บริษัท ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ TPIPP ผู้ผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงขยะที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (Power Purchase Agreement หรือ PPA) ลงวันที่ 13 มีนาคม 2566 กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือ กฟภ. (Provincial Electricity Authority หรือ PEA) สำหรับการซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าขยะชุมชนที่ทางบริษัทฯ ชนะการประมูลเมื่อต้นปี 2564 ที่ผ่านมา กำลังการผลิตอยู่ที่ 7.92 เมกะวัตต์ คาดเริ่มดำเนินการในปี 2567 เป็นเวลา 20 ปี
บริษัท ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ TPIPP ประกาศว่า บริษัทฯ ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าหรือ Power Purchase Agreement(PPA) กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือ Provincial Electricity Authority(PEA) ฉบับลงวันที่ 13 มีนาคม 2566 เพื่อซื้อขายไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงขยะชุมชนจากจังหวัดสงขลา โดยก่อนหน้านี้ทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา (อบจ.) ได้ประกาศให้บริษัทฯ เป็นผู้ชนะในการประมูลโรงไฟฟ้าขยะชุมชนในเดือนมีนาคม 2564 และบริษัทฯ ได้เซ็นสัญญาสัมปทานขยะกับทาง อบจ. สงขลาในเดือนกันยายน 2564 ไปแล้ว โดยสัญญาซื้อขายไฟฟ้าเป็นแบบ non-firm กำลังการผลิตอยู่ที่ 7.92 เมกะวัตต์ เป็นระยะเวลา 20 ปี
ทางด้าน นายภัคพล เลี่ยวไพรัตน์ รองกรรมการบริหาร บริษัท ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ TPIPP กล่าวว่าปัจจุบันบริษัทฯ ได้ลงนามในสัญญาฝั่งวัตถุดิบซึ่งก็คือสัมปทานขยะ และฝั่งผลิตภัณฑ์ซึ่งก็คือสัญญาซื้อขายไฟฟ้าถือว่าโครงการไม่มีความเสี่ยงด้านซื้อขายแล้ว ปัจจุบันหอพักพนักงานและสำนักงานก็ใกล้จะสามารถเปิดใช้งานได้ ในขณะเดียวกันกำลังจะเริ่มก่อสร้างโรงไฟฟ้าซึ่งคาดว่าน่าจะใช้เวลาไม่นาน น่าจะเริ่มดำเนินการได้ในปี 2567 โดยการเริ่มผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้านี้จะช่วยให้บริษัทฯมีผลประกอบการที่ดีขึ้น และช่วยกำจัดขยะชุมชนในประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบาย Net Zero Greenhouse Gas Emission ของกลุ่มบริษัท ทีพีไอ โพลีน โดยโรงไฟฟ้าแห่งนี้จะช่วยกำจัดขยะได้ถึง 400-700 ตันต่อวัน
“โรงไฟฟ้าขยะชุมชนที่ ต.เกาะแต้ว อ.เมือง จ.สงขลา เป็นโครงการที่ได้รับผลตอบแทนอย่างสม่ำเสมอและไม่มีความผันผวน ส่งผลให้การรับรู้รายได้ของบริษัทฯ ดีขึ้น นอกจากนั้นยังช่วยกำจัดขยะในประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์และเป้าหมายของ บริษัทฯ และกลุ่มบริษัท ทีพีไอ โพลีน คือการมุ่งสู่การลดการปล่อยคาร์บอน และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของจังหวัดสงขลา และของโลก ทั้งนี้เป็นไปตามแนวคิดด้านความยั่งยืน (Sustainability) ในการรักษาสิ่งแวดล้อม ความเป็นอยู่ที่ดีของสังคมด้วยธรรมาภิบาลที่ดีของบริษัทฯ Environmental Social Governance (ESG)