อย่างด่วนจี๋ เพื่อตรวจเลือด วัดระดับฮอร์โมนไทรอยด์ หากพบว่าฮอร์โมนดังกล่าวต่ำลง หรือสูงเกินไป จะได้รีบเยียวยารักษาให้ระดับไทรอยด์ฮอร์โมนกลับมาอยู่ในระดับปกติ ตามที่ควรจะเป็น
นิ้วนางยาวกว่านิ้วชี้->ไขข้ออาจอักเสบ
เมื่อปี 2008 มีการเผยแพร่ผลงานวิจัย ในวารสารทางการแพทย์ด้านโรคไขข้ออักเสบว่า หญิงที่มีนิ้วนาง ยาวกว่านิ้วชี้มีความเสี่ยงที่จะป่วยเป็นโรคปวดข้อ และไขข้ออักเสบมากขึ้นเป็นสองเท่า พูดง่ายๆ ก็คือ หากคุณสาวๆ มีนิ้วนางสั้นกว่า หรือเท่ากับนิ้วชี้ ก็โล่งใจได้ ทว่าหากนิ้วนางยาวกว่านิ้วชี้ คงต้องคิดหนัก!
แม้นักวิทยาศาสตร์จะยังให้คำตอบที่ชัดเจนไม่ได้ว่า เรื่องความยาวของนิ้วนางเกี่ยวข้องกับโรคปวดข้อ และโรคไขข้ออักเสบได้อย่างไร แต่ก็มีการสันนิษฐานว่าเรื่องนี้ น่าจะเกี่ยวข้องกับการสร้างฮอร์โมนเทสโตสเตอโรน (Testosterone = ฮอร์โมนเพศชาย) ที่มีการสร้างมาตั้งแต่ก่อนคลอด
มีการค้นพบว่า ฮอร์เทสโตสเตอโรนนี้มีความสัมพันธ์กับความยาวของนิ้วนาง (หากผู้หญิงคนใดมีฮอร์เทสโตสเตอโรนมาก นิ้วนางก็จะยาว) เมื่อมีฮอร์เทสโตสเตอโรน อยู่ในตัวมาก ก็จะทำให้สาวนางนั้น มีฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen= ฮอร์โมนเพศหญิง) น้อย ซึ่งฮอร์โมนเอสโตรเจนนี้เองที่มีส่วนสำคัญในการสร้างกระดูกและฟัน เมื่อมีฮอร์โมนเอสโตรเจนน้อย พอถึงวัยทอง หรือยามแก่เฒ่า สาวนางนั้นจึงมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคข้อ และโรคไขข้ออักเสบมากขึ้นนั่นเอง
สิ่งที่ต้องทำ ไม่ว่าคุณจะมีนิ้วนางสั้นหรือยาว ก็อย่าเพิ่งกลุ้ม เพราะแม้คุณจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงความยาวของนิ้วที่มีมาตั้งแต่เกิดได้ แต่ก็สามารถลดความเสี่ยง ด้วยการหันมาใส่ใจสุขภาพตัวเอง ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์พอเหมาะ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ แค่นี้ก็ช่วยให้คุณหลีกไกลโรคข้อเสื่อมได้มากแล้ว
เล็บเหลือง->เบาหวานมาเยือน
หงายเล็บขึ้นมาดูสักนิด หากคุณเป็นสาวที่ไม่ค่อยได้ทาเล็บ ดูแลเล็บเป็นอย่างดี แต่เล็บเจ้ากรรมแทนที่จะสีชมพูสดระเรื่อ ดั๊นกลายเป็นสีเหลืองซะงั้น! เรื่องนี้อาจเป็นสัญญาณที่บอกเหตุได้ว่าคุณอาจเป็นโรคเบาหวาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณปัสสาวะบ่อย แถมรู้สึกเหนื่อย อ่อนเพลียร่วมด้วย อันนี้ยิ่งน่าห่วงเลยค่ะ
สาเหตุที่ผู้ป่วยเบาหวานมักมีเล็บเหลือง ก็เนื่องมาจากการที่น้ำตาลซึ่งมีอยู่มากในร่างกาย ไปรวมตัวเข้ากับคอลลาเจน (Collagen) และโปรตีน (Protein) ในเล็บ จึงทำให้เล็บเปลี่ยนจากสีชมพูไปเป็นสีเหลืองได้
สิ่งที่ต้องทำ เมื่อมีอาการเล็บเหลืองร่วมกับอาการเข้าห้องน้ำบ่อย หรืออ่อนเพลีย แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือด ถ้าพบว่าเป็นโรคเบาหวานจะได้ดูแลป้องกัน และควบคุมไม่ให้ระดับน้ำตาลสูง จนเกิดอันตรายร้ายแรงต่อร่างกาย
หนวดเฟิ้ม-ขนพรึ่บ->ถุงน้ำตรึมในรังไข่
หากจู่ๆ คุณเกิดมีขนเส้นดำๆ หยาบกระด้าง เพิ่มขึ้นมาในร่างกายอย่างผิดปกติ เช่น มีขนขึ้นบนริมฝีปาก ทำให้จากสาวหน้าเด็กแทบกลายเป็นหนุ่มหน้าเข้มสไตล์เพื่อชีวิต หรือขนหนาดำบริเวณหน้าอกหน้าท้อง ต้องเอะใจแล้วหล่ะค่ะ
เดิมทีคุณไม่เคยมีขนในบริเวณเหล่านั้น แล้ววันดีคืนดี ขนเจ้ากรรมขึ้นพรึ่บไปหมดน่ะ ตีความได้ว่าคุณอาจเป็นโรค Polycystic (PCOS) หรือการมีถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่ ทำให้ระดับฮอร์โมนเพศชายสูงขึ้น ซึ่งการที่ฮอร์โมนเพศชายสูงขึ้นนี้เอง ทำให้คุณกลายเป็นสาวมีหนวดเฟิ้ม ขนดำทะมึนทั่วกาย รวมถึงยังอาจมีภาวะผิวแตกลายเป็นสีกระดำกระด่าง, เกิดสิวเรื้อรัง, น้ำหนักเพิ่มขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ, ประจำเดือนมาไม่ปกติ
นอกจากนี้ยังเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน และเกิดภาวะมีบุตรยากอีกด้วย
สิ่งที่ต้องทำ หากพบอาการขนขึ้นเยอะผิดปกติแบบนี้ แนะนำให้รีบบึ่งไปพบแพทย์ เพื่อตรวจได้ชัด รักษาได้อย่างตรงจุดต่อไป
เรียบเรียงจากไชน์
>> อัพเดตข่าวในแวดวงสังคม ก็อซซิป แฟชั่น ความงาม และเที่ยว กิน ดื่ม เพิ่มเติมได้ที่ http://www.celeb-online.net