xs
xsm
sm
md
lg

Review : Dell XPS 14z แล็ปท็อปคอร์ไอ 7 บาง เบา แรม 8GB

เผยแพร่:   โดย: MGR Online




หลายท่านที่เป็นแฟนเดลล์คงทราบว่าแล็ปท็อปตระกูล XPS เป็นตระกูลท็อปฟอร์มจากเดลล์ซึ่งมาพร้อมการออกแบบที่เน้นความคงทนแข็งแรง พร้อมสเปกภายในที่เน้นการใช้งานด้านมัลติมีเดียและกราฟิกเป็นหลัก

โดยล่าสุดทางเดลล์ก็ได้แตกไลน์แล็ปท็อปตระกูล XPS ออกมา 2 รุ่นโดยใช้คำว่า Z ต่อท้าย เพื่อเปิดตลาดแล็ปท็อปบาง เบา ประสิทธิภาพเยี่ยม (เทียบประมาณ Ultrabook) ซึ่งปัจจุบันมี 2 รุ่นที่วางจำหน่ายไปแล้วได้แก่ XPS 14z และ XPS 15z

ซึ่งในวันนี้ทีมงานไซเบอร์บิซก็ได้รับแล็ปท็อป Dell XPS 14z มาทดสอบประสิทธิภาพพร้อมเจาะฟีเจอร์ ลูกเล่นเด่นๆ ในแล็ปท็อปรุ่นนี้ให้ผู้อ่านได้รับชมกัน

การออกแบบ Dell XPS 14z


/


ตามธรรมเนียมของ Dell XPS ทุกรุ่นจะใช้วัสดุที่เป็นอลูมิเนียมทั้งบอดี้เพื่อความแข็งแรงพร้อมการออกแบบตัวเครื่องให้ดูเรียบและหรูหรา

โดยสิ่งที่แตกต่างจาก XPS รุ่นก่อนหน้า สำหรับ XPS 14z จะอยู่ที่ความบางของตัวเครื่องเพียง 23 มิลลิเมตร และน้ำหนักเพียง 1.98 กิโลกรัม แต่สเปกด้านในกลับอัดหน่วยประมวลผล อินเทล คอร์ ไอ 7 Sandy Bridge มาพร้อมกราฟิกชิปแบบแยก ตามคอนเซปของแล็ปท็อปประสิทธิภาพสูงจากเดลล์



นอกจากนั้นในส่วนของจอภาพขนาด 14 นิ้ว ยังถูกออกแบบใหม่เป็นแบบ edge-to-edge glass ที่ช่วยเพิ่มมุมมองในการมองเห็นเพิ่มขึ้น 10% (วัดตามเส้นทแยงมุมจะมีขนาด 35.6 เซนติเมตร) และในส่วนของกรอบจอภาพจะใช้วัสดุเป็นอลูมิเนียมเพื่อความแข็งแรง โดยในส่วนของกล้องเว็บแคมความละเอียด 1.3 ล้านพิกเซลจะถูกติดตั้งไว้ส่วนบนเหนือจอภาพพร้อมไมโครโฟน 2 ตัวขนาบข้างอยู่

สำหรับสเปกจอภาพจะใช้แหล่งกำเนิดแสงจากหลอด LED และรองรับความละเอียดภาพสูงสุด 1,366x768 พิกเซล





มาที่แป้นคีย์บอร์ดยังคงเอกลักษณ์ของเดลล์ XPS ด้วยการใส่ Backlit Keyboard สำหรับใช้ในเวลากลางคืน ส่วนคีย์ต่างๆ ถูกออกแบบมาให้ใช้งานไม่ซับซ้อนและปุ่มฟังก์ชันคีย์ต่างๆ ที่ให้มามีสัญลักษณ์บอกไว้ชัดเจน

ส่วนด้านล่างจะเป็น Multi-Touchpad ขนาด 100x53 มิลลิเมตร ที่มาพร้อมปุ่มคำสั่งแทนคลิกเมาส์ซ้าย-ขวา 2 ปุ่ม




สำหรับลำโพงในรุ่น XPS 14z จะถูกติดตั้งอยู่บริเวณด้านข้างของคีย์บอร์ดทั้ง 2 ข้างข้างละ 1 ตัว โดยลำโพงขยายเสียงทั้ง 2 ตัวจะทำงานผ่านส่วนซอฟต์แวร์ควบคุมเสียง Waves MaxxAudio ที่แถมมาให้กับ XPS 14z โดยในส่วนซอฟต์แวร์จะสามารถปรับ Preset ค่าเสียงได้ตั้งแต่ Music Movie หรือ Games



ส่วนด้านหลังจะถูกออกแบบไม่ให้สามารถถอดส่วนใดออกเพื่ออัปเกรดเหมือนรุ่นอื่นๆ แต่จะมีเพียงช่องระบายความร้อนเท่านั้น

พอร์ตเชื่อมต่อของ Dell XPS 14z



ด้านซ้ายเครื่อง - จากซ้ายมือ ช่องระบายความร้อน, ช่องเสียบไมโครโฟนและหูฟัง และช่องอ่านการ์ดความจำ (รองรับการ์ดชนิด MMC, SD, xD, MS, MS Pro, MS Duo และ MS Pro Duo)



ด้านหลังเครื่อง - จากซ้ายมือ ช่องคล้องสายล็อคกันขโมย, ช่อง Adapter, Display Port, HDMI 1.4, USB 2.0, USB 3.0, พอร์ต RJ-45 (10/100/1000Mbps) และ ช่องระบายความร้อนส่วนหลัง



ด้านขวาเครื่อง - จากซ้ายมือ ปุ่มและไฟเช็คสถานะแบตเตอรีที่เหลืออยู่, ไดร์ฟ DVD +/- RW

สเปก Dell XPS 14z



Dell XPS 14z มาพร้อมหน่วยประมวลผลรุ่นท็อป 32 นาโนเมตรอย่าง Intel Core i7-2640M (Sandy Bridge) ความเร็ว 2.80GHz (Turbo Boost 2.0 up to 3.50 GHz) 2 คอร์ 4 Threads โดยในส่วน L3 Cache จะอยู่ที่ 4 MB พร้อมหน่วยความจำ 8GB แบบ Dual Channel DDR3 1333MHz



ในส่วนกราฟิกชิปจะมีให้เลือกใช้ 2 ตัวได้แก่ออนบอร์ด Intel HD Graphics 3000 สำหรับใช้งานพิมพ์เอกสาร ตกแต่งรูปทั่วไป และ NVIDIA GeForce GT520M สำหรับใช้งานกราฟิก 3 มิติหรือเล่นเกมออฟไลน์ 3 มิติ ที่มาพร้อมหน่วยความจำ 1GB DDR3 และรองรับชุดคำสั่ง DirectX 11 กับ Shader Model 5.0

ซึ่งการสับเปลี่ยนกราฟิกชิปทั้ง 2 ตัวจะใช้ NVIDIA Optimus เป็นส่วนควบคุมหลัก

สุดท้ายสำหรับสเปกอื่นๆ ของ Dell XPS 14z ในส่วนฮาร์ดดิสก์ที่ให้มาจะเป็น Western Digital 7,200 รอบ ความจุ 750GB รองรับ Intel Centrino Advanced-N 6230 802.11 agn ทำให้แล็ปท็อปรุ่นดังกล่าวรองรับ Intel Wireless Display พร้อม Bluetooth เวอร์ชัน 3.0

จุดขาย Dell XPS 14z

- สเปกตอบสนองการใช้งานมัลติมีเดียได้ทุกรูปแบบ รวมถึงสามารถเล่นเกมออฟไลน์ 3 มิติได้ เพราะมีกราฟิกชิปแยก
- การออกแบบเน้นความเรียบ หรู บาง และ เบา
- หน่วยความจำ (แรม) ให้มามากถึง 8GB
- หน้าจอแบบ edge-to-edge glass ที่ช่วยเพิ่มมุมมองในการมองเห็นเพิ่มขึ้น 10%
- คีย์บอร์ดมีไฟ Backlit ส่องสว่างใต้คีย์ สำหรับใช้งานในที่มืด

Dell Software



สำหรับซอฟต์แวร์ที่ทางเดลล์ให้มาพร้อมกับแล็ปท็อปจะยังคงเป็น Dell Stage เหมือนกับ XPS รุ่นก่อนหน้า โดยซอฟต์แวร์ Stage จะมาพร้อมส่วนประกอบสำคัญดังต่อไปนี้



Dell DataSafe Online ส่วนของ DataSafe จะถูกออกแบบมาให้ลูกค้าเดลล์สามารถเข้าใช้บริการ Cloud Storage สำหรับไว้ใช้สำรองข้อมูลเช่น เอกสาร รูปภาพ เพลง ฯลฯ ผ่านระบบคลาวด์ (คล้าย Dropbox)

สำหรับผู้ที่ต้องการใช้บริการดังกล่าวสามารถเข้าสมัครสมาชิกได้ฟรี โดยจะได้รับพื้นที่ 2GB และมีอายุการใช้งาน 1 ปี หลังจากนั้นทางเดลล์จะเริ่มเก็บค่าบริการ



Dell Webcam Control สำหรับส่วนสุดท้ายจะเป็นส่วนควบคุมกล้องเว็บแคมที่นอกจากผู้ใช้จะสามารถปรับแต่งการใช้งานได้แล้ว ตัวซอฟต์แวร์ยังสามารถสั่งอัปโหลดคลิปวิดีโอ หรือรูปภาพขึ้นไปบนเครือข่ายสังคมหรือเว็บบริการฝากไฟล์ เช่น YouTube หรือ Photobucket ได้

ทดสอบประสิทธิภาพ



Stage Remote สำหรับส่วนนี้จะเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถนำ Device แบรนด์เดลล์อื่นๆ มาเชื่อมต่อกับ XPS 14z ผ่านระบบ Home Network ได้


3DMark 05 คะแนนทดสอบที่ได้คือ 8,716 คะแนนบนความละเอียดหน้าจอ 1,280x768 + Shader Model 3


3DMark 06 คะแนนทดสอบที่ได้คือ 5,387 คะแนนโดยแบ่งเป็นคะแนน Shader Model 2 = 2,089 คะแนน, HDR/Shader Model 3 = 1,958 คะแนน ส่วนคะแนนประมวลผลซีพียูจะอยู่ที่ 3,408 คะแนน ที่ความละเอียด 1,280x768 พิกเซล


Battery Meter เป็นส่วนช่วยในการดูประจุที่เหลืออยู่ของแบตเตอรีที่เหลืออยู่ให้ผู้ใช้ทราบ นอกจากนั้นตัวซอฟต์แวร์ยังช่วยจัดการเรื่องอายุการใช้งานแบตเตอรีได้ด้วย


PCMark 7 คะแนนรวมที่ได้คือ 2,343 คะแนน แบ่งเป็นคะแนน Lightweight score = 2,214 คะแนน Productivity score = 1,779 คะแนน Creativity score = 2,892 คะแนน Entertainment score = 2,137 คะแนน Computation score = 3,285 คะแนน และ System storage score = 1,821 คะแนน


Cinebench R11.5 x64 ในส่วนของการทดสอบด้วยการให้ซีพียูวาดภาพ 3 มิติผลคะแนนที่ได้คือ ในการใช้ซีพียูวาดคะแนนจะอยู่ที่ 2.93pts ส่วนกราฟิกแบบ OpenGL จะอยู่ที่ 15.47fps


HD Tach 3.0 มาที่การทดสอบฮาร์ดไดร์ฟจะมีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลเฉลี่ยอยู่ที่ 101.5 MB/s ที่ Random access 16.7ms


x264 HD BENCHMARK 3.0 ในส่วนของการทดสอบการถอดรหัสไฟล์วิดีโอความละเอียด 720p จะได้ค่าดังต่อไปนี้

encoded 1442 frames, 63.14 fps, 3900.68 kb/s
encoded 1442 frames, 54.92 fps, 3900.68 kb/s
encoded 1442 frames, 54.38 fps, 3901.21 kb/s
encoded 1442 frames, 61.83 fps, 3900.68 kb/s
encoded 1442 frames, 15.75 fps, 3971.44 kb/s
encoded 1442 frames, 14.47 fps, 3971.84 kb/s
encoded 1442 frames, 14.51 fps, 3971.64 kb/s
encoded 1442 frames, 14.73 fps, 3970.84 kb/s

SiSoftware Sandra


Processor Arithmetic - มีคะแนนในส่วน Dhrystone ALU อยู่ที่ 64.4GIPS ส่วนคะแนนใน Whetstone FPU จะอยู่ที่ 39.13GFLOPS


Multi-Core Efficiency - มีคะแนนในส่วน Inter-Core Bandwidth อยู่ที่ 19.048GB/s ส่วนคะแนนใน Inter-Core Latencyจะอยู่ที่ 50ns


Memory Bandwidth - มีคะแนนในส่วน Integer Memory Bandwidth อยู่ที่ 18.47GB/s ส่วนคะแนนใน Float Memory Bandwidth จะอยู่ที่ 18.44GB/s


Windows 7 Score

Games Benchmark



สำหรับการทดสอบเล่นเกมพบว่า Dell XPS 14z มีประสิทธิภาพเล่นเกมได้ปานกลางเท่านั้น เพราะเนื่องจากกราฟิกชิปแยกที่ให้มาค่อนข้างต่ำ (NVIDIA GeForce GT520M) ซึ่งถ้าผู้ใช้ต้องการเล่นเกมออฟไลน์ 3 มิติ จะต้องปรับค่ากราฟิกให้ต่ำถึงจะสามารถเล่นได้อย่างไม่กระตุก

ตอบจุดขายหรือไม่/ข้อสังเกต

- สำหรับส่วนแรกเรื่องการออกแบบที่ถือเป็นจุดขายที่โดดเด่นของ XPS 14z ต้องยอมรับว่าเดลล์ทำออกมาได้ดี เพราะจากการสังเกตของทีมงาน เรื่องการเก็บชิ้นงานและวัสดุ การออกแบบ เก็บงานมาได้อย่างเรียบร้อย หรูหรา และดูแข็งแรงมาก

อีกทั้งเรื่องของน้ำหนักเทียบกับฮาร์ดแวร์ที่ใส่มาใน XPS 14z ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดี เพราะตัวเครื่องให้สเปก คอร์ ไอ 7 "Sandy Bridge" พร้อมแรม 8GB แต่น้ำหนักตัวเครื่องอยู่ประมาณ 1.98-2 กิโลกรัม ซึ่งเมื่อทดสอบพกพาใส่กระเป๋าสะพายหลังพบว่ามีน้ำหนักไม่มากนัก

แต่ทั้งนี้ด้วยการออกแบบตัวเครื่องที่เน้นความบางและเบา ทำให้เดลล์ต้องทิ้งเรื่องกราฟิกชิปแยกให้ต่ำลง แต่ก็ถือว่าเดลล์ตัดสินใจถูก เพราะการไปเพิ่มสเปกในส่วนของหน่วยประมวลผลและหน่วยความจำให้สูงขึ้นแทนกราฟิกชิปที่ให้มาเพียงกลางๆ ทำให้เดลล์ตระกูลนี้สามารถตอบสนองการทำงานได้ทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นกราฟิก ตกแต่งรูปไฟล์ดิบขนาดใหญ่หรือแม้แต่งานตัดต่อวิดีโอ ได้ดีกว่าการเล่นเกมที่ตลาดค่อนข้างเล็กและเฉพาะทางเกินไป

- ในส่วนของจอภาพแบบ edge-to-edge glass จาก LG ที่นอกจากเรื่องพื้นที่หน้าจอที่เพิ่มขึ้น เรื่องของความบางก็เป็นส่วนให้จอมีขนาดบางและน้ำหนักเบาลง

- มาที่แบตเตอรีก็เป็นจุดเด่นสำคัญเพราะทางเดลล์ให้แบตเตอรีมาแบบ Built-in 8 เซลล์ ซึ่งจากการใช้งานถ้าเปิดควบคู่กับกราฟิกชิปแยกจะมีอายุการใช้งานต่อการชาร์จไฟหนึ่งครั้งที่ประมาณ 5 ชั่วโมง ส่วนเมื่อเปิดโหมด Power Save คู่กับกราฟิกออนบอร์ด จะมีอายุการใช้งานอยู่ที่ประมาณ 6-7 ชั่วโมง

- สุดท้ายในเรื่องประสิทธิภาพจากการทดสอบทั้งหมดถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดีและตอบรับกับผู้ใช้ที่ต้องการแล็ปท็อปประสิทธิภาพสูงในการทำงาน

ฟันธง! ความคุ้มค่ากับเม็ดเงินที่เสียไป?

สำหรับราคาเปิดตัว Dell XPS 14z ในประเทศไทย จากการคาดการณ์น่าจะอยู่ที่ประมาณ 3 หมื่นบาทไม่เกิน 4 หมื่นบาท (ราคาเหรียญสหรัฐอยู่ที่ 899.99$) ซึ่งนับว่าราคาน่าสนใจเมื่อเทียบกับประสิทธิภาพที่ได้ แถมในเรื่องน้ำหนัก ความเบา บางก็พอเทียบกับ Ultrabook ได้ (ยกเว้นจะพกแล็ปท็อปคู่กับ Adapter ที่มีน้ำหนักมาก)

แต่ทั้งนี้ถ้าผู้อ่านเป็นกลุ่มคนชอบเล่นเกมออฟไลน์ 3 มิติ Dell XPS 14z คงไม่สามารถตอบสนองจุดนี้ได้ เพราะต้องอย่าลืมว่า XPS 14z ถูกออกแบบมาให้เน้นพกพา และใช้ทำงานที่ต้องการสเปกแล็ปท็อปสูงๆ เช่น ตัดต่อวิดีโอ ตกแต่งภาพความละเอียดสูง เป็นต้น ทำให้เดลล์ต้องเลือกใส่กราฟิกแยกมาในสเปกต่ำพอใช้ทำงาน 3 มิติได้ระดับหนึ่ง

เพราะฉะนั้นสำหรับขาเกมเมอร์ฮาร์ดคอร์หรือพวกชอบเสพความแรง อย่าเพียงแต่มองว่าเป็นรุ่น XPS แล้วจะเทพเล่นได้ทุกอย่างตามต้องการ ให้ลองมองที่วัตถุประสงค์ของตัวแล็ปท็อปและสเปกก่อนเลือกซื้อ จะได้ไม่ผิดหวังเมื่อจ่ายเงินหมื่นออกไป...

Company Related Link :
Dell


กำลังโหลดความคิดเห็น