- • กิจกรรมเป็นการสร้างประวัติศาสตร์และให้ประสบการณ์พิเศษแก่นักวิ่ง
- • สะพานทศมราชันจะเปิดให้ใช้จริงวันที่ 29 มกราคม 2568
กทพ.สร้างประวัติศาสตร์! รวมพลังมวลชนเดิน-วิ่งลอยฟ้าสะพานทศมราชัน (สะพานพระราม 10) กว่า 1.2 หมื่นคน ร่วมบันทึกความทรงจำโอกาสพิเศษเดียวในชีวิตนักวิ่ง และเตรียมเปิดใช้จริง 29 ม.ค. 68
วันที่ 26 มกราคม 2568 การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) รวมพลังมวลชนสร้างประวัติศาสตร์! กว่า 12,000 คนในกิจกรรมเดิน-วิ่งลอยฟ้า มหกรรมสุขเต็มสิบ บนสะพานทศมราชัน หรือสะพานพระราม 10 แสดงความสามัคคีและเฉลิมฉลองการเปิด “สะพานทศมราชัน” ร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและภาคเอกชน โอกาสครั้งเดียวในการสัมผัส และบันทึกความทรงจำบนสะพานแห่งความภาคภูมิใจของคนไทย ก่อนเปิดใช้งานจริงในวันที่ 29 มกราคม 2568
นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการ กทพ. กล่าวว่า ในนามการทางพิเศษฯ ขอขอบคุณประชาชนคนไทยทั่วประเทศ และชาวต่างชาติทุกท่าน ที่มาร่วมบันทึกความทรงจำในกิจกรรมเดิน-วิ่งลอยฟ้า มหกรรมสุขเต็มสิบ ถือเป็นโอกาสพิเศษเดียวในชีวิตนักวิ่ง กับสะพานทศมราชัน ซึ่งสะพานแห่งนี้ไม่ได้เป็นเพียงเส้นทางสัญจรที่เชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคม แต่ยังเป็นสะพานแห่งพลังใจที่เชื่อมทุกคนสู่ประวัติศาสตร์หน้าใหม่กับมหกรรมสุขเต็มสิบในครั้งนี้
ทั้งนี้ กทพ.ขอขอบคุณหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และพันธมิตรทุกท่าน ตลอดจนทีมงานเบื้องหลังที่ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการจัดกิจกรรมฯ บันทึกความทรงจำ และการสร้างประวัติศาสตร์ในครั้งนี้จนสำเร็จลุล่วงด้วยดี” กิจกรรมเดิน-วิ่งลอยฟ้า "มหกรรมสุขเต็มสิบ" บนสะพานทศมราชัน มีประชาชนจากทั่วประเทศทั้งนักวิ่งมืออาชีพและผู้ที่ต้องการบันทึกความทรงจำร่วมกันในประวัติศาสตร์ของสะพานฯ แห่งนี้ โดยใช้ระยะทางเดิน-วิ่ง รวม 10 กิโลเมตร จุดเริ่มต้นของกิจกรรมตั้งอยู่บนทางขึ้น สะพานทศมราชัน มุ่งหน้าสู่ด่านฯ บางโคล่ 2 โดยบริเวณกลางสะพาน มีพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐานเพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้รับพรและความเป็นสิริมงคล ซึ่งกิจกรรมฯ นี้เปิดโอกาสให้ประชาชนทุกเพศทุกวัยได้สัมผัสประสบการณ์สุดพิเศษ บนสะพานทศมราชัน ซึ่งนับเป็นสัญลักษณ์แห่งความภาคภูมิใจของคนไทย อีกทั้งยังส่งเสริมให้ทุกคนหันมาดูแลสุขภาพผ่านการเดิน-วิ่งอีกด้วย
“สะพานทศมราชัน” อีกหนึ่งสัญลักษณ์แห่งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทย โดยเป็นสะพาน
แห่งใหม่เชื่อมต่อโครงข่ายการคมนาคมระหว่างพื้นที่ชั้นนอกและชั้นในของกรุงเทพฯ จากฝั่งตะวันออกไปฝั่งตะวันตก มุ่งสู่ภาคใต้ รองรับการจราจรได้ 8 ช่องจราจร ซึ่งจะช่วยบรรเทาปริมาณการจราจรของสะพานพระราม 9 และการเดินทางสู่ทางพิเศษเฉลิมมหานครและทางพิเศษศรีรัช ความพิเศษของสะพานทศมราชันเป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่มีความกว้างที่สุดของประเทศไทยสะพานแห่งนี้สามารถรับแรงลมได้สูงถึง 270 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สร้างขึ้นด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมการก่อสร้างทางวิศวกรรมขั้นสูงและทันสมัยโดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานความเป็นไทยอันทรงคุณค่า
การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ขอขอบพระคุณพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชนที่ร่วมสนับสนุนการจัดงานในครั้งนี้ให้สำเร็จลุล่วงด้วยดี เช่น กระทรวงคมนาคม, กรุงเทพมหานคร, สำนักงานเขตยานนาวา, สำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ, กองบัญชาการตำรวจนครบาล,กรมกิจการพลเรือนทหารบก, สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย, มูลนิธิดาวซินโดรมแห่งประเทศไทย, มูลนิธิ Five for all, Asian engineering consultants corp.,ltd., การท่าเรือแห่งประเทศไทย, ดอนเมืองโทลเวย์, Loxley, อิตาเลียนไทย,บริษัท ซิสทรอนิกส์ จำกัด, ธนาคารกสิกรไทย, ซี เอช อี ซี, ไทยธนาคารกรุงไทย, บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน), เครื่องดื่มตราช้าง, 100 plus, โฟร์โมส, มาม่า, โก๋แก่, Hino, โรงแรมแกรนริชมอนต์, ทิปโก้, ตังกุยจับ, ปตท., OR, Amazon, DOUBLE A มอบหน้ากากอนามัย กันฝุ่น, NATURE VALLEY CRUNCHY, Me Care, Moka, สเปร์ย, เย็นสุดขั้ว, Jetts, fitness, โรงพยาบาลบางปะกอก1, Thairun,TT Sports, Wink Wink Production, ChomPR, Boomerang Creation, เรด แคป ออกาไนเซอร์, และสถานที่จอดรถเซ็นทรัลพระราม 3, ไทวัสดุพระราม 3, ทรี ออน ทรี, โลตัส พระราม 3, โรงเรียนพระแม่มารี พระราม 3, KING SQUARE KINGBRIDGE TOWER
และเทอร์มินอล 21 พระราม 3 ที่ร่วมส่งมอบความสุขให้ประชาชนทุกคน