xs
xsm
sm
md
lg

Review : MSI GX660 โน้ตบุ๊กเพื่อคอเกมเมอร์

เผยแพร่:   โดย: MGR Online




ถือว่าเป็นอีกหนึ่งแบรนด์ที่กล้าเข้ามาลุยตลาดโน้ตบุ๊กเพื่อคอเกมเมอร์ เพราะจะเห็นว่าตลาดระดับนี้จำเป็นต้องจับกลุ่มผู้มีเงินทุนสูง และต้องเป็นขาเกมเมอร์จริงๆ ถึงจะชื่นชอบ เพราะด้วยรูปทรงขนาดใหญ่และน้ำหนักที่ค่อนข้างมากเกินจะพกพาได้สะดวกนั่นเอง

แต่ทั้งนี้เมื่อพูดถึงเรื่องประสิทธิภาพ แน่นอนว่าโน้ตบุ๊กกลุ่มนี้ต้องสามารถตอบรับการทำงานทุกรูปแบบ อย่าง MSI GX660 ที่ทางทีมงานผู้จัดการไซเบอร์ได้รับมาทดสอบในวันนี้ จะมีจุดเด่นที่กราฟิกชิป ซึ่งติดตั้ง ATI Mobility Radeon HD5870 (1GB DDR5 VRAM) มาให้พร้อมซีพียู Core i5 460M และ USB3.0 2 พอร์ต ก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งโน้ตบุ๊กที่มีสเปกน่าสนใจสำหรับคอเกมเมอร์เสียจริง

Design of MSI GX660



MSI GX660 ถูกออกแบบมาให้มีลวดลายออกสไตล์บึกบึนและค่อนข้างโฉบเฉี่ยวด้วยการเล่นสีแดงตัดดำ (สไตล์ฮาร์ดคอร์เกมเมอร์) พร้อมหน้าจอ WLED ขนาด 15.6 นิ้ว ความละเอียดสูงสุด 1,366x768 พิกเซล ในส่วนน้ำหนักจะอยู่ที่ประมาณ 2.7-3.0 กิโลกรัม และมีขนาดกว้าง x ลึก x สูง อยู่ที่ 395.6 x 267.3 x 47.5~55.2 มิลลิเมตร




ในส่วนของแผงแป้นพิมพ์ จะเป็นคีย์บอร์ดสไตล์ Chiclet Keyboard + Numpad ไม่มีไฟส่องใต้แป้นพิมพ์ และมีการใช้สีแดงเน้นส่วนตัวอักษร WASD พร้อมลำโพงที่ถูกออกแบบโดย Dynaudio ที่มีจุดเด่นอยู่ที่ลำโพงมีขนาดใหญ่และมีการฝังลำโพงเสียงต่ำมาให้ด้านใต้คีย์บอร์ดด้วย



สำหรับด้านบนซ้ายจะเป็นปุ่ม Touch Sensor เพื่อเปิดฟังก์ชันพิเศษอย่าง Turbo สำหรับใช้เพิ่มประสิทธิภาพความเร็วของซีพียูให้สูงกว่าปกติ หรือปุ่มเพิ่มรอบพัดลมสำหรับใช้ระบายความร้อนสะสมที่เกิดขึ้นระหว่างเล่นเกมเป็นเวลานานได้





สุดท้ายสำหรับ MSI GX660 จะสามารถเปิดไฟสีแดงรอบๆ ตัวเครื่องได้โดยผ่านโปรแกรมสั่งงานดังภาพประกอบด้านบน ซึ่งเมื่อทดสอบในที่มืดจะเห็นว่าตัวเครื่องมีความสวยงามอย่างยิ่ง แต่น่าเสียดายที่ในส่วนของคีย์บอร์ดไม่ได้ติดตั้งไฟมาให้ อาจทำให้การใช้งานเพื่อพิมพ์งานในที่มืดทำได้ค่อนข้างลำบาก

Input/Output Ports



มาที่พอร์ตการเชื่อมต่อรอบๆ ตัวเครื่อง จากด้านซ้ายจะประกอบด้วย ช่องระบายความร้อนจากภายใน, USB 3.0 จำนวน 2 พอร์ต (สามารถเชื่อมต่อกับ USB 2.0 ได้), ช่อง Card Reader, USB 2.0 จำนวน 1 พอร์ต และ Express Slot อีก 1 พอร์ต



สำหรับด้านหลังตัวเครื่องจากซ้าย ช่องเชื่อมต่อ Adapter, พอร์ต LAN RJ-45, ช่อง D-Sub, พอร์ต eSATA และ HDMI



ส่วนด้านขวามือจากซ้ายจะประกอบด้วย ช่องเชื่อมต่อไมโครโฟนและหูฟังและช่อง Line in, Line Out แบบ Digital ต่างๆ ถัดมาจะเป็นพอร์ต USB 2.0 จำนวน 1พอร์ตและไดร์ฟดีวีดีจำนวน 1 ตัวติดตั้งมาให้

Specifications



สำหรับซีพียูที่ติดตั้งมาให้กับ MSI GX660 รุ่นที่ทางทีมงานผู้จัดการไซเบอร์ได้รับมาทดสอบนี้จะมาพร้อมซีพียู Intel Core i5 450M ความเร็ว 2.4GHz (เมือเปิดใช้งานฟังก์ชัน Turbo Boost จะสามารถดันความเร็วไปอยู่ที่ 2.66GHz ได้) ส่วนเมื่อเปิดฟังก์ชัน Turbo บนเทคโนโลยี Turbo Drive Engine+ (TDE+) จะสามารถดันความเร็ว โดยใช้หลักการคำนวณเรื่องของอุณหภูมิ ตัวคูณให้อย่างอัตโนมัติ และในส่วนของ L3 Cache จะอยู่ที่ 3MB

ในส่วนของหน่วยความจำทาง MSI ได้บรรจุมาให้ 4GB แบบ DDR3 ซึ่งผู้ใช้สามารถอัปเกรดเพิ่มได้ถึง 8GB แบ่งเป็น Channel ละ 4GB



มาในส่วนของกรราฟิกชิป MSI GX660 รุ่นที่ได้รับมาทดสอบจะติดตั้งกราฟิกชิป ATI Mobility Radeon HD 5870 มาให้ โดยจะมาพร้อมหน่วยความจำ (แรม) ขนาด 1GB แบบ GDDR5 รองรับชุดคำสั่งกราฟิก DirectX 11 และ Shader Model 5.0 เต็มรูปแบบ



ในส่วนของแบ็ตเตอรี่จะให้มาแบบ 9 เซลล์ 7,800 mAh โดยจากการทดสอบในโหมดประหยัดพลังงานจะมีอายุการใช้งานต่อการชาร์จไฟหนึ่งครั้งที่ประมาณ 2-3 ชั่วโมงตามมาตรฐานโน้ตบุ๊กเกมเมอร์ทั่วไป

สุดท้ายสำหรับในส่วนของคุณสมบัติพิเศษอื่นๆ ได้แก่ระบบ Exclusive Cooler Boost Technology โดยจะเป็นระบบความร้อนแบบพิเศษที่อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถเพิ่มรอบหมุนพัดลมให้สูงกว่าปกติเพื่อช่วยระบายความร้อนสะสมภายในที่มากขึ้นระหว่างการใช้งาน โดยวิธีเข้าใช้งานเพียงกดปุ่มดังตัวอย่างภาพด้านล่าง



นอกจากนั้น ตามที่ทางทีมงานได้กล่าวไปข้างต้นแล้วว่าตัวโน้ตบุ๊กมาพร้อมกับไฟสีแดงเพื่อช่วยเพิ่มความสวยงามให้กับตัวโน้ตบุ๊กแล้ว ในส่วนของระบบไฟยังบรรจุฟังก์ชัน Audio Synchronize Mode และ Intelligent Simulation of Sound Source ที่ช่วยให้แสงไฟสีแดงที่เปล่งออกมาสามารถแสดงสีและน้ำหนักของไฟที่ส่องสว่างตามน้ำหนักและทิศทางของเสียง อีกทั้งทาง MSI ยังติดตั้งระบบ DTS Surround Sensation|Ultra-P เพื่อเพิ่มมิติของเสียงสำหรับการเล่นเกม รับชมภาพยนตร์ และฟังเพลงบนลำโพงที่ออกแบบโดย Dynaudio ด้วย

และในส่วนของฮาร์ดไดร์ฟยังสามารถเชื่อมต่อแบบ Dual SATA เพื่อเปิดการใช้งานของ Raid 0 ได้และตัว MSI GX660 ยังติดตั้งกล้องแว็บแคมความละเอียด 720p ที่ความเร็วในการแสดงผล 30fps มาให้อีกด้วย

Performance Test

ก่อนเข้าสู่การทดสอบประสิทธิภาพ เนื่องจากตัวโน้ตบุ๊กบรรจุฟังก์ชัน Turbo Drive Engine+ (TDE+) ทำให้บางการทดสอบ ทางทีมงานจะทดสอบ 2 ครั้งแบบไม่เปิด TDE+ กับเปิด TDE+


3DMark 05 (OFF TDE+) คะแนนทดสอบที่ได้คือ 17,628 คะแนนบนความละเอียดหน้าจอ 1024x768 + Shader Model 3


3DMark 05 (ON TDE+) คะแนนทดสอบที่ได้คือ 18,300 คะแนนบนความละเอียดหน้าจอ 1024x768 + Shader Model 3


3DMark 06 (OFF TDE+) คะแนนทดสอบที่ได้คือ 12,426 คะแนนโดยแบ่งเป็นคะแนน Shader Model 2 = 5,350 คะแนน, HDR/Shader Model 3 = 6,141 คะแนน ส่วนคะแนนประมวลผลซีพียูจะอยู่ที่ 2,871 คะแนน


3DMark 06 (ON TDE+) คะแนนทดสอบที่ได้คือ 12,813 คะแนนโดยแบ่งเป็นคะแนน Shader Model 2 = 5,431 คะแนน, HDR/Shader Model 3 = 6,314 คะแนน ส่วนคะแนนประมวลผลซีพียูจะอยู่ที่ 2,978 คะแนน


PCMark Vantage (OFF TDE+) สามารถทำคะแนนรวมได้ที่ 5,877 คะแนน แบ่งเป็น Memories Score = 4,764 คะแนน, TV and Movies Score = 3,710 คะแนน, Gaming Score = 6,231 คะแนน, Music Score = 5,422 คะแนน, Communications Score = 4,880 คะแนน, Productivity Score = 5,181 คะแนน และ HDD Score = 3,466 คะแนน


Cinebench R11.5 x64 (OFF TDE+) ในส่วนของการทดสอบด้วยการให้ซีพียูวาดภาพ 3 มิติผลคะแนนที่ได้คือ ในการใช้ซีพียูวาดคะแนนจะอยู่ที่ 2.10pts ส่วนกราฟิกแบบ OpenGL จะอยู่ที่ 35.09pts


Cinebench R11.5 x64 (ON TDE+) ในส่วนของการทดสอบด้วยการให้ซีพียูวาดภาพ 3 มิติผลคะแนนที่ได้คือ ในการใช้ซีพียูวาดคะแนนจะอยู่ที่ 2.24pts ส่วนกราฟิกแบบ OpenGL จะอยู่ที่ 37.81pts


Compute Mark (OFF TDE+) คะแนนอยู่ที่ 1,508 คะแนน ที่ความละเอียด 1,024x600 พิกเซล Window Mode


HD Tach 3.0 (OFF TDE+) มาที่การทดสอบฮาร์ดไดร์ฟ Seagate ความจุ 500GB ผ่านพอร์ต SATA II 7,200 rpm จะมีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลเฉลี่ยอยู่ที่ 87.7 MB/s และความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลอยู่ที่ 17.5ms


x264 HD BENCHMARK 3.0 ในส่วนของการทดสอบการถอดรหัสไฟล์วิดีโอความละเอียด 720p จะได้ค่าดังต่อไปนี้

encoded 1442 frames, 43.67 fps, 3900.68 kb/s
encoded 1442 frames, 43.87 fps, 3900.68 kb/s
encoded 1442 frames, 43.90 fps, 3900.68 kb/s
encoded 1442 frames, 43.67 fps, 3901.21 kb/s
encoded 1442 frames, 12.22 fps, 3970.67 kb/s
encoded 1442 frames, 12.24 fps, 3971.75 kb/s
encoded 1442 frames, 12.11 fps, 3971.85 kb/s
encoded 1442 frames, 12.24 fps, 3970.49 kb/s


Windows 7 Score


สำหรับการทดสอบการใช้งานโปรแกรมตกแต่งภาพและตัดต่อวิดีโอในชุด Adobe Master Collection CS5 ด้วยการเปิด Hardware Accelerated พบว่าสามารถทำงานได้ค่อนข้างลื่นไหลมาก การโหลดรูปจากไฟล์ RAW ทำได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงการตัดต่อวิดีโอผ่านโปรแกรม Premiere และตกแต่งวิดีโอผ่าน After Effect ก็ทำได้ค่อนข้างลื่นไหล

Games Benchmark

คงเป็นส่วนการทดสอบที่ขาดไม่ได้สำหรับโน้ตบุ๊กในกลุ่มเกมเมอร์ นั่นก็คือการทดสอบประสิทธิภาพในการเล่นเกม โดยเกมที่ใช้ทดสอบจะมีอยู่ด้วยกันทั้งสิ้น 6 เกมดังต่อไปนี้


Call of Duty Black Ops (DX9) ทดสอบที่ความละเอียดหน้าจอ 1,366x768 พิกเซล เปิดออปชันกราฟิกสูงสุดทั้งหมด พร้อมเปิด Anti-Aliasing 4X และ Number of Corpses เป็น Large Scale โดยคะแนนเฟรมเรทเฉลี่ยที่ได้จะอยู่ที่ประมาณ 53 เฟรมต่อวินาที


Final Fantasy XIV Benchmark (DX9) สำหรับการทดสอบเกมนี้จะแบ่งเป็น 2 การทดสอบคือเปิดและปิด TDE+ ซึ่งผลการทดสอบที่ได้สำหรับการปิด TDE จะได้คะแนนอยู่ที่ 2,748 คะแนน และเมื่อเปิด TDE จะได้คะแนนอยู่ที่ 2,943 คะแนน


Resident Evil 5 (DX10) ทดสอบที่ความละเอียดหน้าจอ 1,360x766 พิกเซล เปิดออปชันกราฟิกสูงสุดทั้งหมด พร้อมเปิด Motion Blur แต่ปิด Anti-Aliasing โดยคะแนนเฟรมเรทที่ได้เมื่อปิด TDE+ จะอยู่ที่ 88.1 เฟรมต่อวินาที แต่เมื่อเปิดTDE+ จะได้คะแนนเฟรมเรทอยู่ที่ 86.3 เฟรมต่อวินาที


Heaven Benchmark (DX11) ทดสอบที่ความละเอียดหน้าจอ 1,366x768 พิกเซล, Sahders = High, Tessellation = Normal และ Anisotropy ที่ 4 โดยผลการทดสอบสำหรับการปิด TDE+ จะอยู่ที่ 21.4 เฟรมต่อวินาที และเมื่อเปิด TDE+ จะอยู่ที่ 22 เฟรมต่อวินาที


DiRT 2 (DX11) ทดสอบที่ความละเอียดหน้าจอ 1,366x768 เปิดออปชันกราฟิกทุกอย่างเป็น Ultra High พร้อม Multisampling 4x โดยผลการทดสอบคะแนนเฟรมเรทที่ได้จะอยู่ที่ 48.3 เฟรมต่อวินาที


STALKER Call of Pripyat (DX11)

สรุป



สำหรับ MSI GX660 ถือเป็นโน้ตบุ๊กเกมเมอร์ประสิทธิภาพสูงอีกหนึ่งตัวที่มาพร้อมฟังก์ชันพิเศษที่น่าสนใจอย่าง TDE+, Exclusive Cooler Boost Technology หรือระบบไฟ LED ที่สามารถเปิดสร้างความสวยงามได้ อีกทั้งในส่วนของกราฟิกชิปที่ทาง MSI เลือกใส่มาให้ค่อนข้างสูง ทำให้ GX660 สามารถตอบสนองต่อการเล่นเกมในยุคปัจจุบันได้เป็นอย่างดี และในส่วนของการทำงานด้านกราฟิกและการตัดต่อ GX660 ก็สามารถใช้ทำงานเหล่านั้นได้อย่างลื่นไหลมาก อีกทั้งราคาที่ไม่แรงจนเกินไป (ประมาณ 40,000 บาท) ก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกสำหรับเหล่าเกมเมอร์ที่ชอบใช้งานโน้ตบุ๊กหรือนักแข่งเกมออนไลน์อย่างยิ่ง

แต่ทั้งนี้ใช่ว่า GX660 จะไม่มีข้อสังเกตใดๆ เลยเพราะเนื่องจากเป็นโน้ตบุ๊กในกลุ่มเกมเมอร์ทำให้น้ำหนักค่อนข้างมาก อีกทั้งด้วยขนาดหม้อ Adapter ที่ค่อนข้างใหญ่ อาจทำให้ผู้ใช้ที่ชอบพกพาไปใช้นอกสถานที่บ่อยๆ จะทำได้ค่อนข้างลำบาก

ขอชม
- สเปกกราฟิกชิปสูง สามารถเล่นเกมในปัจจุบันทั้งหมด
- ฟังก์ชัน TDE+, Exclusive Cooler Boost Technology น่าสนใจและสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ลำโพงเสียงดังกังวาล และมีมิติ
- สามารถอัปเกรดฮาร์ดไดร์ฟและแรมเพิ่มเติมได้ โดยในส่วนของฮาร์ดไดร์ฟรองรับระบบการเชื่อมต่อ Raid 0
- เมื่อใช้งานเครื่องแบบ Full Load ความร้อนที่เกิดบริเวณคีย์บอร์ดและ Touch Pad จะไม่มากนัก

ขอติ
- น้ำหนักมาก Adapter ค่อนข้างใหญ่
- พัดลมระบายความร้อนเมื่อเพิ่มรอบให้สูง จะมีเสียงดังมาก
- การออกแบบช่องระบายความร้อนอยู่ด้านซ้ายมือ ทำให้ผู้ถนัดเมาส์ซ้ายอาจมีปัญหาเรื่องความร้อนที่ปล่อยออกมา
- เมื่อเปิดเสียงดังมากๆ ลำโพงอาจมีอาการเสียงแตกบ้าง



Company Related Links :
MSI










กำลังโหลดความคิดเห็น