ทั้งนี้โดยได้รับเกียรติจากนายวราวุธ ศิลปอาชา “รมว.ทรัพยากรยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นประธาน พร้อมปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ทิศทางของประเทศเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” ร่วมด้วยนายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายสมศักดิ์ สรรพโกศลกุล อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และคณะผู้บริหารฯ เข้าร่วมพิธีเปิด ณ ห้องประชุมอารีย์สัมพันธ์ อาคารกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างศักยภาพของนักบริหารระดับสูงให้เป็นผู้บริหารยุคใหม่ที่พร้อมเป็นต้นแบบในการดำเนินกิจกรรมด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เชื่อมโยงบริหารจัดการแบบองค์รวมและบูรณาการตามหลักธรรมาภิบาล ตลอดจนสร้างเครือข่ายความร่วมมือทุกภาคส่วน ซึ่งที่ผ่านมาเวทีการประชุมในระดับโลกและระดับภูมิภาค ได้หยิบยกปัญหาโลกร้อนมาเป็นประเด็นสำคัญ รวมถึงประเทศไทยมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างรุนแรง มีค่าดัชนีความเสี่ยงด้านภูมิอากาศโลก (Global Climate Risk Index : CRI) เป็นลำดับที่ 9 ของโลก โดยจะถูกประเมินตัวชี้วัดที่ใช้ในการคำนวณมี 4 ตัว ได้แก่ (1) จำนวนผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ (2) จำนวนผู้เสียชีวิตต่อประชากร 100,000 คน (3) ความสูญเสียทางเศรษฐกิจของความเท่าเทียมกันของอำนาจการซื้อ (Purchasing Power Parity : PPP) และ (4) ความสูญเสียทางเศรษฐกิจคิดจากร้อยละของจีดีพี ทำให้ประเทศไทยเกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม ทำให้ต้องปรับปรุงยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำของประเทศไทย หรือ LT-LEDS และการจัดทำเป้าหมายการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2 (The 2nd updated NDC) โดยมีเป้าหมายก๊าซเรือนกระจกลดลง 30 - 40% จากกรณีปกติ ภายในปี ค.ศ. 2030 การเพิ่มเติมรายงานข้อมูล การปล่อยและการดูดซับก๊าซเรือนกระจกในภาคป่าไม้ และเพิ่มเติมผลสำเร็จในภาคพลังงาน คมนาคมขนส่ง กระบวนการอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ น้ำเสียจากอุตสาหกรรม และการจัดการของเสียชุมชน ซึ่งภาคธุรกิจเองต้องปรับเปลี่ยนการดำเนินธุรกิจเพื่อรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อมุ่งสู่การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน อาทิ การเปลี่ยนผ่านไปสู่ธุรกิจแบบปล่อยคาร์บอนต่ำ ลงทุนน้อยได้มาก จัดทำกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับเป้าหมายของประเทศ สร้างกลไกการมีส่วนร่วมภาครัฐและเอกชน มีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมขั้นสูงมาใช้ เช่น Green hydrogen, Direct Air Capture (DAC) เป็นต้น
นายสมศักดิ์ สรรพโกศลกุล อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ได้จัดอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตรธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม สำหรับนักบริหารระดับสูง (ปธส.) มาแล้ว 9 รุ่น โดยครั้งนี้ เป็นรุ่นที่ 10 ประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูงของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรอิสระ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรพัฒนาเอกชน สื่อมวลชน และเอกชน รวม 72 คน ทั้งนี้ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพผู้สำเร็จการศึกษาอบรมให้เป็นบุคลากรที่มีความรู้ ความเข้าใจในการจัดการสิ่งแวดล้อมแบบองค์รวมและบูรณาการตามหลักธรรมาภิบาล เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงและเป็นต้นแบบด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการสร้างความเชื่อมโยงเครือข่ายความร่วมมือในการจัดการสิ่งแวดล้อมทุกภาคส่วน โดยคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะเป็นสำคัญ รวมทั้งสามารถขับเคลื่อนองค์กรสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยมีระยะเวลาการศึกษาอบรม รวม 182 ชั่วโมง แบ่งเนื้อหาออกเป็น 5 กลุ่มวิชา ได้แก่ กลุ่มวิชาที่ 1 หลักธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมและยุทธศาสตร์การบริหารจัดการสำหรับผู้บริหาร กลุ่มวิชาที่ 2 กระแสโลกและแนวโน้มด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กลุ่มวิชาที่ 3 เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กลุ่มวิชาที่ 4 การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกลุ่มวิชาที่ 5 การเสริมสร้างประสบการณ์เชิงประจักษ์ ซึ่งการดำเนินงานด้านวิชาการนี้ ได้รับความร่วมมือจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาที่มีประสบการณ์อย่างสูงด้านการบริหารจัดการนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม มาช่วยดูแลเนื้อหาด้านวิชาการและบริหารจัดการหลักสูตร