xs
xsm
sm
md
lg

Review : ASUS Sabertooth Z77 มาเธอร์บอร์ดสุดแกร่ง ฟีเจอร์เพียบ!

เผยแพร่:   โดย: MGR Online




การออกแบบและสเปก



สำหรับเมนบอร์ด Sabertooth Z77 จะเป็นบอร์ด ATX ที่จัดอยู่ในซีรีย์ The Ultimate Force ของเอซุส โดยตัวบอร์ดมีขนาด 30.5 เซนติเมตร x 24.4 เซนติเมตร รองรับซีพียู Ivy/Sandy Bridge 22 และ 32 นาโนเมตร (Socket 1155)

ซึ่งในส่วนการออกแบบ Sabertooth ในทุกรุ่นจะเน้นในเรื่องความแข็งแรง ดุดัน และเหมาะแก่ผู้ใช้พีซีที่เน้นการใช้งานฮาร์ดคอร์ เช่น โอเวอร์คล็อกหรือใช้ทำ Testbed เป็นหลัก เพราะด้วยการออกแบบบอร์ดจะถูกคลุมด้วย Dust Defender และ ESD Guards แทบทั้งหมด ซึ่งแน่นอนว่านอกจากช่วยป้องกันฝุ่นละอองเข้าสล็อต PCI สำหรับขา Testbed แล้ว ยังช่วยเรื่องการป้องกันสายไฟตกไปสัมผัสกับขั้วไฟฟ้าบนบอร์ดได้อย่างดี



นอกจากนั้นในตัวบอร์ด Sabertooth Z77 ยังได้รับการออกแบบการระบายความร้อนใหม่บนเทคโนโลยี Thermal Armor ที่จะมาพร้อมพัดลมดูดและคลายอากาศออก 2 ตัว ซึ่งช่วยในการกระจายและถ่ายเทอากาศภายในบอร์ดทำให้ความร้อนลดลง พร้อมบรรจุ Thermal Radar สำหรับใช้ตรวจเช็คอุณหภูมิภายในมาเธอร์บอร์ดได้แบบเรียลไทม์



มาที่รายละเอียดของพอร์ตและ Socket ต่างๆ รอบตัวบอร์ดเริ่มจากช่องใส่แรม จะให้มา 4 ช่อง แบบ Dual Channel รองรับความจุสูงสุด 32GB ในรูปแบบ DDR3 1866/1600/1333 MHz และสามารถใช้ร่วมกับแรมที่มาพร้อม Intel Extreme Memory Profile (XMP) ได้




ในส่วน Slot PCI ที่ให้มา จะแบ่งเป็น PCI Express x16 3 สล็อต PCI Express x1 อีัก 3 สล็อต รองรับ SLI และ CrossFireX ในส่วนพอร์ตเชื่อมต่อไปยังพอร์ต USB แยกภายนอก จะแบ่งเป็น USB 3.0 และ USB 2.0 รวมกับประมาณ 8 พอร์ต



และในส่วนพอร์ตเชื่อมต่อ SATA จะแบ่งเป็น SATA 6Gb/s จำนวน 4 พอร์ต และ SATA 3Gb/s จำนวน 4 พอร์ต พร้อมส่วนเชื่อมต่อ Front panel audio connector (AAFP) อีก 1 พอร์ต



สุดท้ายมาที่พอร์ตเชื่อมต่อด้านหลังมาเธอร์บอร์ด จะแบ่งเป็น USB 2.0 จำนวน 4 พอร์ต ถัดมาจะเป็น USB BIOS Flashback Button สำหรับอัปเดตหรือเรียกคืนค่าตั้งต้นของไบออสกรณีเครื่องมีปัญหาเนื่องจากการปรับแต่งไบออส ซึ่งจะรองรับ Bios Backup File จากแฟลชไดร์วด้วย

มาที่พอร์ต USB สีน้ำเงินจำนวน 4 พอร์ตจะเป็นพอร์ต USB 3.0 ถัดลงมาที่พอร์ตสีแดงคือ eSATA 6Gb/s จำนวน 2 พอร์ต ถัดไปจะเป็น Optical S/PDIF out และพอร์ต HDMI กับ DisplayPort อย่างละ 1 พอร์ต

ต่อมาจะเป็นพอร์ตแลน RJ45 และส่วนของ Audio Jack จำนวน 6 พอร์ต รองรับระบบเสียง Multi Channel

สำหรับสเปก ASUS Sabertooth Z77 สามารถรับชมเพิ่มเติมได้โดย>>คลิกที่นี่<<

ซอฟต์แวร์ฟีเจอร์



ASUS Thermal Radar เนื่องจากมาเธอร์บอร์ดรุ่นนี้มีการฝังเซ็นเซอร์ตรวจจับอุณหภูมิไว้ประมาณ 12 จุด ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้ซอฟต์แวร์ Thermal Radar ในการตรวจดูอุณหภูมิแบบเรียลไทม์ได้ค่อนข้างละเอียดไล่ตั้งแต่ ซีพียู iGPU ไปถึงพอร์ต PCI-Express รวมถึงสามารถตรวจรอบพัดลม กระแสในจุดต่างๆ ได้อย่างละเอียด




Ai Charger+ เป็นฟีเจอร์ที่ช่วยให้พอร์ต USB 3.0 สามารถชาร์จพลังงานให้แก่ iOS Device และ Mobile Device ต่างๆ ได้รวดเร็วขึ้นกว่าชาร์จปกติ 3 เท่า

อีกทั้งยังมาพร้อมฟีเจอร์ USB Charger+ ที่ช่วยจ่ายพลังงานมาให้พอร์ต USB ถึงแม้จะสั่ง ShutDown หรือ Hibernate ไปแล้วก็ตาม



DIGI+ Power Control เป็นฟีเจอร์ที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถปรับแต่งแรงดันไฟเลี้ยงต่างๆ ได้ตามต้องการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่มาเธอร์บอร์ดในการโอเวอร์คล็อก รวมถึงสามารถเปิด Smart DIGI+ เพื่อให้คอมพิวเตอร์เลือกจัดสรรพลังงานได้เอง



Network iControl เป็นฟีเจอร์ที่ช่วยปรับความเสถียรของระบบ Ethernet รวมถึงลดอาการดีเลย์ของสัญญาณเมื่อต้องเชื่อมต่อวงแลนเพื่อเล่นหรือแข่งขันเกมกับเพื่อนๆ



TurboV EVO เป็นฟีเจอร์สำหรับโอเวอร์คล็อกความเร็วสัญญาณนาฬิกา รวมถึงปรับแต่งแรงดันไฟต่างๆ



USB 3.0 Boost เป็นฟีเจอร์ที่ช่วยเพิ่มความเร็วในการคัดลอกไฟล์จาก USB 3.0 ให้เพิ่มขึ้น เช่น จากภาพประกอบด้านบนจะเห็นว่าปกติความเร็วในการคัดลอกไฟล์จะอยู่ที่ประมาณ 60-65 Mb/s แต่เมื่อเปิดฟีเจอร์นี้จะได้ความเร็วเพิ่มเป็น 72.5MB/s ทันที



LucidLogix Virtu MVP เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำงานคู่กับ Chipset Z77 และ Chipset Z68/H67/H61 โดยจะทำหน้าที่ในการดึงประสิทธิภาพระหว่างกราฟิก iGPU และการ์ตจอแยกให้ทำงานสอดประสานกัน เพื่อเพิ่มจำนวนเฟรมเรตและความลื่นไหลของภาพให้มากขึ้นผ่านระบบ HyperFormance



ตัวอย่างการทำงานของ LucidLogix Virtu MVP ช่วยอะไรได้บ้าง?

นอกจากนั้นระบบ Virtu MVP ยังช่วยในการสร้างระบบ Virtual VSync เพื่อลดอากาศภาพกระพริบระหว่างเล่นเกม ในขณะที่เฟรมเรตของเกมจะไม่ตกมาเหมือนใช้การ์ดจอตัวเดียว



UEFI Bios ไบออสแบบ UEFI จะรองรับเมาส์ทำให้การปรับแต่งค่าใช้งานทำได้ง่ายขึ้น และยังมาพร้อมหน้าไบออสแบบกราฟิก (GUI - Graphic User Interface)ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าใจคำสั่งต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

ทดสอบประสิทธิภาพ

สำหรับชุดทดสอบที่ใช้ในครั้งนี้จะประกอบด้วย

CPU: Intel Core i7 3770K 3.50GHz @ 4.4GHz
Mainboard: ASUS Sabertooth Z77
RAM: G.Skill Trident 4GB Dual (2x2GB)
VGA: Intel HD Graphics 4000 / ASUS NVIDIA Geforce GTX570 DirectCUII
HDD: Intel SSD 510 250GB
PSU: Tagan BZ Series 700W
Monitor: LG 1080p




เนื่องจากมาเธอร์บอร์ด ASUS Sabertooth Z77 มาพร้อมฟีเจอร์ LucidLogix Virtu MVP ทำให้การทดสอบต่อจากนี้ทั้งหมดจะแบ่งเป็น 2 รูปแบบได้แก่ เปิด MVP และปิด MVP พร้อมโอเวอร์คล็อกความเร็วเป็น 4.4GHz เพื่อเน้นรีดเค้นพลังจากบอร์ด Sabertooth Z77 ให้มากที่สุด เพื่อตอบจุดประสงต์ของบอร์ดที่เน้นสาวกฮาร์ดคอร์เป็นหลัก



ก่อนจะเข้าสู่การทดสอบแบบเต็มประสิทธิภาพ ลองมาทดสอบประสิทธิภาพโดยรวมกันก่อนกับตัวทดสอบแรก PCMark 7 จะทำคะแนนรวมได้ 5,977 คะแนน แบ่งเป็น Lightweight Score = 5,772 คะแนน Productivity Score = 5,825 คะแนน Creativity Score = 5,901 คะแนน Entertainment Score = 5,893 คะแนน Computation Score = 6,776 คะแนน System Storage Score = 5,164 คะแนน


Cinebench R11.5 x64 ในส่วนของการทดสอบด้วยการให้ซีพียูวาดภาพ 3 มิติผลคะแนนที่ได้คือ ในการใช้ซีพียูวาดคะแนนจะอยู่ที่ 8.72pts ส่วนกราฟิกแบบ OpenGL จะอยู่ที่ 66.30fps


คะแนน HyperPi

Hardcore Performance Test / Enable-Disable Virtu MVP


3DMark 06 - Enable Virtu MVP คะแนนทดสอบที่ได้คือ 33,712 คะแนนโดยแบ่งเป็นคะแนน Shader Model 2 = 12,307 คะแนน, HDR/Shader Model 3 = 17,606 คะแนน ส่วนคะแนนประมวลผลซีพียูจะอยู่ที่ 8,658 คะแนน ที่ความละเอียด 1,280x768 พิกเซล


3DMark 06 - Disable Virtu MVP คะแนนทดสอบที่ได้คือ 31,922 คะแนนโดยแบ่งเป็นคะแนน Shader Model 2 = 12,297 คะแนน, HDR/Shader Model 3 = 15,553 คะแนน ส่วนคะแนนประมวลผลซีพียูจะอยู่ที่ 8,683 คะแนน ที่ความละเอียด 1,280x768 พิกเซล


3DMark Vantage - Enable Virtu MVP สำหรับคะแนนทดสอบโดยรวม โปรแกรมไม่สามารถคำนวณได้ เนื่องจากการทดสอบบางขั้นตอนทำไม่สำเร็จ แต่เราก็สามารถดูจากค่าคะแนนเฟรมเรตได้ ซึ่งจากภาพจะเห็นว่าคะแนน GPU Test 1 จะอยู่ที่ 154.45fps GPU Test 2 อยู่ที่ 243.56fps


3DMark Vantage - Disable Virtu MVP สำหรับคะแนนทดสอบโดยรวม โปรแกรมไม่สามารถคำนวณได้ เนื่องจากการทดสอบบางขั้นตอนทำไม่สำเร็จ แต่เราก็สามารถดูจากค่าคะแนนเฟรมเรตได้ ซึ่งจากภาพจะเห็นว่าคะแนน GPU Test 1 จะอยู่ที่ 90.29fps GPU Test 2 อยู่ที่ 93.03fps


3DMark 11 - Enable Virtu MVP จะได้คะแนนรวมอยู่ที่ 8,416 คะแนน


3DMark 11 - Disable Virtu MVP จะได้คะแนนรวมอยู่ที่ 6,186 คะแนน



Heaven Benchmark - Enable Virtu MVP ทำคะแนนอยู่ที่ 1,416 คะแนน ที่คะแนนเฟรมเรตเฉลี่ยที่ 56.2fps ที่ความละเอียด 1080p DirectX 11


Heaven Benchmark - Disable Virtu MVP ทำคะแนนอยู่ที่ 1,260 คะแนน ที่คะแนนเฟรมเรตเฉลี่ยที่ 50fps ที่ความละเอียด 1080p DirectX 11


Lost Planet 2 Test B - Enable Virtu MVP ทำคะแนนเฟรมเรตอยู่ที่ 57.8fps ที่ความละเอียด 1080p DirectX 11


Lost Planet 2 Test B - Disable Virtu MVP ทำคะแนนเฟรมเรตอยู่ที่ 49.1fps ที่ความละเอียด 1080p DirectX 11



Resident Evil 5 - Enable Virtu MVP ทำคะแนนเฟรมเรตอยู่ที่ 255.5fps ที่ความละเอียด 1080p DirectX 10


Resident Evil 5 - Disable Virtu MVP ทำคะแนนเฟรมเรตอยู่ที่ 161.2fps ที่ความละเอียด 1080p DirectX 10


Street Fighter 4 - Enable Virtu MVP ทำคะแนนเฟรมเรตอยู่ที่ 556.25fps ที่ความละเอียด 1080p DirectX 9.0c


Street Fighter 4 - Disable Virtu MVP ทำคะแนนเฟรมเรตอยู่ที่ 316.20fps ที่ความละเอียด 1080p DirectX 9.0c

Lucid Virtu Multitasking Test with ASUS Sabertooth Z77

Lucid Virtu Multitasking Test with ASUS Sabertooth Z77 from CyberBiz MGR on Vimeo.



โดยจากผลการทดสอบจะเห็นว่าถ้าดูจากคะแนน Virtu MVP มีส่วนช่วยให้เกมทำงานได้ดีและประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นมาก แต่ถ้าดูจากการใช้งานจริงระบบ Virtu MVP อาจทำให้บางเกมไม่สามารถรันได้ปกติ และในบางเกมอาจทำให้เกิดอาการหน่วงระหว่างการเล่นเกม ถึงแม้เฟรมเรตที่ได้จะสูงก็ตาม ซึ่งปัญหาเหล่านี้น่าจะมาจากไดร์วเวอร์ Virtu MVP ที่ต้องรอการอัปเดตให้รองรับเกมใหม่ๆ ในอนาคต

สรุป

ASUS Sabertooth Z77 ถือเป็นมาเธอร์บอร์ดที่ยังคงความโดดเด่นในเรื่องการออกแบบ ความแข็งแรง และเรื่องความเย็นเหมือนรุ่นก่อนหน้าทั้งหมด เพียงแต่ในรุ่นนี้มีการอัปเกรดฟีเจอร์เพิ่มมากขึ้น ประกอบกับการผนวกกับมาตรฐาน Ivy Bridge ใหม่ที่มาพร้อม USB 3.0 และฟีเจอร์ Intel Rapid Start ในตัว Chipset รวมถึงการมาของฟีเจอร​์ Virtu MVP อย่างสมบูรณ์แบบ ทำให้บอร์ด Sabertooth Z77 ถือเป็นบอร์ด Sabertooth ที่สมบูรณ์แบบที่สุดตั้งแต่เอซุสวางขายมา

ยิ่งประกอบกับราคาเปิดตัวไม่แรงเพียง 8,590 บาท ก็ถือว่าเรียกความสนใจให้แก่ขาฮาร์ดคอร์พีซีหรือเกมมิ่งได้อย่างดี แต่อาจมีข้อสังเกตเล็กๆ ที่เกิดกับ Sabertooth แทบทุกรุ่น ก็คือ สำหรับคนที่ชอบประกอบคอมพ์เป็น Testbed มาเธอร์บอร์ดตัวนี้จะไม่มีการฝังสวิตซ์ปิด-เปิดคอมพิวเตอร์หรือสวิตซ์รีเซ็ทมาให้บนบอร์ด ทำให้ผู้ใช้ที่ไม่นิยมใส่เคส เช่น นักโอเวอร์คล็อกเกอร์ อาจต้องหาสวิตซ์มาเชื่อมต่อใช้งานเอง

Company Related Link :
ASUS



กำลังโหลดความคิดเห็น