ช่วงนี้ไม่ว่าหันไปทางไหนก็หนีไม่พ้นกระแสหน่วยประมวลผลหรือซีพียูตระกูล Sandy Bridge ในกลุ่มโน้ตบุ๊ก ที่กำลังเป็นที่สนใจของตลาดระดับคอนซูมเมอร์อย่างมาก เพราะด้วยประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการปรับปรุงเรื่องการจัดสรรพลังงานในตัวหน่วยประมวลผลให้ดีและประหยัดไฟมากขึ้น โดยทีมงานผู้จัดการไซเบอร์ก็ได้ทำการรีวิวโน้ตบุ๊กในกลุ่ม Sandy Bridge ไปบ้างพอสมควรแล้ว ทำให้วันนี้ทางทีมงานจึงขอพาท่านผู้อ่านไปทดสอบซีพียู Sandy Bridge ในกลุ่มเดสก์ท็อปพีซีกันบ้างว่าจะมีความโดดเด่นและความแรงอยู่ในระดับไหน
โดยซีพียู Sandy Bridge ที่ทางทีมงานผู้จัดการไซเบอร์ได้รับมาวันนี้จะมี 2 ตัวได้แก่ Core i5 2500K และ i7 2600K ซึ่งซีพียูทั้ง 2 ตัวจะรองรับกับ Socket 1155 แบบใหม่จากอินเทล (ไม่สามารถใช้กับ Socket 1156 หรือรุ่นก่อนหน้าได้) อีกทั้งซีพียูทั้ง 2 ตัวยังมาพร้อมรหัส K ห้อยท้าย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าซีพียูทั้ง 2 ตัวเป็นซีพียูไม่ล็อคตัวคูณ (CPU Clock Ratio) ทำให้ความสามารถในการโอเวอร์คล็อกทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ในส่วนของสเปกซีพียู สำหรับตัวแรก Core i5 2500K จะมีความเร็วอยู่ที่ 3.30GHz แต่เมื่อเปิดใช้เทคโนโลยี Intel Turbo Boost 2.0 จะสามารถดันความเร็วไปอยู่ที่ 3.7GHz ได้ โดยในส่วนของชุดคำสั่งที่รองรับได้แก่ MMX, SSE (1-4), EM64T, VT-x, AES และ AVX ในส่วน L3 Cache จะมีขนาด 6MB 12-way และสุดท้ายจำนวนคอร์ทำงานจะอยู่ที่ 4 คอร์ 4 Threads
มาที่ตัวที่ 2 Core i7 2600K จะมีความเร็วอยู่ที่ 3.4GHz แต่เมื่อเปิดใช้เทคโนโลยี Intel Turbo Boost 2.0 จะสามารถดันความเร็วไปอยู่ที่ 3.8GHz โดยในส่วนของชุดคำสั่งที่รองรับได้แก่ MMX, SSE (1-4), EM64T, VT-x, AES และ AVX ในส่วน L3 จะมีขนาด 8MB 16-way และสุดท้ายจำนวนคอร์ทำงานจะอยู่ที่ 4 คอร์ 8 Threads
อุปกรณ์ร่วมทดสอบอื่นๆ
Intel SSD MAEMC080G2 ขนาด 80GB ซึ่งเป็นฮาร์ดไดร์ฟ SSD ตัวล่าสุดจากอินเทลที่รองรับการเชื่อมต่อพอร์ต SATA III 6.0Gbps ทำให้ความเร็วในการอ่าน-เขียนจะสูงมากถึง 202.9 MB ต่อวินาที ที่อัตรา Random access แค่ 0.1ms เท่านั้น
Mainboard GIGABYTE P67A-UD4 และ Intel Desktop Board DH67BL โดย GIGABYTE P67A-UD4 เป็นเมนบอร์ดที่ทางทีมงานจะไว้ใช้ทดสอบในส่วนของการรีดประสิทธิภาพของซีพียูเป็นหลัก ซึ่งจุดเด่นของเมนบอร์ดรุ่นนี้ที่ทางทีมงานเลือกมาใช้เป็นหนึ่งในอุปกรณ์ทดสอบเพราะ ตัวเมนบอร์ดรองรับกับซีพียูจากอินเทลที่ลงท้ายด้วย K ได้อย่างดี อีกทั้งชิปควบคุม SATA ยังเป็นเวอร์ชัน 3 ส่วน Intel Desktop Board DH67BL จะเป็นเมนบอร์ดที่ทางทีมงานไว้ใช้ทดสอบประสิทธิภาพคู่กับกราฟิกชิป Intel HD Graphics 3000 บนซีพียู Core i ทั้ง 2 รุ่นเป็นหลัก
Intel Thermal Solution XTS100H เป็นพัดลมและฮีทซิงค์ระบายความร้อนจากซีพียูที่ทางอินเทลจัดเตรียมมาให้ ซึ่งผู้ใช้ที่มีเมนบอร์ด LGA-1156 พัดลมระบายความและฮีทซิงค์ตัวนี้จะสามารถใช้งานร่วมกันได้อย่างไม่มีปัญหา
Graphics Card : AMD Radeon HD 5870 1GB GDDR5 with Catalyst Software Suite 11.2, RAM: G.Skill Trident DDR3 4GB, Power Supply: Tagan Bz Series 700W และ Windows 7 Ultimate x64
ทดสอบประสิทธิภาพ Intel Core i5 2500K และ i7 2600K
Overclock Intel Core i5 2500K และ i7 2600K
สำหรับการทดสอบประสิทธิภาพด้านโอเวอร์คล็อกเพื่อจะได้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของซีพียูตระกูล K จากอินเทล โดยวิธีการทำคือ อย่างแรกทีมงานได้เพิ่มความเร็วบัสของแรมจาก 1,333MHz ให้เข้าสู่โปรไฟล์ XMP (Extreme Memory Profiles) ที่ความเร็ว 1,600MHz บนค่า CL 8-8-8-24 จากนั้นทดสอบปรับหาแรงดันไฟไปที่ 1.410V และปรับตัวคูณไปที่ 46X ส่วนความเร็วบัสระบบจะทอนจาก 100MHz เหลือ 99.8MHz (ถ้าตั้งเป็น Manual และปรับเป็น 100MHz เครื่องจะค้าง) ซึ่งความเร็วที่ทีมงานสามารถทดสอบผ่านจะอยู่ที่ 4.589GHz ทั้ง 2 ซีพียู ส่วนผลคะแนนที่ได้หลังจากผ่านการโอเวอร์คล็อกเทียบกับผลคะแนนมาตรฐานจะได้ผลดังต่อไปนี้
x264 HD BENCHMARK 3.0 ในส่วนของการทดสอบการถอดรหัสไฟล์วิดีโอความละเอียด 720p จะได้ค่าดังต่อไปนี้
Intel Core i5 2500K 3.30GHz
encoded 1442 frames, 97.05 fps, 3900.68 kb/s
encoded 1442 frames, 97.92 fps, 3900.68 kb/s
encoded 1442 frames, 97.93 fps, 3900.68 kb/s
encoded 1442 frames, 98.32 fps, 3900.68 kb/s
encoded 1442 frames, 28.98 fps, 3966.89 kb/s
encoded 1442 frames, 29.09 fps, 3970.77 kb/s
encoded 1442 frames, 29.10 fps, 3971.26 kb/s
encoded 1442 frames, 29.04 fps, 3970.95 kb/s
Intel Core i7 2600K 3.40GHz
encoded 1442 frames, 88.34 fps, 3899.02 kb/s
encoded 1442 frames, 89.57 fps, 3899.02 kb/s
encoded 1442 frames, 91.46 fps, 3899.02 kb/s
encoded 1442 frames, 93.07 fps, 3899.02 kb/s
encoded 1442 frames, 35.52 fps, 3965.30 kb/s
encoded 1442 frames, 35.41 fps, 3966.24 kb/s
encoded 1442 frames, 35.62 fps, 3954.15 kb/s
encoded 1442 frames, 35.54 fps, 3966.56 kb/s
หลังจากทีมงานทดสอบประสิทธิภาพของซีพียูทั้ง 2 ตัวรวมถึงการทดสอบโอเวอร์คล็อกเพื่อตอบโจทย์ซีพียูตระกูล K พบว่าตัวซีพียูมีประสิทธิภาพที่ดี ความร้อนไม่สูงมากเพราะใช้เทคโนโลยีนาโนเมตรที่เล็กลง ทำให้การดันความเร็วมากกว่าค่ามาตราฐานสามารถทำได้ง่ายแม้จะใช้ซิงค์ลมธรรมดาๆ ซึ่งนับว่าน่าพอใจอย่างยิ่งสำหรับขาโอเวอร์คล็อกทั้งหลาย
ทดสอบประสิทธิภาพ Intel HD Graphics 3000
ในส่วนการทดสอบกราฟิกชิปบน Die ซีพียูตัวล่าสุดที่มาพร้อมกับ Sandy Bridge อย่าง Intel HD Graphics 3000 โดยทางทีมงานได้ทำการทดสอบร่วมกับเมนบอร์ด Intel Desktop Board DH67BL เพียวๆ พร้อมแรม G.Skill Trident DDR3 4GB และ SSD จาก Intel ที่ต่อเข้าพอร์ต SATA III 6Gbps ดังภาพประกอบด้านล่าง
โดยค่าความเร็วของชุดทดสอบนี้จะถูกตั้งไว้ตามมาตรฐานจากอินเทลและเปิดใช้งานเทคโนโลยี Turbo Boost 2.0 ควบคู่กับการทดสอบทั้งหมดด้วย
Programs Benchmark
3DMark 06 - Core i5 2500K
3DMark 06 - Core i7 2600K
3DMark 06 คะแนนทดสอบที่ได้สำหรับ Core i5 2500K คือ 4,220 คะแนนโดยแบ่งเป็นคะแนน Shader Model 2 = 1,372 คะแนน, HDR/Shader Model 3 = 1,624 คะแนน ส่วนคะแนนประมวลผลซีพียูจะอยู่ที่ 6,004 คะแนน
ส่วน Core i7 2600K คือ 5,047 คะแนนโดยแบ่งเป็นคะแนน Shader Model 2 = 1,653 คะแนน, HDR/Shader Model 3 = 1,943 คะแนน ส่วนคะแนนประมวลผลซีพียูจะอยู่ที่ 6,642 คะแนน
3DMark Vantage - Core i5 2500K
3DMark Vantage - Core i7 2600K
3DMark Vantage คะแนนทดสอบที่ได้สำหรับ Core i5 2500K คือ 1,708 คะแนนโดยแบ่งเป็นคะแนน GPU Score = 1,341 คะแนน และคะแนน CPU Score = 17,223 คะแนน
ส่วน Core i7 2600K คือ 3,179 คะแนนโดยแบ่งเป็นคะแนน GPU Score = 1,673 คะแนน และคะแนน CPU Score = 23,484 คะแนน
3DMark Vantage - Core i5 2500K
3DMark Vantage - Core i7 2600K
Intel QuickSync Video with Intel HD Graphics 3000 Test มาที่การทดสอบในส่วนของการแปลงไฟล์วิดีโอความละเอียดสูง 1080p (ความยาว 9 นาที) จากฟอร์แม็ต MP4 H.264 ไปสู่ฟอร์แม็ต MP4 สำหรับ iPad โดยเปิดใช้คุณสมบัติ Intel QuickSync Video ใน Sandy Bridge ซึ่งผลที่ได้ ซีพียูทั้ง 2 ตัวใช้เวลาแปลงไฟล์เท่ากันคือ 2.56 นาที
Games Benchmark
Call of Duty Black Ops สำหรับเกมนี้ ทางทีมงานได้ตั้งความละเอียดของกราฟิกเป็นแบบตั้งค่าอัตโนมัติตามประสิทธิภาพเครื่อง โดยใช้ความละเอียดของหน้าจอเพียง 1024x768 พิกเซล ซึ่งสำหรับค่าเฟรมเรทที่ทดสอบได้สำหรับซีพียู Core i5 2500K จะอยู่ที่ 33fps ส่วน Core i7 2600K จะอยู่ที่ 35fps โดยค่าเฟรมเรททั้งหมดที่ได้ถือว่าสามารถเล่นเกมนี้ได้ดีระดับหนึ่ง ส่วนในเรื่องคุณภาพของกราฟิกถือว่าต่ำติดดินเลยทีเดียว
Final Fantasy XIV Online Benchmark ในส่วนเกมออนไลน์ฟอร์มยักษ์ กราฟิกงดงามเกมนี้ทีมงานได้ตั้งความละเอียดหน้าจอไว้ที่ 720p โดยคุณภาพกราฟิกตัวเกมจะเป็นผู้กำหนดเอง และคะแนนทดสอบที่ได้จากซีพียูทั้ง 2 ตัวคือ Core i5 2500K จะอยู่ที่ 690 คะแนน ส่วน Core i7 2600K จะอยู่ที่ 826 คะแนน ซึ่งถือว่าต่ำเกินจะเล่นได้
Resident Evil 5 - DirectX 10 สำหรับเกมนี้ทางทีมงานได้ตั้งค่ากราฟิกในส่วน Shadow Detail และ Overall Quality ไว้ที่ High ส่วน Texture Details ไว้ที่ Low และปิด Motion Blur ที่ความละเอียดหน้าจอ 720p โดยคะแนนเฟรมเรทที่ได้จากซีพียูทั้ง 2 ตัวคือ Core i5 2500K จะอยู่ที่ 30.5fps ส่วน Core i7 2600K จะอยู่ที่ 36.4fps ซึ่งถือว่าสามารถเล่นได้อย่างไม่มีปัญหา
Street Fighter 4 มาที่เกมสุดท้าย ซึ่งเป็นเกมแนว Fighting เน้นความไวเป็นหลัก โดยทีมงานได้ตั้งค่ากราฟิกไว้ที่ระดับกลางๆ ที่ความละเอียดหน้าจอ 720p โดยคะแนนเฟรมเรทที่ได้จากซีพียูทั้ง 2 ตัวคือ Core i5 2500K จะอยู่ที่ 40fps ส่วน Core i7 2600K จะอยู่ที่ 46fps
สรุป
สำหรับซีพียูอินเทล Sandy Bridge ทั้ง 2 รุ่น ได้แก่ Core i5 2500K และ i7 2600K ที่ทีมงานได้รับมาทดสอบนี้ อย่างแรกต้องยอมรับในเรื่องประสิทธิภาพและเทคโนโลยีก่อนครับว่า มีการพัฒนาไปในทางที่ดีมาก เพราะไม่ว่าจะเป็นในส่วนของชุดคำสั่งที่เพิ่มเข้ามาใหม่อย่าง Intel Advanced Vector Extensions, InTru 3D, ClearVideo, Quick Sync Video หรือ Wireless Display 2.0 รวมถึงการปรับนาโนเมตรให้เล็กลงทำให้ความร้อนต่ำลงมาก ล้วนนับว่าสามารถเสริมประสิทธิภาพในการทำงานของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งด้วยความที่ซีพียูทั้ง 2 รุ่นแนบท้ายตระกูล K มาให้และตั้งราคาเพดานเปิดตัวไม่สูงเหมือนซีพียูตระกูล K ยุคก่อน ทำให้ผู้ใช้ที่สนใจเรื่องการโอเวอร์คล็อกหรือผู้ใช้ที่ชอบรีดเค้นความแรงซีพียูสามารถจับต้องได้
ในส่วนของกราฟิกชิปบน Die เดียวกับซีพียูที่ถือเป็นไม้ตายสำคัญของซีพียูตระกูล Sandy Bridge และหลายท่านได้เห็นประสิทธิภาพการประมวลผล 3 มิติในกลุ่มโน้ตบุ๊กที่ไม่ค่อยน่าประทับใจนัก แต่สำหรับในกลุ่มเดสก์ท็อปพีซี Intel HD Graphics 3000 กลับมีประสิทธิภาพที่ใช้ได้ สามารถตอบสนองเหล่าบรรดาเกมเมอร์ที่งบไม่มากได้ดีระดับหนึ่ง ดังจะเห็นได้จากผลการทดสอบเกม 3 มิติของซีพียูทั้ง 2 รุ่นควบคู่กับเมนบอร์ด Intel Desktop Board DH67BL ที่สามารถสรุปได้ว่าความเร็วของตัวซีพียูก็มีผลกับเรื่องการประมวลผลของ iGFX เช่นกันโดยถ้าซีพียูยิ่งเร็ว จำนวนคอร์ยิ่งมาก ความเร็วและคะแนนในการประมวลกราฟิกรวมถึงความลื่นไหลก็จะมากตามไปด้วย และนอกจากนั้นในส่วนของระบบ Intel Quick Sync Video ที่ทางอินเทลพัฒนาออกมาได้ค่อนข้างดีพอสมควร เพราะช่วยให้การแปลงไฟล์วิดีโอเป็นรูปแบบไฟล์ต่างๆ ทำได้อย่างรวดเร็วขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องพึ่ง GPU accelerated จากแบรนด์กราฟิกการ์ดแต่อย่างใด
แต่ทั้งนี้ก็ใช่ว่าซีพียูตระกูลใหม่นี้จะไม่มีข้อสังเกตใดๆ เลย เพราะถ้าดูให้ดดีแล้ว การจะใช้งานซีพียูตระกูลใหม่นี้จำเป็นต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่ เพราะ Socket มีการเปลี่ยนแปลงจาก 1156 เป็น 1155 ขา ทั้งที่ความจริงแล้วสถาปัตยกรรมหลายๆ ส่วนในตัวซีพียู Sandy Bridge ก็ไม่ต่างอะไรกับตัวเก่ามากนัก
ราคา
Intel Core i5 2500K 3.30 GHz = 7,150 บาท
Intel Core i7 2600K 3.40 GHz = 10,390 บาท
ขอชม
- ประสิทธิภาพและเทคโนโลยีมีการปรับปรุงและพัฒนาต่อยอดให้ดียิ่งขึ้น
- ฮีทซิงค์ระบายความร้อนสามารถนำขา 1156 มาใส่ได้
- Intel HD Graphics 3000 มีประสิทธิภาพที่ดีระดับหนึ่ง
- ซีพียูทั้ง 2 รุ่นไม่ล็อคตัวคูณ ทำให้การเพิ่มความแรง (Overclock) ทำได้ง่ายขึ้น
ขอติ
- Socket เปลี่ยนเป็น 1155 ทำให้ผู้ใช้ Core i รุ่นแรกที่เพิ่งออกมาไม่นานต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่
Company Related Links :
Intel