หลังจากครั้งที่แล้วที่ทางทีมงานได้ลงบททดสอบโน้ตบุ๊กเกมมิ่งรุ่นกลางๆ อย่าง MSI GX660 ไปแล้ว มาวันนี้ทาง MSI ก็ได้ส่งโน้ตบุ๊กในตระกูลเกมมิ่งในรุ่นท็อปตัวโมเดลใหม่ล่าสุดที่มีหน้าตาคล้ายกับรุ่น GX660 มาให้ทีมงานผู้จัดการไซเบอร์ได้ทดสอบอีกครั้ง ด้วยการอัปเกรดซีพียูเป็น Core i7 ตระกูล Sandy Bridge และปรับเปลี่ยนในส่วนของกราฟิกชิปจาก ATI Mobility Radeon HD 5870 เป็น NVIDIA GeForce GTX 460M พร้อมเสริมเติมแต่งในส่วนของออปชันพิเศษอีกเล็กน้อย
สำหรับโน้ตบุ๊ก MSI GT680R ในด้านรูปลักษณ์และพอร์ตเชื่อมต่อรอบๆ ตัวเครื่องแทบไม่มีความแตกต่างจากรุ่น GX660 ยกเว้นหน้าจอที่มีการเพิ่มความละเอียดเป็น 1,920x1,080 พิกเซล (Full HD) เพราะฉะนั้นทางทีมงานขอไม่กล่าวถึงรายละเอียดในส่วนดังกล่าว แต่จะขอกล่าวถึงในส่วนของสเปกและออปชันพิเศษในตัวโน้ตบุ๊กที่มีการปรับเปลี่ยนจากรุ่น GX660 ไปมากพอสมควร
โดยสิ่งที่แรกที่ได้รับการปรับเปลี่ยนอย่างเด่นชัดที่สุดก็คือในส่วนของสเปกหน่วยประมวลผล โดยในรุ่น GT680R จะใช้หน่วยประมวลผล Intel Core i7 2630QM ความเร็ว 2.0GHz (เมื่อรวมกับระบบ Turbo Boost ความเร็วจะอยู่ที่ 2.9GHz) โดยในส่วนของ L3 Cache จะอยู่ที่ 6MB และในส่วนของหน่วยความจำทาง MSI ได้ใส่ให้มาเต็มๆ ถึง 12GB
มาในส่วนของกราฟิกชิปจะใช้ NVIDIA GeForce GTX 460M เป็นตัวขับเคลื่อน โดยหน่วยความจำกราฟิกที่ให้มาจะอยู่ที่ 1.5GB GDDR5 โดยตัวกราฟิกชิปรองรับชุดคำสั่งพิเศษ CUDA และ PhysX ด้วย
นอกจากนั้นในส่วนของฮาร์ดไดร์ฟทาง MSI ได้เลือกใส่ฮาร์ดไดร์ฟ Western Digital Scorpio Black 500GB จำนวน 2 ตัว (รวม 1TB) และใช้การเชื่อมต่อผ่านระบบ RAID 0 เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานเป็นคูณ 2 และในส่วนของหน่วยความจำที่ทาง MSI ได้ใส่มาจำนวน 12GB ผู้ใช้ยังสามารถอัปเกรดเพิ่มความจุได้สูงสุดถึง 16GB
สุดท้ายในส่วนออปชันที่มีการปรับเปลี่ยนในส่วนของระบบเสียงก็คือ ทาง MSI ได้ใส่ซอฟท์แวร์ประมวลผลเสียง THX TruStudio PRO บนลำโพงแบบ Dynaudio เข้ามา ทำให้การจ่ายและประมวลผลเสียงผ่านโน้ตบุ๊กรุ่นนี้จะทำได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งตัวโน้ตบุ๊กยังได้ติดตั้งไดร์ฟบลูเรย์มาให้ด้วย
นอกจากนั้นในส่วนของหม้อ Adapter ที่มีการปรับเปลี่ยนให้มีขนาดใหญ่ขึ้น จนทำให้น้ำหนักรวมของตัวโน้ตบุ๊กอยู่ที่ประมาณ 3.50 - 3.80 กิโลกรัม อีกทั้งในส่วนของ Package Bundle ที่ให้มายังมาพร้อมซอฟท์แวร์เกมลิขสิทธิ์ Assassin's Creed 2 และเมาส์เกมมิ่งที่สามารถปรับ DPI แบบ on-the-fly มาให้ด้วย
ทดสอบประสิทธิภาพ
เนื่องจากตัวโน้ตบุ๊ก MSI GT680R ได้บรรจุฟังก์ชัน Turbo Drive Engine+ (TDE+) ที่จะช่วยในการโอเวอร์คล็อกความเร็วในส่วนซีพียูและกราฟิกชิป ทำให้บางการทดสอบ ทางทีมงานจะทำการทดสอบ 2 ครั้งคือ แบบไม่เปิด TDE+ กับเปิด TDE+
3DMark 05 (OFF TDE+) คะแนนทดสอบที่ได้คือ 20,920 คะแนนบนความละเอียดหน้าจอ 1,280x800 + Shader Model 3
3DMark 05 (ON TDE+) คะแนนทดสอบที่ได้คือ 21,068 คะแนนบนความละเอียดหน้าจอ 1,280x800 + Shader Model 3
3DMark 06 (OFF TDE+) คะแนนทดสอบที่ได้คือ 15,080 คะแนนโดยแบ่งเป็นคะแนน Shader Model 2 = 6,150 คะแนน, HDR/Shader Model 3 = 6,386 คะแนน ส่วนคะแนนประมวลผลซีพียูจะอยู่ที่ 4,971 คะแนน
3DMark 06 (ON TDE+) คะแนนทดสอบที่ได้คือ 15,540 คะแนนโดยแบ่งเป็นคะแนน Shader Model 2 = 6,325 คะแนน, HDR/Shader Model 3 = 6,633 คะแนน ส่วนคะแนนประมวลผลซีพียูจะอยู่ที่ 5,053 คะแนน
3DMark 11 (OFF TDE+) คะแนนรวมที่ได้คือ 1,795 คะแนน แบ่งเป็นคะแนน Graphics Score = 1,601 คะแนน, Physics Score = 6,101 คะแนน และ Combined Score = 1,566 คะแนน
3DMark 11 (ON TDE+) คะแนนรวมที่ได้คือ 1,833 คะแนน แบ่งเป็นคะแนน Graphics Score = 1,655 คะแนน, Physics Score = 4,874 คะแนน และ Combined Score = 1,628 คะแนน
PCMark Vantage (OFF TDE+) สามารถทำคะแนนรวมได้ที่ 9,015 คะแนน แบ่งเป็น Memories Score = 6,127 คะแนน, TV and Movies Score = 6,291 คะแนน, Gaming Score = 8,525 คะแนน, Music Score = 8,072 คะแนน, Communications Score = 7,354 คะแนน, Productivity Score = 7,230 คะแนน และ HDD Score = 5,356 คะแนน
PCMark Vantage (ON TDE+) สามารถทำคะแนนรวมได้ที่ 9,066 คะแนน แบ่งเป็น Memories Score = 6,221 คะแนน, TV and Movies Score = 6,302 คะแนน, Gaming Score = 8,528 คะแนน, Music Score = 8,042 คะแนน, Communications Score = 7,404 คะแนน, Productivity Score = 7,253 คะแนน และ HDD Score = 5,371 คะแนน
Cinebench R11.5 x64 (OFF TDE+) ในส่วนของการทดสอบด้วยการให้ซีพียูวาดภาพ 3 มิติผลคะแนนที่ได้คือ ในการใช้ซีพียูวาดคะแนนจะอยู่ที่ 4.89pts ส่วนกราฟิกแบบ OpenGL จะอยู่ที่ 40.48pts
Cinebench R11.5 x64 (ON TDE+) ในส่วนของการทดสอบด้วยการให้ซีพียูวาดภาพ 3 มิติผลคะแนนที่ได้คือ ในการใช้ซีพียูวาดคะแนนจะอยู่ที่ 4.86pts ส่วนกราฟิกแบบ OpenGL จะอยู่ที่ 40.85pts
HD Tach 3.0 (OFF TDE+) มาที่การทดสอบฮาร์ดไดร์ฟ จะมีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลเฉลี่ยอยู่ที่ 172.6 MB/s และความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลอยู่ที่ 15.9ms
x264 HD BENCHMARK 3.0 ในส่วนของการทดสอบการถอดรหัสไฟล์วิดีโอความละเอียด 720p จะได้ค่าดังต่อไปนี้
TDE+ OFF
encoded 1442 frames, 65.88 fps, 3899.02 kb/s
encoded 1442 frames, 66.65 fps, 3899.02 kb/s
encoded 1442 frames, 65.79 fps, 3899.02 kb/s
encoded 1442 frames, 66.26 fps, 3899.02 kb/s
encoded 1442 frames, 25.09 fps, 3948.73 kb/s
encoded 1442 frames, 23.85 fps, 3953.16 kb/s
encoded 1442 frames, 23.87 fps, 3962.70 kb/s
encoded 1442 frames, 23.81 fps, 3965.64 kb/s
TDE+ ON
encoded 1442 frames, 66.31 fps, 3899.02 kb/s
encoded 1442 frames, 66.40 fps, 3899.02 kb/s
encoded 1442 frames, 66.50 fps, 3899.02 kb/s
encoded 1442 frames, 66.07 fps, 3899.02 kb/s
encoded 1442 frames, 24.77 fps, 3959.42 kb/s
encoded 1442 frames, 23.67 fps, 3962.03 kb/s
encoded 1442 frames, 23.70 fps, 3962.27 kb/s
encoded 1442 frames, 23.69 fps, 3950.28 kb/s
Windows 7 Score
Hyper Pi - 32M (TDE+ OFF) ทดสอบการคำนวณค่าพาย 32 ล้านครั้ง โดยผลการทดสอบที่แสดงออกมาจะใช้เวลาทั้งสิ้น 24.16 นาที (สำหรับค่าของคอร์แรก)
Hyper Pi - 32M (TDE+ ON) ทดสอบการคำนวณค่าพาย 32 ล้านครั้ง โดยผลการทดสอบที่แสดงออกมาจะใช้เวลาทั้งสิ้น 22.01 นาที (สำหรับค่าของคอร์แรก)
Video Encode มาที่การทดสอบในส่วนของการแปลงไฟล์วิดีโอความละเอียดสูง 1080p (ความยาว 9 นาที) จากฟอร์แม็ต MP4 H.264 ไปสู่ฟอร์แม็ต MP4 สำหรับ iPad ผลที่ได้8nvจะใช้เวลาแปลงไฟล์ทั้งสิ้นเพียง 4.13 นาที
PhysX Benchmarkทดสอบประสิทธิภาพของระบบ PhysX บน CUDA Core 192 ยูนิต คะแนนที่ได้จะอยู่ที่ 235 คะแนน 39 เฟรมต่อวินาที
Games Performance Test (TDE+ ON)
Final Fantasy XIV - DirectX 9.0c ทดสอบโดยตั้งความละเอียดหน้าจอไว้ที่ 1280x720 พิกเซล (720p) - Default Settings ทำให้คะแนนที่ได้อยู่ที่ 3,310 คะแนน ส่วนที่ความละเอียด 1,920x1,080 พิกเซล คะแนนจะอยู่ที่ 1,763 คะแนน
Heaven Benchmark (DX11) ทดสอบที่ความละเอียดหน้าจอ 1,280x720 พิกเซล, Sahders = High, Tessellation = Normal และ Anisotropy ที่ 4 โดยผลการทดสอบจะอยู่ที่ 27.6 เฟรมต่อวินาที ส่วนเมื่อปรับ Tessellation เป็น Extreme คะแนนเฟรมเรทจะอยู่ที่ 18.1 เฟรมต่อวินาที
Lost Planet 2 Test A - DirectX 9.0c / DirectX11 ทดสอบบน DirectX 9.0c โดยตั้งความละเอียดหน้าจอไว้ที่ 1280x720 พิกเซล (720p) และเปิดกราฟิกทุกอย่างสูงสุดทั้งหมด ทำให้คะแนนเฟรมเรทเฉลี่ยอยู่ที่ 45.9 เฟรมต่อวินาที ส่วนค่าคะแนนเฟรมเรทเฉลี่ยในชุดคำสั่ง DirectX 11 (เปิด DirectX 11 Option ไว้ที่ High) จะได้ค่าคะแนนเฟรมเรทเฉลี่ยอยู่ที่ 34.8 เฟรมต่อวินาที ส่วนเมื่อตั้งความละเอียดหน้าจอเป็น 1,920x1,080 พิกเซล ค่าคะแนนเฟรมเรทเฉลี่ยจะอยู่ที่ 22.8 เฟรมต่อวินาที
Resident Evil 5 (DX10) ทดสอบที่ความละเอียดหน้าจอ 1,280x720 พิกเซล เปิดออปชันกราฟิกสูงสุดทั้งหมด พร้อมเปิด Motion Blur แต่ปิด Anti-Aliasing โดยคะแนนเฟรมเรทที่ได้จะอยู่ที่ 93.8 เฟรมต่อวินาที แต่เมื่อเปิดใช้ความละเอียด 1,920x1,080 พิกเซล คะแนนเฟรมเรทจะอยู่ที่ 52.7 เฟรมต่อวินาที
Battery Test
สำหรับการทดสอบแบ็ตเตอรี่ทางทีมงานจะแบ่งเป็น 2 การทดสอบคืออันดับแรกจะเป็นการทดสอบโดยตั้งโปรไฟล์พลังงานไว้ที่ Power Save และเปิดใช้งาน WiFi ปกติ พร้อมตั้งความสว่างหน้าจออยู่ที่ประมาณ 50-70% แบ็ตเตอรี่จะมีอายุการใช้งานต่อการชาร์จไฟเต็มหนึ่งครั้งอยู่ที่ 3 ชั่วโมงครึ่งถึง 4 ชั่วโมง ส่วนเมื่อตั้งโปรไฟล์พลังงานไว้ที่ High Performance จะอยู่ที่ประมาณ 3 ชั่วโมงกว่าๆ เท่านั้น
สรุป
โน้ตบุ๊ก MSI GT680R เป็นอีกหนึ่งโน้ตบุ๊กรุ่นเกมมิ่งจาก MSI ที่ยังเน้นความครบครันของออปชัน และการอัดสเปกมาเต็มสูบไม่ว่าจะเป็นฮาร์ดไดร์ฟที่ให้มาเต็ม 2 ลูกพร้อมการเชื่อมต่อแบบ RAID 0 หรือแม้แต่การใส่หน่วยความจำมาเต็ม 12GB พร้อมยังสามารถอัปเกรดสูงสุด 16GB และการบรรจุซอฟท์แวร์ THX TruStudio PRO มาเพิ่มประสิทธิภาพความสามารถในการจ่ายเสียงอย่างเต็มรูปแบบ ก็มีผลทำให้โน้ตบุ๊ก MSI GT680R เป็นโน้ตบุ๊กรุ่นท็อปที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับขาเกมเมอร์หรือกลุ่มคนที่ต้องการโน้ตบุ๊กประสิทธิภาพสูงในการทำงานด้านมัลติมีเดีย
แต่ทั้งนี้ด้วยน้ำหนักที่มากเกือบ 4 กิโลกรัม พร้อมราคาเกือบ 70,000 บาท ก็อาจทำให้ผู้ใช้ที่กระเป๋าไม่หนักต้องคิดหนักอยู่เช่นกัน
ขอชม
- ประสิทธิภาพและออปชันให้มาอย่างเต็มรูปแบบ ตอบสนองทุกการใช้งานได้อย่างดี
- จอ Full HD 1080p
- ฮาร์ดไดร์ฟต่อมาแบบ RAID 0 ทำให้การทำงานรวดเร็วยิ่งขึ้น
- ตัวเครื่องบรรจุ THX TruStudio PRO พร้อม Subwoofer ด้านใต้โน้ตบุ๊ก ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านเสียงได้อย่างดี
- มีระบบ TDE+ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้สูงกว่าค่ามาตรฐาน ทำให้สามารถรีดความแรงออกมาได้เต็มประสิทธิภาพ
-สามารถอัปเกรดฮาร์ดไดร์ฟและแรมเพิ่มเติมได้ สูงสุด 16GB
ขอติ
- น้ำหนักตัวเครื่องรวม Adapter หนักมาก ไม่สะดวกต่อการพกพาไปไหน
- เมื่อพัดลมระบายความร้อนทำงานเต็มประสิทธิภาพจะมีเสียงดังรบกวน
- การออกแบบช่องระบายความร้อนอยู่ด้านซ้ายมือ ทำให้ผู้ถนัดเมาส์ซ้ายอาจมีปัญหาเรื่องความร้อนที่ปล่อยออกมา
- ข้อต่อระหว่างจอกับตัวโน้ตบุ๊กค่อนข้างบอบบาง
Company Related Links :
MSI