By Lady Manager
หากอุทกภัยผ่านพ้น นอกจากหลายบ้านต้องปวดหัวเมื่อยตัวกับภารกิจ Big Cleaning ซึ่งต้องเช็ด ล้าง ขัด ถู ซ่อมแซม บ้านช่อง เฟอร์นิเจอร์กันยกใหญ่แล้ว อีกสิ่งที่หลายคนเริ่มตระหนักเตรียมตัวคิดทำกัน ก็คือ การประยุกต์ปรับปรุงบ้านเพื่อป้องกันรองรับสถานการณ์น้ำท่วม เพราะนาทีนี้มีแต่คนหวั่นว่า น้องน้ำอาจจะมาเยือนบ้านเราอีก..ราวเป็นแขกประจำทุกปี!
หากบ้านไหนระดับน้ำลดแล้ว กำลังคิดการณ์ไกลอยากปรับปรุงบ้านเอาไว้สู้มวลน้ำ ทว่ายังไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร เราขอนำเสนอไอเดียเก๋ๆ จากนักตกแต่งบ้านหน้าหล่อ คุณดุ๊ก-ภาณุเดช วัฒนสุชาติ พิธีกรนักแสดงคนดัง ผู้ชื่นชอบและเชี่ยวชาญการออกแบบ โดยฝากผลงานไว้ในหนังสือตกแต่งบ้านหลายเล่ม รวมถึง แสดงฝีมือการสร้างสรรค์รายการ "เงาะถอดรูป", "ครัวแล้วแต่คริต" และยังเป็นPersonal Interior Designer & Stylist ที่ Chic Republic ศูนย์รวมเฟอร์นิเจอร์ โคมไฟและของตกแต่งบ้านด้วยค่ะ
คุณดุ๊กเล่าก่อนเลยว่า โชคดีที่บ้านซึ่งกำลังวางแผนสร้างในย่านรามอินทราถูกน้ำท่วมเสียก่อน ทำให้ตัวเขาได้แนวคิดว่า หากจะสร้างบ้านใหม่นับจากนี้ ควรจะต้องออกแบบบ้านให้สามารถต่อกรกับมวลน้ำได้
“หลังเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งนี้ ผมว่าแนวคิดการสร้างบ้านเพื่อป้องกันน้ำ คงเป็นความคิดที่หลายคนน่าจะเริ่มคิดกันบ้างแล้ว อย่างตัวผมเองกำลังจะสร้างบ้าน ก็เริ่มรู้สึกเอ๊ะ! ถ้ามันยังเป็นอย่างนี้ต่อไป น้ำท่วมทุกปี หรือว่าเว้น 2 ปีก็ท่วมอีก ถ้าเราไม่ปรับตัวตาม เราก็คงต้องเสียหายอยู่อย่างนี้ไปตลอด” อินทีเรียดีไซเนอร์หนุ่ม เกริ่นนำถึงสาเหตุที่เขาผุดไอเดียออกแบบบ้านสู้น้ำขึ้นมา
ว่าแล้ว คุณดุ๊กก็ไล่เลียงอธิบายแนวคิดบ้านสู้น้ำในสไตล์ของเขามาให้ฟังแบบละเอียดยิบ....
ชั้นล่าง : ใต้ถุนโปร่ง - พื้นเปลือย - เพดานสูง
สำหรับแนวคิดออกแบบบ้านชั้นล่างนั้น นักออกแบบหนุ่มมองว่าสไตล์ใต้ถุนโปร่งแบบบ้านไทยโบราณ ถือเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ
“โดยส่วนตัว ผมกำลังจะสร้างบ้านใหม่ ดังนั้นอันดับแรกเลยในชั้นล่าง ผมว่าควรจะทำให้ดูโปร่ง เหมือนใต้ถุนบ้านไทยสมัยเก่า แต่อาจจะเพิ่มดีไซน์เข้ามาใหม่ คือ ไม่ได้เปิดโล่งมากขนาดบ้านสมัยเก่าเป๊ะๆ แต่เน้นให้โปร่ง และทำพื้นที่กันน้ำได้มากๆ เช่น ปูนเปลือย, ปูนขัดมัน, กระเบื้องหรือวัสดุทนน้ำ คือ ปล่อยชั้นล่างให้โล่งๆ แล้วค่อยไปเล่นลูกเล่นที่เราอยากได้ในชั้นบนแทน
ส่วนฝ้าเพดาน หรือระดับความสูงของชั้น1 ก็คงทำให้สูงมากหน่อย และทำให้ดูดิบๆ เช่น การเปลือยฝ้าเพดาน และร้อยสายไฟไว้ในท่อ โดยอาจจะต้องปรับระดับของปลั๊กไฟให้มันสูง ผมตัดสินใจว่า บ้านผมเองก็จะไว้สูงเลยครับ ระดับเพดานเลย แล้วจากนั้นจะใช้เป็นสายพ่วงห้อยต่อลงมา แล้วค่อยเสียบเครื่องใช้ไฟฟ้า
เพราะหากน้ำท่วม เราสามารถถอดสายพวกนี้ออกได้ อันนี้เป็นไอเดีย ที่เกิดจากเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งนี้ และคิดว่ามันน่าจะนำไปปรับใช้ได้ เผื่อใครเอาไปปรับใช้ ก็ไม่หวงครับ เพราะผมเชื่อว่ามันดีกว่าการปล่อยให้ปลั๊กไฟต่างๆ ต้องแช่น้ำ ก็ลองดูครับ ถึงจะไม่ได้สร้างบ้านใหม่ แต่ถ้าสามารถปรับด้านล่างให้โปร่งขึ้น เปลี่ยนพื้นให้กันน้ำได้มากขึ้นก็น่าจะเป็นอีกทางเลือกที่ดี
บ้านไทย เป็นอะไรที่เวิร์กจริงๆ ตอนที่ผมลงพื้นที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัย จังหวัดอยุธยา ผมเห็นบ้านเรือนไทยที่ถูกน้ำท่วม เขายังอยู่สบายเลยครับ เพราะเขายกเสาไว้แล้ว เป็นภูมิปัญญาของไทยที่ดีมากๆ ซึ่งผมว่าถ้าเรานำมาปรับใช้ โดยออกแบบให้พื้นชั้นล่างโปร่ง ใช้เป็นเฟอร์นิเจอร์ลอยตัวทั้งหมด ยกปลั๊กไฟเอาไว้ที่สูง ใช้วัสดุต่างๆ ที่กันน้ำได้ เมื่อน้ำมาเราก็แค่ยกเฟอร์นิเจอร์หลักๆ ขึ้น มันก็จะลดความเสียหายได้มาก”
ธรณีประตูสูง : ไม่ต้องวุ่นหาซื้อกระสอบทราย
เพราะจากน้ำท่วมครานี้ หลายท่านต้องเจอประสบการณ์โหดกับการตามล่าหาถุงทราย ซึ่งราคาแพงเกือบเท่าถุงข้าวสารมากั้นประตูบ้าน งานนี้กูรูดุ๊กผุดไอเดียว่า ถ้าอย่างนั้น ทำธรณีประตูสูงแทนที่กระสอบทราบไปเลยดีกว่ามั้ย
“เราอาจจะทำธรณีประตูขึ้นมาให้สูงกว่าปกติ แล้วก็เป็นขั้นบันไดเข้าบ้าน ให้เป็นเหมือนการที่เราเอาถุงทรายมากั้นไว้น่ะครับ คือ เราไม่ต้องถึงขนาดไปยกพื้นข้างในบ้านทั้งหมด ก็ทำแค่ธรณีประตูให้สูงขึ้น แล้วก็อาจจะทำเป็นบันไดสัก 2 ขั้น พอเดินผ่านประตูแล้วก็เดินลงบันไดอีกสัก 2 ขั้น ดีไซน์ดีๆ ให้มันกลมกลืน ผมว่ามันก็ช่วยได้ อย่างน้อยถ้าน้ำมาระดับที่ไม่มากนัก เราก็จะได้ไม่ต้องไปแย่งกันซื้อถุงทราย หรือก่ออิฐใหม่ ผมว่าดีไซน์ให้มันอยู่กับบ้านไปเลยก็ดี
ผมมองว่า มันคือการปรับตัวครับ เหมือนอย่างฝรั่งที่ต้องอยู่กับหิมะ ถึงแม้หิมะจะไม่ได้ตกทั้งปี แต่พอตกมาที เขาก็แทบจะออกไปไหนไม่ได้ เขาจึงต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับหิมะ ไม่อย่างนั้นเขาก็ไม่สามารถที่จะมีชีวิตอยู่ได้ ดังนั้นผมมองว่า เรื่องน้ำก็เป็นเรื่องเดียวกัน เราต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับมัน เพราะถ้าน้ำมามากขนาดนี้ เราต้องดูแลตัวเองครับ เริ่มต้นจากออกแบบชีวิตใหม่ หรือการปรับตัวตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น”
ห้องน้ำริมบ้าน : ตัดปัญหาน้ำเอ่อจากส้วม
“เรื่องของน้ำที่ผุดขึ้นมาตามท่อในห้องน้ำ เราคงต้องมาศึกษากันแล้วล่ะว่าจะทำอย่างไร ตัวผมเองดีไซน์ไว้ว่า ห้องน้ำในบ้านที่จะสร้างใหม่นี้ ผมจะแยกให้มันไปอยู่ริมบ้าน และทำให้เป็นเสต็ปลงไป
หมายความว่า ทำห้องน้ำให้ห่างจากตัวบ้านเล็กน้อย แล้วก็มีร่องกั้นน้ำเอาไว้ เพื่อว่าหากน้ำผุดขึ้นมาจากท่อในห้องน้ำ มันจะได้มีทางระบายออกไปด้านนอก ไม่เอ่อล้นเข้ามาท่วมในตัวบ้าน มันก็คงป้องกันได้ในระดับหนึ่ง
ซึ่งโดยส่วนตัว ผมว่ามันท้าทายดีครับ เป็นเรื่องที่เราต้องลอง ออกแบบดูให้เหมาะสมกับรูปแบบตัวบ้านของเรา”
อุปกรณ์เสริม : จอดรถได้สูงขึ้น
“ลานจอดรถ อาจจะต้องหาอุปกรณ์เสริม เพื่อให้เราจอดรถได้สูงขึ้น เช่น อาจหาเป็นโครงเหล็ก ที่คล้ายกับในอู่ซ่อมรถ ที่พอรถขึ้นไปจอดแล้วช่างมุดไปซ่อมใต้รถได้
แบบนั้นก็น่าจะเหมาะ เพราะแทนที่เราจะต้องยกพื้นทั้งโรงรถให้สูงขึ้น เราก็อาจจะเอาแค่ตัวโครงเหล็กนี้ไปตั้ง ให้รถวิ่งขึ้นไปจอดบนนั้น”
สวน : เล่นระดับ ปรับต้นไม้หนีน้ำ
“สำหรับสวน อย่างบ้านผมเองตอนแรกตั้งใจว่าจะทำบ่อเลี้ยงปลา แต่พอเห็นน้ำท่วมคราวนี้แล้ว คิดว่าถ้าน้ำท่วมมาอีก ปลาเราอยู่ไม่ได้นะ เดี๋ยวน้ำเน่าไหลลงไป ดังนั้นแทนที่เราจะขุดบ่อ ผมก็คิดว่าจะทำบ่อให้เป็นทรงสูง แล้วตกแต่งบ่อนั้น ทำเป็นสโลป (Slope) แทนที่จะให้บ่ออยู่ในระดับล่าง ก็ยกขึ้นให้อยู่ในระดับสูง ซึ่งเราก็จะได้เห็นอะไรในอีกมุมมองหนึ่ง บางทีการก่อขอบบ่อสูง แล้วเชื่อมต่อด้วยการทำเป็นเก้าอี้ เหมือนตามรีสอร์ต (Resort) สวยๆ ให้สายตาเราอยู่ระดับเดียวกับขอบน้ำ มันก็จะได้บรรยากาศสวยไปอีกแบบ
เช่นเดียวกันครับ ต้นไม้ใหญ่ ผมคิดว่าน่าจะถูกยกให้สูงขึ้น เราต้องวางแพทเทิร์น (Pattern) สวนของเราให้มีระดับ เป็นสวนเล่นระดับ คือ ถมให้สูงในบางจุด เพราะเราคงไม่ไหวที่จะต้องเอาเงินมาถมที่ทั้งแปลง ดังนั้นผมมองว่า ตรงส่วนที่เราคิดว่าจะเป็นต้นไม้ใหญ่ ก็ยกให้มันสูงในระดับที่ถ้าน้ำมาก็จะไม่เสียหาย และเลือกไม้ที่ทนน้ำขึ้นมาหน่อย
ไม้กระถางน่าจะเป็นทางเลือกที่ดี เพียงแต่เราอาจจะต้องหาวิธีวางรูปแบบกระถางต้นไม้เสียหน่อย เช่น การปลูกสวนแนวตั้ง ที่วางตามกำแพงบ้านก็ดี หรือจะเลือกเป็นกระถางต้นไม้ที่มีฐานตั้งสวยๆ แบบนั้นก็ได้ หรือไม่อาจจะดัดแปลงทำโครงเหล็กเป็นฐานครอบ เพื่อยกตัวกระถางต้นไม้ให้มีระดับสูง-ต่ำ ไล่ระดับกัน ก็น่าจะเป็นอีกไอเดียที่น่าสนใจ” คุณดุ๊ก-ภาณุเดช อธิบายปิดท้าย พร้อมยืนยันอีกครั้งว่า
“ไอเดียเหล่านี้ ไม่มีหวง ไม่มีกั๊ก ในทางกลับกัน ผมดีใจมากด้วยซ้ำ ถ้าความคิดเหล่านี้จะถูกนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ แม้สักเล็กน้อยก็ยังดี…”
>> อัพเดตข่าวในแวดวงสังคม ก็อซซิป แฟชั่น ความงาม และเที่ยว กิน ดื่ม เพิ่มเติมได้ที่ http://www.celeb-online.net
หากอุทกภัยผ่านพ้น นอกจากหลายบ้านต้องปวดหัวเมื่อยตัวกับภารกิจ Big Cleaning ซึ่งต้องเช็ด ล้าง ขัด ถู ซ่อมแซม บ้านช่อง เฟอร์นิเจอร์กันยกใหญ่แล้ว อีกสิ่งที่หลายคนเริ่มตระหนักเตรียมตัวคิดทำกัน ก็คือ การประยุกต์ปรับปรุงบ้านเพื่อป้องกันรองรับสถานการณ์น้ำท่วม เพราะนาทีนี้มีแต่คนหวั่นว่า น้องน้ำอาจจะมาเยือนบ้านเราอีก..ราวเป็นแขกประจำทุกปี!
หากบ้านไหนระดับน้ำลดแล้ว กำลังคิดการณ์ไกลอยากปรับปรุงบ้านเอาไว้สู้มวลน้ำ ทว่ายังไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร เราขอนำเสนอไอเดียเก๋ๆ จากนักตกแต่งบ้านหน้าหล่อ คุณดุ๊ก-ภาณุเดช วัฒนสุชาติ พิธีกรนักแสดงคนดัง ผู้ชื่นชอบและเชี่ยวชาญการออกแบบ โดยฝากผลงานไว้ในหนังสือตกแต่งบ้านหลายเล่ม รวมถึง แสดงฝีมือการสร้างสรรค์รายการ "เงาะถอดรูป", "ครัวแล้วแต่คริต" และยังเป็นPersonal Interior Designer & Stylist ที่ Chic Republic ศูนย์รวมเฟอร์นิเจอร์ โคมไฟและของตกแต่งบ้านด้วยค่ะ
คุณดุ๊กเล่าก่อนเลยว่า โชคดีที่บ้านซึ่งกำลังวางแผนสร้างในย่านรามอินทราถูกน้ำท่วมเสียก่อน ทำให้ตัวเขาได้แนวคิดว่า หากจะสร้างบ้านใหม่นับจากนี้ ควรจะต้องออกแบบบ้านให้สามารถต่อกรกับมวลน้ำได้
“หลังเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งนี้ ผมว่าแนวคิดการสร้างบ้านเพื่อป้องกันน้ำ คงเป็นความคิดที่หลายคนน่าจะเริ่มคิดกันบ้างแล้ว อย่างตัวผมเองกำลังจะสร้างบ้าน ก็เริ่มรู้สึกเอ๊ะ! ถ้ามันยังเป็นอย่างนี้ต่อไป น้ำท่วมทุกปี หรือว่าเว้น 2 ปีก็ท่วมอีก ถ้าเราไม่ปรับตัวตาม เราก็คงต้องเสียหายอยู่อย่างนี้ไปตลอด” อินทีเรียดีไซเนอร์หนุ่ม เกริ่นนำถึงสาเหตุที่เขาผุดไอเดียออกแบบบ้านสู้น้ำขึ้นมา
ว่าแล้ว คุณดุ๊กก็ไล่เลียงอธิบายแนวคิดบ้านสู้น้ำในสไตล์ของเขามาให้ฟังแบบละเอียดยิบ....
ชั้นล่าง : ใต้ถุนโปร่ง - พื้นเปลือย - เพดานสูง
สำหรับแนวคิดออกแบบบ้านชั้นล่างนั้น นักออกแบบหนุ่มมองว่าสไตล์ใต้ถุนโปร่งแบบบ้านไทยโบราณ ถือเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ
“โดยส่วนตัว ผมกำลังจะสร้างบ้านใหม่ ดังนั้นอันดับแรกเลยในชั้นล่าง ผมว่าควรจะทำให้ดูโปร่ง เหมือนใต้ถุนบ้านไทยสมัยเก่า แต่อาจจะเพิ่มดีไซน์เข้ามาใหม่ คือ ไม่ได้เปิดโล่งมากขนาดบ้านสมัยเก่าเป๊ะๆ แต่เน้นให้โปร่ง และทำพื้นที่กันน้ำได้มากๆ เช่น ปูนเปลือย, ปูนขัดมัน, กระเบื้องหรือวัสดุทนน้ำ คือ ปล่อยชั้นล่างให้โล่งๆ แล้วค่อยไปเล่นลูกเล่นที่เราอยากได้ในชั้นบนแทน
ส่วนฝ้าเพดาน หรือระดับความสูงของชั้น1 ก็คงทำให้สูงมากหน่อย และทำให้ดูดิบๆ เช่น การเปลือยฝ้าเพดาน และร้อยสายไฟไว้ในท่อ โดยอาจจะต้องปรับระดับของปลั๊กไฟให้มันสูง ผมตัดสินใจว่า บ้านผมเองก็จะไว้สูงเลยครับ ระดับเพดานเลย แล้วจากนั้นจะใช้เป็นสายพ่วงห้อยต่อลงมา แล้วค่อยเสียบเครื่องใช้ไฟฟ้า
เพราะหากน้ำท่วม เราสามารถถอดสายพวกนี้ออกได้ อันนี้เป็นไอเดีย ที่เกิดจากเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งนี้ และคิดว่ามันน่าจะนำไปปรับใช้ได้ เผื่อใครเอาไปปรับใช้ ก็ไม่หวงครับ เพราะผมเชื่อว่ามันดีกว่าการปล่อยให้ปลั๊กไฟต่างๆ ต้องแช่น้ำ ก็ลองดูครับ ถึงจะไม่ได้สร้างบ้านใหม่ แต่ถ้าสามารถปรับด้านล่างให้โปร่งขึ้น เปลี่ยนพื้นให้กันน้ำได้มากขึ้นก็น่าจะเป็นอีกทางเลือกที่ดี
บ้านไทย เป็นอะไรที่เวิร์กจริงๆ ตอนที่ผมลงพื้นที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัย จังหวัดอยุธยา ผมเห็นบ้านเรือนไทยที่ถูกน้ำท่วม เขายังอยู่สบายเลยครับ เพราะเขายกเสาไว้แล้ว เป็นภูมิปัญญาของไทยที่ดีมากๆ ซึ่งผมว่าถ้าเรานำมาปรับใช้ โดยออกแบบให้พื้นชั้นล่างโปร่ง ใช้เป็นเฟอร์นิเจอร์ลอยตัวทั้งหมด ยกปลั๊กไฟเอาไว้ที่สูง ใช้วัสดุต่างๆ ที่กันน้ำได้ เมื่อน้ำมาเราก็แค่ยกเฟอร์นิเจอร์หลักๆ ขึ้น มันก็จะลดความเสียหายได้มาก”
ธรณีประตูสูง : ไม่ต้องวุ่นหาซื้อกระสอบทราย
เพราะจากน้ำท่วมครานี้ หลายท่านต้องเจอประสบการณ์โหดกับการตามล่าหาถุงทราย ซึ่งราคาแพงเกือบเท่าถุงข้าวสารมากั้นประตูบ้าน งานนี้กูรูดุ๊กผุดไอเดียว่า ถ้าอย่างนั้น ทำธรณีประตูสูงแทนที่กระสอบทราบไปเลยดีกว่ามั้ย
“เราอาจจะทำธรณีประตูขึ้นมาให้สูงกว่าปกติ แล้วก็เป็นขั้นบันไดเข้าบ้าน ให้เป็นเหมือนการที่เราเอาถุงทรายมากั้นไว้น่ะครับ คือ เราไม่ต้องถึงขนาดไปยกพื้นข้างในบ้านทั้งหมด ก็ทำแค่ธรณีประตูให้สูงขึ้น แล้วก็อาจจะทำเป็นบันไดสัก 2 ขั้น พอเดินผ่านประตูแล้วก็เดินลงบันไดอีกสัก 2 ขั้น ดีไซน์ดีๆ ให้มันกลมกลืน ผมว่ามันก็ช่วยได้ อย่างน้อยถ้าน้ำมาระดับที่ไม่มากนัก เราก็จะได้ไม่ต้องไปแย่งกันซื้อถุงทราย หรือก่ออิฐใหม่ ผมว่าดีไซน์ให้มันอยู่กับบ้านไปเลยก็ดี
ผมมองว่า มันคือการปรับตัวครับ เหมือนอย่างฝรั่งที่ต้องอยู่กับหิมะ ถึงแม้หิมะจะไม่ได้ตกทั้งปี แต่พอตกมาที เขาก็แทบจะออกไปไหนไม่ได้ เขาจึงต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับหิมะ ไม่อย่างนั้นเขาก็ไม่สามารถที่จะมีชีวิตอยู่ได้ ดังนั้นผมมองว่า เรื่องน้ำก็เป็นเรื่องเดียวกัน เราต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับมัน เพราะถ้าน้ำมามากขนาดนี้ เราต้องดูแลตัวเองครับ เริ่มต้นจากออกแบบชีวิตใหม่ หรือการปรับตัวตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น”
ห้องน้ำริมบ้าน : ตัดปัญหาน้ำเอ่อจากส้วม
“เรื่องของน้ำที่ผุดขึ้นมาตามท่อในห้องน้ำ เราคงต้องมาศึกษากันแล้วล่ะว่าจะทำอย่างไร ตัวผมเองดีไซน์ไว้ว่า ห้องน้ำในบ้านที่จะสร้างใหม่นี้ ผมจะแยกให้มันไปอยู่ริมบ้าน และทำให้เป็นเสต็ปลงไป
หมายความว่า ทำห้องน้ำให้ห่างจากตัวบ้านเล็กน้อย แล้วก็มีร่องกั้นน้ำเอาไว้ เพื่อว่าหากน้ำผุดขึ้นมาจากท่อในห้องน้ำ มันจะได้มีทางระบายออกไปด้านนอก ไม่เอ่อล้นเข้ามาท่วมในตัวบ้าน มันก็คงป้องกันได้ในระดับหนึ่ง
ซึ่งโดยส่วนตัว ผมว่ามันท้าทายดีครับ เป็นเรื่องที่เราต้องลอง ออกแบบดูให้เหมาะสมกับรูปแบบตัวบ้านของเรา”
อุปกรณ์เสริม : จอดรถได้สูงขึ้น
“ลานจอดรถ อาจจะต้องหาอุปกรณ์เสริม เพื่อให้เราจอดรถได้สูงขึ้น เช่น อาจหาเป็นโครงเหล็ก ที่คล้ายกับในอู่ซ่อมรถ ที่พอรถขึ้นไปจอดแล้วช่างมุดไปซ่อมใต้รถได้
แบบนั้นก็น่าจะเหมาะ เพราะแทนที่เราจะต้องยกพื้นทั้งโรงรถให้สูงขึ้น เราก็อาจจะเอาแค่ตัวโครงเหล็กนี้ไปตั้ง ให้รถวิ่งขึ้นไปจอดบนนั้น”
สวน : เล่นระดับ ปรับต้นไม้หนีน้ำ
“สำหรับสวน อย่างบ้านผมเองตอนแรกตั้งใจว่าจะทำบ่อเลี้ยงปลา แต่พอเห็นน้ำท่วมคราวนี้แล้ว คิดว่าถ้าน้ำท่วมมาอีก ปลาเราอยู่ไม่ได้นะ เดี๋ยวน้ำเน่าไหลลงไป ดังนั้นแทนที่เราจะขุดบ่อ ผมก็คิดว่าจะทำบ่อให้เป็นทรงสูง แล้วตกแต่งบ่อนั้น ทำเป็นสโลป (Slope) แทนที่จะให้บ่ออยู่ในระดับล่าง ก็ยกขึ้นให้อยู่ในระดับสูง ซึ่งเราก็จะได้เห็นอะไรในอีกมุมมองหนึ่ง บางทีการก่อขอบบ่อสูง แล้วเชื่อมต่อด้วยการทำเป็นเก้าอี้ เหมือนตามรีสอร์ต (Resort) สวยๆ ให้สายตาเราอยู่ระดับเดียวกับขอบน้ำ มันก็จะได้บรรยากาศสวยไปอีกแบบ
เช่นเดียวกันครับ ต้นไม้ใหญ่ ผมคิดว่าน่าจะถูกยกให้สูงขึ้น เราต้องวางแพทเทิร์น (Pattern) สวนของเราให้มีระดับ เป็นสวนเล่นระดับ คือ ถมให้สูงในบางจุด เพราะเราคงไม่ไหวที่จะต้องเอาเงินมาถมที่ทั้งแปลง ดังนั้นผมมองว่า ตรงส่วนที่เราคิดว่าจะเป็นต้นไม้ใหญ่ ก็ยกให้มันสูงในระดับที่ถ้าน้ำมาก็จะไม่เสียหาย และเลือกไม้ที่ทนน้ำขึ้นมาหน่อย
ไม้กระถางน่าจะเป็นทางเลือกที่ดี เพียงแต่เราอาจจะต้องหาวิธีวางรูปแบบกระถางต้นไม้เสียหน่อย เช่น การปลูกสวนแนวตั้ง ที่วางตามกำแพงบ้านก็ดี หรือจะเลือกเป็นกระถางต้นไม้ที่มีฐานตั้งสวยๆ แบบนั้นก็ได้ หรือไม่อาจจะดัดแปลงทำโครงเหล็กเป็นฐานครอบ เพื่อยกตัวกระถางต้นไม้ให้มีระดับสูง-ต่ำ ไล่ระดับกัน ก็น่าจะเป็นอีกไอเดียที่น่าสนใจ” คุณดุ๊ก-ภาณุเดช อธิบายปิดท้าย พร้อมยืนยันอีกครั้งว่า
“ไอเดียเหล่านี้ ไม่มีหวง ไม่มีกั๊ก ในทางกลับกัน ผมดีใจมากด้วยซ้ำ ถ้าความคิดเหล่านี้จะถูกนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ แม้สักเล็กน้อยก็ยังดี…”
>> อัพเดตข่าวในแวดวงสังคม ก็อซซิป แฟชั่น ความงาม และเที่ยว กิน ดื่ม เพิ่มเติมได้ที่ http://www.celeb-online.net